แบตเตอรี่ Li-Ion มหันตภัยใกล้ตัว
อาทิตย์ก่อนผมได้รับโทรศัพท์จากรุ่นพี่ที่สนิทกันท่านหนึ่ง ชักชวนให้ไปที่บ้านเพื่อขอแนะนำในการใช้งานดิจิตอลกีต้าร์รุ่น You Rock Guitar หลังจากลองเล่นดูสักครู่ โคลงโลกนิติก็ปรากฏลางๆขึ้นในใจ
"เจ็ดวันว่างเว้นดีดซ้อม ดนตรี
อักขระห้าวันหนี เนิ่นช้า"
ผมไม่ได้จับกีต้าร์เป็นสิบปี ฝีมือและแนวทางร๊อคหายไปไหนหมดก็ไม่รู้ (นี่ยังไม่นับการว่างเว้นการเขียนบล็อกเป็นเดือนอีกตะหาก) แกเลยให้ผมเอากีต้าร์กลับมาช่วยจัดการปรับแต่งโปรแกรมให้ด้วย ความที่ไม่ได้เล่นดนตรีที่บ้านมานานมาก การจะเซ็ทอัพระบบเสียงขึ้นมาใหม่ทั้งหมดคงป็นการยากลำบาก พอดีมีเครื่องเล่น MP3 แบบพกพายี่ห้อเดียวกับจันทร์เจ้า ที่โฆษณาว่า ใช้ได้ดี(แค่สี่วัน)เพียงแต่เป็นคนละรุ่นกัน เลยจัดการเอามาลองต่อกับกีต้าร์ดู เอ.....ใช้ได้แฮะ วางบนโต๊ะคอมพ์ขนาดกำลังพอดี (เพราะจะต้องต่อกีต้าร์เข้ากับโน้ตบุ๊คเพื่อปรับแต่งโปรแกรมด้วย)
ระหว่างที่กำลังปรับแต่งเสียงและป้อนโปรแกรมเพลินๆอยู่นั้น ฉับพลัน "บึ้ม"เสียงระเบิดพร้อมเศษวัสดุซึ่งบางส่วนติดไฟกระจายเต็มห้อง ไฟลุกไหม้เอกสารบนโต๊ะ มีวัสดุติดไฟชิ้นหนึ่งปลิวไปตกบนที่นอน ฝาด้านหลังกระเด็นไปไกลกว่าสามเมตร ลำโพงตัวหนึ่งกระเด็นหายไป ภายหลังมาพบว่าลอยข้ามบ่าผมไปตกที่ชั้นหนังสือข้างหลัง หลังจากดับไฟและเก็บกวาดเศษซากวัสดุและเขม่าแล้ว จึงลำดับความพบว่าสาเหตุจากการระเบิดของแบตเตอรี่นั้นคือผมใช้งานโดยการเสียบสายไฟจากอแดปเตอร์ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่นึกว่าเครื่องนี้มีแบตเตอรี่อยู่ และไม่นึกว่าจะเป็นเหตุให้เกิดการระเบิด แต่ข้อมูลจาก http://variety.teenee.com/foodforbrain/12135.html
กล่าวไว้ว่าแบตเตอรี่ "ลิเธียม - ไอออน" เป็นชนิดที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด และมีโอกาสระเบิดสูงสุดเช่นกัน
ทั้งนี้แบตเตอรี่ลิเธียม - ไออนถูกประดิษฐ์ขึ้นมาแทนที่นิกเกิล ไฮดราย นั้นมีคุณสมบัติพิเศษ คือ น้ำหนักเบาและสะสมพลังงานได้หนาแน่นกว่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ แต่เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตลิเธียม - ไอออนมีส่วนผสมของ"โคบอลต์ออกไซด์" ทำให้เมื่อตัวแบตเตอรี่โดนความร้อนสูงในระดับหนึ่งจะเกิดปฏิกิริยาเร่งความร้อนเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ ส่งผลให้แบตเตอรี่ไหม้ หรือ ระเบิดในที่สุด
นี่คือโฉมหน้าของเครื่องเล่น MP3 รุ่น SU-17
ภายในใช้แบตเตอรี่แบบ Lithium Ion ซึ่งเป็นตัวที่ระเบิดในครั้งนี้
สุดท้ายขอแถมด้วยเกร็ดความรู้จากเว็บดังกล่าวเพิ่มเติมว่า
การชาร์จแบตเตอรี่ให้ถูกวิธีก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถป้องกันการระเบิดได้ โดยขั้นตอนการชาร์จแบตเตอรี่นั้น ไม่ควรชาร์จนานเกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะมีผลให้อุณหภูมิของแบตเตอรี่มีความร้อนสูงขึ้น แม้วงจรของแบต และเครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวจะมีการสั่งให้หยุดชาร์จแล้วก็ตาม
หากแบตเตอรี่ยังเหลืออยู่อีกเยอะก็ไม่ควรชาร์ตใหม่ ควรรอให้แบตหมดเสียก่อนจะดีกว่า และที่สำคัญก็คือแบตเตอรี่ของมือถือแต่ละยี่ห้อนั้นอาจจะผลิตออกมาเหมือน ๆ กัน แต่ก็อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องอ่านและปฏิบัติตามคู่มือดีที่สุด
ขอสมาชิกทุกท่านจงอย่าได้ประสบความเดือดร้อนจากเหตุการณ์แบตเตอรี่ระเบิดขึ้นอีกเลยในอนาคต
- บล็อกของ ลุงพี
- อ่าน 6844 ครั้ง
ความเห็น
สาวภูธร
29 เมษายน, 2011 - 15:10
Permalink
ขอบคุณลุงพี
ขอบคุณลุงพี ที่ให้ความรู้ จะนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องคะ
ธารน้ำใส
29 เมษายน, 2011 - 15:15
Permalink
ขอบคุณค่ะลุงพี
ขอบคุณค่ะลุงพี
e-mail. puangpech_@hotmail.com
ป้าเล็ก..อุบล
29 เมษายน, 2011 - 15:20
Permalink
ระเบิด
แบบนี้น่ากลัวจังนิ วันก่อน อาจารย์แกหอบของเยอะๆ แล้วมีแบตนี่แหละก้อนหนึ่ง ไหลตก ควันท่วมทางเดิน น่่ากลัว
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
แดง อุบล
29 เมษายน, 2011 - 15:20
Permalink
ลุงพี
ขอบคุณมากค่ะ
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
munthana
29 เมษายน, 2011 - 15:23
Permalink
ขอบคุณค่ะ คุณ ลุงพีื....แหม่มจะได้จำไว้เป็นอุทาหรณ์
:confused: :bye:
กินอยู่อย่างพอเพียง ไม่ขี้อิจฉา ชอบสันโดษ รักธรรมชาติ
ป้าปุก
29 เมษายน, 2011 - 15:28
Permalink
โชคดีที่ลุงพีไม่เป็นไร
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ โชคยังดีที่ลุงพีไม่เป็นไรนะคะ และอยู่ในห้องดับไฟทัน
อัญชณา
29 เมษายน, 2011 - 15:31
Permalink
ขอบคุณลุงพี
ต่อไปจะได้ระวังมากขึ้นค่ะ
ย่าตอน
29 เมษายน, 2011 - 15:54
Permalink
ลุงพี
ขอบคุณค่ะที่เตือนให้ระวัง หลายครั้งที่เรามักมองข้ามความปลอดภัย
sam k.
29 เมษายน, 2011 - 16:13
Permalink
ลุงพี
เห็นลุงพีโต้ตอบในเฟ๊ตบุ๊กบ้านสวนแล้วกับ สมช.(จะตอบบ้างแต่คอมเม้นต์ตรงไหน หาที่กดเซ็นต์ไม่เจอ 5555)...ผมว่าอันตรายมากเหมือนกันนิ มือพังได้ ขอบคุณครับที่มีข้อมูล ทำให้สมช.ไม่ประมาตร...
denjung
29 เมษายน, 2011 - 16:41
Permalink
อันตรายเหมือนกันนะครับ
อันตรายเหมือนกันนะครับ
สิ่งไหนที่ยังไม่ทำ อย่าเพิ่งสรุปว่าไม่สำเร็จ
หน้า