“ลูกยาง” ... ของเล่น ที่ยากกว่าคราก่อน ?

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     พอเห็นภาพที่ปรากฏ ด้านบน ... คงมีหลายท่านร้อง ... “อ้อออ ... ของเล่นจากลูกยาง”

     ท่านที่เคยเข้าไปอ่าน บล็อก “ของนี้ ... เคยทำเล่นเมื่อเป็นเด็ก ?”  ที่ได้เขียนไปก่อนหน้านี้ ... คงชี้ได้ว่าหนึ่งใน สาม ที่เห็นเป็น “กังหันปากเป่า” ... ท่านที่ยังไม่รู้จัก หากอยากเห็น (ทำความรู้จักได้จากตรงนี้ ครับ)

     วันนี้ ... จะนำเสนอ ของเล่นที่เห็นในภาพ ให้ท่านได้รู้จักอีกสักชิ้น นะครับ ... หากเด็ก ๆ ได้ฝึกทำของเล่นชิ้นที่ว่านี้ จะช่วยพัฒนาทักษะสัมผัส แนวคิด และ EQ. ในตัวเขาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ...

      จริงหรือไม่ ... ตามไปดูกันครับ

     ขั้นแรก ... จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ... ก็ง่าย ๆ ครับ

 

 

     

มี ตาปูขนาดเล็ก สักตัว  – เชือกด้ายเหนียว ๆ ยาวพอประมาณ สักเส้น & พระเอกคือ “เมล็ดยาง” ซึ่ง เราจะเลือกเอา ตามที่ชอบ รัดดวงใคร รัดดวงมัน ... อาทิ สีสัน ลวดลาย แต่ที่รัดดวงเดียวกัน คือขนาด ... ซึ่งทุกคนจะเลือก “เม็ดโต” เข้าไว้

     ทำไม รึ ? ... เดี๋ยวก็ทราบครับ

 

 

 

 

 

 

 

  ขั้นต่อไป ... ฝนปลายตาปูให้แหลม + คม ... เพื่อนำไปเจาะเมล็ดยาง ที่เลือกไว้

   ตำแหน่งที่จะเจาะ คือบริเวณ ของด้านหน้า (สังเกตจากมีร่องตามแนวยาวของเมล็ด) และด้านตรงข้ามกับร่องอก โดยเจาะด้านใดก่อนก็ได้ ... แต่ ต้องอยู่กึ่งกลาง หัว – ท้าย เมล็ด

   จากรูป เลือกเจาะด้านตรงหลังเมล็ด (ตรงข้ามร่องอก) ...

 

 

 

 

 

 

 

 

     ขนาดของรู กะให้เส้นด้าย 2 เส้น ร้อยผ่านได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 อีกด้าน (ด้านอก) ... เจาะ 2 รู ห่างกันประมาณ 3 มิลลิเมตร ขนาดรูไม่ต้องกว้างนัก

   ทะลวงให้ สองรูหน้า ทะลุเชื่อมกับรูหลังที่เจาะไว้ก่อนหน้านี้ ... แต่ไม่ต้องแคะเอาเนื้อออกนะครับ

 

 

 

 

 

 

 

  เจาะรูเสร็จ ... ต่อไปเป็นการร้อยด้าย ... เทคนิควิธีร้อย ของใคร ของมันครับ สุดแต่ถนัด

    การเริ่มร้อย เริ่มจากด้านใดก็ได้ แต่เรามัก เลือกเริ่มจากด้านหลัง ซึ่งมีรูเดียว ...

 

 

 

 

 

 

 

    ดึงปลายด้านหนึ่งของเชือก ผ่านออกไปจนสุด ... แล้วสอดเข้าทางรูที่เหลือ ร้อยกลับไปออกรูตรงข้ามที่มีด้ายคาอยู่ ...

    นี่คือเหตุผลในการเลือกร้อยจาก รูเดี่ยว ก่อน ... จะเห็นว่าตอนสอดด้ายร้อยกลับ ไม่ต้องกลัวเส้นด้าย จมเข้าไปในเมล็ดลูกยาง

 

 

 

 

 

 

 

 

    ถึงตอนนี้ จะเห็นว่า ด้านหลังของเมล็ด ซึ่งเป็นรูเดี่ยว  มีเชือกผ่านออกมาสองเส้น ...

    ซึ่งรูนี้ ... เชือกอาจถูกดึงจมเข้าไปฝังอยู่ในเมล็ดได้ง่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

    เราจึงแก้ปัญหาข้างต้น โดย เมื่อกะความยาวของเชือก ได้ตามต้องการแล้ว ... ก็ผูกรวบปลายเชือกทั้งสอง ไว้กับสลักไม้ แล้วตัดแต่งปลายเชือกให้เรียบร้อย ... อย่างนี้ไงครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     แค่นี้ ... เราก็มีของเล่น พร้อมที่จะไปร่วมก๊วนกะคนอื่นแล้วครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

   เวลาจะเล่น ... เราก็สอด นิ้วโป้ง เข้าไประหว่างเส้นเชือก ... ผ่อนเชือกให้หย่อนพอควร ... แล้วควงเหวี่ยง เมล็ดลูกยาง ... กะให้เชือกตีเกลียวตามต้องการ

    ประมาณนี่ ... ก็ได้ครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    แล้วขยับมือ ดึงเชือกทั้งสองด้าน ออกค่อนข้างเร็ว พร้อม ๆ กัน ... จนตึงสุด ... แล้ว ผ่อน ... แล้วดึง ... ผ่อน ... ดึง .... ไปเรื่อย ๆ จนขี้เกียจเล่น หรือการแข่งขันเลิกรา

 

 

 

 

 

 

     ขณะเล่น ... การหมุนของ เมล็ดลูกยาง จะมีเสียงคราง “หวือ” ๆ ๆ ๆ ..... ตามจังหวะกระตุกเชือก

    จึงเป็นที่มาของเครื่องเล่นชิ้นนี้ ว่า ... “ลูกหวือ”

    เสียง “หวือ” จะดังมาก – น้อย แค่ไหน อยู่ที่ความเร็วในการหมุน + น้ำหนักของลูกยาง ... เราจึงเลือกเมล็ดโต ๆ มาทำกัน เพราะมีน้ำหนัก 

 

 

 

 

 

 

 

 

     เล่น ... ก็ง่าย ... เก็บ ก็ง่าย ... เห็นป่ะ ... ?

 

 

 

 

 

 

 

 

     เด็ก ๆ สมัยนั้น ทำของเล่น กันขึ้นเอง  ได้มาแล้ว จึง เล่นอย่างถะนุถนอม ... เล่นแล้ว รู้จักเก็บ ... รู้จักซ่อมแซมรักษา ไว้เล่นนาน ๆ ...

     เพราะประสบการณ์ สอนให้รู้แก่ใจว่า ... ‘กว่าจะได้ของเล่น แต่ละชิ้น ยากเข็ญไม่เบา’ ... แม้วัสดุบางอย่างจะหาได้ง่าย

     แต่กระบวนการสร้างแต่ละชิ้น สำหรับเด็ก ๆ แล้ว ไม่ง่ายนัก ... ต้องใช้ทักษะพอควร ที่สำคัญ ต้องมี EQ.

     ไม่เหมือนยุคพลาสติก เนาะ ?

     ไม่ว่า เด็ก รึ ผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ เน้นบริโภค ...

     “เสีย” รึ ... ช่างมัน มีขาย ... ซื้อใหม่ ... นี่ยังไม่น่ากลัวเท่า ...

“เปลี่ยน ใหม่” ... เพราะ ไม่ทันสมัย อายเขา !

ฮึ ๆ ๆ ๆ ...

ความเห็น

เคยเล่นแบบใช้ฝาโค้กค่ะลุง ตอยให้แบน ๆ แล้วเจาะรูใส่เชือก

เพราะชีวิต...คนเรา    เกิดมา....ไม่นาน ก็ต้องตาย
ต้องกลายเป็นความว่างเปล่า
Cr. เ่ท่าที่มี - กางเกง

   บ้านลุงสมัยเด็ก ๆ อยู่กลางหุบเขาเขียว ... ไม่มีฝาจีบ ของขวดน้ำอัดลมทุกประเภทครับ

    ลุงรู้จักฝาจีบ เมื่อเรียนหนังสือ โรงเรียนในตลาด เมื่อจะเอาฝาจีบมาทำ ลูกหวือ เราจะนำไปวางบนรางรถไฟ ให้รถไฟ ช่วยเหยียบให้ ไม่ต้องมาตีเอง ครับ

ตอนเล่นแข่งดึงให้ลูกหวือขบกันของใครแตกแพ้
5 5 5 พบแล้วตัวการทำให้รถไฟยางแตก ลุง paloo นี่เอง

   โหร่แหล่ว ยาฉ้าวตะ ... ยังม้ายเม็ดอาโยะความ

 

บ้านผมใช้ลูกสะบ้าแบนๆทำครับลุง ชนกันหรอยนิ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

   ลูกสะบ้า ... ลุงเพิ่งทำเล่นตอนเป็นเด็กโตแล้ว เพราะแข็ง เจาะยาก ทั้งหนัก พกพายากด้วย ...

    ส่วนลูกยาง ทำเล่นตั้งแต่เตรียมประถมเชียวแหละ เพราะทำง่ายกว่ากันเยอะ

สวัสดีครับ
ขอขอบคุณพี่หลวงที่ทำให้ได้ระลึกถึง ลูกหวือ ของเล่นสมัยที่เป็นเด็กๆ ตอนที่เล่นสมัยนั้นลุงเรินเล่นเอาลูกหวือมาชนกับของเพื่อนๆ ด้วยครับ(ไม่แน่ใจว่าเรียกชนหรือเปล่า)

 

   ลูกหวือจากลูกยาง ผมกะเรียกชน

     แต่ถ้าลูกหวือจาก ฝาจีบตีแบน ... โหมเราเรียก กิน เพราะ หมุนเอาเชิง กินด้ายชักของอีกฝาย ให้ขาด

เข้าใจทำนะคะ น่ารักดี

""

 

   เป็นของเล่น ที่เด็ก ๆ ชนบทปักษ์ใต้ สมัยผม ทำกันครับ

หน้า