"ผอมไป...อ้วนเกิน หรือ ผอมเกิน...อ้วนไป เป็นอะไรกันแน่นะ”
“ผอมไป...อ้วนเกิน หรือ ผอมเกิน...อ้วนไป เป็นอะไรกันแน่นะ”
ระหว่างรอต้นไม้โต สมช.ส่วนใหญ่ก็มีรายการแว่บเข้าครัวกันเป็นระยะ สังเกตว่าไม่ว่างเว้นบนกระดานสนทนาจะมีเมนูอาหารที่ชวนอร่อย ชวนอิ่ม ชวนน้ำหนักขึ้นกันเพียบบบบ...
วันนี้แวะมาดูกันหน่อยนะคะ ว่า ตอนนี้อยู่ในระหว่าง ผอมไป...อ้วนเกิน หรือ ผอมเกิน...อ้วนไป เป็นอะไรกันแน่นะ
อย่างหนึ่งที่เป็นข้อตกลงขององค์การอนามัยโลกว่าไว้ คือ เราใช้ค่าดรรชนีมวลกาย(B.M.I.)เป็นตัวกำหนด
โดยที่ดรรชนีมวลกาย(B.M.I.) เป็นตัวชี้วัดน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับความสูง ด้วยการคำนวณจากน้ำหนักตัว เป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังได้กำหนดไว้ว่า ถ้า ดรรชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 นั่นคิอ เป็นโรคอ้วน
ซึ่งค่าปกติของ ดรรชนีมวลกาย ควรอยู่ที่ 20-24.9
นั่นหมายความว่าถ้าดรรชนีมวลกายต่ำกว่า 20 มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะการขาดสารอาหารและการเกิดภาวะโรคต่างๆคุกคามได้ด้วยเช่นกัน
แต่ถ้าหากอยากคำนวณอย่างง่ายๆตามแบบฉบับอเมริกา จะใช้การคำนวณหาค่าน้ำหนักตัวในอุดมคติที่ควรเป็น ที่เรียกว่า
Idea Body Wieght (I.B.W.) ( ข้อมูลข้างล่างนี้ต้องขอปรับเล็กน้อยแต่ยิ่งใหญ่ค่ะ สมช.ทักท้วงว่า การคำนวณ Idea Body Wieght (I.B.W.) ในชายต้องลบด้วย 100 ในหญิงต้องลบด้วย 110 ขอขอบคุณมากนะคะ
ส่วนท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://healthy-diet-by-dietitian.blogspot.com/
http://naradusis.net/IBWFormula.html )
ย้อนกลับไปที่ ดรรชนีมวลกาย(B.M.I.)อีกครั้ง
หากหญิงสูง 150เซนติเมตร อยากรู้ว่าช่วงน้ำหนักตัวที่ควรเป็นของตนเองควรอยู่ที่เท่าใด พบว่าน้ำหนัก (B.M.I.ที่อยู่ในช่วงระหว่าง20-24.9)ที่คำนวณได้คือ
20 คูณด้วย ส่วนสูง(คิดเป็นเมตร)ยกกำลังสอง นั่นคือ 20 คูณ 1.5 คูณ 1.5 เท่ากับ 45กิโลกรัม
24.9 คูณด้วย ส่วนสูง(คิดเป็นเมตร)ยกกำลังสอง นั่นคือ 24.9 คูณ 1.5 คูณ 1.5 เท่ากับ 56.025กิโลกรัม (ประมาณ 56กิโลกรัม)
ดังนั้น หญิงสูง 150 เซนติเมตร น้ำหนักควรอยู่ในช่วง 45 ถึง 56 กิโลกรัม
ส่วนชายสูง 180เซนติเมตร อยากรู้ว่าช่วงน้ำหนักตัวที่ควรเป็นของตนเองควรอยู่ที่ประมาณเท่าใด พบว่าน้ำหนัก (B.M.I.ที่อยู่ในช่วงระหว่าง20-24.9)ที่คำนวณได้คือ
20 คูณด้วย ส่วนสูง(คิดเป็นเมตร)ยกกำลังสอง นั่นคือ 20 คูณ 1.8 คูณ 1.8 เท่ากับ 64.80 กิโลกรัม(ประมาณ65กิโลกรัม)
24.9 คูณด้วย ส่วนสูง(คิดเป็นเมตร)ยกกำลังสอง นั่นคือ 24.9 คูณ 1.8 คูณ 1.8 เท่ากับ 80.676กิโลกรัม (ประมาณ 81กิโลกรัม)
ในทำนองเดียวกัน ชายสูง 180 เซนติเมตร น้ำหนักควรอยู่ในช่วง 65 ถึง 81 กิโลกรัม
เรื่องนี้อยากบอกและเล่าให้ฟังตามข้างต้นนี้ล่ะค่ะเท่าที่มีภูมิจดๆจำๆมาได้ สมช.ท่านใดมีข้อมูลใดที่เห็นต่างๆบอกกันบ้างนะคะ และอย่าลืมบอกกันสักนิดได้ไหมคะว่าวันนี้ ผอมไป...อ้วนเกิน หรือ ผอมเกิน...อ้วนไป
โอกาสเหมาะๆข้างหน้า จะหาเรื่องเล่าสู่กันฟังอีกนะคะ
- บล็อกของ สายพิน
- เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น
- อ่าน 6388 ครั้ง
ความเห็น
แดง อุบล
17 กันยายน, 2010 - 14:16
Permalink
คุณสายพิน
ตอนนี้แดงก็ออกไปทางอ้วนค่ะ ตามใจปากตลอด
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
สายพิน
17 กันยายน, 2010 - 16:02
Permalink
คุณ แดง สู้ สู้ ค่ะ
ที่ว่าอ้วนนี่คือคำนวณแล้วหรือว่าสังเกตตัวเองว่าอ้วนคะถ้าคำนวณแล้วอาจต้องดูรายละเอียดเพิ่มจาก เว็บ ข้างต้นน่ะค่ะ
แต่หากว่าสังเกตตัวเองรู้สึกว่าอ้วน อาจจะเป็น...ลักษณะเจ้าเนื้อก็ได้นะคะ แต่อย่างไรก็ตาม น่าจะดีมากในช่วงที่สูงอายุแล้วถนอมให้โอกาสกระดูกแตกหักน้อยกว่าคนที่ผอมน่ะค่ะ คุณแดง (อันนี้เป็นข้อมูลที่จดๆจำๆมาน่ะค่ะ)
Tui
17 กันยายน, 2010 - 14:24
Permalink
ขอบ คุณ สำ หรับ ข้อ มูล ครับ
ขอบ คุณ สำ หรับ ข้อ มูล ครับ น้า สายพิน ผม เกิน มาตรฐาน มาเยอะ พยามรัก ษา สุขภาพ ให้ แข็ง แรง ที่สุด ครับ
สายพิน
17 กันยายน, 2010 - 15:56
Permalink
ขอคุณมากค่ะ อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมดนะคะ ตรวจสอบดูก่อน
ขอคุณมากค่ะ อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมดนะคะ ตรวจสอบดูก่อนนะคะ
เผื่อว่าน้าสายพิน ทำข้อมูลหลุดหรือหล่นหายน่ะค่ะ แต่อย่างไรก็ขอขอบคุณที่เยี่ยมชมค่ะ และเป็นกำลังใจให้มีสุขภาพแข็งแรง สู้ สู้ นะคะ
ป้าเล็ก..อุบล
17 กันยายน, 2010 - 19:21
Permalink
อ้วนๆ
ยังไงก็ถูจัดอยู่โซนอ้วน
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
18 กันยายน, 2010 - 14:25
Permalink
อ้วน ไม่อ้วน
นอกจากดู BMI และ IBW แล้ว ยังต้องคำนวนดัชนีมวลกาย เทียบกับอัตราส่วนของปริมาณไขมันในร่างกายด้วยค่ะ พี่สายพิณ จึงจะใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
(เหมือนอย่างบางทีเราเห็นคนตัวอ้วน แต่น้ำหนักไม่มากอย่างที่คิด เพราะน้ำหนักของไขมันจะเบากว่ากล้ามเนื้อและกระดูก)
การวัดอัตราส่วนปริมาณไขมันในร่างกาย จะต้องวัดด้วยเครื่อง แล้วจึงนำค่าที่วัดได้มาคำนวน อีกทอดหนึ่ง
คนจะอ้วนหรือผอม ควรดูจากตัวชี้วัดทั้งหมดประกอบควบคู่กันนะคะ
สายพิน
27 กันยายน, 2010 - 14:57
Permalink
ขอบคุณค่ะ คุณแก้ว ที่ช่วยเสริมข้อมูลให้สมบูรณ์ขึ้น
ขอบคุณค่ะ คุณแก้ว ที่ช่วยเสริมข้อมูลให้สมบูรณ์ขึ้น
หากมีโอกาสสามารถตรวจได้อย่างละเอียดด้วยเครื่องมือตรวจทางการแพทย์จะบอกผลความอ้วนหรือไม่ได้อย่างชัดเจน
ส่วนในกรณีที่จะดูโดยคร่าวๆง่ายๆ สามารถดูจากการคำนวณพื้นฐานในชีวิตประจำวันได้ค่ะ คือว่าจะได้พึ่งตนเองให้มากที่สุด แล้วหากนอกเหนือกว่านี้ก็เข้าสู่กระบวนการหรือขั้นตอนที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะในการเสริมข้อมูลให้สมบูรณ์ขึ้น
หน้า