เชื้อ "อิโคไล"
ทำความรู้จัก "อีโคไล"
แบคทีเรียชนิดที่มีในร่างกายมนุษย์ส่วนใหญ่จะไม่ทำอันตรายต่อร่างกาย แต่สำหรับแบคทีเรียที่มีชื่อว่า อีโคไล หรือ Escherichia ซึ่งพบได้ในลำไล้ของมนุษย์และสัตว์ สามารถทำให้เกิดโรคหรืออาการต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ และอาการท้องร่วง เป็นต้น แบคทีเรียชนิด อีโคไลจะมีชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยเฉพาะในมูลสัตว์
หลักจากพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ระบาดในประเทศอังกฤษ วันนี้ Telegraph นำข้อมูลเกี่ยวกับแบคทีเรียชนิดนี้มาให้ได้รู้จักกันเพื่อเป็นการป้องกันและรับมือหากได้รับเชื้อชนิดนี้ เชื้ออีโคไล แพร่สู่คนได้อย่างไร จำนวนผู้ได้รับเชื้ออีโคไล การระบาดของเชื้ออีโคไล อาการของผู้ได้รับเชื้ออีโคไล ระยะฟักตัวของเชื้ออีโคไล ผู้เสี่ยงได้รับเชื้ออีโคไล การป้องกันและรักษาเมื่อได้รับเชื้ออีโคไล
เชื่อแบคทีเรียอีโคไลจะ แพร่สู่คนได้จากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิด นี้ปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเชื้อชนิดนี้มักจะปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่ได้รับการปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ
หน่วยงานด้านการป้องกันโรคในประเทศอังกฤษรายงานว่าในปี 2551 มีผู้ได้รับเชื้ออีโคไลและมีอาการป่วยที่เกิดจากการได้รับเชื้อ 950 ราย
การแพร่ระบาดของเชื้ออีโคไลเริ่ม ขึ้นในประเทศอังกฤษและคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่รับประทานอาหารขณะร่วมพิธีในโบสถ์แห่งหนึ่งในปี 2539-2540
จะพบอาการแต่เริ่มท้องร่วง เล็กน้อย จนกระทั่งเกิดภาวะลำไส้อักเสบและมีอาการเลือดออกไม่หยุด เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและพบเลือดปนกับอุจจาระ
ระยะฟักตัวของเชื้ออยู่ที่ ประมาณ 3-8 วัน และจะปรากฏอาการในช่วง 3-4 วันหลังการได้รับเชื้อ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อจะสามารถนำเชื้อชนิดนี้ออกจากร่างกายได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่เชื้อส่วนที่หลงเหลือเพียงเล็กน้อยยังสามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่นเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จะเป็นผู้มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้ออีโคไลมากที่สุด เนื่องจากร่างกายของคนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการต้านทานเชื้อได้น้อยกว่า คนทั่วไป
ปัจจุบันยังไม่ มีวิธีการรักษาอาการที่เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดท้องได้ในเบื้องต้น แต่ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มสเตอรอยด์ เช่นยาแอสไพริน เพราะยากลุ่มนี้จะมีผลทำลายไตของผู้รับประทาน นอกจากนี้เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มบรรจุกระป๋องและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(6มิ.ย.54) สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ 5 มิ.ย. ว่า ถั่วงอกที่เพาะปลูกในประเทศเยอรมนีอาจเป็นต้นตอการระบาดของโรคอี-โคไล ที่ทำให้มีคนเสียชีวิต 22 คน แล้ว
เกรท แลนเดอแมน โฆษกกระทรวงเกษตรของรัฐโลวเวอร์ แซกโซนี ทางตอนเหนือของเยอรมนี กล่าวในแถลงการณ์เตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วงอก ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในสลัดผัก
หลังการตรวจสอบพบว่าน่าจะ เป็นต้นตอการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล โดยถั่วงอกดังกล่าวปลูกจากไร่แห่งหนึ่งในพื้นที่รัฐโลวเวอร์ แซกโซนี และถูกส่งไปยังร้านอาหารหลายแห่ง เป็นสาเหตุทำให้ร้านอาหารจำนวนมากในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศพบการแพร่ระบาด ของเชื้ออีโคไล ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 22 คน และอีกกว่า 2,200 คนในยุโรปล้มป่วย
ยังพบเชื้อนี้ในผักอ่อนหรือเมล็ดที่เพาะงอกเป็นต้นอ่อน ต่างๆ ในโรงงานดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้เชียวชาญจะตรวจสอบให้แน่ชัดอีครั้ง
สม ช. ทุกท่านค่ะ อ่านมาถึงตรงนี้แล้ง ชวนให้คิดได้หลายแง่หลายมุม เช่น โรงงานแห่งนี้เพาะหรือปลูกพืชด้วยอะไร วิธีไหน อย่างไร เราโชคดีแล้วที่ใช้ดินปลูกพืชต่างๆได้.......
- บล็อกของ Aree
- อ่าน 3536 ครั้ง
ความเห็น
ลูกข้าวเหนียว
6 มิถุนายน, 2011 - 19:07
Permalink
น้องอารี
เป็นอะไรที่มีใหม่ๆมาเรื่อยๆเลยนะคะ..ตามยุค IT เสียจริงๆ เหมือนไวรัสคอมพิเตอร์เลยนะคะ
ดูๆๆแล้วโลกนี้มีอะไรที่ตามไม่ทันจริงๆ...ต้องเตรียมวางแผนชีวิตไว้แต่เนิ่นๆๆกันนะคะ
วัชรินทร์
6 มิถุนายน, 2011 - 19:29
Permalink
การปลูกพืชที่ใช้ดินในการปลูกป
การปลูกพืชที่ใช้ดินในการปลูกปลอดภัยเกิน90%เพราะในดินมีเชื้อโรคที่ดีและเลวรวมกันหลายขนิดและทำงานร่วมกันเพิ่อผลิตปุ๋ยให้กับต้นไม้ต้นไม้จะกลั่นกรองด้วยตัวของมันเองตามกฏของธรรมชาติแล้วนำเอาสารกับธาตุอาหารเข้าไปเป็นผลผลิตคืนมาให้เราแต่ถ้าไร้ดินเป็นสารพิษ100%แน่นอน
ป้าลัด
6 มิถุนายน, 2011 - 20:20
Permalink
ขอบคุณค่ะ....คุณอารีย์
ขอบคุณค่ะ....คุณอารีย์ :info:
Aree
17 มิถุนายน, 2011 - 13:51
Permalink
ขอบคุณทุกๆๆ ความคิดเห็นนะค่ะ
ขอบคุณทุกๆ ข้อความ ทุกๆๆ ความคิดเห็นนะค่ะ
หน้า