คืนสู่ธรรมชาติ ด้วยเสื้อผ้าธรรมชาติ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สัปดาห์นี้มีกิจกรรมเผยแพร่คุณค่า ผ้าทอพื้นบ้านสีธรรมชาติ  ขอโอกาสพี่น้องประชาสัมพันธ์ เพื่อข้อมูลความรู้เป็นหลักค่ะ

พูดถึงเส้นใยฝ้ายน้อยคนจะรู้ที่มาค่ะ  ผ้าฝ้ายที่เราใช้กันอยู่ มาจากดอกฝ้ายทั้งหมด แต่กรรมวิธีจากดอกฝ้ายมาเป็นเส้นฝ้ายได้อย่างไรนั้น มีอยู่ ๒ เทคโนโลยี คือระบบเครื่องจักรที่เขาทำได้เร็ว และใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ในขณะเดียวกันก็ได้ผสมเส้นใยสังเคราะห์ไปด้วย อีกด้านหนึ่งอันเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของโลก ซิ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านง่ายๆ และที่น่าสังเกตคือ มีลักษณะคล้ายๆกันทั่วโลก โดยไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า  เริ่มจากการขั้นตอนการ อีดฝ้าย คือการใช้ปัญญาเอาเมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย  ดังภาพ

เมื่อได้ปุยฝ้ายที่แยกเมล็ดออกแล้ว นำไปตากแดดให้ฟู แล้วมา ดีดฝ้าย คือ การตีให้ฟูและเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วย คันโฮง คล้ายคันธนู ดังภาพ จากนั้นนำไปปูรีดด้วยมือให้เป็นแผ่น แล้วม้วนไว้เป็นหลอดๆ คือสำลีที่มีขายเป็นหลอดๆทั่วไป  จากนั้นก็นำหลอดฝ้ายไปปั่นตีเกลียวเป็นเส้นใย ดังภาพในบล็อคชาวนา เครื่องปั่นเรียกว่า ไน หรือ หลา 

จากนั้นจึงนำไปย้อมสีจากใบไม้ เปลือกไม้ต่างๆ ที่ได้นำเสนอไปแล้ว (ดูบล๊อคสวนสีธรรมชาติ ๑- ๔)โดยส่วนตัวในช่วงเวลาที่ผ่านมาประมาณ ๑๕ ปีที่พยายามเผยแพร่เรื่องนี้สู่สังคมไทย ทั้งใช้งานวิจัย เขียนบทความ ออกงานนิทรรศการ พบว่ายากมากๆ ด้วยเสื้อผ้าเป็นปัจจัยที่ฟุ่มเฟือย และสังคมไทยส่วนใหญ่บริโภคที่รูปแบบมากกว่าเนื้อหา นักออกแบบคนไทยเองก็ไม่ลุ่มลึกพอ ที่จะยกระดับผ้าพื้นบ้านอย่างรู้จักและเข้าถึงความเป็นธรรมชาติแท้ๆ กระทั่งมาพบกับนักออกแบบชาวญี่ปุ่น ซึ่งเบื่อหน่ายแฟชั่น จึงร่วมกันทำงานมา ๑๐ ปีกว่าแล้ว

คุณลุง Usaato กัลยาณมิตรที่ช่วยให้ชาวบ้านหลายพื้นที่มีงานต่อเนื่อง เพราะช่วยปลดล็อคด้านการแปรรูปเสื้อผ้าธรรมชาติ และส่งออกไปญี่ปุ่น เพราะเมืองไทยตลาดเฉพาะมากๆ 

ชาวญี่ปุ่นนิยมผ้าพื้นบ้านแท้สีธรรมชาติ และที่สำคัญดีไซน์ของคุณลุง ที่เรียบง่ายและเก๋

โดยส่วนตัวพี่หยอยเองเป็นฟันเฟืองหนึ่งในกระบวนทิศทางนี้ รับผิดชอบช่วยงานเทคนิคการทอการย้อมหนุนช่วยชาวบ้าน และเผยแพร่ ในส่วนธุรกิจไม่มีทักษะเลย แต่ก็รับรู้ถึงการนำกำไรที่ได้มาช่วยกลุ่มทอผ้าและกลุ่มพระเณรจากลาวที่เข้ามาเรียนหนังสือในเชียงใหม่

ในภาพคือน้องๆชาวเชียงใหม่พนักงานของบริษัท Usaato Siam อยู่ที่หางดง เชียงใหม่ (พี่เท่งแปลงร่างแล้วนะคะ)

นั้นคือที่มาที่ไปของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน นี้  ณ ร้านเลมอนฟาร์ม แจ้งวัฒนะ

๑๑ - ๑๓.๐๐ น ชวนทำการ์ดจากผ้าและเส้นใยธรรมชาติ สาธิตการตีฟูใยฝ้าย และการปั่นฝ้ายด้วยมือ กับช่างทอพื้นบ้าน

๑๓ -๑๔.๐๐  การแสดงดนตรีพิณแก้ว โดย คุณวีระพงศ์ ทวีศักดิ์

Art Performing  โดยคุณฟ้าใส ทวีศักดิ์

๑๔. ๐๐ Slide Show แนะนำงาน Usaato กับผืนผ้าธรรมชาติ แนวคิดการออกแบบ นำธรรมชาติมาสู่การรู้จักตัวเอง

๑๔.๓๐ Usaato Dress Show โดยแขกรับเชิญ

๑๕ -๑๖.๐๐ เสวนา ง่ายและงาม ด้วยผืนผ้ามีชีวิต ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง คุณลุงUssato

พระสันติพงศ์  และคุณสมยศ สุภาพรเหมินทร์ 

เรียนเชิญพี่น้องผองเพื่อนที่สนใจ หรือช่วยบอกต่อผู้สนใจรักงานผ้า ไปร่วมคุยและชมความงาม ความดี ความจริงในวิถีพื้นบ้านอีกปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแต่ไม่ค่อยได้พูดกัน นะคะ

 

ความเห็น

ผมกะชอบผ้าฝ้าย ผ้าด้ายดิบ มันใส่สบายครับพี่หยอย สมัยเป็นวัยรุ่นใส่ประจำ มันเป็นแบบว่าเพื่อชีวิติครับพี่หยอย นั่งฟังโฟคซองมีความสุขแหละ แต่เดียวนี้หายากแล้วผ้าฝ้าย มีแต่ม่านตกแต่งบ้านมาจากภาคเหนือมาขายเป็นโอทอป แต่แพงหูจี้พี่หยอยเหอ...555

"จะปลูกทุกอย่างที่กิน จะกินทุกอย่างที่ปลูก"

พี่หยอยจัดให้ ชอบนิคนเพื่อชีวิต 

เป็นผ้าที่ใส่สบายที่สุดค่ะพี่หยอย สมัยเด็กๆแม่จะปลูกไว้ตามโพน(จอมปลวก) ตามไร่นา เเคยได่เก็บฝ้ายมาอี้วเอาเม็ดออก แล้วปั่นดึงเป็นเส้น เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ดีจังที่ยังอนุรักษ์ไว้

 

 

ช่วยกันเร็วไว ไม่มีเวลารำพึงรำพัน

ขอเมล็ดฝ้ายสักช้อน...เมล็ดครามสักกำมือ ไม่เอาเยอะคะ จะมาลองปลูกดู...มีโครงการณ์ในใจมากมายขอเวลาทำสัก 4 ปี น่าจะเป็นจริง (ขอกันดื้อๆแบบนี้แหละ )

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

อี้วฝ้าย เข็นฝ้าย ก็พอทำได้ค่ะ...เด็กๆ ช่วยยายทำบ่อยๆ ค่ะ

ส่วนวิธีการย้อมคราม เคยเห็นพี่ป้าน้าอาทำ วิธีการยุ่งยากมากกว่าจะได้ผ้าแต่ละผืน

เห็นพี่หยอยทำแบบนี้แล้วนับถือจริงๆ ค่ะ

ไม่มีแรงบันดาลใจจะฟื้นการทำเส้นฝ้ายเข็นบ้างหรือ กิโลละ ๒๕๐ บาทนะน้อง ตอนนี้อาศัยฝั่งลาวอย่างเดียวเลย


ทำครามไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเลย หากอยู่ในวิถี อย่าใช้แว่นคนเมืองมามองว่าวิถีพื้นบ้านยุ่งยาก แล้วเราจะเห็นความจริง

ผมก็ชอบใ่ส่มากครับ แต่แบบของผู้ชายไม่ค่อยจะมีมากนัก

อยากซื้อเสีือสีธรรมชาติแบบหนุ่มในรูปสักตัวนะพี่หยอย

พอเพียง พอเพียง

ฝากที่อยู่และขนาด M พอได้มั้ยครับ

ภูมิปัญญาชาวบ้านจะค่อย ๆ สูญหายไป พอคนรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ไม่อยู่แล้ว ภูมิปัญญาที่เขาคิดค้นขึ้นมาก็หายตายจากไปพร้อมกัน ถ้าคนรุ่นหลังไม่คิดจะสืบสาน ต่อไปก็คงจะไม่มีให้เห็นแล้ว คนรุ่นใหม่จะแยกแยะไม่ออกแล้วว่าผ้าที่ทำจากฝ้ายคือผ้าแบบไหน ใส่แต่เสื้อผ้าสำเร็จรูปจากโรงงานที่ทำจากใยสังเคราะห์


เห็นพี่หยอยทำงานด้านนี้ก็ขอสนับสนุนและให้กำลังใจให้ทำต่อไปอย่างน้อยก็สามารถต่อยอดรายได้ให้ชาวบ้าน และลูก ๆ หลาน ๆ ได้มีงานทำ

หน้า