ผลกระทบราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันจากการเข้าสู่ AEC ของไทย

หมวดหมู่ของบล็อก: 
Keywords: 

ภายในต้นปี 2559 ประเทศไทยต้องเข้าสู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว

ประชาชนไทยจะได้บริโภคน้ำมันปาล์มถูกลงปัจจุบันราคาควบคุมอยู่ที่ 42 บาทต่อลิตร แต่เมื่อไทยเข้าสู่ AEC เราสามารถนำเข้าน้ำมันปาล์มต้นทุนการผลิตต่ำกว่าที่ผลิตในประเทศไทยได้ จะทำให้ประชาชนไทยได้บริโภคน้ำมันปาล์มในราคาที่ต่ำลงมากอาจต่ำกว่า ลิตรละ 36 บาทด้วยซ้ำไป

แต่ผลกระทบแรงๆๆ ที่เลี่ยงไม่ได้คือ เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันไทย จะเดือดร้อนจากราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันจากสวนเกษตรกรไทยจะตกต่ำลงทันทีและลดต่ำลงมากๆจากปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ กก.ละ 4.5 บาทต่อ กก. อาจเหลือเพียง 3.0บาทต่อ กก.เลยทีเดียว

ความเห็น

แต่ผมเคยอ่านเจอในหนังสือ เค้าบอกว่าอนาคตจะรุ่งกว่ายางพารานะครับ

เพราะอีกไม่นานน้ำำมันจะหมดไปจากโลก ปาล์มน้ำมันนี่แหละจะมาเป็นพระเอกครับ

(ความเห็นส่วนตัวนะครับ) คงต้องบอกว่าสมมติฐานอยู่ที่ว่าตัวแปรหลัก ราคาน้ำมันดีเซลเป็นเท่าไร ถ้าราคาน้ำมันดีเซลสูง คนก็จะนำปาล์มไปผลิตไบโอดีเซลเพิ่ม ปาล์มก็จะหายไปจากตลาด ราคาก็ขึ้น ในทางกล้บกันถ้าราคาน้ำมันดีเซลไม่สูงพอปาล์มก็จะนำไปใช้เป็นน้ำมันพืชทั่วไปราคาก็คงไม่สูงเท่าไร อีกอย่างต้นทุนน้ำมันปาล์มมาเลเซียทำได้ถูกกว่าเมืองไทยถ้าให้นำเข้าแบบไม่มีเงื่อนไข (เสรี) ชาวสวนปาล์มก็เตรียมใจเหมือนชาวสวนยางพาราตอนนี้ครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ท่านำเสนอได้ตามหลักการค้าเสรีโลกครับ

ปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์มวิ่งตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแบบคู่ขนานที่ใกล้สัมผัสกันเต็มทีแล้ว ที่ลงมาไม่สัมผัสกันเพราะน้ำมันเชื้อเพลิงนำมารับประทานไม่ได้ และต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มยังสูงกว่านัานเอง

แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงโลกตกต่ำเพราะ Over Supply จากการที่ อเมริกันพัฒนาแหล้งน้ำมนดิบจากหินน้ำมันได้ต้นทุนต่ำลงมาก ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันปาล์มโลกตกต่ำตามลงไปอีก เพราะ อินโดนีเซียก็เผาป่าปลูกปาล์มกัยมากมาย ผลผลิตจึงออกมามากเหมือนน้ำมันดิบจากหินน้ำมันเช่นกัน

แล้วทางแก้ตามหลักเศรษฐศาสตร์ละมีไหม

อันที่จริง ประเทศไทยก็เข้าสู่สมาคมอาเซี่ยนมานานแล้วนะคะ สังเกตุได้จากสายการบิน low cost(ต้นทุนต่ำ) ของบริษัทต่างๆที่เข้ามาบริการ เพื่อรองรับอาเซี่ยน และเพื่อท้าทายการบินไทย--ความเจริญจะเข้ามาประเทศไทย ตรงจุดไหนดีละคะ ถ้าสวนยางพารา และสวนปาล์ม ราคาตกต่ำ เพราะพืชเศรษฐกิจสองตัวนี้ ก็แทบจะครอบคลุมทั่วประเทศไทยแล้วค่ะ นี่คือโจทย์ที่อาเซี่ยน แจก ให้กับผู้บริหารไทย --ทำการบ้านล่วงหน้าแล้วนะ ถ้าปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข--แสดงว่า....

การที่รัฐบาลไทยจะยับยั้งไม่ให้นำเข้าน้ำมันปาล์มเสรี ทางอินโดนีเซีย เขาก็ยังอยากได้ข้าว น้ำตาล และมันสำปะหลังจากไทยจำนวนมาก มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรสามกลุ่นนี้ไปตลาด AEC ทำให้ไทยได้ดุลการค้า 3 ส่วน แต่เสียดุลการค้า หนึ่งส่วน ทำให้ใครที่เป็นรัฐบาลก็ต้องยอมให้นำเขเาน้ำมันปาล์มเสรีครับ

โดยส่วนที่มีทั้งคนได้และคนเสีย

โดยคนได้โดยตรงคือ เกษตรกรชาวไร่อ้อน ไร่มันาำปะหลังงบและชาวนา และ คนไทยทั้งประเทศที่ได้บริโภคน้ำมันปาล์มถูกลงลิตรละ 4-6 บาทแน่นอน

และแน่นอนอีกเช่นกันที่ชาวสวนปาล์มไทยจะเสียอาชีพทำสวนปาล์มกันเลยทีเดียว แต่วิกฤตนี้มีโอกาส ผมยังเห็นเกษตรกรชาวสวนปาล์มไทยเป็นเศรษฐีบ่อน้ำมันบนดินอยู่เช่นเดิม

ชาวสวนปาล์มไทยเปลี่ยนวิธีคิด ก็เปลี่ยนชื่อเรียกตัวเองว่าเป็นเศรษฐีบ่อน้ำมันบนดินได้อยู่ครับ

 

แต่ผมนำเสนอแนวคิดการจัดการทรัพยากรเกษตรและพลัวงานของไทยอย่างเป็นธรรม ที่จะช่วยให้รัฐบาลไทยมีข้ออ้าง ห้ามนำเข้าน้ำมันปาล์มจากอินโดและมาเลย์มาผลิตไบโอดีเซล ให้คนไทยรับภาระแทนเกษตรกรชาวสวนปาล์มอืนโดและมาเลย์ กล่าวคือน้ำมันปาล์มจะถูกกว่าไทยอย่างไร ก็แพงกว่าราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นที่สิงค์โปอยู่ดี

การนำเข้าน้ำมันปาล์มมาทำไบโอดีเซลขายคนไทยจึงไม่ใช้หลักเศรษฐศาสตร์การเคลื่อนย้ายทรัพยากรของ AEC อย่างเป็นธรรม ดังนั้นน้ำมันปาล์มในไทยจึงมีทางรอดเดียวคือต้องนำมาทำไบโอดีเซลทั้งหมด จะทำให้ราคาปาล์มทะลายของไทยไม่ต่ำลงไปกว่า 3.5 บาทต่ กก.ได้ครับ

แต่ตอนนี้ ยังไม่นำเข้าน้ำมันปาล์มเสรี ราคาปาล์มทะลายเหลือไม่ถึง3.0 บาทแล้ว การนำเสนอราคาประกัน 3.5 บาทต่อ กก.จะเป็นประชานิยมแบบมีผลผลิตที่ประชาชนเสบติดไม่คิดทำไรต่ออีกหรือไม่ ต้องช่วยกันคิดนะครับ รมต.ใหม่ของรัฐบาลลุงตู่ ๓ ครับ