ยำเพกา

หมวดหมู่ของบล็อก: 

Laughing สวัสดีครับทุกท่าน ครัวบ้านสวนชวนเข้าครัวอีกแล้ว จากแม่ครัวน้องเก้คนเดิม... เพกาในสวนออกฝักมาให้กินเรื่อยๆ เผาบ้าง ต้มบ้าง แจก ฝาก ไปตามเรื่องราว วันนี้ก็มีอีกเมนูของเพกาที่นำมาฝากกัน จะทันมื้อเที่ยงมั๊ยน้อ.."ยำเพกา"ครับ

 

เพกาเผา หรือต้มก็ได้ นำมาหั่นดังภาพ

 

เตรียมน้ำมะนาว

 เครื่องปรุงก็พร้อม มีอะไรบ้าง?

เพกาซอย น้ำมะนาว กุ้งแห้ง กะปิ หอมแดงซอย พริกขี้หนูซอย มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสงคั่ว น้ำตาล น้ำปลา และกะทิ

ทุกอย่างใส่ลงไป

 เหลือหอมซอยกับพริกนิดหน่อยไว้แต่งหน้า

 

คลุกเคล้าให้เข้ากัน

ตักใส่จาน แต่งหน้านิดหน่อย 

 ฝนตกๆเอื้อมเอาช้าพลูข้างชายคามาได้นิดหน่อย

 

 หลังฝนไปเก็บยอดหมรุยมาเพิ่ม เชิญทุกท่านชิมกันได้แล้วครับ

     Laughing เฮ้อ.. กว่าจะจบได้ ขออภัยที่ทำให้ต้องรอ แต่เพื่อสุขภาพที่ดี และชีวีเป็นสุข ก็จำเป็นที่จะต้องรอกันบ้างใช้มั๊ยครับท่านผู้ชม แฮ่ะ แฮ่ะ ไปก่อนละครับ สวัสดี.

ความเห็น

น่าทานมากเลยค่ะ ที่บ้านเรียกฝักลิ้นฟ้า เมื่อก่อนแม่ชอบเอามาเผาแล้วปอกเปลือกทานกับน้ำพริก ตัวเองไม่ชอบกินเพราะ ขม แต่มีวิธีทำยังไงบ้างคะไม่ให้มันขม ดูจากภาพยำน่าทานมากเลย

"ความพยายาม" ไม่เคยทำให้ใคร "พ่ายแพ้" "ความท้อแท้" ก็ไม่เคยทำให้ใคร "ชนะ"

ง่ายมากครับ

อันดับแรก คิดว่าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หวานเป็นลมขมเป็นยา เราก็เริ่มจากทานน้อยๆก่อน ทานควบกับอย่างอื่นที่ช่วยลดความขมได้ ยำสูตรนี้ก็พอช่วยได้ครับ เพราะมีหลายรสช่วยลดความขมลงไปเยอะแล้วครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ไว้จะลองทำดูบ้างค่ะ ประโยชน์มากมายจริงๆ เคยเห็นแม่ชอบทานมากๆ ยังแปลกใจแม่ชอบไปได้ยังไง ขมออกปานนั้น เพิ่งรู้ว่าของดีสุดยอดนี่เอง Smile

"ความพยายาม" ไม่เคยทำให้ใคร "พ่ายแพ้" "ความท้อแท้" ก็ไม่เคยทำให้ใคร "ชนะ"

ผู้ใหญ่เขารู้ถึงประโยชน์ ชูรสให้ทานอาหารได้

บางครั้งอยากจะอธิบาย แต่จนใจ ถ้าเราเอาความอร่อยถูกลิ้นเป็นที่ตั้ง

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

สรรพคุณของฝักเพกาที่มีประโยชน์ถึง 57 ประการ เลือกปลูกและเอาส่วนต่างๆของเพกามาบริโภคหรือรักษาโรคแนวแพทย์แผนไทย ได้เลยค่ะ

http://www.greenerald.com/

สรรพคุณของเพกา

  1. เพกาสมุนไพรเพกาช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอการเสื่อมของเซล์ต่างๆในร่างกาย (ฝักอ่อน)
  2. ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย และช่วยชะลอวัย (ฝักอ่อน)
  3. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ฝักอ่อน)
  4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ (ฝักอ่อน)
  5. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก,ฝักอ่อน,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  6. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก,ใบ)
  7. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ เปลือกเพกา เปลือกต้นไข่เน่า ใบไข่เน่า แก่นลั่นทม บอระเพ็ด ใบเลี่ยน รากหญ้าคา รวม 7 อย่าง น้ำหนักอย่างละ 2 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้วเล็ก ก่อนอาหาร เช้าและเย็น (เปลือก)
  8. การรับประทานฝักเพาหรือยอดอ่อนเพกาจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้ (ฝัก,ยอดอ่อน)
  9. ช่วยบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
  11. ช่วยขับเลือดดับพิษในโลหิต (เปลือกต้น)
  12. การกินฝักอ่อนของเพกาจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น (ฝักอ่อน)
  13. ประโยชน์ของเพกาใช้แก้ร้อนใน (ฝักแก่)
  14. ช่วยบรรเทาอาการปวดไข้ ด้วยการใช้ใบเพกาต้มน้ำดื่ม (ใบ)
  15. สรรพคุณทางยาของเพกา ช่วยแก้ไข้สันนิบาต (ราก)
  16. ช่วยแก้ไข้เพื่อลม เพื่อเลือด (เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  17. ช่วยแก้ละอองไข้ หรือโรคเยื่อเมือกในช่องจมูกอักเสบ (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
  18. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อนๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝัก อ่อน,เมล็ด)
  19. สรรพคุณเพกาช่วยขับเสมหะ ด้วยการใช้เมล็ดแก่เพกาประมาณครึ่งกำมือถึงหนึ่งกำมือ (1.5 – 3 กรัม) ใส่ในหม้อที่เติมน้ำ 300 มิลลิลิตร แล้วต้มไฟอ่อนๆ จนเดือดประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น จนกว่าอาการจะดีขึ้น (ฝักอ่อน,เปลือกต้น,เมล็ด)
  20. ช่วยแก้อาเจียนไม่หยุด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกาตำผสมกับน้ำส้มที่ได้จากรังมดแดงหรือเกลือสินเธาว์ (เปลือกต้นสด)
  21. ช่วยเรียกน้ำย่อย (ราก)
  22. สรรพคุณของเพกาช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก (เมล็ด)
  23. ช่วยบำรุงกระเพาะ ตับ และปอด (เมล็ด)
  24. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ใบเพกาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
  25. ช่วยแก้อาการจุกเสียกแน่นท้อง (เปลือกต้น)
  26. ช่วยแก้โรคบิด (เปลือกต้น,ราก)
  27. เพกา สรรพคุณช่วยรักษาท้องร่วง (เปลือกต้น,ราก,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  28. ช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือกต้น,ใบ)
  29. ใช้เป็นยาขับถ่าย ช่วยระบายท้อง (เมล็ด)
  30. ช่วยในการขับผายลม (ฝักอ่อน)
  31. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  32. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย ทำให้น้ำเหลืองเป็นปกติ(เปลือกต้น,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  33. เพกา สรรพคุณทางยาช่วยลดการอักเสบ อาการแพ้ต่างๆ (เปลือกต้น)
  34. สรรพคุณใช้เป็นยาฝาดสมาน ช่วยสมานแผล (เปลือกต้น,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  35. ช่วยรักษาอาการฟกช้ำ ปวดบวม อักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นหรือรากเพกากับน้ำปูนใสทาลดบริเวณที่เป็น (เปลือกต้น,ราก,เพกาทั้ง 5 ส่วน)
  36. เพกา สรรพคุณสรรพคุณของเพกาช่วยรักษาฝี ลดอาการปวดฝี ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาฝนแล้วทาบริเวณรอบๆบริเวณที่เป็นฝี (เปลือกต้น)
  37. ช่วยแก้อาการคัน ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  38. ใช้เป็นยาแก้พิษหมาบ้ากัด ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกานำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด (เปลือกต้น)
  39. ช่วยแก้โรคงูสวัด ด้วยการใช้ เปลือกต้นเพกา เปลือกคูณ รากต้นหมูหนุน นำมาฝนใส่น้ำทาบริเวณที่เป็น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น (เปลือกต้น)
  40. เปลือกต้นมีสารสกัดฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของหนูทดลอง (เปลือกต้น)
  41. เปลือกต้นผสมกับสุราใช้กวาดปากเด็ก ช่วยแก้พิษซางได้ (เปลือกต้น)
  42. แก้โรคไส้เลื่อน (ลูกอัณฑะลง) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพกา รากเขยตาย หญ้าตีนนก นำมาตำรวมกันให้ละเอียด แล้วนะไปละลายกับน้ำข้าวเช็ด ใช้ขนไก่ชุบพาด นำมาทาลูกอัณฑะ ให้ทาขึ้นอย่าทาลง (เปลือกต้น)
  43. ช่วยแก้องคสูตร (โรคที่เกิดเฉพาะในบุรุษ มีอาการเจ็บที่องคชาตและลูกอัณฑะ) ด้วยการใช้เปลือกต้นเพการวมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  44. ช่วยแก้โรคมานน้ำ หรือภาวะที่มีน้ำขังอยู่ในช่องท้องจำนวนมาก เปลือกต้นผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น (เปลือกต้น)
  45. เปลือกต้นตำผสมกับสุราใช้ฉีดพ่นตามตัวหญิงคลอดบุตรที่ทนอาการอยู่ไฟไม่ได้ ทำให้ผิวหนังชา (เปลือกต้น)
  46. ช่วยแก้ละอองขึ้นในปาก คอ และลิ้น หรืออาการฝ้าขาวที่ขึ้นในปาก (เปลือกต้นตำผสมกับสุรา)
  47. ช่วยขับน้ำคาวปลา (เปลือกต้น)
  48. ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (เปลือกต้น)
  49. ประโยชน์เพกาฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผัก (ฝักอ่อน)
  50. เชื่อว่าการกินเพกาจะไม่ทำให้เจ็บป่วย มีเรี่ยวมีแรงและช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศอีกด้วย (ฝัก)
  51. ผงเปลือกผสมกับ ขมิ้นชัน ใช้เป็นยาแก้ปวดหลังของม้าได้ (เปลือก)
  52. ใช้เมล็ดเพกาผสมกับน้ำจับเลี้ยงดื่ม จะช่วยทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อมน่าดื่มมากขึ้น และจะช่วยทำให้ชุ่มคอและรู้สึกสดชื่น (เมล็ด)
  53. การใส่เปลือกต้นเพกา ลงไปในอาหารจะช่วยแก้เผ็ด แก้เปรี้ยวได้ (ใส่เปลือกต้นผสมกับมะนาว มะนาวก็ไม่เปรี้ยว) (เปลือกต้น)
  54. ประโยชน์ของเพกา เปลือกของลำต้นนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า ซึ่งให้สีเขียวอ่อน (เปลือกต้น)
  55. ประโยชน์เพกา เนื้อไม้ของเพกามีสีขาวละเอียดมีความเหนียว เหมาะสำหรับนำมาใช้ทำงานแกะสลักต่างๆ
  56. นิยมรับประทานฝักอ่อนหรือยอดอ่อนของเพกาเป็นผัก ส่วนดอกนิยมนำมาต้มหรือลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ยำ หรือจะนำฝักอ่อนไปหั่นตามขวางเป็นชิ้นเล็กๆทำเป็นแกง ผัด หรือทำเป็นก็ได้ (ฝักมีรสขม ต้องนำไปเผาไฟให้สุกจนผิวนอกไหม้เกรียม และขูดผิวที่ไหม้ไฟออกจะช่วยลดรสขมได้)
  57. เพกา ประโยชน์นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปของยาสมุนไพรสำเร็จรูป หรือที่เรียกว่า แคปซูลเพกา ก็สะดวกไปอีกแบบสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยาก

อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน......บยันอดทน ประหยัด อดออม..

..หมั่นให้ทาน รักษาศีล และภาวนา(วิปัสสนากรรมฐาน)เพื่อความหลุดพ้นแห่งกรรม..

 

สุดยอดประโยชน์มากมีจริงๆค่ะ ชื่อก็เพราะ

"ความพยายาม" ไม่เคยทำให้ใคร "พ่ายแพ้" "ความท้อแท้" ก็ไม่เคยทำให้ใคร "ชนะ"

ก่อนอื่นก็ขอกล่าวว่าขอบคุณคุณหลินมากๆเลยครับ ที่นำประโยชน์ของเพกามาเพิ่มเติมให้ ทำให้หลายๆท่านได้ทราบทั่วกัน ผมมีเป้าหมายด้านเมนูอาหารจึงไม่ได้ใส่ในส่วนนี้เข้ามา เมื่อคุณหลินนำมาถือว่ามาเติมเต็มให้ ขอขอบคุณอีกครั้งครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

อยากมีที่ดินตนเอง จะได้ปลูกให้เต็มสวนเป็นแนวรั้วรอบๆ ตอนนี้ได้แต่ซื้อเขามาลวกกินกับน้ำพริกกะปิไปพลางๆ

อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน......บยันอดทน ประหยัด อดออม..

..หมั่นให้ทาน รักษาศีล และภาวนา(วิปัสสนากรรมฐาน)เพื่อความหลุดพ้นแห่งกรรม..

 

เพกาปลูกง่าย ขึ้นได้ทุกสภาพดิน ยกเว้นน้ำท่วมขังนานๆขึ้นไม่ไหวเหมือนกัน

ขอให้ได้เร็วๆดังใจหวังนะครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

เมนูเด็ดเพื่อสุขภาพ ยังไม่เคยได้ลิ้มลองเลยค่ะ แบบว่ายังไม่สูงอายุค่ะ

Cool คงจะดี ถ้า...

หน้า