การใช้จุลินทรีย์

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ได้รับความรู้จากหลายท่านมามากค่ะ มีเอสารการใช้จุลินทรีย์มาให้เพื่อนสมาชิกอ่านกันค่ะ น่าจะมีประโยชน์ค่ะ ข้อมูลเยอะหน่อยค่ะ


เกษตรธรรมชาติคิวเซ


          เกษตรธรรมชาติคิวเซ เป็นการเกษตรที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมชาติตามหลักการของท่าน โมกิจิ โอกาดะ ผู้ก่อตั้งองค์การศาสนา เซไคคิวเซเคียว ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มเกษตรธรรมชาติเป็นคนแรก คำว่า “คิวเซ” ซึ่งหมายถึง “การช่วยเหลือโลก”  


วัตถุประสงค์


          -ปลอดภัยต่อผู้ผลิต


          -ปลอดภัยต่อผู้บริโภค


          -ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม


เป้าหมายหลักของเกษตรธรรมชาติคิวเซ


          1.ผลิตพืชผักผลไม้ที่ปลอดสารเคมีมีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมนุษย์


          2.เพิ่มประสิทธิภาพของดิน


          3.ช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและจิตใจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคลงทุนต่ำ


          4.ใครๆก็ทำได้ ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์กลไกสลับซับซ้อน ทำได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่


           5.อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโลก


           6.ผลิตอาหารให้เพียงพอกับการเพิ่มของประชากรในอนาคต


 


ลักษณะโดยทั่วไปของ EM


*EM เป็นของเหลวสีน้ำตาล กลิ่นหอม อมเปรี้ยว อมหวาน [เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่างๆใน EM]


*เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี ยาปฏิชีวนะ และยาฆ่าเชื่อต่างๆได้


*EM ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์


*ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


*เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเอง


ลักษณะการผลิต


          โดยการเพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กว่า 80 ชนิดจาก


            -กลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง


            -กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติก


            -กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน


            -กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์


            -กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์


 


            จุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยง และขยายให้จุลินทรีย์แต่ละชนิดขยายตัวในปริมาณที่สมดุลกันโดนเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต


การเก็บรักษา


          *หัวเชื้อ EM จากมูลนิธิฯ สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 1 ปี อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติไม่เกิน 45 องศา – 50 องศาเซลเซียส โดยปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้า และอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น


            *ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท


            *การนำ EM ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม [ดูรายละเอียดการประยุกต์ใช้ในเล่มนี้]


ข้อสังเกตพิเศษ


          -หากนำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง ไม่ต่ำกว่า 700 เท่าจะเห็นจุลินทรีย์ชนิดต่างๆอยู่มากมาย


            -EM ปกติจะมีกลิ่นหอม  อมเปรี้ยว อมหวาน  ถ้าเสียแล้วจะมีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนกลิ่นจากท่อน้ำทิ้งเก่าๆ แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอีกด้าน  [EM ที่เสียใช้ผสมน้ำรดกำจัดวัชพืชได้]


            -กรณีที่เก็บไว้หลาย ๆ วัน โดยไม่มีการเคลื่อนไหวในภาชนะจะมีฝ้าขาว ๆ เหนือผิวน้ำ EM นั่นคือการทำงานของ EM          ที่พักตัว เมื่อเขย่าแล้วทิ้งไว้ชั่วขณะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ใน EM เหมือนเดิม


            -เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาลจะมีกลิ่นหอมและเป็นฟองขาว ๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองดังกล่าวแสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล


            - EM ที่นำไปขยายเชื้อแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 3 วัน หลังจากการหมักได้ที่แล้วทั้งนี้เพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพ ที่อาจเกิดจากความไม่สะอาดของน้ำ ภาชนะ และสิ่งแปลกปลอมจากอากาศ เพราะเชื้อ EM ส่วนใหญ่ไม่ต้องการอากาศ


            -ถ้าไม่หมดภายใน 3 วัน ต้องปิดฝาให้สนิทด้วยผ้าพลาสติก เพื่อไม่ให้อากาศเข้า ก่อนใช้ทุกครั้งต้องตรวจดูก่อนว่ายังมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวานและมีรสเปรี้ยวหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ายังใช้ได้


 


ประโยชน์ของ EM โดยทั่วไป


ด้านการเกษตร


          *ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ในดินและน้ำ


            *ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ


            *ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศผ่านได้ อย่างเหมาะสม


            *ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุ ให้เป็นอาหารแก่พืช เพื่อจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมาก เหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์


            *ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น


            *ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกลๆ เช่น


ส่งออกต่างประเทศ


            *ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่ และสุกรได้ภายในเวลา 24 ชั่วโมง


            *ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1-2 สัปดาห์


            *ช่วยป้องกันโรคอหิวาและโรคระบาดต่างๆในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่นๆ ได้


            *ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวัน ไม่ให้เข้าดักแดเกิดเป็นตัวแมลงวัน


            *ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง อัตราการตายต่ำ


ด้านการประมง


            *ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้


            *ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อ กุ้ง ปลา กบ หรือ สัตว์น้ำอื่นๆที่เลี้ยงได้


            *ช่วยรักษาโรคแผลต่างๆในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้


            *ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่างๆได้ดี


ด้านสิ่งแวดล้อม


            *ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือนให้กลายเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้


            *ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสียให้ดีขึ้น


            *ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะสดและที่หมักหมมมานานได้


การประยุกต์ใช้EM


การใช้ EM กับการเกษตร


แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ แบบน้ำ และแบบแห้ง


            แบบน้ำ



  1. EM ผสมน้ำฉีดพ่น รด ราด ต้นไม้สัปดาห์ 1-2 ครั้งในอัตราส่วน EM 1ลิตรต่อน้ำ 1,000-2,000 ลิตร

  2. EM ผสมน้ำในอัตราส่วน EM 1ลิตรต่อน้ำ 10,000ลิตรให้สัตว์กิน เช่น สุกร ไก่ ฯลฯ กินเป็นประจำมูลจะไม่มีกลิ่นเหม็นสุขภาพของสัตว์จะแข็งแรงปลอดโรค

  3. เอา EM ทำเป็นเชื้อหมักขับไล่แมลงหรือ EM5 หรือ สุโตจู

วัตถุประสงค์


          -เพื่อความรวดเร็วในการใช้


            -เพื่อความเหมาะสมในการใช้ในแต่ละพื้นที่


 


 


วิธีขยาย EM เพื่อใช้กับพืช


                   เนื่องจากต้องใช้ EM จำนวนมากจึงสามารถขยาย EM โดยตนเองให้มีปริมาณมากขึ้น คุณภาพดี และต้นทุนต่ำได้


วัสดุ   


EM                    40        ซีซี        หรือ      1          ลิตร                 


กากน้ำตาล        40        ซีซี        หรือ      1          ลิตร


น้ำสะอาด          1          ลิตร      หรือ      25        ลิตร


วิธีทำ



  1. ผสมกากน้ำตาลกับน้ำที่สะอาด คนให้ทั่วจนกากน้ำตาลละลายหมด

  2. นำ EM ผสมในน้ำคนจนเข้ากันทั่วปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 3วัน

  3. ภาชนะที่ใช้ต้องสะอาดจะใช้ถังพลาสติก ตุ่ม หรือถังเหล็กก็ได้

วิธีใช้



  1. เมื่อหมักไว้ตามกำหนดที่ต้องการแล้วนำ EM ที่ขยายไปผสมกับน้ำสะอาดอีกในอัตรา EM 1 ลิตรต่อน้ำ 1,000-2,000 ลิตรฉีดพ่นรดต้นไม้พืชผักไม้ผลไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

  2. ใช้หญ้าแห้งหรือใบไม้แห้ง หรือฟางคุมบริเวณโคนต้นไม้เพื่อรักษาความชื้นและ EM ย่อยสลายอินทรียวัตถุเป็นอาหารของพืชและเพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นด้วย

 


 


การขยาย EM กับสัตว์เลี้ยง


วัสดุ


          EM                    40                    ซีซี


            กากน้ำตาล        40                    ซีซี


            น้ำสะอาด          1                      ลิตร


หรือ


          EM                    1                      ลิตร


            กากน้ำตาล        1                      ลิตร


            น้ำสะอาด          25                    ลิตร


วิธีทำ



  1. ผสมกากน้ำตาลกับน้ำให้เข้ากันดี

  2. เอา EM ลงผสมและขนให้ทั่ว ให้น้ำผสมต่ำกว่าขอบภาชนะประมาณ 2 นิ้ว

  3. ปิดฝาภาชนะให้สนิทหมักไว้ 3วันเพื่อให้ EM ขยายบริเวณถ้าเชื้อขยายดีจะมีฟองขาวขึ้นบนผิวน้ำที่ขยาย EM

  4. EM ที่ขยายดีจะมีกลิ่นหอมหวานและเริ่มมีรสเปรี้ยวมีฟองขึ้น

วิธีใช้  



  1. นำ EM ที่ขยายแล้วไปผสมกับน้ำอีกในอัตรา EM 1ส่วนต่อน้ำ 1,000-10,000ส่วนให้สัตว์กิน หรือผสม EM 1ลิตรกับน้ำ 100ลิตร ล้าง รด พ่น ราด คอกสัตว์และบำบัดน้ำเสียในฟาร์ม

  2. EM ที่ขยายแล้วโดยไม่ต้องผสมน้ำไปฉีดพ่น รด ราด เพื่อบำบัดน้ำเสียบำบัดกลิ่นเหม็นในฟาร์มสัตว์ และจุดที่มีกลิ่นเหม็นในที่ต่างๆ

 


การทำ EM 5 [สุโตจู]


[เชื้อหมักขับไล่แมลง]


            EM5 เป็นส่วนผสมของเหล้า น้ำส้มสายชู กับ EM กากน้ำตาลและน้ำที่หมักไว้ เพื่อใช้ช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช พร้อมทั้งเสริมสร้างความต้านทานเพื่อป้องกันและช่วยกำจัดโรคพืชบางชนิดด้วย


อัตราส่วนผสม [โดยประมาณ]


          EM                                            1                      ลิตร


            กากน้ำตาล                                1                      ลิตร


            เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี                1                      ลิตร


            น้ำส้มสายชูกลั่น 5 เปอร์เซ็นต์       1                      ลิตร


            น้ำสะอาด                                  10                    ลิตร


 


วิธีทำ



  1. เอากากน้ำตาลผสมกับน้ำจนละลายแล้ว ใส่เหล้าขาวและน้ำส้มสายชู

  2. เอา EM ใส่คนให้เข้ากันดี

  3. ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 15 วัน ภาชนะที่ใช้หมักนั้นควรใช้ถังพลาสติก

  4. ในระหว่างการหมักให้เขย่าทุกวัน เช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เกิดการนอนก้น แล้วเปิดฝาเพื่อระบายก๊าซออก วันละ 2 ครั้ง หลังจากเขย่า

  5. เมื่อครบกำหนดก็นำไปใช้ได้ สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน แต่ต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราว

วิธีใช้



  1. EM5 ผสมกับน้ำสะอาดดังนี้

EM5                  10 – 50                        ซีซี [1-5 ช้อนโต๊ะ]


กากน้ำตาล        10 – 50            ซีซี [1-5 ช้อนโต๊ะ] เพื่อเป็นสารจับใบหรือใช้สมุนไพรร่วมได้ ได้แก่      สะเดา   ดีปลี            ตะไคร้หอม        ฯลฯ สกัดหรือแช่น้ำอัตราส่วนที่ใช้เท่ากับ EM5


น้ำสะอาด          5 – 10              ลิตร



  1. นำส่วนผสมไปฉีดพ่น ต้นไม้ทุกวันหรืออาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง ตามความต้องการ

  2. ทำการฉีดพ่นให้ชุ่มและทั่วถึงทั้งนอกทรงพุ่มและในทรงพุ่ม

  3. หรือจะใช้ EM5 ผสมกับน้ำฉีดเลยก็ได้ โดยไม่ต้องเติมกากน้ำตาลอีก

หมายเหตุ


          *พืชกำลังแตกใบอ่อนให้ใช้อัตราส่วนที่เจือจาง


            *กากน้ำตาลพบว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมชนิดหนึ่งของ EM ที่มีราคาถูกที่สุด มีธาตุอาหารอยู่มาก แต่จะใช้น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลจากธรรมชาติอื่นแทนก็ได้ โดยใช้น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม ละลายน้ำ 10 ลิตร ผสมกับ EM แต่น้ำตาลทรายขาวถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรใช้


การทำซุปเปอร์ EM 5


[EM 5 สูตรเข้มข้น]


วัสดุและส่วนผสม[โดยประมาณ]


            EM                                                        1                      ลิตร


            เหล้าขาว 28 หรือ 40 ดีกรี                        2                      ลิตร


            น้ำส้มสายชูกลั่น 5 เปอร์เซ็นต์                   1                      ลิตร


            กากน้ำตาล                                            1                      ลิตร


วิธีทำ



  1. ละลายกากน้ำตาลในน้ำส้มสายชูก่อน จึงค่อยเติมเหล้าขาวลงไป คนจนเข้ากันแล้วเติม EM ลงไปคนจนเข้ากันดี

  2. ปิดฝาให้สนิทหมักไว้ 24 ชั่วโมง

 


วิธีใช้



  1. ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน แมลงศัตรูพืชที่ปราบได้ยาก เช่น หนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ ในปริมาณซุปเปอร์สุโตจู 200 – 300 ซีซี ต่อน้ำสะอาด 200 ลิตร หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม

  2. ใช้กำจัด เห็บ หมัด ในสัตว์เลี้ยงต่างๆ

  3. ใช้กำจัดเหาในเด็กที่เป็นเหาด้วยการสระผม แล้วชโลมด้วยซุปเปอร์สุโตจู ผสมน้ำ อัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักทิ้งไว้  20 – 30 นาทีแล้วจึงล้างออกด้วยน้ะอาด

  4. ใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ หอม ยาสูบ นำน้ำแช่สมุนไพรมาใช้ อัตราส่วนเท่า EM5 เพื่อให้ผลการใช้มีประสิทธิภาพดีขึ้นตามต้องการ

 


แบบแห้ง


การขยายเชื้อ EM แบบแห้ง [โบกาฉิ]


          ใช้ EM ผสมกับกากน้ำตาลและวัสดุต่างๆ ทำการขยายเชื้อ EM แบบแห้ง


            -โบกาฉิฟาง


            -โบกาฉิมูลสัตว์


            -โบกาฉิหมักดิน


            -โบกาฉิหมัก 24 ชั่วโมง


            -ซุปเปอร์โบกาฉิ ผสมอาหารสัตว์


 


วัตถุประสงค์


            -เพื่อขยายเชื้อ EM แบบแห้งใช้เองโดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี เป็นการประหยัดต้นทุน ด้วยการหาวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อีก [Recycle]


            -เป็นอาหารเสริมให้จุลินทรีย์ EM ทำงานได้ดีและใช้เป็นอาหารสำหรับพืชและสัตว์


            -EM แห้งสามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน


 


 


การขยายเชื้อ EM แบบแห้ง [โบกาฉิ]


การทำ EM แบบแห้ง [โบกาฉิ] ใช้ได้ผลดีในญี่ปุ่น


          การขยาย           คือ การนำเอาอินทรียวัตถุจากธรรมชาติมาหมักโดยใช้ EM ผสมกากน้ำตาลเป็นตัวช่วยย่อยสลาย และหมักเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้


วัสดุส่วนผสม [โดยประมาณ]












วัสดุ


อัตราส่วน


หมายเหตุ


รำข้าว


กากถั่ว


ปลาป่น


EM


กากน้ำตาล


น้ำ


     100 ลิตร


25 – 50 ลิตร


25 – 50 ลิตร


       150 ซีซี


       150 ซีซี


        15 ลิตร


 


    อัตราส่วนของน้ำจะขึ้นอยู่กับความชื้นและอัตราส่วนผมสมของวัสดุ จะใช้น้ำปริมาณ 15 ลิตร/วัสดุ 150 ลิตร [=1.10]


    ในกรณีที่จะใช้น้ำ 15 ลิตร ผสมกับ EM และกากน้ำตาลก็เพื่อให้ได้อัตราส่วน 1:1000 เท่า


วิธีทำ



  1. ผสมรำข้าว กากถั่ว และปลาป่นให้เข้ากันดีก่อน

  2. นำกากน้ำตาลมาละลายในน้ำอุ่น [40 – 50 องศาเซลเซียส] จนละลายหมด และผสมน้ำที่เตรียมไว้จนครบ 15 ลิตร

  3. ใส่ EM ลงในน้ำผสมกากน้ำตาลแล้ว

  4. นำน้ำสม EM ไปผสมกับส่วนผสมในข้อ 1 แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดีจะได้ส่วนผสมที่พอหมาด ๆ ไม่แห้งเกินไป โดยทดลองถ้าเป็นก้อนเมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลวมๆ ๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้

  5. นำส่วนผสมในข้อ 4 มาบรรจุเก็บใส่ถุงสีดำเพื่อทำการหมักเป็นเวลา 3 – 4 วัน [ในฤดูร้อน] และ 1 อาทิตย์ [ในฤดูหนาว] โดยไม่ให้โดนอากาศ

วิธีตรวจสอบ



  1. วิธีตรวจสอบว่าเชื่อ EM ขยายแบบแห้ง [โบกาฉิ] ที่หมักไว้นั้นได้ผลดีหรือไม่ก็โดยการพิสูจน์จากกลิ่น ถ้ากลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวานแสดงว่าใช้ได้แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นเน่ามีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าใช้ไม่ได้

  2. เมื่อหมักไว้ได้ครบกำหนดแล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่มอย่าให้โดนความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้

  3. เชื้อ EM ที่ขยายแบบแห้ง สามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 6 เดือน

วิธีใช้


1.เอา EM แบบแห้งโรยใส่ต้นไม้บริเวณทรงพุ่มในอัตรา 2 – 3 กำมือ หรือมากกว่าตามความต้องการต่อเนื้อที่ 1 เพียงปีละ 2 – 3 ครั้งก็พอ


2.นำเอาผสมกับอาหารในอัตรา 2 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารที่ใช้ในแต่ละครั้ง


 


การขยายเชื้อ EM แบบแห้งที่ใช้ได้ผลดีในประเทศไทย


การทำโบกาฉิฟาง


วัสดุและส่วนผสม[โดยประมาณ]


            ฟางแห้งตัดยาว 2 ซ.ม. หรือไม่ตัด             1          ส่วน[ปริมาตร]


            แกลบ                                                                1          ส่วน[ปริมาตร]


            รำละเอียด                                                         1          ส่วน[ปริมาตร]


            EM                                                               10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


            กากน้ำตาล                                                   10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


            น้ำสะอาด                                                          10          ลิตร


วิธีทำ



  1. คลุกฟางและแกลบให้เข้ากัน

  2. ผสม EM กากน้ำตาล กับน้ำ 10 ลิตร ที่เตรียมไว้ใส่ในบัวรดน้ำ

  3. นำน้ำผสม EM รดลงบนกองฟางกับแกลบกองใหญ่ให้ชุ่มแล้วคลุกคล้าให้เข้ากัน

  4. เอารำละเอียดลงไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน จนได้ความชื้นพอดี [50 เปอร์เซนต์]โดยการทดลองกำแล้วบีบดู ถ้าน้ำไม่ไหลออกมาตามง่ามนิ้วมือ เมื่อแบมือยังจับกันเป็นก้อนแสดงว่าใช้ไม่ได้ [วิธีนี้ใช้กับการขยายเชื้อแบบแห้งทุกชนิด]

  5. ถ้ามีความชื้นสูงเกินไป คือ เมือกำแล้วจะมีน้ำซึมออกมาจากง่ามนิ้วมือให้เติมวัสดุ คือ ฟาง แกลบ และรำ ในอัตราส่วนเท่ากันผสมลงไปคลุกให้เข้ากันจนได้ความชื้นตามต้องการ

  6. เกลี่ยฟางรองพื้นให้เป็นแนวราบและหนาพอสมควร จากนั้นปูด้วยกระสอบป่านบนฟาง

  7. ตักเอาส่วนผสมลงเกลี่ยบนกระสอบป่าน อย่าให้สูงเกิน 1 ฟุต [ประมาณ2 คืบ]

แล้วคลุมให้มิดด้วยกระสอบป่าน หมักไว้ 5 ชั่วโมง เพื่อให้ EM ทำงาน



  1. เมื่อครบ 5 ชั่วโมง ให้เริ่มตรวจวัดความร้อนทุก ๆ ชั่วโมง ด้วยการใช้ปรอทเสียบลงในกองโบกาฉิ ทิ้งไว้คอยควบคุมอย่าให้อุณหภูมิสูงถ้าสูงเกิน 45 องศาเซลเซียส หรือร้อนอยู่ระหว่าง 40 – 45 องศาเซลเซียส ต้องรีบกลับกองปุ๋ยทันทีถ้าความร้อนไม่เกินไม่ต้องกลับ

  2. ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ความร้อนจะลดลงเป็นปกติ ประมาณ 37 องศาเซลเซียสก็เป็นอันใช้ได้

10.  เปิดกระสอบที่ปิดไว้ออกทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้โบกาฉิแห้งดี แล้วจึงนำไปบรรจุกระสอบ เก็บไว้อย่าให้โดนความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้


ข้อสังเกต


          ถ้าผสมได้ความชื้นพอดี หมักไว้ประมาณ 3 วัน ความร้อนจะเย็นลงเป็นปกติ แต่ถ้าความชื้นสูงเกินไปจะเกิดความร้อนสูงต้องใช้เวลานานกว่า 3 วันจึงจะเย็นเป็นปกติ โบกาฉิฟางที่ทำได้ผลดีจะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด และจะมีราขาว ๆ ปะปนอยู่


วิธีใช้



  1. ใช้สำหรับเตรียมดินปลูกพืชทุกชนิด โดยการโรยโบกาฉิฟางประมาณ 2 กำมือ [200 กรัม] ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับอีกชั้นหนึ่งแล้วรดด้วยน้ำผสม EM 10 ซีซี ต่อ น้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วันค่อยปลูกผักหรือพืชต่างๆได้

  2. ในกรณีที่ใช้กับแปลงผักที่ปลูกแล้ว ใช้โบกาฉิฟางโรยรอบๆ ทรวงพุ่ม [ระวังอย่าให้โดนใบและโคนต้นผัก] คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้าแล้วรดน้ำด้วย EM อีกครั้ง ใช้เดือนละ 1 – 2 ครั้งก็พอ

  3. สำหรับไม้ผลและพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ให้ใช้โบกาฉิฟางโรยรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กก. ต่อปี ใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้นใส่ปีละ 1 กก.

การทำโบกาฉิมูลสัตว์


วัสดุและส่วนผสม[โดยประมาณ]


            มูลสัตว์ [ทุกชนิด]                                   1          ส่วน [ปริมาตร]


            แกลบดิบ                                               1          ส่วน [ปริมาตร]


            รำละเอียด                                             1          ส่วน [ปริมาตร]


            EM                                                   10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


                        กากน้ำตาล                           10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


                        น้ำ                                            10        ลิตร


วิธีทำ



  1. ผสม EM กากน้ำตาลกับน้ำที่เตรียมไว้

  2. นำแกลบลงแช่ในน้ำผสม EM แล้วเอาขึ้นผสมกับมูลสัตว์

  3. นำรำละเอียดลงคลุกเคล้ากับแกลบผสมกับมูลสัตว์ จนได้ความชื้นไม่เกิน

50 เปอร์เซ็นต์ ดังกล่าวแล้วในตอนต้น



  1. นำไปกองบนกระสอบป่านที่มีฟางรองหนาพอสมควรอย่าให้สูงเกิน 1 ฟุต [ประมาณ2 คืบ] คลุมด้วยกระสอบป่านหมักทิ้งไว้ 5 ชั่วโมง

  2. เมื่อหมักครบ 5 ชั่วโมง เริ่มตรวจสอบความร้อนทุกๆ ชั่วโมง ควบคุมอย่าให้เกิน 50 องศาเซลเซียส ถ้าร้อนอยู่ระหว่าง 40 – 45 องศาเซลเซียส ให้กลับกองปุ๋ยทันที

ใช้เวลาหมัก 3 – 4 วัน



  1. โบกาฉิมูลสัตว์ที่ได้ผลดี จะมีกลิ่นหอมเหมือนเห็ดนำไปใช้ได้เลยหรือจะบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่ๆ ไม่โดนความชื้นจนกว่าจะนำไปใช้ก็ได้

วิธีใช้



  1. นำไปใช้เช่นเดียวกับการใช้โบกาฉิฟาง

  2. ใช้หว่านลงในสระน้ำเพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสียให้กลับดีเหมือนเดิม

การทำปุ๋ยคอกหมัก


            ปุ๋ยคอกได้แก่มูลสัตว์ของ วัว ควาย หมู และไก่ เป็นต้น ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรคและแมลงต่อพืช ก่อนนำไปใช้ควรนำไปหมักด้วย EM เสียก่อน


วัสดุและส่วนผสม[โดยประมาณ]


                        ปุ๋ยคอก                                                  1          ส่วน [ปริมาตร]


                        แกลบเผา                                               1          ส่วน [ปริมาตร]


                        รำละเอียด                                             1          ส่วน [ปริมาตร]


                        EM                                                   10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


                        กากน้ำตาล                                       10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


                        น้ำ                                                         10         ลิตร


วิธีทำ



  1. ผสมปุ๋ยคอก แกลบเผา และรำละเอียดเข้าด้วยกัน

  2. รดน้ำผสม EM คลุกเคล้าให้เข้ากันดีจนได้ความชื้นพอเหมาะไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์

[วิธีสังเกตเหมือนการทำปุ๋ยโบกาฉิแบบอื่นๆ]



  1. นำไปกองเกลี่ยบนพื้นซีเมนต์หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3 – 5 วันโดยไม่จำเป็นต้องกลับ

  2. ปุ๋ยคอกหมักที่มีคุณภาพดีจะไม่มีกลิ่นเหม็นไม่ส่งก๊าซแอมโมเนียไม่ร้อน

 


การทำโบกาฉิหมักดิน


วัสดุและส่วนผสม[โดยประมาณ]


                        ดินแห้งทุบละเอียดแล้ว                            5                      ส่วน [ปริมาตร]


                        รำละเอียด                                             2                      ส่วน [ปริมาตร]


                        แกลบเผา                                               2                      ส่วน [ปริมาตร]


มูลสัตว์[ทุกชนิด]                                    2                      ส่วน [ปริมาตร]


                        EM                                                   10 – 20                  ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


                         กากน้ำตาล                                      10 – 20                  ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


                        น้ำ                                                         10                     ลิตร


วิธีทำ


          1.ผสมดิน แกลบ และมูลสัตว์ คลุกเคล้าจนเข้ากันดี


            2.นำรำละเอียดลงผสมคลุกเคล้าลงไป


            3.ผสม EM กากน้ำตาล และน้ำรดลงบนกองส่วนผสมให้ได้ความชื้นพอดี 50 เปอร์เซ็นต์


[ดังกล่าวมาข้างต้น]


            4.นำส่วนผสมทั้งหมดกองลงบนพื้นซีเมนต์ หรือ พื้นธรรมดาทั่วไปให้หนาประมาณ


10 ซ.ม  คลุมทับด้วยกระสอบป่าน


5.ถ้าคอยกลับบ้างจะใช้เวลา 3 – 4 วัน แต่ถ้าไม่กลับเลยจะใช้เวลา 5 – 6 วันจึงจะใช้ได้


ข้อสังเกต


-หลังจากหมักไว้ 1 คืนจะมีราขาวๆ เกิดขึ้นเป็นเชื้อราที่มีประโยชน์เกิดจากสปอร์ของ EM


-โบกาฉิหมักดินที่ใช้ได้จะไม่ร้อน ไม่มีกลิ่นเหม็น แต่จะมีราขาวขึ้นเต็ม


วิธีใช้



  1. ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกพืชผักหรือผลไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับทุกชนิด

  2. ใช้ได้ผลดีสำหรับดินที่ใช้เพาะต้นกล้า และเพาะชำกล้าไม้ จะได้กล้าไม้ที่แข็งแรงสมบูรณ์โดยมีส่วนผสมสำหรับเพาะกล้าดังนี้

โบกาฉิหมักดิน                                        1          ส่วน [ปริมาตร]


            ดินร่วนธรรมดา                                       1          ส่วน [ปริมาตร]


            แกลบเผา                                                           1          ส่วน [ปริมาตร]


            ขุยมะพร้าว                                                        1          ส่วน [ถ้ามี]


            นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าจนเข้ากันดีก่อนนำไปใช้


 


การทำโบกาฉิหมัก 24 ชั่วโมง


วัสดุและส่วนผสม[โดยประมาณ]


            หญ้า ฟางแห้งตัดท่อน [5-10ซ.ม.]                        10        ส่วน [ปริมาตร]


            โบกาฉิฟางหรือโบกาฉิมูลสัตว์                   1          ส่วน [ปริมาตร]


            รำละเอียด                                                 0.5 - 1          ส่วน [ปริมาตร]


            EM                                                               10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


            กากน้ำตาล                                                   10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


            น้ำสะอาด                                                          10          ลิตร


วิธีทำ



  1. ผสม EM กากน้ำตาล และน้ำใส่ในกาละมังไว้

  2. นำหญ้า หรือ ฟางแห้งที่ตัดไว้เป็นท่อนๆ ลงจุ่มในน้ำผสม EM จนให้ชุ่ม

แล้วยกขึ้นกองรอ



  1. ผสมรำละเอียดกับโบกาฉิฟางหรือโบกาฉิมูลสัตว์ให้เข้ากันดี แล้วนำไปคลุกกับหญ้า หรือฟางเปียกที่กองรอไว้จนเข้ากันดี

  2. นำส่วนผสมทั้งหมดไปกองบนพื้นซีเมนต์ หรือบนผ้าพลาสติกเป็นกองกลมหรือสี่เหลี่ยมก็ได้ อย่าให้หนาเกิน 1 ฟุต แล้วคลุมทับด้วยกระสอบป่านให้มิด

  3. หมักไว้ 18 ช.ม คุ้ยกลับ 1 ครั้ง จากนั้นก็คลุมด้วยกระสอบต่ออีก 6 ช.ม

  4. เมื่อครบ 24 ช.ม เปิดกระสอบออกเกลี่ยโบกาฉิหมักบางๆ ผึ่งไว้จนแห้งแล้วจึงนำไปใช้ได้

วิธีใช้



  1. ใช้รองก้นหลุมเพื่อปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ดอกและไม้ประดับทุกชนิด

  2. ใช้ผสมดินเตรียมแปลงผัก ผสมหญ้าแห้งหรือฟางคลุมแปลงผัก คลุมโคนต้นไม้ผลทุกชนิด

  3. ใช้เป็นหัวเชื้อขยายทำเป็นโบกาฉิหมัก 24 ช.ม. ต่อได้อีก และโบกาฉิใหม่ที่ได้สามารถนำไปทำต่อได้อีกเรื่อยๆ [จนกว่าจะเบื่อทำ]

 


ส่วนผสมที่จะทำต่อ [โดยประมาณ]


          โบกาฉิหมัก 24 ช.ม.                                            1          ส่วน [ปริมาตร]


            หญ้า ฟางแห้ง                                                    10        ส่วน [ปริมาตร]


            รำละเอียด                                                      0.5 – 1    ส่วน [ปริมาตร]


            EM                                                               10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


            กากน้ำตาล                                                   10 – 20       ซีซี [1-2 ช้อนโต๊ะ]


            น้ำสะอาด                                                          10          ลิตร


วิธีทำ


          วิธีทำและนำไปใช้ก็เช่นเดียวกับโบกาฉิหมัก 24 ช.ม. ครั้งแรก


 


 


การทำซุปเปอร์โบกาฉิผสมอาหารสัตว์


วัสดุและส่วนผสม[โดยประมาณ]


            เปลือกหอยป่น                                        0.2                   กก.


            กระดองปูป่น                                          0.2                  กก.


กระดูกป่น                                              0.2                  กก.


แกลบเผา                                               0.2                   กก.


ปลาป่น                                                 6                      กก.


กากถั่ว                                                   6                      กก.


รำละเอียด                                             20                    กก.


            EM                                                        10        ซีซี [1 ช้อนโต๊ะ]


            กากน้ำตาล                                            10        ซีซี [1 ช้อนโต๊ะ]


            น้ำสะอาด                                              5            ลิตร


วิธีทำ



  1. ผสมวัสดุที่ใช้ทั้งหมดเข้าด้วยกันจนเข้ากันดี

  2. ละลาย EM กากน้ำตาล น้ำ คนจนเข้ากันดีนำไปพ่นเป็นฝอยบนส่วนผสมในข้อ 1 แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดี โดยให้ได้ความชื้นไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์

  3. เอาบรรจุใส่กระสอบป่านผูกปากให้แน่น ใส่ลงในถุงพลาสติกดำทึบแสง ขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่ง มัดปากถุงให้แน่นอย่าให้อากาศเข้า หมักไว้ 3 วัน ความร้อนจะอยู่ระหว่าง 35 – 40 องศาเซลเซียส

  4. เมื่อหมักครบ 3 วัน เอากระสอบออกจากถุงพลาสติกดำทึบแสง ทิ้งไว้ในร่มอีก 3 วัน อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและจะเย็นลง โดยพยายามกลับกระสอบทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นในกระสอบไปกองอยู่ด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้จับกันเป็นก้อนได้

ข้อสังเกต


          เมื่อหมักได้ที่แล้ว จะมีกลิ่นหอมมากกว่าปุ๋ยโบกาฉิแบบอื่นๆ


วิธีใช้



  1. ใช้ผสมกับอาหารสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลา กุ้ง กบ ฯลฯ ในอัตรา 2 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารที่ให้แต่ละครั้ง [หรือซุปเปอร์โบกาฉิ 2 กก. ต่อ อาหารสัตว์ 100 กก.] จะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงให้ผลผลิตสูง

  2. นำไปละลายน้ำในอัตราส่วน 0.5 กก. ต่อน้ำ 100 ลิตร ทำเป็นน้ำโบกาฉิหมักทิ้งไว้

12 – 24 ชม. ก่อนนำไปรดพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะพืชผักที่ปลูกใหม่ๆ จะทำให้ผักฟื้นตัวและโตเร็ว



  1. ใช้หว่านลงในบริเวณสระน้ำ เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำที่เน่าเสียให้กลับดีเหมือนเดิม หรือใช้เพื่อคอยปรับสภาพน้ำที่ดีอยู่แล้วไม่ให้เน่าเสียได้

 


การทำฮอร์โมนพืช


วัสดุ


          กล้วยน้ำหว้าสุก              2          กก.       หรือ                  1          กก


            ฟักทอง                          2          กก.                               1          กก


            มะละกอสุก                               2          กก.                               1          กก


            EM                                            20        ซีซี                                10        ซีซี


            กากน้ำตาล                          40 - 50       ซีซี                           20 – 25      ซีซี


            น้ำ                                            10          ลิตร                            5         ลิตร


 


 


วิธีทำ



  1. สับกล้วย ฟักทอง มะละกอ ทั้งเปลือกและเมล็ดเข้าด้วยกันจนละเอียด ผสม EM

กากน้ำตาล น้ำ คลุกให้เข้ากันดี



  1. บรรจุลงในถุงปุ๋ย หมักไว้ในถังพลาสติก ปิดฝา หมักไว้ 7 – 8 วัน

วิธีใช้


1.นำส่วนที่เป็นน้ำ 20 ซีซี ผสม น้ำสะอาด 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดีขึ้น


2.ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถังปุ๋ยใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้การแตกรากดีมาก


 


การประยุกต์ใช้ EM ในนาข้าว


ในพื้นที่ 1 ไร่ ใส่โบกาฉิ ประมาณ 200 กก. โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้


ไถพรวน



  1. หว่านโบกาฉิ 100 กก. ให้ทั่ว

  2. ผสม EM 400 ซีซี กากน้ำตาล 400 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่แล้วไถพรวนให้ทั่วทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้ EM ย่อยสลายวัชพืชและฟางข้าวให้เป็นปุ๋ยธรรมชาติและเร่งการงอกเของเมล็ดพืช

  3. 15 วันหลังไถแล้ว ผสม EM และกากน้ำตาลอย่างละ 400          ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วพื้นที่ แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้กลายเป็นปุ๋ยพืชสด

  4. ทิ้งไว้อีก 15 วันจึงไถและคราดเพื่อดำนาต่อไป

ไถคราด



  1. พ่น EM อัตราส่วนเดิมอีกครั้ง

  2. ไถคราดให้ทั่วเพื่อเตรียมปักดำ

หลังปักดำ 7 – 15 วัน


          1.   หลังปักดำ 7 – 15 วัน หว่านโบกาฉิให้ทั่วแปลง 30 กก./ไร่


            2.    พ่นด้วย EM กากน้ำตาล อย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร


ข้าวอายุ  1 เดือน



  1. หว่านโบกาฉิ  30 กก./ไร่

  2. พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200ลิตร

ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย



  1. หว่านโบกาฉิ  40 กก./ไร่

  2. พ่นด้วย EM กากน้ำตาลอย่างละ 200 ซีซี ผสมน้ำ 200ลิตร

หมายเหตุ



  1. เฉลี่ยพื้นที่ 1 ไร่ ใช้โบกาชิ 200 กก.ต่อไร่

  2. ในปีแรกที่ใช้ โบกาฉิ กับนาข้าวอาจต้องใช้ปริมาณมากแต่เมื่อดินดีแล้วปีต่อๆไปจึงค่อยๆลดปริมาณการใช้ลง

  3. ป้องกันเพลี้ยระบาด โรคแมลงศัตรูพืชต่างๆรบกวน ควรฉีดพ่นด้วย EM5 ทุกๆ15วันในอัตราส่วน EM5 400 ซีซีผสมกากน้ำตาล 400 ซีซี และน้ำ 200 ลิตร

การทำให้ดินร่วนซุยด้วย EM


          ตามปกติแล้วลักษณะของดินนั้นจะแน่นจับกันเป็นก้อนแข็งมีลักษณะที่ระบายน้ำไม่ดีจึงทำให้น้ำไหลผ่านไปบนหน้าดิน แต่หลังจากการใช้ EM ด้วยการทำงานของ EM ดินจะจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเล็กร่วนซุยมีสภาพอุ่มน้ำได้ดียิ่งขึ้นซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะกับการเกษตรเป็นอย่างมาก


แก้ปัญหาเกี่ยวกับวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี


          ในกรณีของนาข้าวและไร่ หลังจากการใส่ EM จะทำให้เมล็ดยาวัชพืชที่พักตัวอยู่งอกขึ้นมาทั้งหมดจึงสามารถกำจัดวัชพืชทั้งหมดได้ด้วยการไถพรวนเป็นการตัดวงจรชีวิตของวัชพืชไม่ให้งอกออกมาอีกต่อไปอาจใช้วิธีตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆให้เกิดรอยช้ำก่อนแล้วจึงค่อยโรย  โบกาฉิทับลงไปจะทำให้รากวัชพืชตายและไม่งอกขึ้นมาอีกเมื่อใช้ EM ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องไม่นานนักปัญหาเรื่องวัชพืชก็หมดไป


การปลูกโดยไม่ต้องไถพรวน


          การไถพรวนเพื่อต้องการให้ดินที่แข็งตัวร่วนขึ้นอุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดีการใช้ EM จะช่วยให้ดินไม่จับตัวกันแข็งแต่จะร่วนซุยอุ้มย้ำได้ดี อากาศผ่านได้จึงไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไปเกษตรกรที่ใช้ EM มา 3 ปี และเลิกการไถไปแล้วสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นทุกปีอีกด้วย


 


การใช้ EM กับการปศุสัตว์


EM กับการเลี้ยงสุกร



  1. ทำการขยาย EM ในอัตราส่วนผสม EM 1 ลิตรกากน้ำตาล 1 ลิตรผสมน้ำสะอาด 100 ลิตรแล้วปิดฝาให้สนิทหมักทิ้งไว้ 3 วัน [ดังได้กล่าวไว้แล้วขั้นต้น] นำไปฉีดล้างให้ทั่วคอกจะสามารถกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ชั่วโมง

เมื่อสะอาดปลอดกลิ่นดีแล้วต่อไปใช้เพียงสัปดาห์ละ 1-3 ครั้งก็พอ โดยน้ำล้างคอกที่มี EM ผสมอยู่ด้วยจะลงไปช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นอีกด้วย



  1. ผสม EM 1 ลิตรกับน้ำสะอาด 1,000-10,000 ลิตร [โดยประมาณ] ให้สุกรกินทุกวัน เพื่อช่วยให้สุกรแข็งแรงและมีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย

  2. ผสม EM5 จำนวน 1 ลิตร กับน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำทิ้งเพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะช่วยลดจำนวนลงได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์

  3. ผสมซุปเปอร์โบกาฉิประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ในอาหารที่ให้สุกรกินแต่ละวันเพื่อเสริมสุขภาพของสุกร

  4. กรณีลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ใช้ EM [หัวเชื้อ] 5 ซีซี หยอดเข้าทางปากจะช่วยได้

  5. มูลสุกรที่ใช้ EM แล้ว สามารถนำไปใช้ทำโบกาฉิหมักต่างๆ หรือทำเป็นอาหาร ปลา กุ้ง กบได้ [ขึ้นอยู่กับการนำไปประยุกต์ใช้]

 


ข้อสังเกต



  1. ฟาร์มที่ใช้ EM ส่วนมากจะไม่พบสุกรมีอาการท้องเสีย

  2. สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะต่างๆได้

  3. มีประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ดีขึ้น แม่สุกรในบางฟาร์มให้ลูกถึง 14 – 16 ตัว

โดยไม่มีตายเลย



  1. สุกรขุนที่ให้ EM จะให้เนื้อแดงมาก ไขมันมีน้อยและสุกรมีน้ำหนักมากกว่าปกติที่เคยได้

หมายเหตุ


ข้อมูลที่ได้จากการกำจัดกลิ่นเหม็นของโรงเลี้ยงสัตว์ จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2532














สารต่าง ๆ


ก่อนใช้


หลังใช้


หมายเหตุ


แอมโมเนีย [ppm]


ไฮโดรเจนซัลไฟด [ppm]


Methyl Mercaptan [ppm]


Trimethiylamin


 


2,100


1,720


0.014


0.031


0.006


วัดค่าไม่ได้


วัดค่าไม่ได้


วัดค่าไม่ได้


ใช้แบคทีเรีย,แลคโตบาซิลลัส


แอคทิโนไมชีส,ยีสต์ เป็นหลัก


ระยะเวลาที่มีผล 15 – 30 วัน [2532] จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยริวกิว ประเทศญี่ปุ่น


 


 


EM กับการเลี้ยงไก่



  1. ใช้ EM ที่ขยายแล้ว ฉีดพ่นตามพื้นเพื่อกำจัดกลิ่นแก๊สและกลิ่นเหม็นจากมูลทุกๆ

4 วัน มูลไก่เหล่านี้ไปใช้ทำโบกาฉิ หรือ นำไปใช้เป็นปุ๋ย ใส่โดนต้นไม้และแปลงผักต่างๆ



  1. ผสม EM [หัวเชื้อ] จำนวน 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 – 10,000 ให้ไก่กินทุกวันจะช่วยให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรง ไข่ดก ไก่เนื้อมีน้ำหนักดี อัตราการตายต่ำและมูลไก่จะไม่มีกลิ่น

หมายเหตุ


          วัว ควาย และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ก็สามารถนำ EM ไปประยุกต์ใช้ได้ เช่นเดียวกัน


การใช้ EM ในการประมง


กบ ตะพาบน้ำ ปลา และจระเข้


วิธีใช้



  1. ใช้ EM ที่ขยายแล้วใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในอัตรา 1 : 1,000 หรือ EM 1 ลิตร ต่อน้ำ

 1 – 10 ลูกบาศก์เมตร ใส่บ่อทุกๆ 7 – 10 วัน แล้วแต่สภาพของน้ำและอัตราความหนาแน่นของสัตว์ที่เลี้ยง



  1. ผสมอาหารให้กินโดยใช้ EM ผสมน้ำ ในอัตรา EM 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 – 100 ส่วน

คลุกกับอาหารหรือแช่ไว้ก่อนให้กินก็ได้ แล้วแต่ละชนิดของสัตว์เลี้ยง


ในฟาร์มเลี้ยงกบบางฟาร์ม หลังจากใส่ EM ลงในบ่อเลี้ยงกบครั้งแรก แล้วไม่ต้องใส่อีก เพราะน้ำในบ่อจะได้ EM เพิ่มทุกวันจากอาหารที่แช่ EM และเมื่อเริ่มต้นควรใช้ EM อย่างเจือจางก่อน



  1. การใช้ EM ด้วยวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้น้ำไม่เสีย ไม่จำเป็นต้องถ่ายน้ำบ่อยๆ หรือไม่ต้องถ่ายน้ำเลยจนกว่าจะจับสัตว์ขาย ช่วยให้สัตว์มีสุขภาพดี แข็งแรง ไม่เป็นโรค สัตว์โตเร็ว และอัตราการตายต่ำ

 


การใช้ EM ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ [ต่อเนื้อที่ 1 ไร่]


การเตรียมบ่อ



  1. หลังจากระบายน้ำออกจับกุ้งแล้ว ตากบ่อไว้ 7 – 10 วัน แล้วสูบน้ำเข้าพอท่วมผิวบ่อ

  2. ใส่ EM ที่ขยายแล้วในอัตรา 50 – 100 ลิตร ต่อ 1 ไร่ ทิ้งไว้ 7 – 15 วัน หรือจนกว่าดินไม่เป็นโคลน และจะมีกลิ่นเหมือนดินธรรมดา

  3. สูบน้ำเข้าบ่อลึกประมาณ 1 – 1.5 เมตร

  4. ใส่ EM ที่ขยายแล้วในอัตราส่วน 100 – 150 ลิตร ต่อไร่ ทิ้งไว้อีก 3 – 7 วัน

  5. ใช้โบกาฉิมูลสัตว์ใส่ถุงแขวนตามขอบบ่อ ไรละ 2 – 4 ถุง ๆ ละ 3 – 5 กก. พร้อมกับตีน้ำวันละ 4 – 5 ช.ม. จนน้ำในบ่อมีสีเขียว ตามต้องการ [7 – 10 วัน] สีเขียวที่เกิดขึ้นเป็นสีเขียวที่เกิดจากตัวแพลงตอน ตัวแพลงตอนจะช่วยให้ออกซิเจนในน้ำในเวลากลางวันที่มีแดด และบางชนิดเป็นอาหารของลูกกุ้งด้วย

การปล่อยกุ้ง



  1. ก่อนปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ ต้องปรับให้ลูกกุ้งเข้ากับสภาพของน้ำในบ่อเสียก่อน [ประมาณ 5 – 6 ช.ม.]

  2. ปล่อยลูกกุ้งเพียงพอเหมาะ อย่าให้น้อยหรือแน่นจนเกินไป ตามปกติจะใส่ลูกกุ้งไร่ละ 80,000 – 100,000 ตัว หรือประมาณ 50 – 70 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

  3. ในระยะ 2 เดือนแรกหลังจากปล่อยลูกกุ้งใส่ EM ในอัตรา 100 – 150 ลิตร ต่อไร่ ทุก 5 – 7 วัน

  4. ในระยะ 2 – 4 เดือนใส่ EM ในอัตราเดียวกันทุก 1-2-3 วันจนถึงวันจับกุ้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของกุ้งที่เลี้ยงและสภาพของน้ำในบ่อ

  5. ในกรณีฉุกเฉินเพื่อต้องการแก้สภาพน้ำให้ได้เร็วขึ้น ควรใช้โบกาฉิใส่ในบ่อ โดยการหว่านให้ทั่วบ่อในอัตรา 10 กก. ต่อไร่

  6. ผสมในอาหารให้กุ้งกิน โดยใช้ EM ที่ขยายแล้วผสมอาหารกุ้งในอัตราส่วน EM

1 ลิตร ต่ออาหาร 10 – 15 ก.ก. หมักอย่างน้อย 4 ช.ม. ก่อนหว่านให้กิน



  1. เมื่อลูกกุ้งมีอายุมากขึ้นจะต้องการออกซิเจนมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่กำลังลอกคราบจำเป็นต้องตีน้ำให้ออกซิเจนนานขึ้นกว่าในระยะลูกกุ้งยังเล็ก

ข้อสังเกต



  1. บ่อเลี้ยงกุ้งที่ใช้ EM ควรลดการใช้ยาปฏิชีวนะลงหรือไม่ใช้เลยนั้นจะทำให้กุ้งแข็งแรง โตเร็ว ตัวสะอาด ไม่เป็นโรค และอัตราการเลี้ยงรอดสูง

  2. สภาพสีน้ำค่อนข้างคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงน้อย

  3. ปริมาณขี้เลนน้อยไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีก๊าซแอมโมเนียและก๊าซไข่เน่า

ข้อแนะนำการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด



  1. การเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบปิด หมายถึง การเลี้ยงกุ้งโดยไม่ถ่ายน้ำออกและไม่เอาน้ำใหม่จากภายนอกเข้าตลอดการเลี้ยงตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจับกุ้งขาย

  2. การใช้ EM จะช่วยให้การเลี้ยงกุ้งระบบปิดนี้ได้สำเร็จ เพราะ EM ช่วยปรับสภาพน้ำให้ดีอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเอาน้ำใหม่จากภายนอกเข้ามาแทนอย่างที่เราปฏิบัติกันอยู่ตามปกติ

  3. การเลี้ยงกุ้งระบบปิดจะให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรมีบ่อพักน้ำที่ผสมด้วย EM ที่ปรับสภาพน้ำไว้แล้ว พร้อมที่จะนำไปเติมใส่ในบ่อเลี้ยงกุ้งตามต้องการโดยไม่เสี่ยงกับการนำเอาเชื้อโรคเข้ามาจากน้ำภายนอก

  4. การกระตุ้นให้กุ้งลอกคราบดีขึ้น โดยการเอาน้ำใหม่เข้าเราก็สามารถทำได้โดยการถ่ายน้ำเข้า – ออก กับบ่อพักน้ำที่เราเตรียมเอาไว้แล้ว

  5. การใช้ EM ในบ่อพักน้ำก็กระทำเช่นเดียวกันกับการเตรียมบ่อเพื่อเลี้ยงลูกกุ้ง

หมายเหตุ


          สำหรับการเลี้ยงกุ้งในหน้าร้อน เมื่อน้ำทะเลมีความเค็มจัดควรใช้น้ำบาดารหรือน้ำจืดจากแหล่งอื่นเติมในบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อลดความเค็ม จะช่วยให้การเลี้ยงกุ้งได้ผลดีขึ้น


 


การใช้ EM บำบัดน้ำเสีย


น้ำเสียจากชุมชน


          นำ EM ที่ขยายแล้วไปราดตามท่อระบายน้ำ หรือผสมลงในถังน้ำชำระล้างต่างๆเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และให้น้ำผสม EM ทำการบำบัดและไหลลงไปรวมในบ่อบำบัดน้ำต่อไป


 


น้ำเสียจากโรงพยาบาล โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม


          ใช้ EM ที่ขยายแบบน้ำและโบกาฉิกับระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่เดิม [ด้วยวิธีใช้เครื่องตีน้ำ เพื่อให้อากาศแก่แบคทีเรียที่ต้องการอากาศทำงาน] EM เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศในการทำงานจึงสามารถบำบัดน้ำเสียโดยการย่อยสลายอินทรียวัตถุในน้ำเสียให้สะอาดได้ ไม่ต้องใช้เครื่องตีน้ำเป็นการลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดี มีประสิทธิภาพกว่า และย่อยสลายตะกอนที่เป็นอินทรียวัตถุจนหมดไปได้ สามารถนำน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นสุดท้ายแล้วไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ได้อีกด้วย


            ขยะที่ได้จากครัวเรือน ร้านอาหาร และโรงแรม ส่วนใหญ่จะเป็นขยะเปียก เป็นพวกเศษอาหารทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน EM สามารถบำบัดกลิ่นเหม็น และกำจัดแมลงวันได้ โดยการตัดวงจรชีวิตของแมลง อีกทั้งทำการย่อยสลายเศษอาหาร นำไปใช้เป็นปุ๋ยแก่พืชผัก และ ผลไม้ต่างๆ ได้อีกด้วย


            ใช้ EM ที่ขยายแล้ว ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นบริเวณกองขยะหรือพ่นให้คลุกเคล้ากับขยะที่จะนำไปทิ้ง หรือนำไปฉีดบนกองขยะที่รถขนขยะของเทศบาลนำไปทิ้งในที่ทิ้งขยะ EM ก็จะทำงานบำบัดขยะ ลดกลิ่นเหม็นและไม่มีแมลงวันหลังจากขยะฉีดด้วย EM แล้วนำไปฝังกลบ ก็จะยิ่งเป็นผลดี


การใช้ EM บำบัดกลิ่นเหม็นและกำจัดแมลงวันจากเศษอาหาร


            ทุกครัวเรือน ร้านอาหาร และภัตตาคาร ล้วนมีเศษอาหารที่เป็นผัก ผลไม้ และเศษอาหารอื่นๆ จำนวนมากน้อยแล้วแต่สถานที่ สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยหมักชั้นเลิศ เพื่อใส่พืชผักและผลไม้ที่ปลูกไว้ได้


วิธีทำ



  1. ถังพลาสติกมีฝาปิดขนาด 20 – 200 ลิตร แล้วแต่ปริมาณเศษอาหารที่จะได้หรือต้องการ

  2. เจาะรูติดก๊อกน้ำบริเวณก้นถัง เพื่อไว้ระบายน้ำปุ๋ยหมัก ใช้ก๊อกให้มีขนาดโตพอสมควร เพื่อป้องกันการอุดตัน

  3. ถุงพลาสติกสีดำ เจาะรูเล็กๆ ที่ก้นถุง 2 – 3 รู เพื่อให้น้ำปุ๋ยหมักผ่านทะลุได้หรือจะใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่นำมาตัดเย็บเป็นถุงก็ได้ หรือจะใช้กระสอบปุ๋ยที่น้ำซึมผ่านได้ก็ใช้ได้เช่นกัน

  4. นำเอาถุงใส่เศษอาหารที่เตรียมไว้ใส่ลงในถังหมักที่มีวัสดุรองก้นถังให้สูงจากระดับก๊อกน้ำเล็กน้อย

  5. ใช้โบกาฉิ 1 กำมือ ใส่คลุกกับเศษอาหาร 1 กก. ใส่ลงในถุงทุกวันจนเต็มถุง

  6. ปิดฝาถังหมักไว้ตลอดเวลา หมักไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ก็จะมีน้ำปุ๋ยหมักซึมออกมาอยู่ที่ก้นถังหมัก

  7. ไขก๊อก เอาน้ำที่ได้ไปผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 – 1,000  รดพืชผักและต้นไม้ทุกๆวัน

  8. ผสมน้ำปุ๋ยหมักกับน้ำ 1 : 20 – 50 หรือไม่ผสมก็ได้ ราดพื้นห้องส้วม ชักโครก หรือจุดที่มีกลิ่นเหม็นบริเวณบ้าน เทราดอ่างล้างจาน ขจัดคาบไขมันเกาะติด หรือราดในท่อน้ำทิ้งเพื่อดับกลิ่นก็ได้ผลดี

  9. กากอาหารที่เหลือ ก็สามารถนำไปคลุกกับดินเป็นปุ๋ยต้นไม้ได้ดี

ข้อสังเกต



  1. ถ้าหมักได้ที่จะไม่มีแมลงวันหรือมีกลิ่นเหม็น แต่กลิ่นจะหอมอมเปรี้ยว

  2. ถ้ามีกลิ่นเหม็นและมีกลิ่นก๊าซแอมโมเนีย แสดงว่าหมักไม่ได้ผล

  3. ระหว่างหมักอาจจะมีหนอนแมลงวันเกิด แต่มันจะไม่กลายเป็นแมลงวันจะเป็นหนอนตัวโตกว่าปกติ มีอายุอยู่นานได้หลายๆ วันแล้วตายไปเอง

 


__________________________________________________________________________


                                               


 


 


           


 


 


           


 

ความเห็น

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ :cute: :cute:

ก๊อป ไว้แล้ว ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ครับ โหวต ๆๆๆๆ

 

:victory: :hi: เก็บไว้แล้ว...ต้องได้ทำสักครั้งละ

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

ครบทุกอย่าง. ขอบคุณข้อมูลEM ค่ะ

:beg:...ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากนะคะ เห็นความตั้งใจในการจัดหาข้อมูลเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะค่ะคุณวรรณ

ชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ จะทำให้ยากทำไม


 

ขอขอบคุณ ที่ให้ความรู้ ข้อมูลดีมาก


ขอบคุณครับ

:cute: :cute:

 

 

หน้า