น้ำหมักชีวภาพ ตอนที่ 2

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ครั้งแรกเป็นการลองผิด ลองถูก ผลที่ได้คือ มีหนอนน้อย…  เนื่องจากปิดฝาไม่สนิท (ไม่ควรปิดแน่นแต่ต้องป้องกันไม่ให้แมลงวันหาเจอ)  หรือไม่ วัตถุดิบที่ใส่ไม่สดมีหนอนน้อย…   แต่กลิ่นยังไม่เปลี่ยน ใช้ได้เหมือนกัน ผสมน้ำใช้รดน้ำต้นไม้….

http://www.bansuanporpeang.com/node/1497

  ครั้งที่สอง ยังไม่ได้ซื้อถังหมัก….แก้ปัญหาโดยใช้ถุงมัดกับเชือกแล้วปิดฝา เห็นผล ไม่มีหนอนน้อย ถือว่าผ่าน  ผสมน้ำใช้รดน้ำผักและตันไม้….ที่เหลือเก็บไว้ใช้ได้...


 ครั้งนี้เป็นครั้งที่สาม เมื่อทำแล้วเห็นผลก็ต้อง เพิ่มปริมาณ  แต่ยังไม่มีถังเหมือนเดิม ก็ไม่เป็นอุปสรรค มองหาแล้วมีลูกโอ่ง ใช้แทนกันได้ Smile

การหมักใช้  EM กากน้ำตาล และเศษผักและผลไม้ ครั้งนี้จะเป็นชมพู่ (ปลิดไว้ครั้งที่แล้ว) เปลือกแตงโม สับปะรด ปลีกล้วย เปลือกขนุน ทุกอย่างผักและผลไม้ใส่ได้หมด ……ไม่มีฝาปิด ถุงมัดด้วยเชือกฟาง ปิดด้วยกะละมัง Laughing

 เปิดฝามาผลที่ได้…. ไม่มีหนอนน้อย ….กลิ่นหอมน่ากินเชียว…Smile

 

 ด้านล่างจะมีที่เปิด….ไม่ต้องกรอง …เอาผสมน้ำ รดผักและต้นไม้ (จากปกติรดน้ำเปล่า) วันนี้ผสมน้ำหมักด้วย จะรู้สึกงัยน้อ..ต้นไม้พูดไม่ได้ซะด้วย…Smile


 หาข้อมูลจาก Internet คัดลอกข้อความบางส่วนสรุป และทำความเข้าใจ…Smile

น้ำหมักชีวภาพ ทำง่ายใช้ประโยชน์ได้จริง

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก อาจพบเกือบทุกหนทุกแห่งในธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีคุณประโยชน์ต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งมวลในโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดกระบวนการหมัก ผลผลิตที่ได้จากการหมักนั้น ในที่นี้เราขอเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพ คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆจะถูกปลดปล่อยออกมา เช่นโปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำหมักชีวภาพ มี 3 ประเภท คือ
             1. น้ำหมักชีวภาพจากพืชสดสีเขียว (น้ำแม่)
             2. น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก (น้ำพ่อ)
             3. สารขับไล่แมลง (น้ำหมักจากพืชสมุนไพร)

        น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ อีกทางเลือกของเกษตรกร สำหรับใช้ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมีวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ อย่างง่ายๆ ท่านสามารถทำเองได้ สบายมาก

น้ำหมักชีวภาพ มี 2 ประเภท คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช ทำได้โดยการนำเศษพืชสด ผสมกันน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล อัตราส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน พืชผัก 3 ส่วน หมักรวมกันในถังปิดฝา หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เราจะได้ของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเราเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช
2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ มีขั้นตอนทำคล้ายกับน้ำหมักจากพืช แตกต่างกันตรงวัตถุดิบจากสัตว์ เช่น หัวปลา ก้างปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น

 

เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี
1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติก หรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้ จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิท รอการใช้งานต่อไป
2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่าง ๆ ขึ้น เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น
3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลาย
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ

ด้านการเกษตร
1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ
2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน

        การทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น.

ขอบคุณข้อมูลจาก

สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา  คณะสัตวแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น  หนองหญ้าปล้อง  วังสะพุง  เลย

 

ความเห็น

ล่วงหน้าไปแล้ว  คุณน้องแอน

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

คุณแอนนี่ขยันจังเลยนะคะ

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

ต่อไปผักและต้นไม้ของคุณแอนคงงามน่าดู...เอาใจช่วยค่ะLaughing

ดีใจด้วยนะคะที่ทำน้ำหมักได้สำเร็จ ครั้ง 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 พอครั้ง 4 คงจะมีสูตรที่เฉพาะตัวมากขึ้น อิอิ

...2553 ปีที่ 1 ที่เริ่มเดินตามรอยพ่อ...

เก่งจริงนะตัวแค่เนี๊ย ปุ๋ยน้องแอนห้ามกินนะคะเห็นบอกว่าน่ากิน แค่นี้ก็งามแล้วค่ะLaughing

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

พี่หมักครั้งที่ 2 แ้ล้วเหมือนกัน เริ่มมีกลิ่นแอลกอฮอล์ ถามใครเขาก็บอกว่ากลิ่นหอมๆ พี่ไม่เข้าใจว่าที่หอมเนี่ยมันมีกลิ่นคล้ายๆสปายหรือเปล่า คือเป็นกลิ่นแอกอฮอล์หอมๆ หรือกลิ่นน้ำหมักของพี่นี่คือเริ่มเน่ากันแน่

แอนว่าคล้าย ๆ สปายค่ะคุณดวง... (แต่พี่จันทร์ห้ามไว้แล้ว ไม่ให้กิน Laughing)

ได้กลิ่นนานๆ ก็ไม่ค่อยจะดี แสบจมูก.....

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

มีความตั้งใจมากเลย....สู้ต่อไป..น้องแอน

เวลาพบกันสั้นนิดเดียว

ขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ

เป็นกำลังใจในการทำงานไม่ว่าเหนื่อยแค่ไหนSmile

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

ที่นำเรื่องดีๆมาเผยแพร่ :serenade: :wow2:

กินอยู่อย่างพอเพียง ไม่ขี้อิจฉา ชอบสันโดษ รักธรรมชาติ

หน้า