อสารคดี :: ระบบน้ำหยด ตอน ถังเก็บน้ำฝน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ศุภมัสดุพระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค 2554 พรรษา


สวัสดีครับ วันนี้ฝนตกลงมามากมาย ก็ได้เอาโอ่งพลาสติกที่มีอยู่ มาทำการรองน้ำฝน ซึ่งที่จริงก็ตั้งใจจะนำเอาโอ่งพลาสติกเหล่านี้มา ต่อเข้าหากัน เพื่อใช้กับระบบน้ำหยด เรามาดูแผนผังกัน


 



หลักการทำงาน


เมื่อน้ำฝนไหลผ่านรางน้ำมา ซึ่งน้ำฝนที่ได้มานั้น ก็จะมีสิ่งสกปรก ใบไม้ ต่างๆ ปนมาอยู่ด้วย ก็จะผ่านที่กรองน้ำ ซึ่งผมเองก็ใช้เสื้อเก่าๆ ขาดๆ มาตัดให้เป็น 4 เหลี่ยมจตุรัส ซ้อนกันหลายๆ ชั้น จากกรวยที่รองน้ำ ตรงนี้ก็จะมีผ้าซึ่งกรองแล้วชั้นแรก ก็จะไหลผ่านสายยางมาเจอผ้าที่ซ้อนกันหลายๆ ชั้น มาเป็นชั้นที่สอง น้ำที่ได้ก็พอมีความสะอาดในระดับหนึ่ง



น้ำฝนก็จะไหลลงไปเข้าสู่โอ่งใบแรก โดยโอ่งทุกใบนั้น เราจะเจาะรูพร้อมกับติดตั้ง ก๊อกน้ำ หรือ วาล์วน้ำไว้ แล้วเชื่อมถึงกันด้วยท่อหรือสายยาง เมื่อน้ำเข้าสู่โอ่งใบแรก ก็จะทยอยไหลเติมทุกโอ่ง จนกว่าจะเต็ม ซึ่งเราสามารถที่จะเชื่อมต่อโอ่งไปได้เรื่อยๆ ตราบที่เรายังมีที่ให้วาง โดยที่ทุกโอ่งนั้น เราเจาะรูไว้ด้านบน เพื่อให้น้ำสามารถล้นออกไปได้ และอากาศสามารถเข้าออกได้ ป้องกันการเกิดสุญญากาศ..... ก๊อกน้ำในแต่ละโอ่งนั้น ก็เพื่อสำหรับปิดน้ำ ในกรณีที่เราจะทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแปลงโอ่งน้ำ



ท่อน้ำกลางก็จะ ไหลเข้าสู่เครื่องกรองนำเกษตร เพื่อกรองน้ำฝนนั้นให้ปราศจากสิ่งเจือปน เพื่อส่งต่อเข้ากับระบบน้ำหยดต่อไป ซึ่งเราสามารถนำเอาเครื่องตั้งเวลาในการรดน้ำใส่ลงไป เพื่อควบคุมการจ่ายน้ำ ว่าวันหนึ่ง จะรดน้ำช่วงไหน ใช้เวลาเท่าไร(เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำตามต้องการ ตามที่คำนวณไว้)


วัสดุ อุปกรณ์


- โองน้ำพลาสติกขนาด 150 ลิตร จำนวน 4 ใบ


- อิฐบล๊อก หรือแท่นรองโอ่งน้ำ


- ข้อต่อ ขนาด 1/2 นิ้ว หรือ 4 หุน


 


ลงมือสร้าง


- นำโอ่งมาทำความสะอาดภายในให้เรียบร้อย เพื่อรองรับน้ำฝน


- ทำความสะอาดผิวภายนอกเพื่อสะดวกในการทำงาน


- ใช้เหล็กนำศูนย์ตอกลงไปตรงกึ่งกลางรู แล้วใช้สว่านมือพระ ทำการเจาะรู หรือ จะใช้ Hole Saw ก็ได้เช่นกัน




ทำการเจาะรู ใส่ท่อและวาล์วน้ำลงไป


 


โปรดติดตามตอนต่อไป....


ปล. จะดำเนินการในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน

ความเห็น

ข้อมูลดีจังค่ะ ขอบคุณนะค่ะที่แบ่งปันข้อมูล

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ

 

 

รอติดตามอยู่นะจ๊ะ