ล่องใต้: ทุ่งสงยามเช้า

หมวดหมู่ของบล็อก: 

พิธีกรวดน้ำทางใต้

ตอนมืดไปเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมที่ทุ่งใหญ่ พิธีทางใต้แตกต่างกับทางภาคกลาง ตอนกรวดน้ำจะมี 2 ครั้ง ครั้งแรกจะให้ลูกหลานกรวดน้ำอิมินาก่อน  หลังจากนั้นถึงให้  แขกกรวดน้ำอีกครั้ง  แต่ที่กรวดน้ำ(ตามภาพ)จะมีหมาก 1 คำดอกไม้และเทียน 1 เล่ม จุดก่อนกรวด และดับเมื่อกรวดน้ำเสร็จแล้ว ซึ่งพิธีการอันนี้ต่างจากภาคกลาง

ตลาดทุ่งสง

ตลาดทุ่งสงยามเช้า

ตลาดทุ่งสง

บอกกับเพื่อนว่า ตอนเช้าจะใส่บาตร ก็มาที่ตลาด และซื้ออาหารใส่บาตร ยามเช้า ชาวบ้านใส่บาตรพระกันเป็นส่วนมาก แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของท้องถิ่น ยังผูกพันกับทางศาสนา มีโต๊ะขายอาหารสำเร็จ พร้อมใส่บาตรตลอดทาง

ใส่บาตรยามเช้า

เป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปยามเช้า ที่ชาวบ้านมาใส่บาตรกันแยะ และมีหนุ่มสาวมาใส่บาตรเป็นคู่ๆ คงอยู่ระหว่างในห้วงความรัก มาใส่บาตรอธิฐานขอให้อยู่คู่กันตลอดไป อะไรแบบนี้และได้ถามเพื่อนว่า ทำไมยามเช้าของวันพุธที่ 6 เมษายน ถึงได้คนไม่พลุกพล่านมากนัก ได้ความว่าเป็นวันหยุด(วันจักรี) ปกติรถจะติดตั้งแต่เช้า ถ้าเป็นสภาพปกติ เดี๋ยวจะพาไปเที่ยวตลาดสดทุ่งสงยามเช้าครับ



ความเห็น

เหมือน ๆ กันค่ะ เช้า ๆ จะมีคนใส่บาตรเยอะ บางที่พวกนักเรียน นักศึกษา มาเป็นคุ่ ๆ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

พิธีกรรมต่างๆก็แตกต่างกันไปนะคะ  ทางอิสานก็สวดยาววววมากกก

ชาวบ้านที่ไปวัดบ่อยเขาก็สวดกันเก่งค่ะ  ภาคกลางก็กระชับหน่อย

ส่วนทางใต้ก็แปลกดีนะคะเพราะปรกติก็กรวดน้ำหนเดียวเลย

แบ่งปันน้ำใจส่งต่อกันไป ....ไม่รู้จบ

สมัยนี้ใส่บาตรสบายไม่ต้องลุกขึ้นมาหุงข้าว  มีขายครบชุด  เอาตังค์ใส่กระเป๋าไปอย่างเดียว

เพิ่งเคยรู้พิธีกรรมทางใต้นะคะ  ส่วนทางเหนือสวดเพราะฟังเพลินเลยค่ะ 

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

ทางใต้เท่าที่ผมถามผู้อาวุโสที่มาในงาน ส่วนใหญ่แล้วจะนิมนต์พระคุณเจ้ามาเทศน์ให้ฟังก่อน จะสวด กุสลา ครับ แต่การสวด กุสลาเป็นการสวดให้คนเป็นฟังน่ะครับ ไม่ใช่สวดให้ผู้เสียชีวิตฟัง...

 

ชีวิตที่เพียงพอ ย่อมมาจากชีวิตที่พอเพียง