บอนเลียง (บอนที่ใช้แกงเลียง นครศรีฯ)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

บอนเลียง ชื่อตามท้องถิ่น (นครศรีฯ) เป็นบอนประเภทที่มีความคันน้อยที่สุด รสชาติจะออกไปทางหวานนิด ๆ แต่ความเข้มข้นยังแพ้บอนชนิดที่คัน บอนชนิดนี้เป็นบอนในไม่กี่ชนิดที่ชาวบ้านนิยมนำมาทำแกงเลียงเคย (กะปิ) แต่จะแกงส้ม แกงกะทิ ก็ไม่มีปัญหา ลักษณะลำต้นจะมีสีขาวนวล ก้านใบสีขาวนวล ปลายก้านใบส่วนที่ติดกับใบจะมีสีชมพูอ่อน ๆ ใบสีเขียวนวลเป็นมัน ก้านในใบจะนูนขึ้นมามองเห็นชัดเจน ลักษณะของใบจะบิดเบี้ยวเล็กน้อย ชอบน้ำมาก ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร ก้านใบ,ดอก,ไหล แต่ชาวบ้านนิยมนำก้านใบมาแกงเลียง โดยตัดก้านใบมาใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด เน้นที่ร่องก้านใบ (ไม่ใช้น้ำล้าง) ลอกเอาเปลือกออก ถ้าเป็นส่วนที่อ่อน ๆ ลอกไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร หั่นเป็นชิ้น ถ้าทานคนเดียวก็ขนาดชิ้นพอคำ ถ้าทานหลายคนก็ให้เหลือบไปคำนวนคำของคนอื่นด้วย ตรงโคนก้านถ้าชิ้นใหญ่มากก็ซอยให้เล็กลง (หั่นเสร็จไม่ต้องล้างน้ำ) ตั้งน้ำให้เดือด ใส่กะปิลงไป กวนให้กะปิละลายจนหมด รอให้น้ำแกงเดือดสุด ๆ ใส่ปลาย่างหรือกุ้งสด,กุ้งแห้ง หรือไม่ใส่อะไรเลย ก็ไม่เป็นปัญหา ตามด้วยบอน ต้มให้นาน ๆ โดยไม่ต้องปิดฝาหม้อ ใช้ช้อนตักมาดูถ้าเห็นว่าบอนยุบตัวจนนุ่มแล้ว ใส่ยอดส้มเม่าพูโล (ตรัง),ยอดมะขาม ถ้ามีทั้ง 2 อย่าง ก็ใส่ 2 อย่าง ถ้ามีอย่างเดียวก็ใส่อย่างเดียว ถ้าไม่มีซักอย่างก็ใส่มะขามเปียกอย่างเดียว ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล และอื่น ๆ ชิมดูตามใจชอบ (ทุกขั้นตอน ห้ามใช้น้ำล้าง, ห้ามปิดฝาหม้อ, ต้มให้นาน ๆ ผมชอบทานและแกงทุกอาทิตย์)   

ความเห็น

แกงเลียงใส่ยอดขาม  หรอยอย่างแรงงงงงงง  Foot in mouth

จะเป็นคนในเมียงเหมือนผม ชอบแกงบอน :uhuhuh:

บอนแบบนี้ เค้าเรียกบอนไหรละคะ พี่จ่า:confused:

คนคอนเหมือนกันค่ะ

Laughingทำวันนี้ให้ดีที่สุด เวลาชีวิตน้อยลงทุกวัน

ผักพื้นเมืองส่วนใหญ่  ชาวบ้านจะเรียกกันตามภาษาท้องถิ่น แต่ละพื้นที่จะเรียกไม่เหมือนกัน อย่างบ้านผม (อ.เชียรใหญ่) เรียกบอนทุกชนิดที่แกงลียงได้ว่าบอนเลียง แต่พอมาแถว ๆ อ.เมือง บริเวณชุมชนข้างทุ่งท่าลาด เรียกบอนชนิดนี้ว่าบอนอินเดีย แต่พอไปแถว ๆ ด้านทิศตะวันออกของค่ายวชิราวุธ          (ถ.อ้อมค่าย) เรียกบอนชนิดเดียวกันนี้ว่าบอนบ้าน ก็เลยยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า ชื่อบอนไหร

เลียงหวันเที่ยง ซดให้ได้แรงอก....หรอย ๆๆๆๆ มีรายละเอียดดีมากเลยค่ะ

บ้านผมน่าจะมีครับเคยเอามาปลูกครับแกงบอนอร่อยดีครับ


ไม่เคยกินเลย ว่าแต่ทำไมห้ามล้างน้ำคะ

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน  ผมคิดเอาเองว่า สมัยอดีตตอนมนุษย์เราเริ่มหัดกินผัก คงจะมีแม่บ้าน 2 คน ไปเก็บบอนมาพร้อมกันแล้วมาทำแกงพร้อมกัน อีกบ้านนำบอนมาล้างน้ำก่อน อีกบ้านพอดีน้ำหมด หรือ  ขี้เกียจล้าง หรืออะไรซักอย่าง เมื่อแกงเสร็จบ้านที่ใช้น้ำล้างบอนน่าจะรีบวิ่งมาบอกอีกบ้านว่า ผักนี้กินไม่ได้ กินแล้วคัน แต่บ้านที่ไม่ล้าง น่าจะเถียงว่าไม่เห็นคัน อะหร่อยดีด้วยซ้ำ ก็เลยสอบถามกันถึงวิธีทำก่อนจะแกง และอาจจะมีการทดลองกันอีกหลายครั้งถึงจะได้ข้อสรุปมาถึงปัจจุบัน (ที่กล่าวมาผมคิดเอาเองนะ) แต่ถ้าทางวิชาการ ในยางบอนจะมีสารชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้าย ๆ หนามเล็ก ๆ แหลม ๆ อยู่มากมาย ถ้ามีวิธีทำให้หนามเล็ก ๆ แหลม ๆ นี้อ่อนตัวลง ไม่สามารถที่จะทิ่มตำหลอดทางเดินอาหารเราได้ เราก็จะไม่รู้สึกคันหรือระคายเคือง และการล้างน้ำก่อนแกง อาจจะเกี่ยวข้องกับสารที่ว่านี้ก็ได้ แต่ผมยังสงสัยไม่หายว่า คนที่ทดลองแกงเป็นคนแรก และยังไม่รู้วิธีกำจัดพิษของบอน ผมว่าเมื่อทานคำแรก น่าจะต้องวิ่งไปให้หมอผ่าท้อง เพื่อควักใส้ออกมาเกาเป็นแน่

สุดยอดค่ะ น่าอ่านและได้ความรู้มากมาย

ขอบพระคุณครับ อาจารย์ jo