พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ผมกับเจ้เจ้าของบ้านนั้น ยึดมั่นในระบบพลังงานแบบยั้งยืน ครื่องทำน้ำร้อนที่บ้านก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้ง ตั้งแต่เริ่มปลูกบ้าน ระบบแพงหน่อยแต่ สบายใจและ รัฐก็ช่วยเหลือด้วย เมื่อทางรัฐมีโครงการช่วยเหลือเงินค่าติดตังพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟ เพื่อใช้ในบ้านขึ้นใหม่ ผมสองคนก็ขอติดตั้ง ไว้ใช้เลย ใช้งานมาได้เกือบปีแล้วครับพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรนี้ ในบล็อกไม่มีข้อมูลการติดตั้งนะครับ มีแต่ภาพและระบบการซื้อขายไฟฟ้าแสงอาทิตย์เท่านั้นใครสนใจทำติดใช้เองผมไม่มีข้อมูลนะครับ

ผลังงานแสงอาทิตย์แบบนี้ ไม่มีหม้อสะสมไฟในบ้านนะครับ ถ้าเราผลิตไฟได้มากเกิน เราต้องขายให้กับ ทางการไฟฟ้า และทางการไฟฟ้าในแต่ละรัฐก็ให้ราคารับซื้อต่างกัน และ ยังอยู่ในช่วงเวลาด้วย ผมติดตั้ง ช่วงแรกๆ ในรัฐผม รับซื้อ สี่สิบเจ็ดเซนท์ การไฟฟ้า ขาย ยื่สิบเจ็ดเซนท์ เราขายให้การไฟฟ้า แพงกว่าซื้อจากการไฟฟ้า ครับ แต่ตอนนี้นั้นถ้าใครติดตั้ง ทางรฐ ซื้อขาย ราคาเดียวกัน ผมโชคดีอยู่ในระบบเก่า ระบบแบบนี้ดี ที่ ปลอดภัยและสร้างรายได้ แต่ข้อเสียคือ ถ้าไฟดับ พลังแสงอาทิตย์ เราก็ ดับไป ด้วยครับ การซื้อขายแบบนี้ ดีตรงที่ ทางรัฐก็ได้แหล่งผลิตพลังงานเพิ่ม และทางผมก็เพิ่มรายได้ ทุกวันนี้ คิดไว้ สามปีก็จะคืนทุน จากนั้นต่อไปอีก สิบสองปี ก็จะหาเงินได้จากการขายพลังงาน จนกว่าแผงพลังงานจะ หมดอายุ เงินอาจไม่มากมายอะไร แต่สุขใจ และไม่สร้างมลพิษมากครับ

ภาพแรก และภาพสอง นั้น เป็นของเพื่อนบ้านผมครับถ่ายภาพง่ายหน่อย บ้านหลังหนึ่ง ครอบครัว สี่คนจะใช้ หนึ่งจุดห้า ถึง สามจุดห้า กิโลวัตว์ ครับ

ภาพนี้บ้านผม แผงพลังงานเล็กๆด้านบน เป็นของเครืองทำน้ำร้อน แผงใหญ่ด้านล่างเป็นแผงพลังงานไพฟ้าใช้ในบ้าน

อันนี้เป็นหม้อ แปลงไฟ และแผงควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ที่บ้านครับ ต่อตรงเขากับ มิเตอร์ วัดว่าเราผลิดได้เท่าไหร่วันนี้ จากนั้นการไฟฟ้า เขาจะ คำนวนไป ว่าเราใช้เท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่ ต้องซื้อเพิ่มไหม

เมื่อถึงกำหนดทุกสองเดือนการไฟฟ้า เขาก็จะส่งใบเสร็จ มาให้ ทราบยอดเงิน ว่าขายได้เท่าไหร่ และยอดขายแต่ละเดือนเป็นอย่างไร เปรียบเทียบ เป็นปีให้ด้วย เงินถ้ามีเยอะ เราจะไปเบิกมาใช้ก็ได้ครับ หน้าหนาวจะผลิตได้น้อยหน่อย ครับ เพราะแดดออกน้อย หน้าร้อนจะ ผลิตได้มากขึ้น ครับ เราก็มีรายได้มากหน่อย

คุณลุงที่เลี้ยงวัวนั้น บ้านท่านก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แบบซื้อขาย กับ ทางการไฟฟ้า และ ท่านก็ต่อใช้เองด้วย ที่เห็นด้านบนเป็นเครืองสูบน้าจากบ่อน้ำคุณลุง ครับ ตัวเครี่อง จะติดทุนลอยอยู่ กลางสระ แผงผลังงาน ก็วางกับพื้นริมขอบ สระ ง่ายๆเลย สังเกตุดีๆ จะเห็นทุ่นเป็นวงขาวๆ ลองอยู่ด้านบนของภาพครับ

ด้านบนเป็นของบ้านเพื่อนอีกท่านครับ บนหลังคาเขาจะเห็น สองชุดเลย สมัยนี้มีแบบออกใหม่อีกครับแผงผลังงาน หันปรับไปตาม ดวงอาทิตย์ ครับ สร้างผลังงานได้สูงสุด

สำหรับผมสองคน ในอนาคต ก็จะ ติดตั้งแผงพลังงานเพิ่มครับ ถ้ามีสมาชิกในบ้านเพิ่ม เมื่อหมดอายุการใช้งานก็ เปลี่ยนใหม่ เทคโนโลยี ก้าวหน้า เร็วครับ สิปปี ข้างหน้า แผงพลังงานต้องเล็กลง และผลิตพลังงานได้มากขึ้น ครับ ผลังงานไฟฟ้า เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราสร้างเองได้ แบบยั้งยืน เราก็ทำเอง ลงทุนมากหน่อย แต่ก็ ดีกับสิ่งแวดล้อม ครับแผงผลังงานสำเร็จรูป ในต่างประเทศ มีขายทั่วไป ครับ ติดต่อ ติดตั้งไม่ยาก ยิ่งมีหน่วยงานรัฐช่วยด้วยยิ่ง สบายใหญ่ ครับ ประเทศไหน ระบบต่างกัน อย่างไร เล่าสุ่กันฟังบ้างนะครับ

แล้วเจอกันในบล็อกต่อไป ครับ

ตุ้ย คนสวน กับ เจ้ เจ้าของบ้าน

ความเห็น

เป็นเรื่องดีที่ทุกคนสามารถทำเองได้

แต่บ้านเราอุปกรณ์แพงมากเพราะรัฐไม่สนับสนุนค่ะ

สวัสดีครับพี่ทรายอีกหน่อยก็ถูกลง เหมือน โทรศัพท์ มือถือ นะครับ เมื่อ ถึงเวลานั้น เราค่อยว่ากัน อีก ที ครับ

มีแต่นายทุนใหญ่ๆทำโซล่าเซลล์ครับ ขายง่าย จ่ายคล่อง ภาคครัวเรือนทำเองก็โดนกีดกันครับ(เพราะขัดผล..... :uhuhuh: :uhuhuh:)

ภาษาไทยเป็นภาษาของชาติไทย เรามาร่วมรณรงค์ใช้ภาษาไทยให้ถูกกันดีกว่าครับ

คุณ อำพล เรื่องขัดผลประโยชน์ นั้นเป็นเรื่องใหญ่ครับ เรื่องอื่นผมไม่ถนัด ผมต่อต้านการทำเมล็ดพันธ์ให้ เพาะต่อไม่ขึ้น เป็นอย่างมาก นายทุนต่างชาติจ้างนักวิชาการ ปรับปรุงพันธ์พืช และ ออกลิขสิทธิ คุ้มการซื้อขายเมล็ดพันธ์ ผูดเรื่องนี้ไปได้ ยาวครับ ขอจบไว้ตรงนี้ก่อน

ดีเลยค่ะตุ้ยทำเสร็จแล้วได้ใช้แล้วด้วยนะคะ เมืองไทยรับแสงอาทิตย์ได้ไม่ต้องลงทุน  แสงอาทิตย์มีตลอดสามร้อยหกสิบห้าวัน มากบ้างน้อยบ้าง แต่หาโอกาสจับแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ยังไม่เต็มที่ ได้แต่หวังว่าสักวันจะนำมาใช้ได้มากน่ะค่ะขอบคุณที่นำเรื่องราวมาบอกเล่านะคะ

ขอบคุณ ครับน้า ทางรัฐช่วยอะไร ก็ง่ายขึ้น นะครับ

เคยดูที่ราน "อมร" น่าสนใจเหมือนกันครับราคาก็พอรับได้


ตอนเป็นเด็ก....มีแรง มีเวลา แต่ไม่มีเงิน กลางคน.....มีเงิน มีแรง แต่ไม่มีเวลา ปั้นปลาย.....มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรง

ยังไงลองศึกษาดูถึงอายุการใช้งานนะครับ ถึงให้ดีแค่ไหน อายุห้าปีขึ้นไป จะ ผลิตได้ น้อยลง สิบกว่าปีก็ จะเริ่มไม่คุ้มทุน อยู่ ที่ยี่ห้อ ครับ ต้องมั่นใจกับคนขายจริงๆ เรื่องอายุการใช้งานดั้งนั้น ผมจะอยู่กับบริษัทิ ที่ประกันห้าปี ขึ้นไปครับ

ใน FB มีกลุ่ม โซล่าเซลล์แบบพอเพียง ใครสนใจลองเข้าไปดูได้ครับ

ขอบคุณ ครับลุงพูน

หน้า