ฟักข้าว ,ฟักข้าวเวียดนาม (ตามรอยงานวิจัยของ มข.)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ผลการศึกษาและวิจัยของ มข การเปรียบเทียบผลผลิตฟักข้าวสายพันธุ์ต่างๆ

(คัดมาบางส่วนจากวารสาร แก่นเกษตร 42 ฉบับพิเศษ 1, 2557)  

     มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) ได้ทดลองปลูกฟักข้าวทั้งหมด 19 พันธุ์ ในระหว่างฤดูฝน เดือนกรกฎาคม 2554  เริ่มเก็บข้อมูลหลังจากอายุต้นโดยเฉลี่ย 1 ปี ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 ได้ทดสอบพันธุ์,คัดเลือกพันธุ์,เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงพันธุ์หาลูกผสม ที่มีปริมาณสานไลโคพีนและเบต้าแคโรทีน รวมทั้งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ฯลฯ
   จากการเปรียบเทียบ พบว่าน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล เปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ด จำนวนผลต่อต้นต่อปี และน้ำหนักผลต่อต้นต่อปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ   ส่วนน้ำหนักผลสดต่อผล และน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  โดยพบว่า

   ฟักข้าวพันธุ์ KKU ac.10-098-4 (จากประเทศเวียดนาม), KKU ac.09-033(จาก จ.กาญจนบุรี) และ KKU ac.11-158 (จาก จ.นครปฐม) ทั้ง 3 สายพันธุ์นี้มีน้ำหนักผลสดต่อผล น้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล และเปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ดสูง

  ฟักข้าวพันธุ์ KKU ac.10-098-8 เป็นพันธุ์จากประเทศเวียดนาม มีจำนวนผลต่อต้นต่อปี น้ำหนักผลสดต่อต้นต่อปี และน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปีสูง (69.00 ผล/ต้น/ปี, 44,660 กรัม/ต้น/ปี และ 7,522.60 กรัม/ต้น/ปี ตามลำดับ)

  สรุป (COPY มาทั้งหมด)

จากการเปรียบเทียบผลผลิตของฟักข้าว จำนวน 19 พันธุ์ และการศึกษาผลผลิต และลักษณะทางการเกษตรในฟักข้าวพันธุ์ต่างๆ มีน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล เปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ด จำนวนผลต่อต้นต่อปี และน้ำหนักผลสดต่อต้นต่อปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยที่ พันธุ์ KKU ac.10-098-4, KKU ac.09-033(จาก จ.กาญจนบุรี) และ KKU ac.11-158 (จาก จ.นครปฐม) ให้น้ำหนักผลสดต่อผล น้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล และเปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ดสูง ส่วนพันธุ์ KKU ac.10-098-8 ให้จำนวนผลต่อต้นต่อปี น้ำหนักผลสดต่อต้นต่อปี และน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อปีสูง

 งานวิจัยของ มข.  (ต้นฉบับ)

 http://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P611.pdf&id=1360&keeptrack=0

 - งานวิจัยของ มข. เพื่อคัดเลือกพันธุ์ฟักข้าวพันธุ์เด่นๆ มาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์  จะเห็นว่ามีพันธุ์เวียดนามถึง 2 สายพันธุ์ที่เลือกมา, พันธุ์เวียดนามมีจุดเด่นคือมีผลขนาดใหญ่,เยื่อหุ้มเมล็ดหนา (ส่วนถ้านำมาทำน้ำฟักข้าว ความชื้นของเยื้อหุ้มเมล็ดน้อย อาจะเป็นข้อด้อย เพราะต้องใช้คนแกะเยื่อหุ้มเมล็ด แล้วต้องนำมาปั่น ซึ่งฟักข้าวไทยสามารถใช้เครื่องแยกเมล็ดได้เลบ ดังนั้นจึงสะดวกและใช้เวลาน้อยในการแยกเยื่อหุ้มเมล็ด)

  ตัวเลขหลายตัวในบทวิจัยของ มข.เช่น น้ำหนักผลสดต่อผล น้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล และเปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ดสูง  ฯลฯ เป็นการเก็บข้อมูล 1 ปีแล้วหาค่าเฉลี่ย  บางสวนฟักข้าวว่ามีเยื่อหุ้มเมล็ด 275 กรัม/ผล  

,- ปลูกฟักข้าวมา 3-4 ปี เมื่อได้อ่านงานวิจัยของ มข. จึงนึกสนุกลองหาพันธุ์เด่นๆ มาลองหาลูกผสมบ้าง  ตอนนี้มีพันธุ์ไทยผลใหญ่,เยื่อหนา 2 สายพันธุ์,ส่วนสายพันธุ์เวียดนามหามาได้ 4 สายพันธุ์( รูปที่1 -4 ) ปลายปี 2558 คงได้ผลลูกผสมบ้าง และคงต้องใช้เวลาคัดเลือกพัยธุ์จากเมล็ดอีก 1-2 ปี 

  สายพันธุ์ฟักข้าวไทย หลักๆ แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ผลรี กับพันธุ์ผลกลม(พบมากในภาคใต้)   พันธุ์ผลรี ก็ยังมีแตกต่างปลีกย่อยหลากหลายไปอีกมาก อาจจะไม่เห็นความต่างเด่นชัดนัก ( มข.นำมาวิจัย เกือบ 20 สายพันธุ์ )

  ขนาด,น้ำหนักของผล  พันธุ์ผลรียาวประมาณ 6-20 ซม. ,ส่วนพันธุ์ผลกลมยาวประมาณ 4-10 ซม. ด้านน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 0.3-2.0 กก./ผล 

  เยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว  การแบ่งย่อยๆ ออกได้หลายสายพันธุ์นั้น  ส่วนหนึ่งดูได้จากปริมาณเยื่อหุ้มเมล็ดต่อผล  บ้างมีมาก(หนา)บ้างมีน้อย(เยื่อบาง) ต่างๆกันไป เช่น บางพันธุ์มีเยิ้อหุ้มเมล็ดมากถึง 144.62 กรัม/ผล , ในขณะที่บางพันธุ์มีเยิ้อหุ้มเมล็ดแค่ 41 กรัม/ผล

 

  เมล็ดฟักข้าว  1 ผลจะมีจำนวน 10- 56 เมล็ด  (ฟักข้าวไทยผลใหญ่ผลนี้ 56 เมล็ด) ,เมื่อแยกเมล็ดใหม่ๆควรทำความสะอาด ถ้าเมล็ดที่ลอยน้ำ แสดงว่าเป็นเมล็ดไม่สบูรณ์นัก ควรนำลงเพาะเลย อัตราการงอกประมาณ 30-40 % ถ้ายิ่งเก็บไว้นานอัตรางอกจะต่ำ  ถ้าเก็บไว้นานเกิน 1 เดือนเมล็ดจะฟ่อ เพาะไม่งอก

 

 การปลูกฟักข้าว ถ้าปลูกด้วยเมล็ดผล ผลผลิตที่ได้โอกาสแตกต่างจากต้นแม่พันธุ์มีเกิดขึ้นได้ เช่นความหนาของเยื้อหุ้มเมล็ด,ขนาดของผล ฯลฯ แต่ถ้าขยายพันธุ์แบบตอนกิ่ง(เถา)(งานวิจัยของ มข.ใช้วิธีนี้) หรือเสียบยอด หรือทาบเถา จะเหมือนต้นแม่พันธุ์

    สรุป ขนาดผล,น้ำหนักผลและปริมาณเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าว จะมีมากหรือน้อย นอกจากจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์แล้ว  ยังขึ้นกับการดูแลและการให้ปุ๋ย ให้น้ำด้วย

การ(ทดลอง)ปรับปรุงพันธุ์ฟักข้าว

https://www.facebook.com/groups/720581711369706/

ความเห็น

รูปที่ 1 ฟักข้าวพันธุ์จากเวียดนามผลรีหนามถี่(หรือหนามเยอะ)

   เมล็ดของพันธุ์นี้ใหญ่มาก,จะเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับเหรียญ 10 บาทและเมล็ดฟักข้าวไทย 3 เมล็ด (ตรงกลาง)

 

 รูปที่ 2 ฟักข้าวพันธุ์จากเวียดนามผลรีหนามห่าง(หรือหนามน้อย)

รูปนี้ จะเทียบเมล็ด 2 สายพันธุ์นี้จะเห็นความแตกต่างชัดเจน เมล็ดพันธุ์หนามน้อยหรือหนามห่างจะเรียบกว่า

 

รูปที่ 3  ฟักข้าวพันธุ์จากเวียดนามผลกลม (เท่าที่รู้ปลูกมากทางตอนใต้ของเวียดนาม)

 

LINK น่าสนใจเช่น การตัดแต่งดูแลต้น,การให้ปุ๋ย,การต่อยอด(แปลงเพศ)ฯลฯ 

 

  รูปที่ 4 ฟักข้าวจาก เวียดนาม  ( รูปแรกเป็นรูปจากเว็บ)

 

ฟักข้าวผลทรงหยดน้ำ พันธฺุนี้ได้มา 1 ผล , ลงเพาะทั้งหมดเลยเพราะผลได้มามีสภาพไม่ 100 %  ถ้ายิ่งเก็บนานอัตราการงอกจะยิ่งต่ำลง,รอลุ้นจะงอกกี่ต้น 

 

รูปที่ 5 ฟักข้าว จากเวียดนาม (ไม่มีปลูกแพร่หลาย)(รูปจากเว็บ)

 

รูปที่ 6 ฟักข้าว จากเวียดนาม ,คาดว่าเป็นลูกผสมกลายพันธุ์  ไม่มีปลูกแพร่หลาย  (พันธุ์ไทยไม่มีหนามก็ทำได้แล้ว) (รูปนี้จากเว็บ)

 

ฟักข้าวไทย

รูปที่ 1 ฟักข้าวพันธุ์ผลกลม  (ภาคใต้)

 

รูปที่ 2 พันธุ์ผลรี

 พันธุ์ผลรี (ตอนผลยังเล็ก)

รูปที่ 3 พันธุ์ผลรีหนามแหลม

 

หนามแหลม มีแววตั้งแต่เล็กๆ

 

รูปที่ 4 พันธุ์ผิวเกลี้ยง (ไม่มีหนาม)

 

ผลแก่ของพันธุ์ผิวเกลี้ยง (ไม่มีหนาม)

 

 เมล็ดของผลผิวเกลี้ยง (ไม่มีหนาม)จะเรียบอย่างเห็นเด่นชัด

 

 รูปที่ 5 พันธุ์ผลรี

 

 

เอาใจช่วย นะคะ เพื่อต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นประโยชน์ได้ต่อไปอีก

ผลิตภัณฑ์ ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ทำออกมาหลายอย่างแล้ว, ที่อยากได้คือฟักข้าวพันธุ์ดี  ,รอจาก มข.คงอีก 2-3 ปี,ช่วงนี้แฟนก็ลองหาพันธุ์มาทดลองผสมเล่นๆบ้าง ,หลายๆสวนมีฟักข้าวเวียดนาม  แต่ส่วนใหญ่ยังหวงเมล็ดพันธุ์ , 2 ผล  ที่ได้มาก็เพื่อนไปเวียดนาน(โฮจิมินห์) ซื้อมาฝาก  

          

มีแตพันธุ์ลูกกลมค่ะ

-มีผลดกไหม  จากงานวิจัยของ มข.ฟักข้าวเวียดนาม  2 สายพันธุ์ว่ามีผลดก (แต่ไม่รู้ว่าพันธุ์ไหน)

แบบนี้ไม่ทราบพันธุ์อะไรครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

 ฟักข้าวคุณเสิน  พันธุ์ผลรี ,ผลสวยดี , ฟักข้าวไทยมีหลายพันธุ์(จากการแยกย่อยๆ)ดูจาก ขนาดผล,เยิ้อหุ้มเมล็ด ฯลฯ (ข้อมูลจากงานวิจัย มข.) ฟักข้าวบางพันธุ์มีเยิ้อหุ้มเมล็ดมาก(หนา)ถึง 144.62 กรัม/ผล , บางพันธุ์มีเยิ้อหุ้มเมล็ดแค่ 41 กรัม/ผล.   (จากรูป,รูป 2 เยิ่อหุ้มเมล็ดบางหรือน้อย)

หน้า