ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ยกทะเลมาไว้ที่โตเกียว 1

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ดูดอกไม้ต้นไม้ มาหลายบล็อก เบื่อไหมคะ? บล็อกนี้เราไปเดินดู (ของ) ทะเลกันดีกว่า ที่ตลาดปลาซึตกิจิ (Tsukiji) ของโตเกียว ตลาดปลาที่ใหญ่สุดในประเทศญี่ปุ่น

 

เดินตามคุณผู้ชายไปติดๆ เลยนะ อย่าเฉไฉ เงอะๆ เงิ่นๆ เพราะตลาดปลาซึตกิจิคึกคักและวุ่นวายมากๆ ในรูปดูไม่ค่อยวุ่นวาย แต่จริงๆ แล้วจะมีรถขนปลาที่ดูแปลกๆ วิ่งกันวุ่นไปเลย

 

ก่อนเข้าตลาด เรามาดูข้อห้ามหรือข้อควรทำเสียก่อน ส่วนมากจะมีแต่ No! No! No! อย่าทำโน่น! อย่าทำนี่! ที่นี่เป็นที่เดียวที่อ้อยหวานพบเจอความไม่ค่อยจะเป็นมิตรต่อนักท่องเที่ยว เพราะอะไร?  เพราะตลาดปลาซึตกิจิ คึกคักและวุ่นวายมากๆ (ขอย้ำ) เป็นตลาดที่ค้าขายส่งกันอย่างซีเรียสจริงๆ และนักท่องเที่ยวก็ไปเดิน ไปยืน เกะกะ ขวางทางเขา

 

ป้ายแบบนี้ติดกันเต็มไปตลอดทาง

 

เห็นไหมว่าห้ามทำอะไรบ้าง ป้ายนี้บอกว่าห้ามมาก่อน 9 โมงเช้า ที่จริงตลาดปลาซึตกิจิเปิดทำการตั้งแต่ตี 3 แต่ช่วงเวลา 3-9 โมงเช้านั้น เป็นช่วงเวลาที่ตลาดคึกคักและวุ่นวายที่สุดไม่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวไปเดินชม

 

NO!! NO!! หลายอย่างมาก ป้ายนี้บอกว่าไม่พารถเข็นและเด็กเล็กมา

 

NO!! NO!!

 

ที่จริงแล้วตลาดปลาซึตกิจิ จะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ตลาดส่วนใน (Jonai Shijo) และตลาดส่วนนอก (Jogai Shijo) ที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยว แต่คุณผู้ชายอยากเห็นตลาดของจริง คือตลาดส่วนใน ไม่ใช่ตลาดนักท่องเที่ยว ดังนั้นเราจึงยอมไปเดินย่ำพื้นที่เฉอะฉะมากๆ ของตลาด ยอมไปเดินเกะกะ ให้พ่อค้ามองแบบตาขวางๆ ขุ่นๆ ก็พวกนักท่องเที่ยวไม่ได้ซื้ออะไร หรือซื้ออะไรไม่ได้ มีแต่ดูและถ่ายรูปเท่านั้น อ้อยหวานโดนไปหนึ่งครั้ง เพราะเห็นสิ่งแปลกๆ ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แล้วเอากล้องไปจ่อใกล้ๆ เลยโดนลุงเจ้าของร้านตะคอกใส่

 

เขายกทะเลมาไว้ที่ตลาดซึตกิจิ จริงๆ ละลานตาไปหมด

 

หอย ปู ปลาสดๆ มีให้เลือกเกือบทุกชนิด

 

ช่วยกันหั่นปลาทูน่า ที่นี่เขาใช้ดาบซามูไรกันเลยละ

 

สีสดจริงๆ

 

ปลาทูน่าแช่แข็ง แต่ละชิ้นใหญ่มากๆ ต้องใช้เลื่อยไฟฟ้าหั่น

***********************

ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน หรือ ปลาทูน่ายักษ์ (bluefin tuna, Giant blufin tuna) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Thunnus thynnus  เป็นปลาทะเลในวงศ์ปลาอินทรีย์ (Scombridae) โดยทั่วไปจะมีขนาด 200 เซนติเมตร ปลาทูน่ายักษ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ได้บันทึกไว้ มีความยาว 458 เซนติเมตร และหนักถึง 684 กิโลกรัม ปลาทูน่ายักษ์มีอายุยาวกว่า 30 ปี

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ นั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นทำการประมงมานานกว่า 5,000 ปี โดยชาวพื้นเมืองชาวไฮดาในแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และมีการประมูลซื้อขายปลากันในตลาดสดยามเช้า โดยในต้นปี ค.ศ. 2011 มีการให้ราคาปลาตัวที่มีน้ำหนักมากถึง 342 กิโลกรัม ด้วยราคาเกือบ 32,500,000 เยน (ประมาณ 11,900,000 บาท) ที่ตลาดปลาซึตกิจิในกรุงโตเกียว นับเป็นการทำลายสถิติเดิมที่เคยทำไว้ที่น้ำหนัก 202 กิโลกรัม เคยถูกประมูลด้วยราคา 20 ล้านเยน  ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือด้วยความที่เป็นปลาขนาดใหญ่ มีน้ำหนักเกินกว่า 130 กิโลกรัม จึงมีเนื้อส่วนที่ติดไขมันมากกว่าปลาทูน่าชนิดอื่น

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

 

ปลาหมึกยักษ์ มีกันหลายแบบ หลายขนาด

 

หอยงวงช้าง หรือ หอยกูอีดั๊ก (Geoduck) หอยหน้าตาแสนแปลกก็มีขาย

 

หอยงวงช้าง หรือ หอยกูอีดั๊ก (Geoduck) เป็นหอยสองฝาที่พบในทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Panopea generosa เป็นหอยที่มีลักษณะเด่นคือ มีเปลือกสีขาวยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีท่อดูดยื่นยาวออกมาจากเปลือกอย่างเห็นได้ชัด ตอนปลายของท่อดูดมีรู 2 รู แยกเป็นรูดูดอาหารและรูปล่อยของเสียรวมถึงสเปิร์มในตัวผู้ และไข่ในตัวเมีย  แลดูคล้ายงวงของช้าง ท่อนี้มีความยาวได้ถึง 1 เมตร

หอยกูอีดั๊กอาศัยในทะเล โดยการฝังตัวใต้ทรายบริเวณชายฝั่งบริติชโคลัมเบีย ในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา หากินโดยการกินสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร เมื่อถูกจับขึ้นมา จะพ่นน้ำคัดหลั่งออกมาจากปลายท่อดูด

หอยกูอีดั๊กขยายพันธุ์ด้วยการที่ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาปฏิสนธิพร้อมกับตัวเมียที่ปล่อยไข่ออกมาได้ราวครั้งละ 10 ล้านฟอง ลูกหอยขนาดเล็กจะขุดหลุมฝังตัวใต้ทรายในระดับที่ตื้น ๆ ก่อนที่จะขุดลึกลงไปเรื่อย ๆ ตามวัยที่โตขึ้น ซึ่งอาจลึกได้ถึง 110 เมตร นอกจากนี้แล้ว หอยชนิดนี้ยังมีอายุยืนได้ถึง 146 ปี นับเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีอายุยืนที่สุดของโลก

เป็นหอยที่นิยมบริโภคกันทั้งในสหรัฐอเมริกาหรือประเทศทางภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยนิยมทำไปเป็นซูชิในอาหารญี่ปุ่น โดยถูกเฉือนเป็นแผ่นบาง ๆ หรือปรุงเป็นอาหารจีน ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาจีนเรียกว่า 象拔蚌 (หอยงวงช้าง)

ปัจจุบัน หอยชนิดนี้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม ลูกหอยที่เพาะออกมาได้ จะถูกนำไปฝังไว้ใต้ทรายบริเวณชายหาดในท่อพลาสติก ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี กว่าหอยจะโตเต็มวัยถึงขนาดที่จับขายได้

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

 

ถาดนี้ดูเหมือนหอยแมลงภู่ แต่ตัวใหญ่กว่ามาก

 

หอยเป๋าฮื้อที่ญี่ปุ่นเขานิยมกินกันสดๆ ดิบๆ ที่จริงคนญี่ปุ่นก็ชอบกิน (เกือบ) ทุกอย่างแบบไม่ต้องทำอะไรให้มากเรื่อง คือสดๆ ดิบๆ มายังไง ก็กินง่ายๆ แบบนั้น บางอย่างก็อร่อยดี แต่บางอย่างอ้อยหวานกินไม่ได้เลย เช่นหอยเป๋าฮื้อสดเป็นต้น

******************

หอยเป๋าฮื้อ หรือ หอยโข่งทะเล (Abalone) เป็นหอยฝาเดียว (Gastropod) ที่มีผู้นิยมรับประทานกันอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้มีอันจะกินและมีราคาแพง เป็นที่ต้องการของตลาดโลก มีรายงานว่าในปี ค.ศ. 1985 ผลผลิตทั่วโลกมีประมาณ 16,000 ตัน ต่อมาในปี 1994 ผลผลิตลดลงเหลือประมาณ 9,000 ตัน เพราะผลผลิตส่วนใหญ่ จับได้จากธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณลดน้อยลง แม้หลายประเทศมีการเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ประเทศที่มีการเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม ได้แก่ ญี่ปุ่น เม็กซิโก ชิลี จีน ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และเกาหลี เป็นต้น หอยเป๋าฮื้อ ที่พบในธรรมชาติทั่วโลกมีประมาณ 100 ชนิด ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอบอุ่น (Temperate Zone) แต่ที่นิยมเลี้ยงมีไม่เกิน 20 ชนิด มีขนาดค่อนข้างใหญ่และใช้เวลาเลี้ยง 4-5 ปี ในน่านน้ำไทยมีรายงานว่าพบหอยเป๋าฮื้อ 3 ชนิด คือ Haliotis asinina, H.ovina และ H.varia ในจำนวนทั้ง 3 ชนิด H.asinina เป็นขนาดใหญ่ที่สุดมีขนาดยาวถึง 12 เซนติเมตร มีการนำมาทดลองเลี้ยงและเพาะพันธุ์ ปรากฏว่าสามารถเพาะพันธุ์ได้ และวางไข่ตลอดปี (Singhagraiwan 1989, Poomthongetal 1997) มีการเจริญเติบโตได้ 3-5 มิลลิเมตรต่อเดือน โดยใช้สาหร่ายสดและกินอาหาร พวกสาหร่ายทะเล ได้แก่ สาหร่ายผมนาง (Gracilaria, Acanthophora, Hypnea) นอกจากนี้ ยังกินอาหารสำเร็จรูปได้ดี

ขอบคุณข้อมูลจาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

ชิระโกะ (shirako) อาหารอร่อยของคนญี่ปุ่นเขาละ มันคือ ท่อเก็บน้ำอสุจิของปลาหรือถุงสเปิร์มของปลานั่นเอง เขาว่ากันว่ายิ่งกินแบบสดๆ จะให้ความรู้สึกเหนียวนุ่มชุ่มน้ำมันเป็นรสสัมผัสแห่งความสด คล้ายๆ กับครีมคัสตาร์ดที่นุ่มละมุนลิ้น!! ที่จริงก็ถือว่าเป็นการดีคือกินทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เสียของ อ้อยหวานไม่ได้ลองชิมดู เพราะมันดูไม่น่ากินเอามากๆ

 

อ่านเวอร์ชั่นที่มีรายละเอียดการท่องเที่ยวและการเดินทางได้ที่ลิงค์ข้างล่างค่ะ

เยือนตลาดปลาซึตกิจิ โตเกียว

 

โปรดติดตามอ้อยหวานเล่าเรื่องตลาดปลาซึตกิจิ  ของญี่ปุ่น ในตอนต่อไป

 

อ่านชีวิตคือการเดินทาง ตอนแรกๆ ได้ที่นี่่ค่ะ

ชีวิตคือการเดินทาง

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ทำไมต้องท่องเที่ยว

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ฉันรักสวนลุม

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน มีรักที่ราชบุรี

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ดับเบิ้ลดีที่อัมพวา

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ทะเล หาดทราย สายลม และสองเรา

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน หัวหิน..ไม่สิ้นเสน่หา

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน หากเธอคือฟ้า ฉันจะเป็นทะเล

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ปั่นช้าๆ ตาม..เสียงเกลียวคลื่นและกลิ่นไอทะเล

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ปั่นตามใจ ไปตามฝัน

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ดั่งหนึ่งเม็ดทราย

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน สุขใจ@นครศรีธรรมราช

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน เที่ยวเมืองลุง ไม่ยุ่งหัวใจ

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน วันฟ้าใส..ในภูเก็ต

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ลาก่อนเมืองฟ้าอมร สวัสดีแดนอาทิตย์อุทัย

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน แม้แต่เทพสวรรค์ยังรายล้อมรอบ..ดอกพลัม

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน ดอกซากุระ..สัญลักษณ์แห่งชีวิตและความไม่ยั่งยืน

ชีวิตคือการเดินทาง ตอน พลิ้วไหวดั่งไผ่ต้องลม

 

ขอให้เพื่อนๆ มีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

 

ความเห็น

แปลกตาทั้งนั้นเลยค่ะ

Cool คงจะดี ถ้า...

ดอกไม้ ยังชอบอยู่ค่ะ ...แต่เปลี่ยนมาเป็นของคาวสดๆ ก็ไม่เลว ค่ะพี่อ้อย แง่มๆๆ ของบัวต้องสุกก่อน ดีกว่า ค่ะ ปลอดภัยที่สุด...ตลาดเค้า ดูใหญ่จริงๆด้วย นะนี..ขอบคุณมากๆค่ะ

คือเห็นแย้วววว น้ำลายจิไหล น่ากินจัง 555

"what a wonderful world"

บ้านอยู่ไกลทะเล เห็นแล้วน่า shopping ดีจังเลย Smile

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

ตอนไปจ่ายตลาดที่อเมริกาดูชื่อหอยกูอีดั๊ก (GeoDuck) ครั้งแรกก็ประหลาดใจเหมือนกัน ตอนแรกยังนึกว่าชื่อ  จีโอดั๊ก แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเป็ดว่ะ พอฟังฝรั่งพูด กูอีดั๊ก ยิ่งงงเลยไปอ่าน Internet อ๋อเขาเรียก"กูอีดั๊ก"

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

อยากเห็นหอยโข่งทะเล 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ตามไปชมด้วยค่ะน้องอ้อยหวาน

 

 

 

ติดตามชมตลอดค่ะ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

ชมตลาดเพลินเลยค่ะ 

ความพอเพียงจะทำให้ชีวิตมีความสุขแบบยั่งยืน