ทบทวนเศรษฐกิจพอเพียงกันอีกครั้ง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลายคนเข้าใจผิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงแล้วต้องเอาไปใช้กับการเกษตร ซึ่งจริงๆแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้กับทุกๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ การทำเกษตร การใช้ชีวิตประจำวัน หรืออื่นๆ นักธุรกิจพอเห็นคำว่าพอเพียงอาจจะรีบปฏิเสธทันทีเพราะเป้าหมายของธุรกิจคือ แข่งขัน กำไร รวย แต่หากศึกษาอย่างถ้วนถี่เศรษฐกิจพอเพียงก็ทำให้ธุรกิจราบรื่น และรวยได้เช่นกัน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักอย่างที่เราได้ยินกันอยู่เป็นประจำคือ สามห่วง สองเงื่อนไข
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน
เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน
เงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
เพราะฉะนั้นถ้าทำการใดก็ตาม ถ้าทำเกินตัว ไม่มีแผนรองรับความเสี่ยง ขาดความรู้ในการดำเนินการ เอาเปรียบ อย่างนี้ก็ไม่พอเพียง
ที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะเข้าใจยาก มาทำความเข้าใจง่ายๆ จากหนังสือปราชญ์เดินดิน วิถีคนกล้า ท้าเปลี่ยนโลก ตอน วิวัฒน์ ศัลยกำธร ครูยักษ์หัวใจใหญ่แห่งมหาวิทยาลัยคอกหมู ที่นายไข่ถาม อ.ยักษ์ ว่า
อาจารย์ครับ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงนี่ ผมเคยฟังคนนั้นพูดทีคนนี้พูดที แต่ยังไม่เข้าใจครับว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร
มาดูคำตอบจาก อ.ยักษ์นะครับ อาจช่วยให้เราเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น
เศรษฐกิจพอเพียง คือการรู้จักตัวเอง แล้วก็ทำให้พอกับตัวเอง เลี้ยงชีวิตให้ได้ อุ้มชูตัวเองให้ได้
จะอยู่อย่างไร...ก็หาที่อยู่ให้พอ
จะกินอะไร...ก็หากินให้พอ
จะใช้อะไร...ก็ทำใช้ให้พอ
แม้จะหาเงินไม่ได้หรือเป็นหนี้เป็นสิน แต่ก็ยังพออยู่ พอกิน พอใช้ จะอาชีพอะไรก็เหมือนกันหมด การพึ่งตนเองให้ได้ คือพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าพอมีเหลือก็เอาไปทำบุญทำทานเสียก่อน จากนั้นค่อยไปสู่ขั้นก้าวหน้า คือนำไปค้าขายแข่งขันกับใครก็ว่ากันไป แต่ทุกอย่างให้เริ่มต้นที่คำว่า "พอ"
มาดูอีกคำถามจากนายไข่ อีกคำถาม
จำเป็นไหมครับว่า คนที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นคนยากจน
อ.ยักษ์ตอบว่า
ไม่เกี่ยว เศรษฐกิจพอเพียงรวยได้ แต่เราพอเพียงขั้นพื้นฐาน ใช้หลักว่า ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้
วันหนึ่งถ้าไม่มีเงิน หรือค้าขายแล้วเจ๊ง กลับมาบ้านต้องไม่อด ไม่ใช่ค้าขายเจ๊งแล้วกลับมาบ้านก็ไม่มีเงิน ไปลักขโมยถูกจับติดคุกติดตะราง อย่างนี้ก็ไม่พอ เราเอาแค่พอ
ความพอเพียงของแต่ละคนไม่เท่ากัน
อีกคำถามที่นายไข่ถาม อ.ยักษ์ ซึ่งหลายคนอาจกำลังสงสัยอยู่เช่นกันว่า แบบนี้ แบบนั้น พอเพียงหรือไม่
ถ้าผมมีเงินเยอะแล้วจำเป็นต้องใช้รถยนต์หลายคัน คันนี้เอาไว้ส่งลูก คันนี้เอาไว้ซื้อกับข้าว คันโน้นใช้ทำธุระ อีกคันเอาไว้ขับขึ้นป่าขึ้นดอย อย่างนี้ถือว่า "ฟุ่มเฟือย" หรือว่า "พอเพียง" ครับ อาจารย์
คำตอบที่ได้จาก อ.ยักษ์ คือ
ถ้าคุณไข่มีเหลือเฟือ แจกจ่ายให้ทานแล้วยังเหลือ คุณอยากซื้ออะไรก็ซื้อไปเถอะ ไม่มีใครเขาว่าหรอก เอาให้มันพอดีๆ อย่าไปเบียดเบียนใครเขาเท่านั้นพอ
จากที่ผมเขียนมา จะพอเพียงได้มีหลายองค์ประกอบจะขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไม่ได้ แต่ส่วนตัวแล้วก็ยังมองว่าจุดเด่นอีกอย่างของเศรษฐกิจพอเพียงคือเรื่องของคุณธรรม อย่างที่ อ.ยักษ์ บอกว่าถ้ามีเหลือก็ให้แบ่งปันทำบุญก่อน แล้วค่อยขาย อย่างไรก็ตามจะพอเพียงได้ ก็ต้องมีการพึ่งพาตนเอง
อ้างอิง
- หนังสือ ปราชญ์เดินดิน วิถีคนกล้า กล้าเปลี่ยนโลก หน้า 16-17
- เศรษฐกิจพอเพียง
- บล็อกของ sothorn
- อ่าน 84250 ครั้ง
ความเห็น
lekonshore
17 มกราคม, 2011 - 08:46
Permalink
พอเพียง
:crying2: ขอบคุณสำหรับการให้ทบทวนอีกครั้งค่ะ....พอเพียง พออยู่ พอกิน พอใช้.....:love:
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
เจ้โส
17 มกราคม, 2011 - 08:47
Permalink
ตีความผิด
บางคนตีความผิดคิดว่า พอเพียง คือ จะต้องปลูกผักกินเองเท่านั้น จริง ๆ ไม่ใช่ ต้องพอเพียงทุกอาชีพทุกระดับ ไม่ใช่เฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
garden_art1139@hotmail.com
กุ้งบางบัวทอง
17 มกราคม, 2011 - 10:45
Permalink
พอเพียง
ดีมากเลยที่น้องผู้ใหญ่มาเน้นย้ำให้กลับมาย้อนดูคำว่า "พอเพียง" อีกครั้ง ...เพราะบางครั้งเรารู้อยู่แก่ใจว่า "พอเพียง"ดีอย่างไรทำอย่างไรถึงจะพอเพียง พอนาน ๆ ไปเจอกิเลสและปัจจัยภายนอกรุมเร้าให้หลงระเริงจนลืมเราก็จะลืมคำว่า "พอเพียง" ขอบคุณน้องผู้ใหญ่มากค่ะ....
มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ
ครูพอเพียง
17 มกราคม, 2011 - 11:06
Permalink
พอเพียง
:info: :info: พอเพียงแบบเพียงพอต้องเตือนตัวเองและข่มใจไม่จับจ่ายใช้สอยเหมือนในอดีต การได้ศึกษาธรรมทำให้ชีวิต เรียบง่าย คือ กินอยู่ง่าย ใช้ชีวิตแบบสบายๆไม่เคร่งเครียดไม่เคร่งครัดกับตัวเองมากเกินไปรวมถึงคนในครอบครัว มีมากเราก็แบ่งปันถ้าขายได้ก็ขายไม่มุ่งหวังกำไรมากมาย ลงทุนแต่พอดี พึ่งตัวเองให้ได้ พอใจในส่ิงที่เรามีและเราเป็น ไม่ดิ้นรนแสวงหามากมาย มีเพ่ือนฝูงบ้างธรรมดา ไม่เฮฮาจนเกินพอดี มีความสุขกับการอยู่กับตัวเอง ครอบครัว อ่านหนังสือ ดูแลต้นไม้ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ คือความสุขใจ มีปัญหาก็แก้กันไปอย่างมีสติ ใช้ความผิดพลาดในอดีตเป็นเคร่ืองเตือนใจ ดำเนินชีวิตเป็นแนวทางให้ลูกหลานเห็น นำมาปรับใช้ในที่ทำงาน สำหรับครูพอเพียงจ้า.........................
แดง อุบล
17 มกราคม, 2011 - 11:07
Permalink
ขอบคุณ
เรารักในหลวง
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
ดงดม
17 มกราคม, 2011 - 11:46
Permalink
ยำ้อีกที
อ่านอีกรอบๆก็ชอบเหมือนเดิม พอเพียงๆๆๆๆๆ
BeeFuu
17 มกราคม, 2011 - 11:51
Permalink
พอ...
พอเพียง และเพียงพอ ค่ะ พออยู่พอกิน ไม่เป็นหนี้เป็นสิน ชีวิตก็มีความสุข ไม่ต้องมีบ้านโต ไม่ต้องมีรถคันใหญ่ ฯลฯ
"ความสุขของชีวิตในวันนี้ คือทำตามวิถีพอเพียงของพ่อ"
tantawan-ตะวัน
17 มกราคม, 2011 - 12:31
Permalink
พอเพียง
พอเพียงและเพียงพอ ^_^
เปรี้ยว_ส้ม
17 มกราคม, 2011 - 12:48
Permalink
ปราชญ์เดินดิน วิถีคนกล้า กล้าเปลี่ยนโลก
ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ดีมาก ได้ข้อคิดอะไรหลายอย่าง พอเพียง ไม่ใช่ทำแค่พอกิน แต่ทำพอประมาณกำลังตน ทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญา และพอเพียงและฟุ่มเฟือยของแต่ยอมคนต่างกัน
การกินข้าวนอกบ้านอาจเป็นสิ่งฟุ่มเฟื่อยสำหรับคนเงินเดือนหมืนกว่า แต่อาจเป็นเรื่องธรรมดาของคนเงินเดือน ห้าหมื่น เพราะแต่ละคนมีฐานที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นความพอเพียงคือการรู้จักตนเอง
อารีย์_กำแพงเพชร
17 มกราคม, 2011 - 13:12
Permalink
ความพอเพียง
นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วมีความสุข
แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง
หน้า