บายศรีสู่ขวัญ มาเด้อขวัญเอย
เช้านี้จะเดินทางสู่ประตูอีสาน เริ่มหวนระลึกถึงภาพชีวิตเมื่อ ๒ ปีก่อนที่ไปเยี่ยมชาวบ้านบนเทือกภูพาน สกลนครล่าสุด ชาวอีสานหากลูกหลานจากบ้านไปนานๆ เวลากลับบ้านพี่น้องจะมาโฮม(รวม)กันแล้วทำพิธี บายศรีสู่ขวัญ
พานบายศรี มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือด้ายฝ้ายปั่นจากดอกฝ้ายที่ปลูกเอง เอาไว้ผูกแขนรับขวัญลูกหลาน นอกนั้นก็ตามในภาพค่ะ
ยายอายุ ๘๐ กว่ายังตำหูกได้งามนะหลาน มานั่งเป็นร่มไม้ใหญ่
ป้าลองผู้นำกลุ่มทอผ้าครามบนภูพาน เท่ห์สุดๆ นำใจงามสุดๆ สหายภูพาน
ผ้าครามที่ใส่มาจากการตำหูกด้วยสองมือแม่เอง ความรู้ตามภูมิปัญญาปัจจัยสี่ เป็นความรู้ทางตรงที่กินได้ใช้ได้กับชีวิตจริง
หูกทอผ้าแบบพื้นบ้านเป็นเทคโลยีที่มิได้เบียดเบียนธรรมชาติเลย มีแต่เกื้อหนุนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวเสร็จก็มาปลูกฝ้ายปลูกครามทกผ้าไว้ใช้เอง เหลือก็แจกหรือขายกัน วิถับ้านๆ เรียบง่ายชีวิตอยู่กับงาน ไร้การปรุงแต่ง งานทอผ้ามิใช่งานยากทำมาตั้งแต่ออกเรือน เป็นวิถีชีวิต แม่บ้านอีสานต้องทอผ้าให้พ่อบ้าน ลูกสาว ลูกชาย
หม้อครามแม่สีที่มีชีวิต (ได้ลงบล็อคเรื่องครามให้แล้ว)หยอยมาเรียนวิชาทำครามจากที่นี่ แล้วไปฟื้นฟูขึ้นที่พัทลุง บล็อคนี้ถือโอกาสบุชาครูบาอาจาร์ยค่ะ
ในงานบายศรีจะได้ชิมอาหารจานพิเศษ จานเรียกไข่สะเออะ ไข่นึ่งใส่หอมแดง ไข่มดแดง เห็ดปลวก และน้ำปลาร้า เชิญแซ่บจ้า
จ้ำข้าวเหนียวอิ่มแล้วก็มองหาน้ำในแอ่ง ยกกระบวยขึ้นซดน้ำฝนชื่นใจ
ตีนซิ่น นึกไม่ออกเหมือนกันว่าชาวบ้านไปเรียนวิชาออกแบบมาจากไหน จึงออกแบลายผ้า และชั้นเชิงหลากหลาย
ชาวบ้านมือดำเล็บดำ ศิลปินชาวนาผู้ไร้ตัวตน
มาเด้อขวัญเอย ขวัญเจ้าเตลิดไปทางได๋ ไกลฮอดซีกโลกใด ขอให้กลับมาอยู่นำบ้านนำเฮือนเจ้าเด้อ ปู่ย่าตายายสิปกปักรักษาเจ้า ว่าแตเจ้าอย่าสิลืมบ่อนบ้านเกิดเมืองนอนเจ้าของเด้อหล้าเอย
- บล็อกของ ประไพ ทองเชิญ
- อ่าน 9713 ครั้ง
ความเห็น
ประไพ ทองเชิญ
19 มีนาคม, 2011 - 06:26
Permalink
คุณอัมพร
วัฒนธรรมที่ดีงามที่เห็นคงต้องฝากไว้กับลูกหลานชาวอีสานแล้วค่ะ ทำอย่างไรจะให้คงอยู่ในวิถีชีวิตจริง มิใช่อยู่ในความทรงจำอย่างเดียว
หน้า