ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน อย่างที่มันเป็น...Just as they are
The lotus pond
Just as they are, unplucked,
For the Festival of All Souls
- Matsuo Basho
บทกวีไฮกุ ของ มัตซึต บาโช
ดอกบัวหลวง จาก เกาะสิเหร่ ภูเก็ต
อ้อยหวานชอบบทกวีไฮกุบทนี้มาก แต่ไม่อาจหาญที่จะแปลเป็นกลอนไฮกุ กลัวว่าจะเสียอรรถรส อ้อยหวานเอามาจากที่เขาแปลจากภาษาญี่ปุ่นมาเป็นภาษาอังกฤษอีกทีหนึ่ง
แต่ขอแปลง่ายๆ
สระบัวหลวง..
ทิ้งไว้อย่างที่มันเป็น.. ไม่เด็ด..
เพื่องานรื่นเริงของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
ดอกบัวในสระ
หากเราปล่อยให้มันยังคงอยู่ตามที่มันเป็น,ไม่เด็ดเอามาเชยชมตามลำพัง,
เพื่อผู้ที่บังเอิญผ่านมาพานพบได้ชื่นชมดื่มด่ำกับความงามของมันได้อีกมากหลาย..
หลายๆสิ่ง หลายๆอย่าง หากเราทิ้งไว้อย่างที่มันเป็น (Just as they are) โลกนี้คงจะสวยงาม
++++++++++++++++++++++++++++++
พยายามที่จะขยายความบทกวีไฮกุ ของ มัตซึต บาโช บทนี้ทั้งวัน (ทั้งคืนเวลาของประเทศไทย) เปลี่ยนแล้ว ลบอีกก็ไม่ถูกใจสักที อ้อยหวานเข้าใจที่ท่านบาโชเห็นและเสื่อออกมา แต่เขียนอธิบายไม่ได้ ยังคิดอยู่ว่าคืนนี้คงนอนไม่หลับแน่ เพราะจะคิดจนไม่ได้นอน แล้วอัศวินม้าขาวก็มาช่วย ขอบคุณคุณอินเนียร์ค่ะ คืนนี้ได้นอนหลับสนิทแล้วค่ะ วันหน้ามาช่วยอีกนะคะ
ดอกบัวหลวง จาก เกาะสิเหร่ ภูเก็ต
ถึงแม้ดอกบัวหลวงในรูปไม่ได้อยู่ในสระ แต่อยู่ในอ่าง อ้อยหวานก็สามารถเห็นความงามของดอกบัว เฉกเช่นเดียวกับที่ท่านบาโช เห็น .. Just as they are
ดอกบัวหลวง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Nelumbo nucifera หรือ sacred lotus..ดอกบัวอันศักดิ์สิทธิ์
ดอกบัวหลวงเป็นพืชที่โดดเด่นอย่างแท้จริง ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์มานานกว่า 5,000 ปี ในศาสนาฮินดูบัวหลวงเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ ความอุดมสมบูรณ์ เป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับการกำเนิดของเทพเจ้าหลายๆองค์ เช่น พระพรหม เชื่อกันว่ากำเนิดจากดอกบัวที่ผุดขึ้นจากสะดือของพระวิษณุ ส่วนพระลักษมี กำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวที่เทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา
ในศาสนาพุทธ ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ป็นสัญลักษณ์ของ ความบริสุทธิ์ (purity) และการบรรลุธธรม หรือที่เรียกว่า จิตตื่น (spiritual awakening) บทสวดมนต์ของชาวพุทธทิเบต Om Mani Padme Hum โอม มณี ปัทเม หุม แปลได้ว่า โอม..อัญมณีในดอกบัว
ในความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์และการเกิดใหม่ (rebirth)
ดอกบัวหลวง ถ่ายจากเขาคอหงส์ หาดใหญ่
ดอก เมล็ด ใบ และรากของบัวหลวงกินได้ ในประเทศอินเดียบริโภคใบอ่อนก้านใบและดอกบัว เหมือนผักทั่วไป
ในเอเชีย (โดยเฉพาะในประเทศจีน) ได้ใช้บัวหลวงเป็นยาสมุนไพรมาแต่โบราณ
รากบัวดิบใช้แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ
รากบัวสุกช่วยเสริมสร้างม้ามให้แข็งแรง ช่วยให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อและโลหิต
น้ำจากใบบัวผสมด้วยชะเอม ใช้ในการรักษาอาการท้องเสียและอาการลมแดด
เมล็ดบัว ใช้บรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย อาเจียน และท้องเสีย นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
เกสรดอกบัว ช่วยบำรุงหัวใจและไต
ดอกนางแย้ม จากสวนของโรงแรมชิโนเฮ้าส์ ภูเก็ต
นางแย้ม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Clerodendrum philippinum หรือ Cashmere Bouquet Clerodendrum มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีนและญี่ปุ่น
ดอกนมสวรรค์ จาก ริมทาง ภูเก็ต
ดอกนมสวรรค์นี้ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Clerodendrum paniculatum หรือ pagoda flower.. มีถิ่นกำเนิดที่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยอดอ่อน ใบเพสลาด จะมีกลิ่นเหม็นเขียว พอปรุงเป็นอาหารกลิ่นเหม็นเขียวจะหายไป โดยหั่นฝอยใส่แกงกะทิ ใบอ่อนใช้รองในห่อหมก รสชาติหวานร้อน
สรรพคุณทางสมุนไพร
ราก ตำผสมกับสุราขาวคั้นเอาน้ำท่าแก้พิา แมลงกัดต่อย
ใบ แก้ลมในทรวงอก แก้พิษฝีดาษ
ดอก แก้โลหิต ในท้อง แก้พิษฝีกาฬ
ต้น แก้พิษตะขาบ พิษแมงป่อง
ราก แก้ไข้ โลหิต แก้ไขเหนือ ขับลมให้ซ่านออกมาทั่วตัว
ดอกบานเช้าดอกเหลือง จาก ริมทาง ภูเก็ต
ดอกบานเช้าดอกเหลือง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Turnera ulmifolia หรือ Yellow Alder มีถิ่นกำเนิดที่ หมู่เกาะแคริบเบียน
ในหมู่เกาะบาฮาม่า ใช้เป็นยาพื้นบ้านรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารโรคหวัด ใจสั่น ปวดประจำเดือน และโรคผิวหนัง
ดอกเล็บมือนาง จากสวนของโรงแรมชิโนเฮ้าส์ ภูเก็ต
ดอกเล็บมือนาง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Combretum indicum หรือ Rangoon creeper..ไม้เลื้อยร่างกุ้ง
สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบ ตำชโลม หรือทาแผล ทาฝี แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้
ต้น ใช้เป็นยาแก้ไอ
ราก ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง
เมล็ด ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้ายในเด็ก
ดอกคำแสด จาก ริมทาง นครศรีธรรมราช
ได้รูปนี้ในระหว่างทางปั่นจักรยานรอบนครศรีธรรมราช ต้นคำแสดขึ้นอยู่ริมถนน เป็นดง สูงท่วมหัว
คำแสด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bixa orellana หรือ Achiote มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา รวมทั้งหมู่เกาะแคริบเบียนและเม็กซิโก ประมาณ ค.ศ. 1600 ชาวสเปนนำคำแสดจากอเมริกาไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังแพร่หลายไปในอินเดียและแอฟริกาตะวันตก
คำแสด จาก ริมทาง นครศรีธรรมราช
ผลคำแสดมีสีแดงคล้ายผลเงาะ ผลแก่จะแตกออก ภายในมีเมล็ดสีแดง เมื่อนำเมล็ดคำแสดมาแช่น้ำทิ้งไว้หลายๆ วัน จนเยื่อหุ้มเมล็ดแยกออกจากเมล็ด เยื่อหุ้มเมล็ดถูกแยกเก็บรวมกันเป็นก้อนเพื่อนำไปใช้เป็นสีย้อม เมล็ดที่เหลือจะถูกนำไปตากแห้งเป็นเครื่องเทศปรุงอาหารที่มีชื่อเรียกว่า แอนแน็ตโต้ (Annatto)
แอนแน็ตโต้ (Annatto) นี้บางครั้งถูกเรียกว่า "หญ้าฝรั่นคนจน" (poor man’s saffron) เพราะแอนแน็ตโต้ (Annatto) ให้สีเหลืองคล้ายหญ้าฝรั่น แต่ราคาถูกกว่ากันมาก อาหารหลายจานในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ใช้แอนแน็ตโต้ (Annatto) เป็นเครื่องเทศแต่งสีเหลือง เช่น ข้าวหมกไก่ อาร๊ก คอน โปลโย (Arroz con pollo)
ดอกธรรมรักษา จากสวนของโรงแรมชิโนเฮ้าส์ ภูเก็ต
ดอกธรรมรักษา มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Heliconia มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและหมู่เกาะคาริเบียน ลิงค์ที่ข้างล่าง มีรายละเอียดของ Heliconia ทุกสายพันธ์รวมทั้งมีรูปถ่ายให้ดูมากมาย น่าสนใจมาก
http://members.iinet.net.au/~meckms/Heliconia%20Information%20Page.html
ดอกม่วงมณีรัตน์ จาก บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ นครศรีธรรมราช
ขอบคุณหนูรัก
รูปนี้ถ่ายที่บ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ นครศรีธรรมราช วันนั้นปั่นจักรยานกลางสายฝน ไปถึงบ้านท่านขุน ฝนซาลงพอดี เลยเอากล้องออกมาเก็บภาพ ‘ดอกไม้ไม่กลัวฝน’ คือสะบักสะบอม แต่ยังชูหน้าท้าฝน เหมือนอ้อยหวานในตอนนั้น เปียกซก แต่ยังไม่หยุด หลังจากวันนั้น กล้องถ่ายรูปคู่ใจก็มีอันเป็นไป สัญญาณไฟและตัวอักษรกระพริบอยู่ตลอดเวลา ฉันป่วย! ฉันป่วย! แต่ก็ยังทู่ซี่ใช้ไป จนกลับมาถึงแคนนาดา คุณผู้ชายตรวจเช็คแล้วว่า ต้องส่งไปให้หมอกล้องดู เป็นกล้องถ่ายรูปของอ้อยหวานก็อย่างนี้แหละ น่าสงสารไหม?
ดอกม่วงมณีรัตน์ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Saritaea หรือ glowvine ถิ่นกำเนิดในโคลัมเบียและเอกวาดอร์
อย่างที่หนูรักกล่าวไว้ในข้อคิดเห็น ดอกม่วงมณีรัตน์กับดอกช้องนางคล้ายกันมาก อ้อยหวานตรวจเช็คแล้ว แน่ใจว่าดอกไม้ในรูป คือดอกม่วงมณีรัตน์ สังเกตุที่ใบ จะใหญ่ เป็นมันแวว และหนากว่าใบของช้องนาง
ดอกชมพูฮาวาย จาก วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
ขอบคุณหนูรัก
ดอกชมพูฮาวายมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Podranea หรือ Pink Trumpet Vine
หลังจากบ้านท่านขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ อ้อยหวานก็แวะวัดพระมหาธาตุ ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกัน แล้วก็ได้ภาพ ‘ดอกไม้ไม่กลัวฝน’ อีกภาพ
มีเบื้องหลังรูปถ่ายที่อยากเล่าให้ฟังค่ะ ดอกชมพูฮาวาย เป็นไม้เลื้อย แต่ที่นี่เขาปลูกให้ราบไปกับพื้น พอโดนฝนก็ยิ่งราบไปกับพื้นไปใหญ่จะเก็บภาพได้ อ้อยหวานต้องนั่งยองๆต่ำๆ ท่ามกลางพุ่มดอกชมพูฮาวาย
คุณป้าท่านหนึ่งเดินผ่านมาเห็นเข้า แว๊บแรกก็ร้องเสียงแหลม...นี่..ทำอะไร..ไปทำที่..อื่น..แล้วคงเห็นกล้องถ่ายรูปในมืออ้อยหวาน เสียงก็เลยชะงัก ..อ้อ..ถ่ายรูป.. แว๊บแรกคุณป้าคงเข้าใจผิด คงคิดว่าอ้อยหวานมานั่งถ่าย…ข้างวัด แต่อ้อยหวานมานั่งถ่าย (รูป) ข้างวัดจริงๆ
ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้จะเป็นบทเรียนให้คุณป้าท่านนั้นหรือไม่ แต่อ้อยหวานได้บทเรียน
อย่าเชื่อสิ่งที่เราเห็น 100% ก่อนพูดหรือทำอะไรไปให้หยุดตั้งสติสักนิด สิ่งที่เราเห็นนั้น เราอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เราคิด อาจจะไม่จริง อย่าด่วนตัดสินตามความคิดไปทันที เพราะอาจจะพลาดไปอย่างจังๆ
เห็นไหม..ขนาดสิ่งที่เราเห็นยังเชื่อไม่ได้ 100%
แล้วสิ่งที่เรายังไม่เห็นจะเชื่อได้อย่างไร
โปรดติดตามอ้อยหวานเล่าเรื่อง ดอกไม้บนทางผ่าน ในตอนต่อไป
อ่านดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 1ได้ที่นี่่ค่ะ
http://www.bansuanporpeang.com/node/27717
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ
http://vixi.com/content/sacred-lotus-nelumbo-nucifera
http://www.kew.org/plants-fungi/Nelumbo-nucifera.htm
http://www.mdidea.com/products/proper/proper0666705.html
http://www.buzzle.com/articles/lotus-flower-meaning.html
http://www.desert-tropicals.com/Plants/Verbenaceae/Clerodendrum_philippinum.html
http://www.tungsong.com/NakhonSri/vegetable/group_3/3_9.html
http://www.levypreserve.org/Plant-Listings/Turnera-ulmifolia
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_04_6.htm
http://latinfood.about.com/od/seasoningmarinade/p/What-is-achiote.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Saritaea
http://www.plantzafrica.com/plantnop/podranricasol.htm
I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.
ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข
ขอบคุณค่ะ
อ้อยหวาน
- บล็อกของ อ้อยหวาน
- อ่าน 17063 ครั้ง
ความเห็น
อินเนียร์
1 มกราคม, 2014 - 19:39
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
เริ่มต้นด้วยอกบัวในสระ แล้วก็เรื่อยมาดอกไม้นาๆพรรณพร้อมสรรพคุณ จบลงด้วยประสบการณ์ตรงจากการคุณป้า ตอนแรกคงรู้สึกโกรธและตกใจจากการถูกตำหนิจากการเข้าใจผิด/แต่หากย่อยความคิดอาจพบข้อดีอยู่บ้างคือ คนคอนช่วยกันเูแลวัดพระธาตุไม่ให้ใครมาทำสิ่งไม่ดี(ซึ่งเข้าใจผิดและทำให้คนอื่นเสียใจ)อันเป็นลักษณะของคนรุ่นก่อน เจอพระก็นั่งลงไหว้ คุณอ้อยหวานได้ให้อภัยคุณป้าท่านนั้นไปแล้วในใจ ซึ่งนับเป็นยอดทานดังคำกล่าว"ให้วัตถุทานร้อยครั้งยังไม่เท่าให้อภัยทานแค่ครั้งเดียว"แต่ป่านนี้คุณป้าท่านนั้นคงสำนึกเสียใจ จะกล่าวคำขอโทษก็ไม่รู้จะตามหาคุณอ้่อยที่ไหน คงทุกข์ไปอี่กนานทั้งที่ตัวเองก็ตั้งใจทำดีเพราะเสี่ยงที่จะถูกด่ากลับแล้วดันเข้าใจผิดอีก
ไฮกุกล่าวสั้นๆแล้วให้คิดต่อ คนญี่ปุ่นนิยมกันนัก แต่คนไทยอาจต้องพูดยาวหน่อย
ดอกบัวในสระ
หากเราปล่อยให้มันยังคงอยู่ตามที่มันเป็น,ไม่เด็ดเอามาเชยชมตามลำพัง,
เพื่อผู้ที่บังเอิญผ่านมาพานพบได้ชื่นชมดื่มด่ำกับความงามของมันได้อีกมากหลาย..สวัสดีปีใหม่ครับ
อ้อยหวาน
1 มกราคม, 2014 - 07:22
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
พยายามที่จะขยายความบทกวีไฮกุ ของ มัตซึต บาโช บทนี้ทั้งวัน (ทั้งคืนเวลาของประเทศไทย) เปลี่ยนแล้ว ลบอีกก็ไม่ถูกใจสักที อ้อยหวานเข้าใจที่ท่านบาโชเห็นและเสื่อออกมา แต่เขียนอธิบายไม่ได้ ยังคิดอยู่ว่าคืนนี้คงนอนไม่หลับแน่ เพราะจะคิดจนไม่ได้นอน แล้วอัศวินม้าขาวก็มาช่วย ขอบคุณคุณอินเนียร์ค่ะ คืนนี้ได้นอนหลับสนิทแล้วค่ะ วันหน้ามาช่วยอีกนะคะ
อ้อยหวาน
1 มกราคม, 2014 - 09:14
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
ส่วนเรื่องที่เล่าเรื่องคุณป้าท่านนั้น อ้อยไม่เคยโกรธคุณป้าเลย ทั้งตอนนั้นและตอนนี้ เกือบลืมไปแล้วด้วย พอมานั่งเลือกภาพเขียนบล็อก ความจำอันนั้นก็ผุดขึ้นมา อ้อยเข้าใจค่ะ จะมีใครบ้างที่มานั่งอยู่ในพุ่มไม้ ในตอนเช้า หกโมงครึ่ง ในวันฟ้ามืดฝนตก พฤติกรรมแปลกๆอย่างนี้ ไม่มีอีกแล้ว ข้าพเจ้าผิดเต็มประตูเลยค่ะ แต่เขียนลงไว้จะได้รู้ๆกันว่า มีคนหนึ่งละที่ทำอะไรแปลกๆแบบนี้
auttaya
1 มกราคม, 2014 - 12:55
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
เห็นดอกบัวในสระ คิดถึงเพลงเทพธิดาผ้าซิ่น "แม่ดอกบัวที่อยู่ในสระจะบานคอยพระหรือบ้านคอยเณร ถ้าบานคอยพี่ไว้พรุ่งนี้ตอนเพล" ให้บานเต็มที่ก่อนแล้วพี่จะมาสู่ขอไม่ต้องใจร้อน ใช่เลยผูหญิงสมัยก่อน เราทำอะไรด้วยใจอันบริสุทธิ์เรามีความสุขค่ะเมื่อเราคิดถึงเหตุการณ์ย้อนหลังค่ะ
อ้อยหวาน
1 มกราคม, 2014 - 19:10
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
เพลงพื้นบ้านมีความไพเราะมากๆ โดยเฉพาะเนื้อเพลง เป็นการสอนเตือนใจไปในตัว อีกทั้งยังเป็นเหมือนภาพ ให้มองเห็นวิถีชีวิตของผู้คน ขอบคุณมากค่ะ
อย่างป้ายาว่า จริงๆค่ะ เราทำอะไรด้วยใจอันบริสุทธิ์ เรามีความสุข เมื่อเราคิดถึงเหตุการณ์ย้อนหลัง
หนุ่มบ้านนอก
1 มกราคม, 2014 - 14:47
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
ความงดงามที่ธรรมชาติมอบไว้ให้เราได้เสพสุข สวยมากครับ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันกันครับ
อ้อยหวาน
1 มกราคม, 2014 - 19:13
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
ธรรมชาติสวยงามเสมอ แถมมีอยู่ทุกหนทุกแห่งนะคะคุณหนุ่ม บางครั้งเดินๆยู่ ถ้าเราก้มมองสักนิด เราก็จะเห็น
tikki
1 มกราคม, 2014 - 15:36
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
ดอกไม้สวยทุกดอกเลยค่ะแหละมีคุณค่าในตัวมันเองเช่นกัน
ชอบคำแปลของพี่อินเนียร์มากค่ะ เอาไปเลยพันไลท์
อินเนียร์
1 มกราคม, 2014 - 16:23
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
ก็รู้สึกอายๆอยู่นะครับ อ่านเมนต์ของคุณอ้อยแล้วรู้สึกไม่ค่อยสบายใจนักกลัวจะไปแย่งซีนที่คุณอ้อยพยายามเขียนและใส่ภาพใส่สาระมากมาย มาอ่านความเห็นของคุณติ๊กที่มีลูกสาวน่ารักชื่อชีรา แล้วไม่มาเขียนตอบก็รู้สึกไม่ดีอีก ต้องขอบคุณ คุณติ๊กมากครับ
อ้อยหวาน
1 มกราคม, 2014 - 19:04
Permalink
Re: ดอกไม้บนทางผ่าน ตอน 2
คุณอินเนียร์ มาช่วยแปลความหมายให้ดีขึ้น อย่างนี้อ้อยต้องขอบคุณคุณอินเนียร์นะค่ะ ที่มาช่วย ทำให้ข้อเขียนของอ้อยดีขึ้น ผลประโยชน์ตกอยู่ที่ผู้แวะเข้ามาอ่าน (ส่วนรวม) ไม่เคยคิดถึงเรื่องถูกแย่งซีนเลยค่ะ ยังดีใจเสียอีก ว่ามีคนหนุนหลัง
หน้า