สละอินโด #3

หมวดหมู่ของบล็อก: 

        สวัสดีครับทุกท่าน พบกันอีกตอนกับสละอินโด ก่อนอื่นก็ขอขอบคุณที่ติดตามและเข้ามาชมครับ

สละอินโด

สละอินโด ถ้าจะว่าไปอาจแปลกใหม่กับบางท่าน หลายท่านรู้จักต้นและได้ชิมผลแล้วติดใจ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆท่านที่ไม่รู้จัก ปัจจุบันสละอินโดจัดเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่อยู่ในความนิยมที่ยังไม่แพร่หลายนัก สละอินโดมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากสละอีกหลายชนิดซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน คือสละอินโดเนื้อผลแห้ง ล่อนหลุดจากเมล็ด ผลยังไม่สุกรสฝาด ในขณะที่สละพันธุ์อื่นๆ เช่น สละจันทบุรี สละหม้อ สละเนินวง รวมถึงสละทั่วไป ระกำ สะกำ ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันดังกล่าว เนื้อเปียก เมล็ดไม่ล่อน ผลยังไม่สุกรสชาติเปรี้ยวจัด

สละอินโด เป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซียและมีการปลูกทั่วประเทศ มีพันธุ์ที่หลากหลายถึง 30 พันธุ์ พันธุ์ที่นิยมมากที่สุดคือ สละปนโดะห์ (salak pondoh) จาก จังหวัดยอร์กยาการ์ตา และสละบาหลี (salak Bali) จากเกาะบาหลี

สละอินโด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salacca magnifica J.P.Mogea

ฝรั่งว่า Snake Fruit ลูกเกล็ดงู

การขยายพันธุ์ สละอินโดขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดสด หลังจากทานเนื้อก็นำไปเพาะได้ทันที การทิ้งเมล็ดไว้หลังแกะเนื้อออก เปอร์เซ็นต์การงอกลดลงวันละ๑๐เปอร์เซ็นต์ การเพาะด้วยเมล็ดจะได้จำนวนต้นปริมาณมากและเร็ว  การขยายพันธุ์อีกวิธีคือการแยกหน่อจากต้นแม่ วิธีนี้ต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าจะนำไปปลูกได้ จำนวนต้นที่ได้ก็น้อย แต่ก็มีผลดีหลังปลูกให้ผลเร็ว ตรงตามสายพันธุ์

สละอินโด ต้นผู้ ต้นเมียอยู่คนละต้นแยกเพศชัดเจน มีความจำเป็นทั้งสองเพศ แม้จะติดผลได้เองแต่ผลที่ไม่ได้รับการผสมเกสรจากต้นผู้ ผลที่ออกมาจะไม่สมบูรณ์

 

ลักษณะผลที่ไม่สมบูรณ์

  

เมื่อนำมาเทียบกับผลที่สมบูรณ์ จะเห็นได้ชัดเจนว่าเนื้อไม่เต็มผล รสชาติจืด ไม่มีเมล็ด

การปลูกอัตราส่วนต้นผู้ ๑ ต้น : ต้นเมีย ๕ ต้น

 

การเลือกเมล็ดพันธุ์

ผู้ปลูกสละอินโดหลายท่าน รวมถึงผู้เขียน เรียนรู้ประสบการณ์ต่อๆกันมาว่า การคัดแยกเพศให้ได้ตามต้องการนั้น นอกจากแยกหน่อแล้ว มีวิธีการคัดเลือกเพศจากเมล็ดของผลด้วย

  

 จากภาพ ผลด้านซ้ายมี ๒ เมล็ด(อีกเมล็ดยังไม่แกะ) ผลกลาง ๓ เมล็ด และด้านขวา ๑ เมล็ด

  

ลักษณะเมล็ดเมื่อนำมาเทียบกันจะเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน ผลที่มี ๑ เมล็ด ลักษณะเมล็ดกลม ที่มี ๒ เมล็ดจะแบนด้านหน้าด้านหลังโค้ง ส่วนผลที่มี ๓ เมล็ด จะมีเหลี่ยม เรียกว่ามีหน้าอก จากเมล็ดเหล่านี้เมื่อนำมาเพาะจะได้ต้นดังนี้ 

จากผลที่มี ๑ เมล็ด จะได้ต้นผู้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

จากผลที่มี ๒ เมล็ด จะได้ต้นผู้ ต้นเมียอย่างละ ๕๐ เปอร์เซ็นต์

จากผลที่มี ๓ เมล็ด จะได้ต้นเมีย ๘๐ เปอร์เซ็นต์ อีก ๒๐ เปอร์เซ็นต์อาจเป็นต้นผู้ หรือเป็นต้นเมียก็ได้

อีกอย่างควรเลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้นนะครับ ใช่ว่าจะเอาได้ทั้งหมด เพราะเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะไม่งอก หรืองอกแต่ก็ได้ต้นไม่สมบูรณ์นำไปปลูกก็ไม่โต

พบกันตอนต่อไปครับ สวัสดี.

ความเห็น

น้องสุเคยได้กินหรือยัง

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

สวัสดีค่ะพี่เสิน .. ของบัว ได้เห็น ตอน สงกรานต์ แทงช่อดอก ออกมาประมาณ 3-4 ช่อ ค่ะ รอบต้น... ดูๆแล้ว น่าจะ ไม่ได้ผล ค่ะ วันแม่ ...ดูอีกที 

สวัสดีครับ ที่บอกน่าจะต้นเดียว ยังไม่รู้เพศ รอให้ออกหลายต้นก่อนครับจึงหวังผลได้

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

เข้าด้วยมือถือทำไม่ค่อยถูก นานๆ มาแลที พี่เสิน ปลูกเก่ง ต้นสวย    ได้แต่นั่งแลของเพื่อน 

กินอยู่แบบพอเพียง

ใช่ครับพี่เสริฐ ผมก็ไม่ค่อยเล่นกับมือถือ ช้าไม่ทันใจ... ไม่เท่าใดหรอกครับ เมื่อปลูกแล้วก็ทำให้ถึงที่สุด ได้แลดีกว่าไม่ได้แลครับ ๕๕๕

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

บล็อกของพี่เสิน ข้อมูลชัดเจน ครบถ้วนดีจังค่ะ นอกจากได้ความรู้แล้ว ยังบ่งบอกถึงความตั้งใจในการนำเสนอ รอติดตามตอนต่อไปค่ะ

ขอบใจที่ชมและติดตามครับน้องนุสิ... ก็อยากให้ผู้เข้าชมได้ในสิ่งที่เขาอยากรู้ เข้ามาอ่านแล้วได้อะไรไปบ้างครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

บอกได้คำเดียวน้ำลายมาแระค่ะ ขออนุญาติ กลืนเอี๊อก แหะ แหะ 

ขอบคุณพี่เสินที่นำความรู้มาให้ค่ะ^^

ความสุข..อยู่ที่ใจ

ตอนต่อไปจะเอามาให้กิน เตรียมตัวได้เลยครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

สวัสดีค่ะ. มีต้นกล้าขายไหมคะ?

 

หน้า