ถั่วบราซิล

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เพื่อนๆ สมาชิก คงเคยเห็นถั่วบราซิลจากคำถามของลุงโรส http://www.bansuanporpeang.com/node/2691 ซึ่งมีรูปดังนี้

และจากบล๊อกของคุณ apins http://www.bansuanporpeang.com/node/2550

สำหรับท่านที่ยังไม่รู้จักอ่านข้างล่าง

ถั่วบราซิล ถั่วปิ่นโต ถั่วลิสงเถา หรือถั่วเปรู มีชื่อ ทางการค้าว่า "ถั่วอมาริลโล" นี้ มีถิ่นกำเนิดในแถบตอนกลางของประเทศบราซิล ลักษณะ คล้ายต้นถั่วลิสง แต่มีใบเล็กกว่าและมีลำต้นเลื้อยไปตามดิน มีรากแก้วแข็งแรง ขึ้นได้ดีในดินหลายสภาพ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดหรือใช้ ท่อนพันธุ์ มีคุณสมบัติเด่น เป็นพืชคลุมดิน ทนแล้ง ทนร่มเงา ทนต่อการเหยียบย่ำ มีดอกสีเหลืองสวยงามเหมาะสำหรับจัดสวนประดับและปลูก แทนสนามหญ้า เป็นพืชอาหารสัตว์ ให้ปุ๋ยตรึงไนโตรเจนในดินได้ดี ปลูกควบ คุมวัชพืชอื่นๆ

ประโยชน์ : เป็นพืชตระกูลถั่วให้ปุ๋ยตรึงไนโตรเจนในดินได้ดี  เลื้อยไปบนดินในบริเวณกว้าง  ใช้เป็นพืชคลุมดิน รักษาความชื้น และป้องกันไม่ให้วัชพืชอื่นขึ้น  ไม่ค่อยเลื้อยขึ้นต้นไม้  จึงไม่มีปัญหาว่าไปรัดต้นไม้ตายเหมือนพวกถั่วลาย (หรือถั่วผี)  การขยายพันธุ์ด้วยการปักชำทำได้ง่าย  จึงไม่จำเป็นต้องรอการเก็บเกี่ยวเมล็ดมาปลูกขยายพันธุ์เพียงอย่างเดียว  ดังนั้นถ้ารับเมล็ดไปเพาะขึ้นบ้างแล้วให้เพาะชำจากต้นที่ปลูกขึ้นแล้วเพื่อเพิ่มจำนวนอย่างเร็ว

การปลูกและดูแลรักษา : ช่วงปลูกต้นฤดูฝน ปลูกด้วยเมล็ด อัตรา 2 ก.ก.ต่อไร่ หรือส่วนของท่อนพันธุ์ที่ นำไปเพาะชำ ยาวประมาณ 10 ซม. โดยปลูกเป็นหลุมลึก 2-3 ซม. หยอดเมล็ดเข้าไปในหลุม รดน้ำทุกวัน มีระยะ 50X 50 ซม. อัตราการงอกของเมล็ดถั่วบราซิลประมาณ 60-70%  ประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดจะเริ่มงอก ระยะแรกจะเจริญเติบโตช้า

ถ้ายังไม่นำเมล็ดลงปลูก ถ้าเก็บเมล็ดในอุณหภูมิห้องปกติ จะอยู่ได้นานประมาณ 2-3เดือน ถ้าเกินกว่านี้อัตราการงอกของเมล็ดจะลดลง

ข้อจำกัดของต้นถั่วลิสงเถา ระยะแรกเจริญเติบโตช้า ควรกำจัดวัชพืชในช่วง 1 - 2 เดือนแรก ต้นถั่วเริ่มออกดอกและแทงส่วนของ peg ที่มีลักษณะเป็นเข็มยื่น ออกจากลำ ต้น เป็นจุดกำเนิดของฝักลงดิน หลังเจริญเติบโต แล้ว ประมาณ 1 เดือน จะ ทยอยออกดอกไปเรื่อยๆ ตลอดฤดูฝน ช่วงที่มีดอกมากที่สุดอยู่ระหว่างเดือน สิงหาคม - กันยายน และ ปริมาณดอก จะลดลงระหว่างเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน เมล็ดมีฝักหุ้มอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับถั่วลิสง แต่ในหนึ่งฝักมีเพียง หนึ่งเมล็ดเท่านั้น ระดับความลึก ของดินที่มีเมล็ดเกิดมาก อยู่ระหว่าง 5-10 ซม. จากพื้นผิวดิน

การเก็บเกี่ยวเมล็ด
: กรณีที่เป็นดินเหนียวอย่างเช่น ชุดดินปากช่อง จะขุดลึก ประมาณ 10 ซม. นำดินขึ้นมาแช่น้ำให้ดินยุ่ย ประมาณ 15 นาที แล้วตักดินใส่ตะแกรงไม้ไผ่ชนิดก้นลึกและขนาดรูตระแกรงที่มีตาถี่ร่อนใน น้ำ ใช้มือถูดินที่หุ้มอยู่ออกให้หมด นำเมล็ดถั่วที่ได้ล้างน้ำอีกครั้ง แล้วนำไปผึ่งแดดประมาณ 3 วัน เมล็ดถั่วเมื่อแห้งดีแล้วนำไปเก็บฝัดเศษ ดินทิ้ง เก็บเมล็ดถั่วลิสงเถาไว้ในที่ร่ม หรือกรณีที่เป็นดินร่วนปนทราย อาจ จะขุดดินแล้วนำมาร่อนแยกเอาเมล็ดออกได้โดยตรง ไม่ต้องร่อนในน้ำ ระยะเวลาเก็บเมล็ด ช่วงระยะเวลาที่ เหมาะสมในการเก็บเมล็ดหลังจากปลูก อายุประมาณ 8เดือนขึ้นไป ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม เพราะถ้าเก็บ ล่าช้าฝนเริ่มตก ฝักที่มีอยู่ใต้ดินและเถาที่ยังคงอยู่จะเริ่มงอก

การใส่ ปุ๋ย

ก่อนปลูกควรมีการใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ในอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้อาจมีการใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยเพื่อ เพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน ในการดูแลรักษาแปลงถั่วควรใส่ปุ๋ยทริปเปิ้ล ซุปเปอร์ฟอสเฟต ( 0-46-0 ) ในช่วงต้นฤดูของทุกปี ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่

การกำจัดวัชพืช

กำจัดวัชพืชครั้งแรกในระยะ 3-4 สัปดาห์แรกหลังปลูก และกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกอีก 2 เดือน

 

ถ้าสนใจกันแล้วขอแจกให้ 15 ท่าน ท่านละ 10 เม็ด  ผู้ขอรับเมล็ดพันธุ์ กรุณาอ่านข้อตกลงในการขอรับเมล็ดพันธุ์ (เมนูด้านซ้ายมือ - แบ่งปันเมล็ดพันธุ์) ด้วยนะครับ โดยเงื่อนไขดังนี้

1.  เป็นสมาชิกที่เปิดหมวก แสดงความเห็นขอรับเมล็ดพันธุ์

2.  ส่งข้อความถึงสมาชิก (teerapan) แจ้งชื่อที่อยู่ในการจัดส่ง พร้อมรหัสไปรษณีย์ที่ชัดเจน

3.  เมื่อทำการปลูกได้ผลแล้วเก็บเมล็ดพันธุ์ (ต้องอีกประมาณ 8 เดือน) และแจกจ่ายให้เพื่อนสมาชิกต่อไปด้วยครับ

ความเห็น

อยากได้ แต่ไม่มีพื้นที่จะให้ไปคลุมเลย   :sweating:

 

"แค่พอเพียง...ก็เพียงพอ"

เข้ามาชื่นชมคนมีน้ำใจครับพี่ ตอนนี้ผมการบ้านเพียบเลยครับ


มาชื่นชมคนแจกจ้า...อยากได้แต่ไม่มีที่ปลูก โหวตจ้า โหวต:cheer3:

   พออยู่ พอกิน พอใช้ พอใจ = พอเพียง

ขอบคุณในข้อมูลครับ แต่ไม่ขอรับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ขอบรับด้วยค่ะ  :bye:

 

 

น่าสนใจมากค่ะ  แต่สงสัยว่า คงจะผิดเงื่อนไขข้อที่หนึ่ง


อย่างไรก็ตาม ขอชื่นชมคนมีน้ำใจที่ให้ทั้งความรู้และการแบ่งปัน

อยากได้ไปปลูกบ้างจังเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ ไม่ทราบว่ายังพอจะแจกพันธุ์ถั่วบราซิลอยู่ไหมคะ สนใจมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

หน้า