ดินเป็นกรดแก้ไขโดยการใส่โดโลไมท์
สืบเนื่องจากคุณอ้วนได้ส่งอุปกรณ์ทดสอบ pH ของดินมาให้ผม 1 ชุด ซึ่งอุปกรณ์ชุดนี้อยู่ในความคิดของผมมานานแล้วเพราะผมคิดว่ามีความสำคัญมากสำหรับเกษตรกรที่จะใ้ช้ในการทดสอบความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงดินที่เหมาะสม ผมเองเมื่อได้มาก็ทำการทดสอบดินทีใช้ในการปลูกพืชผักข้างบ้าน ปรากฎว่า pH อยู่ระดับ 4-4.5 ซึ่งบอกถึงความเป็นกรดอย่างมาก
เนื่องจากดินที่ปลูกผักอยู่ตอนนี้ไม่ใช่สภาพดินเดิมแต่เป็นดินที่เกิดจากการถมที่ เป็นดินลูกรัง ลักษณะดินเมื่อแห้งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง อินทรีย์วัถตุในดินน้อย
ผมเองเมื่อเริ่มต้นปลูกผักก็ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงดินมาตลอด แต่สภาพพืชที่ปลูกหลายๆ อย่างยังไม่เป็นที่พอใจ คือเราทำปุ๋ยหมักใช้เองมาตลอด โดยใช้มูลวัว มูลไก่ นำมาหมักแต่ผลที่ออกมาดูเหมือนพืชไม่ค่อยดูดธาตุอาหารสักเท่าไหร่ หลังๆ ก็ไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดของปฐมอโศกบ้าง แต่ก็ยังเหมือนเดิม
ผมก็เลยคิดว่าการปลูกผักของผมเริ่มจะไม่พอเพียงสักเท่าไหร่แล้วตอนนี้เนื่องจากต้นทุนจากการซื้อมูลสัตว์มาทำปุ๋ยหมัก และวัสดุอย่างอื่น เริ่มมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับพืชผักที่ออกมาถ้าคิดเป็นต้นทุน กำไร คิดว่าคงไม่คุ้มถ้าเป็นการทำเพื่อการค้า แต่ผมปลูกผักเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ก็เลยคิดว่าไม่เป็นไร
ที่คิดอย่างนั้นก็เพราะว่า ถ้าเราปรับสภาพดินไปเรื่อยๆ สักวันเมื่อดินมีอินทรีย์วัตถุในดินมากพอแล้ว คงจะลดต้นทุนในเรื่องปุ๋ยลงไปได้ในระยะยาว
หลังๆ มาก็เริ่มมีความคิดว่าถ้าเรามีเครื่องวัดความเป็นกรด-เป็นด่างของดินสักชุดคงจะดี อยู่ๆ คุณอ้วนก็ส่งมาให้ผม 1 ชุด โดยที่ผมไม่ได้ขอคุณอ้วน ***สงสัยผมคงคิดเสียงดังไปเนาะ เลยได้ยินถึงคุณอ้วน หรือไม่คุณอ้วนคงมีสัมผัสที่หกหรือไม่คุณอ้วนคงฝึกสมาธิภาวณาจนได้เจโตปริยญาณ สามารถรู้วาระจิตได้***
ดีใจมากสำหรับเครื่องวัดความเป็นกรด-เป็นด่างของดิน เมื่อนำไปทดสอบกับดินที่ปลูกผักแ้ล้วปรากฎผลออกมาว่าดินเป็นกรด pH 4-4.5 ผมก็นึกถึงโดโลไมท์ในทันทีในการปรับสภาพดินที่เป็นกรด
ผมก็เลยคิดว่า่ต้องศึกษาเรื่องโดโลไมท์ เพื่อความแน่ใจเสียก่อนว่าใช้อย่างไร หาได้ที่ใหน เป็นเคมี หรืออินทรีย์ มีประโยชน์ต่อดินหรือต่อพืชผักอย่างไร มากน้อยแค่ใหน และอีกหลายคำถาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมเองตั้งแต่เิีริ่มปลูกผักก็ไม่เคยใช้ปุ๋ยเีคมีเลย และตั้งใจเสมอมาว่าจะไม่ใช้เคมีเป็นเด็ดขาด ก็เลยคิดว่าต้องศึกษาก่อนนำโดโลไมท์มาใช้
ก็เลยได้สมัครเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์กู (Google) ได้เรียนรู้และคิดว่าพอจะเข้าใจ ว่าโดโลไมท์มีประโยชน์อย่างไร
เมื่อผมได้อ่านแล้วก็เลยคิดว่าอยากจะให้สมาชิกชาวบ้านสวนทุกท่านได้อ่านด้วย เพราะคิดว่าบางทีหลายท่านคงประสบปัญหาอย่างที่ผมประสบอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
บทความต่อไปนี้ได้มาจากเวปของสำนักงานเกษตรอำเภอตะกั่วทุ่ง takuathung.phangnga.doae.go.th/km/dolomite.docลองอ่านกันดูนะครับ
“ประโยชน์ของโดโลไมท์”
โดโลไมท์ เป็นสารปรับสภาพดิน และปรับโครงสร้างดิน ลดความเป็นกรด, แก้ดินเปรี้ยว, รักษาอาหารดินเสีย ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้พืชไม่ดูดปุ๋ย ใส่ปุ๋ยไปมากเท่าไหร่ พืชก็ไม่ดูดกิน อันเนื่องมาจากดินเสีย เพราะใช้เคมีกับดินมาเป็นเวลานาน
ส่วนประกอบ
แคลเซียมออกไซต์ 35%
แมกนีเซียมออก ไซต์ 25%
ซิลิกอนไดออกไซต์ 10%
คุณสมบัติ
- แก้ปัญหาการขาดธาตุอาหาร แคลเซียม แมกนีเซียม และซิลิกอน ในดิน
- แก้ปัญหาพืชไม่กินปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเท่าไหร่พืชก็ไม่โต ช่วยให้พืชดูดกินปุ๋ยได้ดีขึ้น
- เพิ่มค่าการดูดซับ และความสามารถการแลกเปลี่ยน CEC ของดิน
- เพิ่มการสังเคราะห์แสง การสร้างสารเขียว และการแบ่งเซลล์ของพืช
- เพิ่มความสามารถการทำงานของจุลินทรีย์ ปัองกันโรค และแมลงเข้าทำลาย
/โดโลไมท์...
- ๒ -
โดโลไมท์ มีทั้งชนิดผงและชนิดเม็ด
โดยทั่วไปโดโลไมท์ที่ใช้ในการเกษตร เพื่อปรับสภาพดิน หรือให้ธาตุอาหารหลัก และอาหารรองแก่ดิน แก่พืช แรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นผงฝุ่น ต่อมาได้มีพัฒนาการ เป็นชนิดอัดเม็ด มีขนาดใกล้เคียงกับเม็ดปุ๋ยเคมี เพื่อความสะดวกต่อการใช้งานทางด้านเกษตร เช่นใส่ไปกับเครื่องหยอดปุ๋ย หรือเครื่องพ่นปุ๋ยได้ ในขั้นตอนปั้นเม็ดของผู้ผลิตบางราย ได้มีการเพิ่มธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชลงไป เพื่อให้ผลผลิตทางด้านเกษตรกรรมดีขึ้นด้วย
แร่โดโลไมท์ชนิดอัดเม็ด
- สะดวก สามารถใช้ผสมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้ทันที
- สะดวก ในการขนส่งและการเก็บรักษา
- ความชื้นต่ำ เมื่อถูกน้ำหรือความชื้นจะสามารถย่อยสลายได้ทัน
- สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง
- ด้วยกรรมวิธีการผลิตอันทันสมัย ธาตุอาหารต่างๆยังคงสภาพอยู่แม้ผ่านความร้อน
- ผลิตจากแหล่งโดโลไมท์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย
- โรงงานตั้งอยู่ในแหล่งวัตถุดิบทำให้ต้นทุนต่ำ
- ผ่านการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหาร จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ประโยชน์ของแร่โดโลไมท์ต่อวงการอุตสาหกรรมทั่วไป
1. ใช้ในอุตสาหกรรมกระจกแก้ว
2. ใช้ในธุรกิจก่อสร้าง ทำปูนซีเมนต์ กระเบื้อง
3. ทำวัสดุทนไฟ เช่น บุเตาถลุงเหล็ก
4. ใช้ประโยชน์ในกระบวนการทำกระดาษ
5. ใส่ในบ่อกุ้ง ด้านการเปลี่ยนค่า pH ในน้ำ ช่วยให้กุ้งลอกคราบเร็ว
6. ใช้ทำยารักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก
7. ทำเครื่องปั้นดินเผา ตุ๊กตาเซรามิก
ประโยชน์ของแร่โดโลไมท์ต่อการเกษตร
1. ให้ธาตุอาหารหลักแก่พืช เพราะแร่โดโลไมท์ ที่เราขุดพบนั้นมีส่วนประกอบของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
2. ให้ธาตุอาหารรองแก่พืช นอกจากจะมีธาตุอาหารหลักแล้ว จากการส่งตรวจวิเคราะห์ยังพบธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุแคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน รวมทั้งธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นแก่พืช อาทิ เหล็ก แมงกานิส ทองแดง และสังกะสีอีกด้วย
3. ปรับปรุงบำรุงดินให้ร่วนซุย เนื่องจากโดโลไมท์เป็นแร่ที่มีลักษณะพรุน ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ทำให้จุลินทรีย์ในดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ พืชผลก็จะได้คุณภาพที่ดี
/4.ปลดปล่อยธาตุ...
- ๓ -
4. ปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน ดินที่ถูกตรึงธาตุอาหารไว้ เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานานและทำให้ปุ๋ยเคมีสะสมในดินเป็นจำนวนมาก จะทำให้รากพืชสามารถดูด และนำพาปุ๋ยที่สะสมในดินไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด
5. แก้ปัญหาสภาพดิน สภาพดินเปรี้ยว ดินพรุน ดินดาน ดินเสื่อมโทรม และดินที่ใช้ทำการเกษตรมาเป็นเวลานานๆ สามารถปรับสภาพดินให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการทำการเกษตร ส่งให้ผลผลิตที่ได้รับมีคุณภาพสูงสุด
6. ป้องกันและแก้ปัญหาพืชโตช้า แคระแกร็น ใบเหลือง ใบซีด ใบหงิกงอ ดอกผลร่วง ผลมีขนาดเล็ก รูปทรงผิดส่วน ผลผลิตตกต่ำ ใช้โดโลไมท์ ซึ่งเป็นแร่ธรรมชาติปรับสภาพดิน จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเห็นผลได้ดี
7. พืชสามารถนำธาตุอาหารต่างๆ รวมถึงอินทรียวัตถุที่มีในโดโลไมท์ไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เพราะมีการย่อยสลายที่สมบูรณ์
การปรับสภาพดินด้วย โดโลไมท์
โดโลไมท์ช่วยในการปลูกพืช ปรับสภาพน้ำ ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ช่วยในการเจริญเติบโตใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง กว่า 50% ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรส่วนประกอบสำคัญ : แคลเซียม ไม่ต่ำกว่า 43 %แมกนีเซียม ไม่ต่ำกว่า 22%นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแร่ธาตุ ซิลิกอน, โซเดียม, โปรแทสเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, ทาลิเนียม, ฟอสฟอรัสฯลฯทำมาจากหินฟอสเฟตจากธรรมชาติ ที่มีชื่อทางการว่าโดโลไมท์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางหน่วยงานในภาครัฐมีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาใช้ เพราะนอกจากจะเป็นการปรับปรุงบำรุงดินน้ำโดยวิธีธรรมชาติแล้ว ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากเดิมได้มากขึ้น คุณสมบัติในดินช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร และการติดเมล็ด เร่งสร้างความเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืช เพิ่มภูมิต้านทาน เสริมต้นพืชให้แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม และโรคแมลงต่างๆ- ควบคุมค่า pH
1. ยางพารา รองก้นหลุมด้วยโดโลไมท์ประมาณ 1-2 ขีด อายุ 1-6 ปี ใส่ประมาณ 1 กิโลกรัม/ต้น อายุ 7 ปี ขึ้นไป ใส่ประมาณ 2 กิโลกรัม/ต้น หมายเหตุ ยางหน้าตายให้ใส่ 5 กิโลกรัม/ต้น (หลังจาก 4 เดือน จะมีน้ำยางให้กรีดตลอดทั้งปี)
2. ต้นไม้ยืนต้นและไม้ผลทุกชนิด ให้รองก้นหลุมด้วยแร่โดโลไมต์ประมาณ 2-3 ขีด อายุ 1-5 ปี ใส่ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ผลไม้ที่ออกผลแล้ว และไม้ผลที่มีปัญหาให้ใส่ตามอายุอัตราส่วน 1 ปี : 1 กิโลกรัม หมายเหตุ กรณีต้นลองกองหรือไม้ผลเป็นโรคหนอนชอนเปลือก(ICU) ให้ใส่ปุ๋ย 10-15 กิโลกรัม (แล้วแต่ ขนาดต้น) เห็นผลภายใน 4 เดือน
3. การปลูกผักทุกชนิด รองแร่โดโลไมท์ก้นหลุม 1-2 ขีด ใส่ช่วงออกดอก-ผล อีกครั้ง เพื่อให้ดอกไม่ร่วง และผลใหญ่-โต หมายเหตุ ใส่ปุ๋ยดินแร่ฯ จะป้องกันแมลงกินใบ โดยไม่ต้องกางมุ้ง(ผักปลอดสารพิษ 100%) ภายใน 4 เดือน สามารถกรีดใหม่ได้และยังเพิ่มน้ำยางกว่าเดิมถึง 40%ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่มีในดินแร่ธรรมชาติโดโลไมท์ จะไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เช่น หน้ายางตาย หนอนชอนเปลือก โรครากเน่าฯลฯ ให้กลับมาเหมือนเดิมโดยไม่ต้องโค่นทิ้งเพื่อปลูกใหม่และมีธาตุอาหารหลายชนิด เพื่อไปบำรุงต้นไม้ให้แข็งแรงสมบูรณ์
/ในการใช้ปุ๋ย...
- ๔ -
ในการใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟต หรือ โดโลไมท์ นั้นให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นกรดเห็นด่างของดินด้วยกล่าวคือ ในสภาพดินที่มีแนวโน้มการเป็นกรดเห็นด่างสูงให้ใช้ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตและ ในสภาพดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างต่ำให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ ในการใช้ปุ๋ยโดโลไมท์นั้นควรให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมี ประมาณ 1 เดือน เพื่อป้องกันการดูดตรึงธาตุอาหารไว้ในดินทำให้มะพร้าวไม่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้การปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินโดยทั่วไปสภาพดินมีการเปลี่ยน แปลง เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปี เกิดการเปลี่ยน แปลงทางโครงสร้างของดิน เช่นดินจับแข็งกันเป็นก้อนซึ่งเกิดจากการตรึงธาตุอาหารบางชนิดที่จำเป็นต่อ พืชการไถพรวนดินที่ผิดวิธีที่ก่อให้เกิดการชะล้างของผิวดินการปลูกพืชชนิด เดียวกันเป็นเวลาติดต่อกันหลายปีทำให้เนื้อดินเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธี การปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินกระทำได้โดยใส่ปูนขาว ปูนมาร์ลหรือแร่โดโลไมท์ อัตรา200-300 กิโลกรัม / ไร่
หลังจากหว่านหรือใส่ปูนแล้วจะต้องรดน้ำตามด้วยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่าความเป็นกรดด่างของดิน หรือ พีเอช (pH) จะบอกค่าตัวเลขตั้งแต่ 0-14 หากดินมีค่าพีเอชน้อยกว่า7 ดินนั้นจะเป็นดินกรด ยิ่งน้อยกว่า 7 มากก็จะเป็นกรดมาก ถ้าดินมีพีเอ็ชมากกว่า 7จะเป็นดินด่างแต่ปกติแล้วพีเอชของดินโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 5-8 หากดินมีพีเอชเท่ากับ 7 แสดงว่าเป็นกลางความเป็นกรดเป็นด่างของดินจะเป็นตัวควบคุมการละลายหรือการ ตรึงธาตุอาหารในดินออกมาอยู่ในรูปสารละลายในดินเพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ ได้ ช่วงพีเอส 6.2-6.8เป็นช่วงที่ธาตุอาหารทั้งหมดที่จำเป็นแก่พืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ มากที่สุด พีเอชสูง กว่า 6.8 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุ ฟอสฟอรัสและธาตุเสริม เช่น เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn) , สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu) , และโบรอน (Bo) หากพีเอชต่ำกว่า 5.3 อาจทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุแคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม(Mg) , กำมะถัน (S) และโมลิบดินัม (Mo) ได้ หรือพืชจะแสดงอาการเป็นพิษจากแมงกานีส (Mg) , มากเกินไปแต่พืชบางชนิดอาจเจริญได้ดีที่เป็นกรด หรือเป็นด่าง มากกว่านี้ค่าพีเอชสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดพีเอช (pH meter)
ปัจจุบันมีเครื่องวัดพีเอช แบบพกพาเกษตรกรสามารถวัดค่าพีเอชได้เองโดยการวัดพีเอชในดินโดยใช้เครื่องวัด พีเอชวัดในน้ำสารละลายดิน สัดส่วนดิน1 ส่วนโดยน้ำหนัก ต่อ น้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร แต่สามารถอนุโลมในการวัดในแปลงอย่างคร่าว ๆโดยใช้สัดส่วนเดียวกับการวัดค่าการนำไฟฟ้า (อีชี หรือ EC) ได้คือ ดิน 1 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วนโดยปริมาตรและคนให้เข้ากันดี จากนั้นจึงทำการวัดโดยจุ่มเครื่องวัดพีเอช ลงในสารละลายหรือกระดาษสำหรับตรวจวัดพีเอชการแก้ไขความเป็นกรดเป็นด่างของ ดิน สามารถปฎิบัติได้ดังนี้
1. การแก้ไขดินกรดก่อนปลูกพืช พื้นที่ดินปลูกพืชผักส่วนใหญ่จะเป็นดินกรด ดังนั้นในการปลูกพืชส่วนใหญ่จำเป็นต้องปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้สูงขึ้น ควรใช้หินปูนบด(CaCo3 ) หรือปูนโดโลไมท์ (CaMg (Co3 ) 2 ) ในการปรับค่าพีเอชของดินปริมาณของหินปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับสภาพของดินว่าดิน มีบัพเฟอร์มากน้อยแค่ไหนเกษตรกรจึงควรส่งดินเพื่อตรวจสอบพีเอชของดิน และขอคำแนะนำปริมาณหินปูนสำหรับดินชุดที่ส่งไปตรวจนั้นโดยทั่วไปหากผสมหิน ปูน 1.75 กิโลกรัม ในดิน 1 ลูกบาศก์เมตร จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3-0.5หน่วยหากไม่สามารถส่งดินเพื่อตรวจสอบได้อาจทดลองผสมหินปูนในอัตราที่ คาดว่าจะใช้จริงกับดินเป็นจำนวนน้อยก่อนโดยทำให้ดินชื้นเหมือนก่อนจะปลูกพืช แล้วใส่ถุงพลาสติกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงควรตรวจสอบพีเอชควรใช้ปูนชนิดละเอียด (100 mesh) เพื่อการทดสอบนี้ เพราะหินปูนหยาบจะใช้เวลานานถึง 6 เดือนจึงจะทำปฎิกิริยาและลดพีเอชได้ในการใส่หินปูนในแปลงจึงสำคัญมากที่จะ ผสมให้เข้ากับดินเพื่อที่จะช่วยให้สลายตัวเร็วขึ้น หินปูน โดโลไมท์นอกจากจะปรับสภาพดินแล้วยังให้ธาตุอาหารรองคือ แคลเซียม ส่วนโดโลไมท์ยังให้แมกนีเซียมอีกด้วยดังนั้นในการปรับสภาพดินกรดโดยทั่วไป จึงแนะนำให้ใช้ปูนโดโลไมท์ /2. การแก้ไขดิน...
- ๕ -
2. การแก้ไขดินกรดหลังปลูกพืชแล้ว การใส่หินปูน หรือปูนโดไลท์จะให้ผลช้าดังนั้นจึงไม่เหมาะสมกับการแก้ไขดินกรดเมื่อปลูกพืช แล้ว ซึ่งอาจปฎิบัติได้ดังนี้2.1 หากดินมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย อาจใช้ปุ๋ยเดี่ยว เช่น แคลเซียมไนเตรท และโปแตสเซียมไนเตรทโดยอาจใช้เแคลเซียมไนเตรทอัตรา 2.4 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร และโปรแตสเซียมไนเตรท อัตรา 1.2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรรดทุกสัปดาห์ วิธีนี้จะได้ผลหากเกษตรกรหมั่นตรวจสอบระดับพีเอช 2.2
หากดินมีสภาพเป็นกรดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้ปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์ / Ca(OH) 2 ) ปูนขาวอาจทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อพืชได้ และในปริมาณมากจะทำให้รากเสียหาย การใช้ปูนขาวอาจใช้ในอัตรา 75กรัม ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร โรยลงบนดิน และให้น้ำทันทีเพื่อล้างส่วนที่ติดกับพืชออกไปและเพื่อให้ปูนขาว เริ่มละลาย น้ำลงสู่ดิน หรืออาจให้ในรูปสารละลายราดบนดิน โดยผสมปูนขาว 24 กรัม ต่อน้ำ 1ลิตรและบนดินในอัตรา 10 ลิตร ต่อตารางเมตร ปูนขาวจะละลายน้ำได้ดี แต่จะมีผลในระยะสั้นดังนั้นหากปัญหาดินกรดยังไม่ดีขึ้นอาจให้ปูนขาวซ้ำอีกครั้งหลังจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ปูนขาวอาจทำให้ธาตุไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม เปลี่ยนกลับเป็นก๊าซแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายต่อรากและใบพืชดังนั้นไม่ควร ใช้ปูนขาวเมื่อในแปลงปลูกได้ให้ปุ๋ยสลายตัวช้าที่มีแอมโมเนียมอยู่ก่อนแล้ว เช่น ปุ๋ยออสโมโคต
3. การแก้ปัญหาดินด่าง สามารถกระทำได้โดยเพิ่มสารอินทรีย์ในดินซึ่งเป็นขบวนการที่ค่อนข้างช้า หรือใช้กำมะถันผง แอมโมเนียมซัลเฟต และเหล็กซัลเฟตในขณะก่อนปลูกพืชหรือหลังปลูก สารทั้ง 3 ชนิดสามารถผสมในดินแห้งได้หรืออาจให้โดยละลายน้ำรดบนดินเมื่อปลูกพืชก็ได้ สารพวกซัลเฟตจะทำปฏิกิริยาได้เร็วมาก ในขณะที่กำมะถันผงจะต้องถูกสลายตัวโดย จุลินทรีย์ก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ความเค็มของสารละลายในดิน ในการดูดน้ำของพืชส่วนใหญ่แล้วน้ำจะเคลื่อนที่จากสารละลายดินที่มีความเข้มข้นของเกลือต่ำเข้าสู่รากที่มีสารละลายเกลือความเข้มข้นสูงกว่าหากปริมาณ เกลือในสารละลายดินมีมากเกินไป จะทำให้น้ำไม่เข้าสู่ราก ซึ่งพืชจะชะงักการเจริญเติบโตปลายรากตายโดยเฉพาะบริเวณดินแห้งเพราะเมื่อดินแห้งปริมาณเกลือจะมีความเข้มข้นสูงใบจะแห้งโดยเฉพาะบริเวณขอบใบ และจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารต่าง ๆ ที่เป็นผลจากการที่รากเสียหายจนไม่สามารถดูดน้ำและแร่ธาตุได้เพียงพอเกลือ ในสารละลายดินมาจากหลายแหล่ง เช่นปุ๋ยที่ใช้กับพืช ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ ,ปุ๋ยเม็ดและปุ๋ยสลายตัวช้าจะสลายตัวซึ่งให้เกลือที่ละลายน้ำปุ๋ยอินทรีย์ บางชนิดมีธาตุไนโตรเจนสูงก็เป็นแหล่งของเกลือดังนั้นในสารละลายดินจึงควรมี ปริมาณเกลือที่ละลายอยู่บ้างเพื่อแสดงว่าได้ให้ปุ๋ยเพียงพอแต่ประมาณเกลือก็ไม่ควรมากเกินไปจนเกิดผลเสียแก่พืช แต่บางแหล่งอาจไม่ใช่เกลือที่เป็นประโยชน์แก่พืชเช่น เกลือแกงเป็นต้นการแก้ไข หากมีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ในดินมากเกินไป ก็สามารถแก้ไขได้โดยการชะล้างเกลือออกโดยใช้น้ำเป็นปริมาณมาก เพื่อรักษาโครงสร้างของดินจึงมีคำแนะนำให้ชะล้างเกลือด้วยน้ำ 200 ลิตรต่อตารางเมตร โดยใช้ระบบน้ำเหวี่ยง
อ้างอิง : http://innradio-wisanu.blogspot.com
อ่านแล้วมีความคิดเห็นอย่างไร ก็นำมาพูดคุยนำต่อยอดความคิดเห็นกันนะครับ
ขอบคุณครับ
- บล็อกของ พุทธบุตร
- อ่าน 41419 ครั้ง
ความเห็น
ย่าตอน
28 พฤษภาคม, 2011 - 15:26
Permalink
คุณพุทธบุตรคะ
ขอบคุณมากค่ะ ที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน ไม่ทราบว่าราคาโดโลไมท์ถูกแพงอย่างไรคะ
แล้วมีจำหน่ายที่ร้านวัสดุก่อสร้างหรือร้านอุปกรณ์เกษตรค่ะ
ป้าเล็ก..อุบล
28 พฤษภาคม, 2011 - 15:39
Permalink
ดินเป็นกรด
ดินเป็นกรด ก็มีประโยชน์นะ ถ้าเราปลูกไฮเดรนเยีย จะออกดอก สีน้ำเงิน กับสีม่วง ได้ราคาดีกว่าสีชมพู สงสัย ต้องส่ง ไฮเดรนเยียไปให้ลองปลูกดู
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
28 พฤษภาคม, 2011 - 16:15
Permalink
เป็นบล็อกที่ดีมากๆ
ขอเก็บไว้อ่านนานๆค่ะ
แต่แก้วยังมีข้อสงสัยนะคะ จากการตรวจดิน พบว่า ในโคนต้นพืช แต่ละตำแหน่ง มีค่าที่แตกต่างกันมาก เราก็คงจะยึดหลักเอาจุดบริเวณที่รากอยู่ อันนี้น่าจะถูกต้องใช่ไหมคะ แต่บริเวณผิวดิน ที่เราจะปรับนี่สิ ยังเป็นกรดอยู่มากกว่า อันนี้ ก็เลยงงๆ ว่าจะต้องรอให้ดินว่างๆ แล้วค่อยปรับปรุงโดยการคลุกดินเป็นส่วนๆ หรือยังไง คือว่างง ว่าจะปฎิบัติยังไงถึงจะถูกค่ะ
2s
28 พฤษภาคม, 2011 - 16:20
Permalink
pH อยู่ระดับ 4-4.5 และถ้าเป็นดินเปรี้ยว หรือ ดินมาร์ล
ลบ และทำการแก้ไขข้อความใหม่
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
2s
28 พฤษภาคม, 2011 - 16:18
Permalink
pH อยู่ระดับ 4-4.5 และถ้าเป็นดินเปรี้ยว หรือ ดินมาร์ล
pH อยู่ระดับ 4-4.5 และถ้าเป็นดินเปรี้ยว หรือ ดินมาร์ล ..ปัญหา!!!!! ... ระดับชาติ
ถ้าผลการตรวจสอบดินภาคสนามถูกต้อง(ที่ว่านำดินมาถมที่ และนำมาปลูกผัก ต้นไม้) โดโลไมท์ หรือปูนประเภทต่างๆคงจะ ลำบากมากที่จะช่วย ยกระดับได้ครับ เพราะ หลายๆท้องที่ เขต ที่มีปัญหาดินเช่นนี้ หรือคล้ายคลึง ยากมากที่จะทำการเกษตรให้ได้ผล อย่างไรก็ตาม
พระองค์ท่านมี พระราชดำริ ศึกษา การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ในหลายๆท้องที่ แม้ยังไม่ได้ผลมากนัก แต่ความรู้ แนวทางที่มีผู้ศึกษาทดลองย่อมมีประโยชน์ ในการจะวางแผน เลือกแนวทางการทำเกษตร พอเพียงได้ไม่มากก็ น้อย
เป็นกำลังใจให้เสมอครับ
ป.ล. ถั่วพูเกีอบทุกสายพันธุ์มีการตอบสนองต่อฤดูกาล ช่วงแสงอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาจะเป็นการเจริญเติบโตทางต้น และใบ ส่วนการออกดอกติดผัก มีลดน้อยลงมากๆๆๆๆๆ ตั้งแต่ปลาย เมษายน ถึง เลยกลางเดือน พฤษภาคม ในเขตภาคอิสานตอนกลางครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
ลุงแอ้ด
29 พฤษภาคม, 2011 - 02:46
Permalink
เคยลองใช้ปูนขาวโรยในดินมั๊ยคร
เคยลองใช้ปูนขาวโรยในดินมั๊ยครับ เป็น แคลเซียมออกไซด์ เวลาโดนน้ำจะมีสภาพเป็นด่าง Ca(OH)2
pH อาจจะเพิ่มมาเป็นประมาณ 5.5 - 6.0 ทุ่งนาทั่วไปที่ภาคอีสาน มี pH ประมาณ 5.5 ก็ปลูกพืชได้แล้วครับ
RUT2518
29 พฤษภาคม, 2011 - 18:21
Permalink
คุณพุทธบุตร
ขอบคุณมากนะครับสำหรับข้อมูลดีๆ
พุทธบุตร
29 พฤษภาคม, 2011 - 18:24
Permalink
คุณ RUT 2518
ด้วยความยินดีครับ แบ่งปันความรู้ร่วมกันครับ
เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น
Thanawit
30 พฤษภาคม, 2011 - 08:39
Permalink
ขอบคุณครับ ....
ขอบคุณครับ ....
เมื่อรู้สึกว่ากำลังแย่ จงให้กำลังใจตัวเอง ด้วยการคิดว่า "ยังมีคนอื่นที่แย่กว่าเราอีก"
takaminec4
7 พฤษภาคม, 2013 - 15:32
Permalink
Re: ดินเป็นกรดแก้ไขโดยการใส่โดโลไมท์
ขอแนะนำ Otwo flavoga สารอินทรีย์ ปรับสถาพดิน มีทั้งชนิเม็ด และชนิดน้ำ
โอทูฟลาโวก้า คุณสมบัติมี ดังนี้
1. ทำหน้าที่ปรับสภาพดิน ฟื้นฟูสภาพดิน ให้เหมาะกับการเพาะปลูก
2. ทำความสะอาดดิน ป้องกันเชื้อรา แบคทีเรีย และ ทำลายเชื้อโรค
3. ควบคุมวัชพืช ไม่ให้เจริญเติบโต
4. ย่อยสลายฟางข้าว ให้เป็นปุ่ย
5. เพิ่มคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์และเคมี ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ มากขึ้นถึงสามเท่าตัว ใช้หว่านครั้งเดียว อยู่ได้ นาน ถึง 3 เดือนขึ้นไป
6. เร่งความเจริญเติบโตของพืชต่อยอดจากโอทูฟลาโวเจน