จำหน่ายจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล ดังโงะ หรือ EM BALL การบำบัดน้ำเสีย ของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ 0815609691 0863007935 0864024375

จำหน่ายจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล ดังโงะ หรือ EM BALL การบำบัดน้ำเสีย ปลีก - ส่ง ของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ 0864024375 0815609691 0863007935

 

 


จำหน่ายจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล ดังโงะ หรือ EM BALL การบำบัดน้ำเสีย ปลีก - ส่ง ของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ 0864024375 0815609691 ช่วยลดสภาวะโลกร้อนค่ะ มาร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมของเราให้น่าอยู่ค่ะ เป็นแบบเกตรธรรมชาติปลอดสารพิษค่ะ และประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายค่ะ

หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มากกว่า 10 สกุล 80 ชนิดปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ เป็นของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ มหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญึ่ปุ่น

ราคา : 90 บาท บาท
สนใจติดต่อคุณ : เกล้า ในราคาที่ยุติธรรมค่ะ

ราคา ของ จุลินทรีย์ EM

EM ขวดใหญ่ 10 ลิตร ราคา 850 บาท

EM ขวด 1 ลิตร 90บาท

กากน้ำตาล 10 ลิตร 300 บาท

กากน้ำตาล 1 ลิตร 30 บาท

โบกาฉิ (ปุ๋ย) 1 กระสอบ 20 โล 300 บาท

โบกาฉิ (ปุ๋ย) ถุงละ 2 โล 30 บาท

ดังโงะ 1 ถุง 6 ลูก 60 บาท หรือ EM BALL ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียค่ะ ควบใช้ ควบคู่ไปกับ EM จะทำให้ได้ผลอย่างรวดเร็วค่ะ

ได้ที่ โทร:
086300-7935 081560-9691 0864024375

การทำ EM หรือ ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ ไว้ใช้เองแบบง่ายๆ ประหยัด EM BALL ดังโงะ การบำบัดน้ำเสีย กากน้ำตาล

ถ้าหากท่านใด สนใจอยากทำปุ๋ยชีวภาพ แบบง่ายๆ ประหยัด และสามารถทำได้เอง ก็ทดลองหรือศึกษาข้อมูลได้นะคะ เพราะเศษอาหารหรือผัก ผลไม้ จากครัวเรือน ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แบบง่ายๆ ซึ่งจะมีหลายวิธีดังนี้นะคะ

การขยายจุลินทรีย์ EM

1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร

วิธีทำ

ผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล และน้ำเข้าด้วยกัน ใส่ขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้แน่น เก็บไว้ 3 – 5 วัน

จะเป็นหัวเชื้อขยายเป็นการนำจุลินทรีย์มาขยายให้ได้จำนวนมาก ลดต้นทุนนำไปใช้หรือขยายต่อได้อีก
( เก็บไว้ได้นาน 3 เดือน)

วิธีใช้

ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ฮอร์โมน สารไล่แมลง และปุ๋ยแห้ง ฯลฯ
หมายเหตุ

1 แก้ว ประมาณ 250 ซีซี
2 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 10 ซีซี

การทำฮอร์โมนผลไม้

1. มะละกอสุก 2 กก.
2. ฟักทองแก่จัด 2 กก.
3 . กล้วยน้ำว้าสุก 2 กก.
4. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
5. กากน้ำตาล 1 แก้ว
6. น้ำสะอาด 1 ถัง หรือ 10 ลิตร

วิธีทำ

สับมะละกอ ฟักทอง กล้วยทั้งเปลือกและเมล็ดให้เข้ากันผสม EM และกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว ใส่น้ำ
10 ลิตร หรือ 1 ถัง คนให้เข้ากันปิดฝาให้แน่น หมักไว้ 7 – 8 วัน เปิดก๊อกแล้วกรองใส่ขวดเก็บได้นาน 3 เดือน

วิธีใช้

4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตรหรือถัง 1 ถัง ฉีด พ่น ราด จะทำให้ดอกติด ผลดก ขนาดโต น้ำหนักดี
รสชาติอร่อย

การทำปุ๋ยน้ำ ( ใช้ทันที)

1. จุลินทรีย์ EM 2 ช้อนโต๊ะ
2. กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ
3. น้ำสะอาด 1 ลิตร หรือ 1 ถัง

วิธีทำ

นำจุลินทรีย์ EM และกาน้ำตาลผสมในน้ำให้เข้ากัน
วิธีใช้
พืช ผัก ใช้ ฉีด พ่น รด ราด ทุก 3 วัน ไม้ดอกไม้ผล พืชสวน ฉีด พ่น ทุก 7 วัน เดือนละ 1 – 2 ครั้ง
ใช้ให้หมดภายใน 1 วัน หากไม่หมดให้นำไปราดห้องน้ำ ล้างพื้นซีเมนต์หรือเทลงท่อระบายน้ำ

สูตรไล่แมลง ( สุโตจู , EM 5)
1. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
2. กากน้ำตาล 1 แก้ว
3. น้ำสมสายชู 5% 1 แก้ว
4. เหล้าขาว 28 – 40 ดีกรี 2 แก้ว
5. น้ำสะอาด 10 ลิตร

วิธีทำ

นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 7 – 10 วัน เขย่าถังเบาๆ ทุกวันและเปิดฝานิดๆ
ให้ก๊าซระบายออก ครบกำหนดเก็บใส่ขวดพลาสติกเก็บไว้ใช้ได้นาน 3 เดือน

วิธีใช้

4 – 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีด พ่น รด ราด พืชผัก ไม้ใบ ไม้ดอก พืชสวน ทุกสัปดาห์

สูตรไล่หอย , เพลี้ยไฟ

1. ยอดยูคาลิปตัส 2 กก.
2. ยอดสะเดา 20 ยอด หรือ 2 กก.
3. ข่าแก่ 2 กก.
4. บอระเพ็ด 2 กก.
5. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
6. กากน้ำตาล 1 แก้ว

วิธีทำ

นำยอดยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ และบอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกกันใส่ปิ๊บ ใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลือน้ำ
อย่างละครึ่งปิ๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมกันในถังใหญ่หรือโอ่ง ใส่จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว

วิธีใช้

ใช้แก้วผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ในแปลง ผัก พืช ในนาข้าว ป้องกันใบข้าวไหม้ด้วย

การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)

1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน ( กระสอบ)
2. แกลบดิบ 1 ส่วน ( กระสอบ)
3. รำละเอียด 1 ส่วน ( กระสอบ)
4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)
6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง

วิธีทำ

ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ

ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ

นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)
การหมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้

การเก็บรักษา

เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา
ได้นานประมาณ 1 ปี

วิธีใช้

1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้

2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ

3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง , ฟางแห้ง

4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น

ข้อควรจำ

เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี

ตรน้ำซาวข้าว

1. น้ำซาวข้าว (ประมาณ) 2 ลิตร
2. จุลินทรีย์ EM 1 ? ช้อนโต๊ะ
3. กากน้ำตาล 1 ช้อนชา
4. น้ำสะอาด ? แก้ว

วิธีทำ
1. น้ำซาวข้าว ( น้ำเพื่อล้างฝุ่นข้าวและส่งสกปรกออกก่อนนำไปหุง) ประมาณ 2 ลิตร หากไม่ถึงให้เติมน้ำสะอาดลงไปกรองด้วยผ้าขาวบางให้ใส

2. ผสมกากน้ำตาลที่ละลายน้ำเจือจางแล้ว 3 ช้อนโต๊ะ ลงในน้ำซาวข้าวใส่จุลินทรีย์ EM 1 ? ช้อนโต๊ะ แล้วบรรจุ ในขวดพลาสติกชนิดฝาเกลียวปิดฝาให้สนิท

3. เก็บไว้ประมาณ 3 – 5 วัน น้ำที่ได้มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมจึงนำไปใช้

วิธีใช้

1. ใช้แทนผงซักฟอก โดยใช้สูตรน้ำซาวข้าว ผสมน้ำในอัตราส่วน 1 : 20 แช่ผ้าทิ้งไว้ 1 คืน กรณีใช้เครื่องซักผ้าประมาณ 500 ซีซี วันรุ่งขึ้นซักน้ำสะอาด และน้ำผ้าตากให้แห้ง ผ้าจะสะอาดไม่มีกลิ่น ไม่กระด้าง รีดง่าย

2. ใช้เป็นสเปรย์ดับกลิ่น โดยนำสูตรน้ำซาวข้าว ใส่ขวดที่มีหัวฉีดเป็นละออง ดับกลิ่นเหม็นติดเสื้อผ้า กลิ่นอับในรถยนต์

3. ใช้ผสมน้ำถูพื้นบ้าน พื้นครัว ( อัตราส่วนตามความสกปรก)

4. กรณีมีตะกอนที่ก้นขวด ให้ใช้เฉพาะน้ำใสเท่านั้น

5. ใช้ให้หมดภายในเวลาประมาณ 3 – 5 วัน

สูตรสารไล่แมลง

1. ลูกยอสุก 1 กก.
2. จุลินทรีย์ EM 1 แก้ว
3. กากน้ำตาล 1 แก้ว

วิธีทำ

นำลูกยอสุกมาสับให้ละเอียด ใส่น้ำพอท่วมผสมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล คนให้เข้ากัน หมักไว้ 10 วัน พอได้ที่คั้นเอาแต่น้ำมาใช้

วิธีใช้

สารไล่แมลง 1 แก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น รด ราด

วัตถุที่ใช้แทนกากน้ำตาล

- น้ำผึ้ง , น้ำตาลทรายแดง , นมสด
- น้ำผลไม้สดทุกชนิด เช่น น้ำมะพร้าว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำอ้อน ฯลฯ
- น้ำซาวข้าว

- ฯลฯ

เอาไปทดลอง ปรับปรุงใช้ได้ หรือหาอย่างอื่นมาเป็นส่วนผสมด้วยก็ได้ เช่น น้ำมะพร้าว เปลือกกุ้ง กระดองปู 3 อย่างข้างต้นเมื่อหมักแล้วจะได้สารจำพวก ไคโตซาน อยากรู้ว่าสารไคโตซานได้ประโยชน์อย่างไรลองเสิร์ซหาดูได้ค่ะ

สำหรับคนที่มีเศษอาหารสดในครัวเรือนมากมายต่อวัน
อย่าขุดฝังใต้โคนต้นไม้นะคะ เพราะจะเน่าเสีย นอกจากคุณจะมีพื้นที่บ้านมากพอ
อย่าโยนใส่รถขยะเทศบาล เพราะจะเน่าเสีย กว่ารถจะนำไปกลบฝังหรือบำบัดแบบอื่นๆ

กรุณาร่วมใจ ช่วยกันบำบัดสดครัวเรือน ด้วยการหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ

เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ที่เหลือจากการบริโภค ทุกอย่าง ยกเว้นน้ำมัน

ใส่ถังหมัก หรือ ภาชนะ หรือแม้แต่ถุงดำหนาๆ
เติมน้ำตาล หรือ กากน้ำตาล และน้ำเปล่า ใช้สูตรการหมักโดยน้ำหนัก

เศษอาหาร 5 ส่วน ต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน ต่อน้ำเปล่า 1 ส่วน เคล้าให้เข้ากัน
ปิดฝาถัง ตั้งไว้ในที่ร่ม อย่าให้โดดแดดส่อง เพราะจุลินทรีย์จะตาย

ฝาไม่ต้องปิดสนิท เพราะจะมีแก๊ซบางชนิดเกิดในระหว่างการหมัก
เติมเศษอาหารใหม่ได้ทุกวัน ใช้สูตรผสมตามเดิม
น้ำตาลเป็นส่วนสำคัญในการหมัก เพราะจุลินทรีย์ที่มีในถังหมัก ต้องกินน้ำตาล

น้ำปุ๋ยชีวภาพ ใช้ผสมน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ต่อน้ำ 1 ถัง ใช้รดน้ำต้นไม้ สัปดาห์ละสองครั้งกำลังดี
เพิ่มเติมค่ะ
ชนิดเข้มข้น ใช้ราดในโถส้วม ราดท้องร่อง หรือบริเวณน้ำขังเน่าเสีย
ชนิดเจือจางสามถึงห้าเท่า ใช้ราดดับกลิ่นมูลสัตว์ หรือผสมน้ำอาบสุนัข
ล้างคอกสัตว์เลี้ยง ดับกลิ่นต่างๆ

เนื้อปุ๋ย ใช้ผสมดิน 5 เท่า สำหรับปลูกผัก
หรือขุดหลุมฝังที่โคนต้นไม้

-จุลินทรีย์ EM ไม่มีสารเคมีเจือปน เป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ปราศจากสารเคมี ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดสภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ

จุดเด่นสำคัญของ EM คือใช้ได้หลากหลาย

ปลูกพืชผัก การปลูกผัก ไม้ผล และพืชไร่ และการทำนา

ปศุสัตว์ ไก่ สุกร โคเนื้อ โคนม รวมไปถึงการทำฟาร์มขนาดเล็ก และขนาดใหญ่

การประมง การเลี้ยงปลา กุ้ง กบ ตะพาบ รวมถึงสัตว์น้ำทุกประเภท

สิ่งแวดล้อม การใช้ EM ในครัวเรือน ชุมชน ตลาด แหล่งขยะ และโรงงานอุตสาหกรรม
โรงแรม ร้านอาหาร โรงเรียน อพาสเม้น บ้านเรือน

จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มากกว่า 10 สกุล 80 ชนิดปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ เป็นของศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ มหาวิทยาลัยริวกิว โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ผู้ค้นคิด (EM) ใช้ในด้านปศุสัตว์ ด้านการเกษตร ด้านการประมง ด้านสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของจุลินทรีย์ EM

จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นได้อย่างหมดจด โดยไม่มีสารตกค้าง

จุลินทรีย์ จะกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นได้แทบทุกชนิด ยกเว้นกลิ่นที่เกิดจากสารเคมี (จุลินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายสารเคมีได้ ) ดังนั้นการจุลินทรีย์ ใช้กำจัดกลิ่นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีใดๆ เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตายหรือเสื่อมสลายไปได้ จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ต่อทั้งพืชและสัตว์รวมไปถึงก ารรักษาสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย

น้ำจุลินทรีย์ทำความสะอาดกำจัดกลิ่น

น้ำจุลินทรีย์ทำความสะอาดกำจัดกลิ่น น้ำจุลินทรีย์ทำความสะอาด กำจัดกลิ่น(สูตรเข้มข้น) เหมาะมากสำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยงหรือผู้ที่เลี้ยงสัตว์

น้ำจุลินทรีย์สูตรเข้มข้น(ไม่ใช่EMที่เกิดจากกรรมวิธีขยายธรรมดา) ใช้ผสมน้ำทำความสะอาดบริเวณคอกของสัตว์เลี้ยง เพื่อขจัดกลิ่นคาว กลิ่นสาป กลิ่นฉี่ อึของสัตว์เลี้ยงและยังช่วยไล่แมลงไม่ให้มารบกวนสัตว์เลี้ยงของคุณ หรือจะผสมน้ำใช้เช็ดตัวสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็ไม่เป็นอันตราย หรือจะใช้ผสมน้ำถูบ้านก็ช่วยไล่แมลงสาป หนูและแมลงอื่น ๆได้ด้วย แถมยังมีกลิ่นหอมของธรรมชาติ เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อทั้งคุณ สัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เหมาะที่จะใช้มาก

เพราะช่วยขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสง ค์ภายในฟาร์มของคุณได้เป็นอย่างดีแถมยังช่วยลดต้นทุนเรื่องน้ำยาดับกลิ่นท ำความสะอาดได้อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้น้ำจุลินทรีย์ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆอีกเช่น ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องครัว ราดโถส้วม ขจัดคราบ ทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว ราดอ่างล้างจาน- ล้างหน้า บริเวณที่เตรียมอาหาร จะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู ราดท่อน้ำ รางน้ำ ร่องน้ำ ช่วยลดการอุดตัน ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ผสมน้ำ อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง ช่วยลดกลิ่นสาป และอื่น ๆอีกมากมาย ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ว่าน้ำจุลินทรีย์มีประโยชน์ต่อชีวิตประ จำวันของเรามาก และที่สำคัญยังช่วยอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

1.ด้านระบบในการกำจัดน้ำเสีย ในบริเวณบ้าน ในโรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ คู คลอง หนองบึง

2.กำจัดกลิ่นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

3.ปรับสภาพของเสียจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ ต่อสัตว์เลี้ยง และการเพาะปลูก

4.กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนที่ลดน้อยลงนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น ได้

5..ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าทำให้การใช้ไฟฟ้าลดน้อยลง

6.ใช้ล้างผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ได้ และสามารถล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นเหม็นให้ดีได้

7.ใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดในห้องในที่ทำงานได้แทนการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง ช่วยปรับสภาพอากาศเสียให้สะอาดขึ้นและลดเชื้อแบคทีเรียได้ดี

8.ใช้อาบน้ำสุนัขได้ดีไม่มี เห็บ หมัด และกลิ่นสุนัขไม่เหม็นสาบ และสามารถใส่ผสมกับน้ำให้สุนัขกินได้มูลสุนัขจะไม่มีกลิ่นเหม็น และทำให้สุนัข เจริญอาหาร

9.ใช้ทำเป็นน้ำยาผสมล้างจาน ชามได้ดี

10.ใช้ทำความสะอาดถูบ้านได้

11.ใช้ลาดในห้องน้ำ ตามท่อระบายน้ำ ห้องส้วมจะไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่ทำให้ห้องส้วมอุดตัน บ่อเกรอะ ส้วม ห้องน้ำ ตามบ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนี่ยม โรงพยาบาล โรงแรม จากตลาดสด ร้านอาหาร

12.ใช้EMผสมกับ แฟ๊บ น้ำยาซักผ้าเพื่อทำให้เสื้อผ้านิ่มรีดผ้าได้ง่ายขึ้น

13.ใช้ EM ล้างทำความสะอาดตู้เย็น แทน แฟ๊บ และน้ำยาล้างจาน

14.ใช้ล้างรถยนตร์ได้ ไม่ทำให้สีของรถเสียหาย ช่วยดักฝุ่นละอองที่มาเกาะรถได้ดี และ
เช็ดที่เบาะในข้างในรถได้ดีด้วย

15.ใช้ทำความสะอาดแผลสดได้ดี นำEMสดทาบริเวณที่เป็นบาดแผล เวลาโดนของมีคมบาด เช่น มีด

16.หรือโดนน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ ทำ EM สด ได้จะทำให้แผลเย็น แล้วไปพบแพทย์

17.ทาEM สด ในกรณี โดนยุงกัด รักษาอาการคัน ผื่น ผด ลมพิษ ขึ้นตามผิวหนัง เพราะทาบริเวณ แขน หรือตามผิวหนังจะทำให้เย็น และหายคันได้ ผื่นก็จะหายไป

18.ใช้สระผมหมักก่อนสระผม จะทำให้ผมนิ่มสลวย และไม่มีรังแค

19.ใช้เช็ดหน้าล้างเครื่องสำอางให้สะอาด แทนการใช้สารเคมี

20.ประหยัดค่าใช้จ่าย - ลดต้นทุนการผลิต -เพิ่มรายได้

21.บำบัดน้ำเสีย กำจัดคราบไขมัน กำจัดขี้เลนก้นบ่อ เพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ

22.ช่วยให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อแข็งแรง

23.ย่อยสลายกากของเสีย ที่เป็นอินทรีย์ในบ่อเกาะ-บ่อบำบัดน้ำเสีย อย่างได้ผล

24.ปลอดภัยต่อชีวิต และลดสภาวะโลกร้อนด้วยค่ะ

25.วิธีการใช้จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นเน่าเสีย กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว กลิ่นสาบ ฯลฯ จากสิ่งปฏิกูลต่างๆ

คุณสมบัติพิเศษของน้ำจุลินทรีย์

1. ใช้ล้างห้องน้ำ – ห้องครัว

2. ดับกลิ่นห้องน้ำ – ราดโถปัสสาวะขจัดคราบ

3. ราดโถส้วมทำให้ไม่เต็มเร็ว ประหยัดค่าดูดส้วมอย่างเห็นได้ชัด

4. ราดที่อ่างล้างหน้า- ล้างจาน บริเวณที่เตรียมอาหารจะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู

5. ราดท่อน้ำร่องน้ำช่วยลดการอุดตัน ช่วยกำจัดกลิ่นในท่อน้ำทิ้ง

6. ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน

7. ผสมน้ำอาบน้ำสัตว์เลี้ยงในน้ำสุดท้ายช่วยลดกลิ่นสาปอันเนื่องมาจากไขมันใต ้ขุมขน (สุนัขขี้เรื้อน อาบแล้วขนจะขึ้น) ทำให้แมลงวันไม่มารบกวนสัตว์เลี้ยง

8. สเปรย์เข้าในบ่อเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง จะช่วยปรับสภาพน้ำไม่เน่าเสีย สัตว์น้ำจะแข็งแรงไม่มีโรค

9. ใช้ทาหน้ายางพาราหลังกรีดยาง จะช่วยให้หน้ายางขึ้นมาเรียบเสมอและผิวนิ่ม เพราะจุลินทรีย์จะช่วยป้องกันเชื้อราได้

10. ตัดวงจรชีวิตของแมลงวัน (ทำให้แมลงวันเป็นหมัน)

11. ใช้ล้างเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นคาวก่อนการประกอบอาหาร

ประโยชน์โดยทั่วไปของจุลินทรีย์

ด้านการเกษตร
12. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดินและน้ำ

13. ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นอาหารแก่พืช พืชจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่สูญเสียพลังงานมาก

14. ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสม

15. ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืช และโรคระบาดต่าง ๆ

16 ช่วยสร้างฮอร์โมนแก่พืช เพื่อให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น

17. ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานมีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ

18. ช่วยให้ระบบนิเวศวิทยา หรือวงจรธรรมชาติ กลับคืนมา

ด้านปศุสัตว์

19. ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ เช่น ไก่ และ สุกร
20. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มปศุสัตว์

21.ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์ แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้

22. ช่วยกำจัดแมลงวันด้วยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเ ป็นแมลงวัน

23.ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค ให้ผลผลิตสูงและอัตราการตายต่ำ

ด้านการประมง

24. ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้

25.ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อ กุ้ง ปลา หรือสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่เลี้ยงได้

26. ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

ด้านสิ่งแวดล้อม

27. ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร การปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชมและสถานประกอบการ ทั่วไป

28 ช่วยกำจัดกลิ่นขยะ ฟาร์มปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนต่าง ๆ

29. ปรับสภาพของเสีย เช่น เศษอาหารจากครัวเรือนให้เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก

30. กำจัดขยะด้วยการย่อยสลายให้มีจำนวนน้อยลง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้
31. ช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดใส และมีสภาพดีขึ้น

----หากทุกครัวเรือน ทุกสถานประกอบการ เช่น ร้านอาหาร หอพัก ภัตตาคารต่าง ๆ ใช้น้ำจุลินทรีย์นี้แทนเคมี ก็จะช่วยการบำบัดน้ำเน่าเสียได้

จุลินทรีย์ดับกลิ่นสุนัข-แมวและสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ

น้ำจุลินทรีย์ สามารถนำไปประยุกต์ในการดับกลิ่นสัตว์เลี้ยงได้หลากหลาย เช่น ดับกลิ่นสาบ กลิ่นคาวของสุนัขและแมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

จุลินทรีย์ กำจัดกลิ่นได้อย่างหมดจด โดยไม่มีสารตกค้าง

จุลินทรีย์ จะกำจัดกลิ่นหรือดับกลิ่นได้แทบทุกชนิด ยกเว้นกลิ่นที่เกิดจากสารเคมี

(จุลินทรีย์ ไม่สามารถย่อยสลายสารเคมีได้ )
ดังนั้นการจุลินทรีย์ ใช้กำจัดกลิ่นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีใดๆ เพราะจะทำให้จุลินทรีย์ตายหรือเสื่อมสลายไปได้ จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มีประโยชน์ต่อทั้งพืชและสัตว์รวมไปถึงก ารรักษาสิ่งแวดล้อม ปลอดภัย

น้ำจุลินทรีย์สูตรเข้มข้น(ไม่ใช่EMที่เกิดจากกรรมวิธีขยายธรรมดา)

---ใช้ผสมน้ำทำความสะอาดบริเวณคอกของสัตว์เลี้ยง เพื่อขจัดกลิ่นคาว กลิ่นสาป กลิ่นฉี่ อึของสัตว์เลี้ยงและยังช่วยไล่แมลงไม่ให้มารบกวนสัตว์เลี้ยงของคุณ หรือจะผสมน้ำใช้เช็ดตัวสุนัข หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ก็ไม่เป็นอันตราย หรือจะใช้ผสมน้ำถูบ้านก็ช่วยไล่แมลงสาป หนูและแมลงอื่น ๆได้ด้วย แถมยังมีกลิ่นหอมของธรรมชาติ เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อทั้งคุณ สัตว์เลี้ยงและสิ่งแวดล้อม สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์เหมาะที่จะใช้มาก

---เพราะช่วยขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ภายในฟาร์มของคุณได้เป็นอย่างดีแถมยังช่วยลดต้นทุนเรื่องน้ำยาดับกลิ่นท ำความสะอาดได้อย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้น้ำจุลินทรีย์ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆอีกเช่น ใช้ล้างห้องน้ำ ห้องครัว ราดโถส้วม ขจัดคราบ ทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว ราดอ่างล้างจาน- ล้างหน้า บริเวณที่เตรียมอาหาร จะช่วยไล่แมลงวัน แมลงสาปและหนู ราดท่อน้ำ รางน้ำ ร่องน้ำ ช่วยลดการอุดตัน ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ช่วยบำรุงดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ผสมน้ำ อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยง ช่วยลดกลิ่นสาป และอื่น ๆอีกมากมาย ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้จึงเห็นได้ว่าน้ำจุลินทรีย์มีประโยชน์ต่อชีวิตประ จำวันของเรามาก และที่สำคัญยังช่วยอนุรักษณ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

EM จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

EM กลุ่มจุลลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและให้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรม โดยกลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้รับคัด และเลือกสรรเป็นอย่างดีจากธรรมชาติที่มัประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมารวมกัน

EM คืออะไร

EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่ม จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา
ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง "ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498)

บิดาแห่งเกษตรธรรมชาติของโลก จากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 และค้นพบ
EM เมื่อปี พ.ศ. 2526 ท่านอุทิศทุ่มเทการทำวิจัยพบว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้น
ศาสตราจารย์ วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านประธาน มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโรคทำให้เกิดโรคมีประมาณ 10 %

2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรคมี ประมาณ 10%

3.กลุ่มกลางมีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใดมีจำนวนมากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดินก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวน มากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโคลงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีก หลังจากที่ถูกทำลาย

สารเคมีจนตายไป จุลินทรีย์มี 2 ประเภท

1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)
2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

จุลินทรีย์ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกัยได้ จากการค้นคว้าดังกล่าวได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรร อย่างดีจากธรรมชาติที่มีประโยชน์

ต่อพืชสัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม (Famillies) 10 จีนัส (Genues) 80 ชนิด (Spicies) ได้แก่

กลุ่มที่ 1

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนมีคุณสมบัติต้านมานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 2

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สงเคราะห์
สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins)
ฮอร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ 3

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic หรือ Fermented Microorganisms)

ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ต้านทานโรค (DiseasesResistant) เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี
ช่วยลดการพังทลายของดินป้องกัน โรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

กลุ่มที่ 4

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae)
และพวกแบคทรีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต
เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch หรือ Carbohydrates)
ฮอร์โมน (Hormones) วิตามิน (Vitamins)ฯลฯ

กลุ่มที่ 5

เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทรีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปลื่อยและดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสนหรือทำให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพืช
ช่วยให้เมล็ดงอกงาม และแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของ EM

EM เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์หรือเรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้นจะใช้

EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็นสิ่งที่มีชีวิต และมีลักษณะดังนี้

1. ต้องการที่อยู่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไปอยู่ในอุณภูมิปกติ

2. ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอัตรายต่อสิ่งมีชีวิต

3. เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี และยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้

4. เป็นต้นเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

5. EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวันเป็นตัวทำลาย ความสกปรกทั้งหลาย

การดูแลรักษา

1. หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1 ปี โดยปิดฝาให้สนิท

2. อย่าทิ้ง EM ไว้กลางแดด และอย่าเก็บไว้นตู้เย็นเก็บรัษาไว้ในอุณภูมิปกติ

3. ทุกครั้งที่แบงไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษเข้าไปปะปน

4. การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อสังเกตพิเศษ

1. หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตายไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกให้นำ

EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้

2. กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเข่ยาภาชนะฝ้าขาวจะสลายตัว
กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้

3. เมื่อนำไปขยายเชื้อในน้ำกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอม และเป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3 วัน ถ้าไม่มีฟองน้ำนิ่งสนิท

แสดงว่า การหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

จุลินทรีย์ EM มีประโยชน์อย่างไร

จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์ EM มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมี
จุลินทรีย์จะมีบทบาทที่ช่วยจทดแทน การใช้สารเคมีได้มาก

การใช้จุลินทรีย์สด หรือ EM สด หมาบถึง การใช้จุลินทรีย์ (EM) จากโรงงานผลิต ผู้จำหน่ายที่ยังไม่ได้แปลสภาพ

วิธีใช้และประโยชน์ของ EM สด

1. ใช้กับพืช (ปุ๋ยน้ำ)

- ผสมน้ำในอัตรา 1 : 1000 (EM 1 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10
ลิตร) ใช้ฉีดพ่น รด ราด พืชต่างๆ ให้ทั่วพื้นดิน ลำต้น กิ่ง ใบ และนอกทรงพุ่ม

- พืช ผัก ฉีดพ่น รด ราด ทุก 3 วัน

- ไม้ดอกไม้ประดับเดือนละ1ครั้งการใช้จุลินทรีย์สดในดินควรมีอินทรียวัตถุปก คลุมด้วยเช่นฟางแห้งใบไม้แห้ง

เป็นต้นเพื่อรักษาความชื้นและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ต่อไป

2. ใช้ในการทำ EM ขยายปุ๋ยแห้ง

3. ใช้กับสัตว์ (ไม่ต้องผสมกากน้ำตาล)

- ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 200 ลิตรให้สัตว์กินทำให้แข็งแรง

- ผสม EM 1 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตรใช้พ่นคอกให้สะอาดกำจัดกลิ่น

- หากสัตว์เป็นโรคทางเดินอาหารให้กิน EM สด 1 ช้อนโต๊ะผสมกับอาหารให้ สัตว์กินฯลฯ

4. ใช้กับสิ่งแวดล้อม

- ใส่ห้องน้ำห้องส้อมและในโถส้อมทุกวัน วันละ 1 ช้อนโต๊ะ (หรือสัปดาห์1/2แก้ว) ช่วยให้เกิดการย่อยสลายไม่มีกากทำให้ส้อมไม่เต็ม

- ใช้กำจัดกลิ่นด้วยการผสมน้ำและกากน้ำตาลในอัตราส่วน1:1 1000(EM1ช้อนโต๊ะ:น้ำ1ลิตร)ฉีดพ่นทุก3วัน

- บำบัดน้ำเสีย 1:100หรือEM2ช้อนโต๊ะ:น้ำ200ลิตร

- ใช้กำจัดเศษอาหารหรือทำปุ๋ยน้ำจากเศษอาหาร

- แก้ไขท่ออุดตันEM1ช้อนโต๊ะใส่5-7วัน/ครั้ง

- ฉีดพ่นปรับอากาศในครัวเรือน

- กำจัดกลิ่นในแหล่งน้ำใช้ฉีดพ่น หรือ ราดลงไปใน

แหล่งน้ำ 1 ลิตร : 10 ลบ.ม. กลิ่นจากของแห้ง แข็ง มีความชื้นต่ำแล้วแต่สภาพความแห้ง หรือความเหม็น โดยผสมน้ำ 1 : 100 หรือ 200 หรือ 500 ส่วนขยะแห้งประเภทกระดาษใบตอง เศษอาหาร ใช้ฉีดพ่น อัตรา

EM ขยาย 1ส่วยผสมน้ำ 500 ส่วน หรือ EM ขยาย 1 ลิตร : น้ำ 500 ลิตร

วีธีใช้และประโยชน์ EM ขยาย

1.ใช้กับพืชเหมือน EM สด

2.ใช้กับสัตว์

-ผสมน้ำ 1 : 100 ฉีดพ่นคอก กำจัดแมลงรบกวน
-ผสมน้ำ 1 : 1000 ล้างคอก กำจัดกลิ่น
-ผสมน้ำในอัตรา 1 : 500 หรือ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 10 ลิตร เพื่อหมักหญ้าแห้ง ฟางแห้งเป็นอาหารสัตว์

3.ใช้ทำปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยแห้ง เหมือนใช้ EM สด

4.ใช้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนใช้ EM สด

ประโยชน์ของปุ๋ยแห้ง

1.ใช้กับพืช

- รองก้นหลุม ร่วมกับอินทรียวัตถุ เช่น ฟางแห้ง ใบไม้แห้ง

- คลุมดิน คือโรยผิวดินบนแปลงผัก หรือใต้ทรงพุ่มของต้นไม้

- ใช้ในนา ไร่ ร่วมกับ EM ขยาย ใส่ถุงแช่น้ำในอัตรา 1 กก. :น้ำ 200 ลิตร หมักไว้ 12-24 ชั่วโมง นำไปรดพืชผัก

2.ใช้กับการประมง

- เพื่อสร้างอาหารในน้ำก่อนปล่อยสัตว์ลงในน้ำ
- เพื่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยง
- ผสมอาหารสัตว์

3.ใช้กับปศุสัตว์

- ผสมอาหารให้สัตว์กิน

4.ใช้กับสิ่งแวดล้อม

- เพื่อบำบัดกลิ่นร่วมกับ EM ขยาย

- เพื่อบำบัดน้ำเสียร่วมกับ EM ขยาย

-ใช้ในการหมักเศษอาหาร ทำปุ๋ยน้ำ

- ใช้ในขยะเปียกอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

ปัจจุบัน EM ได้รับความนิยมขยายไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่มีพิษภัย มีแต่ประโยชน์ถ้าสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง และมุ่งเน้นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทำให้การขยายการใช้ EM ไปสู่เกษตรกรและ

-องค์กรทั่วโลกกว่า 30 ประเทศ อาทิ Internationnal Nature Farming Reserch Center Movement (INFRC) JAPAN, EM Research Organization (EMRO) JAPAN, International Federation of Agriculture Moverment (IFOAM) GERMANY เป็นต้น และ California Certified Organics Farmers ประเทศสหรับอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเกษตรธรรมชาติ ได้ให้คำรับรองเมื่อ ค.ศ. 1993 ว่า เป็นวัสดุประเภทจุลินทรีย์ (Microbial Innoculant) ที่ปลอดภัยและได้ผลจริง 100%

คุณประโยชน์ของ EM ที่กล่าวมานี้ได้เป็นที่รู้จักกันในแพร่หลายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศค่ะ

ราคา ของ จุลินทรีย์ EM

EM ขวดใหญ่ 10 ลิตร ราคา 850 บาท

EM ขวด 1 ลิตร 90บาท

กากน้ำตาล 10 ลิตร 300 บาท

กากน้ำตาล 1 ลิตร 30 บาท

โบกาฉิ (ปุ๋ย) 1 กระสอบ 20 โล 300 บาท

โบกาฉิ (ปุ๋ย) ถุงละ 2 โล 30 บาท

ดังโงะ 1 ถุง 6 ลูก 60 บาท

T.0863007935 081-5609691 0864024375

-ถ้าคุณลูกค้าซื้อในปริมาณมากจะมีอัตราพิเศษส่วนลดให้ด้วยค่ะ และช่วยกันร่วมลดสภาวะโลกร้อนค่ะ ขอขอบพระคุณทุก ๆ ท่านที่อ่านขอมูล และขอบพระคุณทุก ๆ ท่านที่มาอุดหนุนค่ะ