ผลไม้พื้นบ้านภาคใต้ที่มีชื่อว่า ลูกขลบ

เมื่อตอนสมัยวัยเด็ก เล็กไม่มากนัก มีแรงยิงนูยาง ชีวิตวนเวียนอยู่ใต้โคนต้นขลบ หยบยิงนกในพกเต็มไปด้วยลูกนู พอรู้ว่าเนือยก็เลื้อยไปปลิดลูกขลบ จบด้วยการยีแล้วบี้ให้มันแตก แรกๆว่าฝาด หรอยคาดเมื่อเริ่มหวาน ค่อยๆคลานลงหลบหนาม ...ห่างหายกันไปนานไม่ได้ทานลูกขลบ เดียวนี้พบอยู่บนห้าง  แถวบ้านก็หากินยากไม่ค่อยมี แม่เลยลองเพาะเมล็ดดู แล้วเวลาก็ผ่านไป ประมาณว่าหกหรือเจ็ดปี มันมีลูกให้กินแล้ววันนี้ทำให้คิดถึงวันนั้น โอ..มันนานแล้ว ดีใจจริงๆที่ได้กินอีก ลูกขลบ






ยอดขลบ


ชาวบ้านสวนพอเพียงท่านใดต้องการอนุรักษ์ผลไม้บ้านๆนี้ไว้ ก็ติดต่อมาได้ครับจะส่งลูกสุกไปให้ครับ sombat.nak@gmail.com


 

เหมือนหรือว่าต่างจากตะขบไหมคะ ...


ขอบคุณที่ให้ได้รู้จักอีกหนึ่งอย่างค่ะ

ลูกคลบนา กินแล้วเป็นขี้ฟัน ไม่พักยิ้มกับใคร

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

ลูกขลบ  เวลากินต้องบีบให้นิ่ม ๆ ก่อน  ไม่พันนั้นหมันฝาด  ไม่ได้กินนานแล้วเหมือนกัน

เท่าที่รู้มาตะขบไม่มีหนาม และลูกก็ไม่เหมือนกันครับเพื่อนแถวภาคกลางบอก


ตะขบมี 2 ชนิด


1.ตะขบ หรือตะขบฝรั่ง Muntingia calabura L. วงศ์ TILIACEAE เป็นไม้ยืนต้น กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม


2.ตะขบป่า Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.วงศ์ FLACOURTIACEAE  เป็นไม้ต้นผลัดใบ มีหนามแหลมตลอดทั้งลำต้น


            ตอนถ่ายไม่มีรูปลูกสุกๆ เลยได้แต่ลูกเขียว ๆ ไว้


ที่บ้านมีทั้งสองแบบเลย คือ  แบบแรกลูกเล็ก ต้อขนตามใบตามกิ่งจะเยอะมาก ส่วนแบบที่ 2 ต้นมีแต่หนามแต่ลูกดกและใหญ่ กินทีไรฟันแดงหมด

ชนิดที่ไม่มีหนาม ลูกจะนิ่มๆ ที่บ้านเรียก "ลูกขลบ"


ชนิดที่มีหนาม รสฝาดหน่อย ที่บ้านเรียก " ลูกแหวนดง"


ตอนนี้ลูกขลบที่บ้านไม่มีค่ะ แต่พอจะจำได้ว่าริมรั้วที่บ้านคอนศรีฯ


มีต้นแหวนดง

อ่านแล้วนึกถึง  ความหลัง  เหมือนกัน แสดงว่าโหมเราเริ่ม  แก่  แล้วแหละ

ชอบกินมากๆเลย  เอามาคลึงก่อนนะ  แต่ต้นที่หนามน้อย  ก็เคนเห็นนะ  แต่ไม่ใช่บักตะขบนะ

น้ำลายไหล คิดถึงตอนเด็กๆ ผ่านมาไม่กี่ปีทีนิ ตอนนี้หากินไม่ได้แล้ว

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

พี่ฉิม ไปกินที่บ้านแป๋มหม้าย มีตะขบป่า 2 ต้น ตะขบลูกเล็ก 1 ต้น แต่กินไม่ค่อยทันนกโพระดกหรอก พอสุกถึงมันก็มากินทั้งวัน

หน้า