...ฟ้อนผี ...

หมวดหมู่ของบล็อก: 






















 


 


 


http://www.youtube.com/watch?v=gcfzdPUigY0


 


       วิถีชีวิตชาวชนบทล้านนาในอดีต ผูกพันเชื่อมโยงกับธรรมชาติในทุกขั้นตอนของการดำเนินชีวิต ผู้คนมีความเชื่อและวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องจิตวิญญาณ ว่าเป็นอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นพลัง ซ่อนเร้นที่สามารถดลยันดาลเหตุการณ์ดีร้ายต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้ พลังเร้นลับเหล่านี้รวมเรียกว่า ผี 
       ตามความเชื่อของชาวล้านนา ผีมีอำนาจในการดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และความ เจริญงอกงามในการเพาะปลูกถ้าคนทำให้ผีพึงพอใจ จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการนับถือผี ได้แก่ การเลี้ยงผี
       เสียงดนตรีปี่พาทย์บรรเลงเร้าใจ ผู้คนมีทั้งหญิงผู้เฒ่าผู้แก่หญิงสาวแต่งตัวสวยงาม นุ่งโสร่ง ลายโตตาหมากรุก ใส่เสื้อคล้ายเสื้อหม้อห้อมสีต่างๆ โพกศีรษะด้วยผ้าหลากสี มีผ้าสะว้าน (สไบ) ใช้คล้องคอ ท่าเดินมองดูคล้ายผู้ชาย บ้างใช้สไบห่มเฉียงพาดไหล่บ้างนุ่งโสร่งเหมือนกัน แต่ไม่ ่โพกศีรษะท่าทางคล้ายผู้หญิง กำลังร่ายรำด้วยลีลาสนุกสนานตามจังหวะเสียงดนตรี สีหน้าจริงจัง ไม่สนใจสิ่งใดๆ รอบกาย นอกจากท่วงทำนองจังหวะการร่ายรำ บางครั้งจากคนที่เอียงอาย เรียบร้อย ไม่กล้าแม้แต่จะตะโกนแหกปากหรือเปล่งเสียงหัวเราะดัง กลายเป็นท่าทางขึงขัง เอาจริงเอาจัง เหมือนนักแสดงที่ได้รับบทบาทและแสดงตามบทนั้นได้อย่างดี ต่างพากันร่ายรำโดยไม่รู้สึกอ่อนล้า ตั้งแต่เช้าจนถึงบ่ายจวนจะเย็นย่ำ ผู้คนสนุกสนานอิ่มเอิบกับงานบุญยิ่งใหญ่ ในการทดแทนบุญคุณ บรรพบุรุษ ในประเพณีที่เรียกว่า ฟ้อนผี


      ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา คนเรามีเจ้าของมาตั้งแต่ในอดีตชาติ ผู้เป็นเจ้าของตัวเราคือ ปู่ ย่า ตา ยาย บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว จะนับถือตระกูลเครือญาติเดียวกันว่า ผีเดียวกัน หรือผีมดผีเม็ง เป็นผีใจดี คอยปกป้องคุ้มครองลูกหลานที่รักษาจารีตประเพณี ส่วนผู้ใดที่ทำผิดจารีตประเพณีที่เรียกว่า ผิดผี จะต้อง เสียผี คือทำพิธีขอขมาบอกกล่าวผีบรรพบุรุษ หากไม่ทำจะทำให้ป่วยไข้ จะต้องใช้ เครื่องสังเวย เช่น เหล้าไหไก่คู่เพื่อขอขมา ลูกหลานในบ้านเมื่อจะเดินทางไปยังที่ต่างๆ หรือไป ทำมาหากินถิ่นอื่นจะต้องมีการบอกกล่าวให้ผีบรรพบุรุษได้รับทราบเพื่อคอยไปปกปักรักษา


      การฟ้อนผี จะทำกันช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เป็นช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวบ้านจะว่างเว้นจากงานในไร่นาและสบายใจที่ได้ข้าวเก็บใส่ยุ้งฉางไว้กินได้ตลอดทั้งปี จะฟ้อนผี ในผาม (ปะรำ) ขนาดผามแล้วแต่ตามจำนวนสมาชิกในตระกูลหรือจำนวนแขกที่เชิญ หลังคามุงด้วย ทางมะพร้าว หญ้าคา หรือใบตองตึง มีการตกแต่งประดับผามให้สวยงามโดยใช้ทางมะพร้าว ต้นกล้วย ขี้ผึ้ง หม้อน้ำ น้ำต้น มีผ้าขาวยาวถึงพื้นผูกตรงกลางผามสำหรับโหนเชิญผีเข้าทรง ด้านหน้าผาม จะทำเป็น ยกพื้นสำหรับวางเครื่องเซ่นต่างๆ ได้แก่ หัวหมูต้ม ไก่ต้มทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม ผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย มะพร้าว ถัดจากอาหารคาวหวานจะมีผ้าโสร่งผ้าโพกศีรษะ สีต่างๆ และเครื่องแต่งตัว สำหรับผู้ที่จะฟ้อนนุ่งทับลงไป

ความเห็น

หรือผีฟ้า แถวบ้านฮูกก็มีค่ะ แต่ทุกวันนี้ไม่แน่ใจว่ายังมีอยู่รึเปล่า

 

 

"ขอบคุณน้ำใจที่แบ่งปัน ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง"

บ้านผมก็มีใครเจ็บใครป่วยเอามาฟ้อนรักษาได้ครับ แต่ถ้าใครผิดครูผีฟ้า จะกลายเป็นปอบครับ (เขาว่า)



เหมือนในหนังรึเปล่าค่ะ

ดีใจที่ได้เรียนรู้ ...วิถีชีวิต....เพื่อนำไปทำให้เกิดผลจริง

เพิ่งเคยเห็น :uhuhuh: :uhuhuh:

พึ่งเคยเห็นครับ...ขอบคุณที่หาประเพณีดี ๆ มาให้ชมครับ

 

ผีฟ้าเอย สุราอาหาร

ผีฟ้าเอย ของเปรี้ยวของหวาน

ผ้าผ่อนเงินทอง มากองใส่พาน เพื่อบรรณาการ แก่ผีฟ้าเอย...

:freezing:

:crying: