ตะลุยสวนยางพารา

หมวดหมู่ของบล็อก: 

        ขอแชร์ประสบการณ์จากการตามพี่ๆ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ลงพื้นที่เพื่อดูโรคใบจุดก้างปลาในสวนยางพาราที่จังหวัดจันทบุรี ตราด เพื่อเก็บข้อมูลเรื่องโรคยางซึ่งตอนนี้โรคใบจุดก้างปลากำลังระบาดหนักสร้างความเสียหายรวมพื้นที่กว่า 760 ไร่ ซึ่งเกษตกรบางรายที่ได้รับการสงเคราะห์จาก สกย. ก็ได้ตัดสินใจโค่นต้นยางทิ้งเรียบร้อยไปแล้วเพราะได้เงินสงเคราะห์แต่ก็ไม่คุ้ม ซึ่งน่าเสียดายมากเพราะอีกแค่ 1-2 ปีก็สามารถกรีดยางได้แล้ว แต่เกษตกรที่ลงทุนเองบางรายก็ยังไม่ยอมโค่นต้นยาง โดยเอาใช้คำแนะนำจากทางศูนย์วิจัยยางไปใช้เพื่อรักษาต้นยางเอาไว้ หรือบางรายยอมเปิดกรีดก่อนกำหนดทั้งๆ ที่ต้นยังไม่ได้ขนาดเพื่อเอาทุนคืนก็มี
 


ต้นที่แสดงอาการ ใบร่วง กิ่งแห้ง


แผลกลม ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม แพร่เข้าเส้นใบจนมีสีน้ำตาลหรือดำ ทำลายใบไปมาก

     พี่ๆ หรือเพื่อนๆ ที่ปลูกยางยังไม่ต้องกังวลเพราะโรคใบจุดก้างปลาระบาดในยางพันธุ์ RRIC 110 ส่วน RRIM 600 พี่เขาบอกว่าพบบ้างแต่คนละสายพันธุ์กับที่พบใน RRIC 110 และยังไม่มีการระบาด ซึ่งอาการของโรคจะพบอาการที่ใบ แผลกลม ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม แพร่เข้าเส้นใบจนมีสีน้ำตาลหรือดำ ถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้ต้นยางตายจากยอด

    
ยืนต้นตายไป 2 ต้น         พันธุ์ 251 ในแปลงเดียวกัน ใบยังเขียวไม่มีอาการของโรค


    
รีบเปิดกรีด...ดีที่ได้ทุนค่ายา ค่าปุ๋ยคืน พร้อมๆ กำไร

สภาพสวนที่ดีขึ้นหลังพ่นยาไปแล้ว 3 รอบ
เดิมใบยางจะแดงเต็มสวน และทิ้งใบ บางต้นเริ่มตาย

จากการตามพี่ๆ ลงดูโรคนี้เขาสืบเสาะจนเจอสวนที่เป็นโรค(เกษตรกลัวจะโดนบังคับให้โค่นจึงไม่ยอมแจ้ง แต่เขาเข้าไปช่วยแก้ไขและระงับไม่ให้โรคแพร่กระจาย) และลงพื้นที่ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขในแบบที่ต้องยกนิ้วให้เลยทีเดียว...(ไม่มีรูปในช่วงแรกๆค่ะ)  ที่สำคัญใน 1 ต้น อาจมีหลายโรคพร้อมๆ กัน ทั้งใบจุดก้างปลา ราแป้ง   ถ้าไม่เซียนจริงๆ คงดูยากเหมือนกัน   ซึ่งขณะนี้ต้นยางที่เป็นโรคกลับมาสภาพดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ทำให้ชาวสวนยิ้มได้ดีกว่าโค่นทิ้ง เสียเวลาดูแลไปกว่า 5-6 ปี และต้องเสียเวลาเพิ่มอีก 7 ปีเพื่อปลูกใหม่
      ขออนุญาตผู้ใหญ่..เนื่องจากวิธีการแก้ไขพี่ๆ เขาใช้สารเคมีพ่นที่ใบยางพาราซึ่งเป็นยาที่เกี่ยวกับเชื้อรา ช่วยได้ระดับหนึ่งพร้อมๆ กับการให้ปุ๋ยเพื่อเร่งให้ต้นยางเร่งผลัดใบ แต่หลังจากการเกิดกรีดหรือยางอายุ 7 ปีแล้ว โรคนี้จะไม่มีหรือไม่สร้างปัญหามากเพราะต้นยางมีภูมิคุ้มกันเพียงพอ
     ทิ้งท้ายว่า...ถ้ามีปัญหาเรื่องโรคขอให้รีบปรึกษาศูนย์วิจัยยางใกล้บ้านทันทีเพื่อให้เขาลงมาช่วยดูแล

ความเห็น

ปัญหาโรคยางพาราแก้ได้ยากนะครับ...เหนื่อยนะครับกว่าจะได้กรีด..

 

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล แต่ส่วนมากที่รีบเปิดหน้า จะอยู่ที่ราคามากกว่าครับ