หากสาว ๆ คนไหนมีอาการปวดท้องน้อยแบบหน่วง ๆ และมีเลือดออกมาจากช่องคลอดแม้จะไม่ใช้ช่วงมีประจำเดือนก็ตาม อย่าชะล่าใจปล่อยไว้คิดแค่กินยาแก้ปวดหายแล้วจบกัน แต่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กโดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนลักษณะมะเร็งปากมดลูกได้ จึงควรรีบเช็ก หากตรวจพบ มีสิทธิ์รักษาหายได้ไวกว่า ลองไปดูความสำคัญของการตรวจเช็กมะเร็งปากมดลูกกัน
มารู้จักสัญญาณเตือนลักษณะมะเร็งปากมดลูก ที่ต้องเฝ้าระวัง
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์ที่พบบ่อยในผู้หญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม และทำให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก คุณผู้หญิงทั้งหลายจึงต้องหมั่นสังเกตอาการเหล่านี้ให้ดี เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของลักษณะมะเร็งปากมดลูกก็เป็นได้
-
มีเลือดออกทางช่องคลอด แม้ไม่ได้อยู่ในช่วงมีรอบเดือน หรือหลังมีเพศสัมพันธ์
-
มีของเหลวออกทางช่องคลอด หรือตกขาว ไม่ว่าจะเป็นเป็นมูก เป็นหนอง หรือมีเลือดปน มีเศษเนื้อปน จะมีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่นก็ตาม
-
ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเป็นเลือด
-
ประจำเดือนมามาก หรือนานกว่าปกติ
-
เบื่ออาหาร
-
น้ำหนักลดลง
-
ปวดถ่วงบริเวณท้องน้อย
-
ขาบวม
-
ต่อมน้ำเหลืองโต
หากสังเกตตนเองพบว่า มีอาการเหล่านี้ร่วมกันหลายข้อ ควรไปพบแพทย์โดยด่วน อย่างไรก็ตาม หากคุณผู้หญิงที่ยังไม่มีอาการเหล่านี้ แต่เป็นบุคคลที่มีความเสี่ยง อาจไม่ต้องรอให้เกิดสัญญาณเตือนลักษณะมะเร็งปากมดลูก ก็สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองทางเซลล์วิทยา หรือตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) ก่อนได้ ลองมาดูเช็กลิสต์ว่าคุณมีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ ดังนี้
-
มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 18 ปี
-
มีคู่นอนหลายคน หรือแฟนมีคู่นอนหลายคน
-
คลอดบุตรมากกว่า 3 คนขึ้นไป
-
เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น หนองใน เริม ฯลฯ
-
เป็นโรคที่ทำให้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
-
ชอบสูบบุหรี่
ลักษณะมะเร็งปากมดลูก ตามระยะของโรค
ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกได้เป็น 5 ระยะ ดังนี้
-
ระยะก่อนมะเร็ง เป็นระยะที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติเลย โดยเซลล์มะเร็งยังอยู่ภายในชั้นเยื่อบุผิวปากมดลูก ยังไม่ลุกลามเข้าไปในเนื้อปากมดลูก ซึ่งระยะนี้สามารถตรวจคัดกรองได้
-
ระยะลุกลามที่ 1 เซลล์มะเร็งจะลุกลามอยู่ภายในปากมดลูก
-
ระยะลุกลามที่ 2 เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก หรือผนังช่องคลอดส่วนบน
-
ระยะลุกลามที่ 3 เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปที่ด้านข้างของเชิงกราน หรือผนังช่องคลอดส่วนล่าง หรือกดท่อไต ทำให้ไตทำงานผิดปกติ จนเกิดภาวะไตบวมน้ำ และอาจถึงไตวายได้
-
ระยะลุกลามที่ 4 เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง ปอด กระดูก เป็นต้น
ทั้งนี้ มะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรอง และการตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็งตั้งแต่ต้น ทำให้มีโอกาสตรวจพบระยะก่อนมะเร็ง และสามารถรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งได้ทันท่วงที
ฉะนั้น จึงไม่ควรมองข้ามสัญญาณเตือน หมั่นสังเกตตัวเอง และหากเป็นผู้มีความเสี่ยงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด