... ชนเผ่าพื้นเมือง ...

หมวดหมู่ของบล็อก: 












 


 


http://youtu.be/8UDpriu4FWI


 


 


จากเหนือสู่ใต้ จากตะวันออก ไปตะวันตก  


36 กลุ่มชาติพันธุ์ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม


     สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ประกาศให้วันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็นวัน “ชนเผ่าพื้นเมืองโลก” และกำหนดให้ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2557 (ค.ศ. 2005- 2014) เป็น “ปีทศวรรษสากลของชนเผ่าพื้นเมืองโลก” (ระยะที่ 2)


     สำหรับประเทศไทยนั้น ถือเป็นดินแดนที่มีความหลากทางวัฒนธรรมและมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะการมีชนเผ่าพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่กระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีภาษา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมและบริบทของสังคมที่แตกต่างกันออกไปจากสังคมใหญ่


- ภาคเหนือ มีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ขมุ มฺบีซู มลาบรี ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ ลัวะ อาข่า และอื่นๆ

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาวกูย ภูไท ญัฮฺกุร โส้ และอื่น ๆ


- ภาคกลางและ ตะวันออก มีชาวมอญ ไททรงดา และชอง


- ภาคใต้ มีชาวมอแกน มอแกลน อุรักละโว้ย และอื่น ๆเป็นต้น


     กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรขนาดเล็กมีจานวนไม่มากนัก มีวิถีการดำเนินชีวิตทีผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างแนบแน่น เน้นระบบการผลิต การตั้งถิ่นฐานและการใช้ทรัพยากรเพื่อการยังชีพเป็นหลัก มีระบบขัดเกลาทางสังคมและได้บ่มเพาะจนกลับกลายเป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมและแบบแผนการดาเนินชีวิ ตของแต่ละกลุ่มในระยะต่อมา ซึ่งมีกระบวนการถ่ายทอดและสืบต่อกันมาจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง

ความเห็น

สวยดีครับ

สุดท้าย ก็กลายเป็นคนไม่มีค่าในสายตาของเขา

ชอบค่ะ เรื่องชนเผ่าพื้นเมือง

ชอบมาก

ที่นำภาพมาให้ชม สวยดีแปลกดีครับ