"ส้าน" พันธุ์ไม้หายาก

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ไม่ได้ไปอาบน้ำคลองนานมากแล้ว ตอนนี้อยู่ในช่วงสำรวจธรรมชาติ ไปริมคลองเจอเจ้านี่ค่ะ ไม่รู้ว่ามันคืออะไร น่าตาประหลาด

หล่นอยู่ริมหาดทรายเต็มไปหมด ลูกแข็งมาก แกะไม่ออก มีลักษณะเป็นพู

ลำต้นสูง เกือบ 10 เมตร ใบใหญ่

นำกลับมาผ่าดู ข้างใน

ถามใคร ๆ ก็ไม่มีใครตอบว่ามันคืออะไร ถามแม่ แม่บอกนึกไม่ออก 2 วันผ่านไปวันนี้แม่มาบอกว่ามันคือลูกส้าน   อ๋อ...เพิ่งเคยรู้จักนี่แหละ แต่

ในบทกลอนบอกว่า 

...เห็นเถาวัลย์พันเกลียวตามเรียวไผ่             ใต้ร่มไทรธารน้ำเย็นกระเซ็นสาย
ดูดอกส้าน บานชูเคียงอยู่เรียงราย
                  แลรากไม้โค้งคู้อยู่ริมน้ำ 

http://www.bansuanporpeang.com/node/816

 

ตอนนี้ไม่มีดอกให้เห็นค่ะ มีแต่ลูก ๆๆๆ 

เอามานำเสนอเผื่อท่านอื่นมีข้อมูลอะไรดี ๆ สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง ช่วยแนะนำหน่อย  คงจะเป็นพันธุ์ไม้หายากแล้วค่ะ ภาคอื่นเรียกชื่อว่าอะไรกันบ้าง

ความเห็น

ไม่ทราบว่าคุณแจ้วยังเก็บลูกส้านอยู่หรือเปล่า วันที่ 2 ก.พ. จะไปขอดูหน่อย ถ้าต้นอยู่ใกล้ๆบ้านช่วยเก็บใบมาด้วยก็ดี รู้สึกว่าผมจะคุ้นกับเจ้าลูกผลไม้อันนี้เป็นอย่างดี ถ้าดูไม่ผิด แต่ยังไม่ขอบอกตอนนี้

เคยเห็นแต่ดอกส้านใหญ่ค่ะ ดอกมี 5 กลีบ สีเหลือง แต่ไม่เคยเห็นลูกส้านเลย

แจ้วกับทรายก็พบกันครึ่งทางแล้วค่ะ เจอแต่ลูกไม่เคยเห็นดอก ลองค้นดูเจอรูปนี้ค่ะ แต่นี่สีขาว

น่าจะเป็นดอกนี่นะคะ (ขอบคุณภาพจาก google)

ดอกแบบนี้พบที่งานเกษตรแฟร์เป็นส้านอินโดนีเซีย ส่วนส้านไทย หรือมะตาดดอกจะเป็นสีขาวทั้งดอกครับ

ดอกต่างกันมากเลยค่ะ แต่ดอกสีเหลืองมันชื่อส้านใหญ่ คิดว่าน่าจะมีหลายพันธุ์

พี่แจ้วครับ ที่บ้านผม พังงา เรียกว่าส้มปรุ กินได้นะครับ ตอนเล็กๆไปเล่นน้ำคลองทำน้ำปลาหวานไปด้วย ใช้ไม้สอยลงมา ผ่าซีกแล้วเอาเฉพาะกลีบอ่อนๆด้านในล้างให้สะอาด จิ้มด้วยน้ำปลาหวาน รสชาดเปรี้ยวอมหวาน+ฝาดนิดๆ แต่เดี๋ยวนี้เหลือไม่มากแล้ว โดนโค่นเกือบหมด ยังดีที่พ่อผมไม่โค่นเพราะเว้นเอาไว้เป็นแนวกันตลิ่งพัง ว่างๆพี่แจ้วลองกินดูนะครับ แต่ว่ารสชาดแต่ละต้นจะไม่เหมือนกันนะครับ ลองชิมดูก้อได้ รับรองความปลอดภัยครับผม

กินได้จริงเหรอ เหมือนกันแน่นะ เดี่ยวพรุ่งนี้พี่สุรพลมาตัดสินค่ะ พี่ยังไม่เคยกินค่ะ

หลังจากได้ไปดูลูกและต้นจริงถึงที่พัทลุง ตอนนี้ตอบได้เต็มปากแล้วว่า มันคือ ส้านใหญ่ หรือ ส้มปรุ อย่างที่คุณเริง...รมย์ เรียก และยังมีชื่ออื่นอีกหลายชื่อ เช่น มะส้าน กะปรุ ส้านกะพลุ เป็นต้น ที่ผมเคยบอกว่าคุ้นเคยกับเจ้าผลไม้ชนิดนี้เพราะเคยกินมาตั้งแต่เด็กๆ จนถึงดี๋ยวนี้ แม่แกงให้กินประจำ แถวภาคกลางเรียกผลไม้ชนิดนี้ว่า "มะตาด" คนไทยเชื้อสายมอญนิยมเอาไปแกงส้ม(ไม่ต้องบอกนะว่าแม่ผมเชื้อสายอะไร) ส่วนที่เห็นเป็นผลนั้นแท้ที่จริงคือกลีบเลี้ยง ที่ห่อหุ้มเมล็ดไว้ และกลีบเลี้ยงนี้เองคือส่วนที่นำมาประกอบอาหาร โดยสับให้เป็นชิ้นเล็กๆก่อนนำไปแกง ผลอ่อนใช้แกงส้ม(แบบภาคกลาง) ผลสุก(พวกที่หล่นจากต้นแสดงว่าสุกแล้ว)ใช้แกงคั่ว มะตาดอ่อนมีรสเปรี้ยวและมีลักษณะเฉพาะคือจะเป็นเมือกเหมือนกับกระเจี๊ยบเขียว ใครที่ชอบกระเจี๊ยบเขียวคงกินมะตาดได้ อ้อ... ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Dilenia indica Linn. เพิ่งรู้เหมือนกันว่ากินดิบๆก็ได้

ดอกส้านสึเหลืองกินได้ด้วยนะคะคุณแจ้ว ตอนเด็กๆหลังบ้านมึอยุ่หนี่งต้น เคยเก็บดอกมากินมึรสเปรึ้ยวคะ

    ไม่รู้จักและไม่เคยเห็นเลยจ้า ได้ความรู้ใหม่อีกละ

หน้า