ขยายพันธุ์ "หอยหลอด" ในถัง

หอยหลอด เป็น หอยทะเลกาบคู่ รูปร่างคล้าย หลอดกาแฟ ยาว 7-8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีขาวขุ่น ส่วนหัวนิ่ม ส่วนปลายเหนียว ชอบฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินโคลนปนทรายบริเวณปากแม่น้ำที่ชาวบ้านเรียกว่าทรายขี้เป็ด บริเวณที่มีหอยหลอดเป็นจำนวนมากใน ประเทศไทย คือ ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากที่ดอนหอยหลอดแล้ว ยังอาศัยอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรี จ.สมุทรปราการ จ.ตราด รวมไปถึง ประเทศอินโดนีเซีย และ ออสเตรเลีย

การจับหอยหลอดจะใช้ปูนขาวหยอดลงในรู ทำให้หอยโผล่ขึ้นมาให้จับได้ง่าย ช่วงที่เหมาะสำหรับการจับมากที่สุดคือเดือน ม.ค.-พ.ค. เพราะตอนกลางวันน้ำจะลดลงมาก ทำให้สันดอนโผล่พ้นน้ำ เนื้อหอยหลอดนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ทั้งทอดกรอบ ต้มยำ และผัดฉ่า.

นางสาวจินตนา นักระนาด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เปิดเผยว่า ทางศูนย์ฯได้รับพ่อแม่พันธุ์หอยหลอดมาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสงคราม โดยนำมารวบรวมและขุนเลี้ยงไว้ในถังไฟเบอร์กลาสที่ปูพื้นถังด้วยทรายละเอียดปนเลนหนาประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้หอยฝังตัวอยู่ และให้สาหร่ายเซลล์เดียวชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ระยะเวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์ เพื่อให้หอยมีความสมบูรณ์แล้วจึงทำการเพาะพันธุ์ 

โดยนำหอยหลอดขึ้นมาจากถังที่ขุนเลี้ยงล้างโคลนออกจากเปลือกหอยให้สะอาดแล้วกระตุ้นให้หอยปล่อยเซลล์สืบพันธุ์โดยวิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หรือการกระตุ้น ทั้งนี้ วิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำร่วมกับการปล่อยให้ตัวหอยสัมผัสอากาศจะเป็นวิธีที่ประหยัด และไม่ยุ่งยาก การเพาะพันธุ์หอยหลอดครั้งนี้ทางศูนย์ฯ ได้ทดลองใช้ทั้งสองวิธี ซึ่งสามารถกระตุ้นให้หอยปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาได้จากทั้งสองวิธี

เมื่อหอยหลอดปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมา แล้วต้องสังเกตและจำแนกว่าเป็นน้ำเชื้อหรือไข่ แยกพ่อแม่พันธุ์หอยที่ปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาใส่ภาชนะไว้โดยแยกเพศผู้เพศเมียออกจากกัน ตรวจดูความสมบูรณ์ของไข่และน้ำเชื้อโดยนำไปส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ แล้วจึงรวบรวมไข่และน้ำเชื้อมาผสมกัน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม นำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วลงฟักในถังใช้ระยะเวลาประมาณ 17 ชั่วโมง ลูกหอยหลอดจึงฟักเป็นตัว  แล้วจึงทำการอนุบาลโดยให้สาหร่ายเซลล์เดียว เป็นอาหาร ถ่ายน้ำ 100% ของถังทุกวันเว้นวัน  ในระยะแรกลูกหอยจะดำรงชีวิตโดยว่ายน้ำกรองกินอาหารอยู่ในมวลน้ำ ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน ลูกหอยจึงเริ่มลงพื้น และจะพัฒนาต่อไปจนมีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย โดยจะใช้เวลาอนุบาลในโรงเพาะฟักประมาณ 3 – 4  เดือน  จึงจะได้หอยขนาดความยาวเปลือกโดยเฉลี่ยประมาณ  1  เซนติเมตร

และล่าสุดทางกรมประมงได้จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำประเภทหอยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยขึ้น  โดยได้ดำเนินการเพาะขยายพันธุ์หอยชนิดต่าง ๆ เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ  ซึ่งกรณีของการศึกษาวิจัยเรื่องการเพาะขยายพันธ์ุหอยหลอดของศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง  หากสามารถทำการเพาะขยายพันธุ์หอยหลอดได้ในปริมาณมาก ทางกรมประมงก็จะนำลูกพันธุ์หอยหลอดที่ได้จากการเพาะพันธุ์เหล่านี้ไปปล่อยคืนสู่แหล่งอาศัยในธรรมชาติต่อไปนั้นก็จะเป็นการช่วยฟื้นฟูทรัพยากรหอยหลอดหลังจากที่ได้รับความเสียหายจากเหตุมหาอุทกภัย ให้กลับมาคงความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม

(เครดิต: คอลัมภ์ เกษตร นสพ.เดลินิวส์)
คราวนี้ไม่ต้องห่วงว่า "หอยหลอด" จะสูญพันธุ์อีกต่อไป

อิๆกินหอยเป็นอย่างเดียว ไม่ได้อ่านเลยตาลายอิๆ :dreaming:

งานใครสายตาใกล้ไกล ระยะไหน ตัดสินจากกระทู้นี้เลยค่ะ สว.บ่นแน่ๆ

ดีจังเลยค่ะที่เพาะเลี้ยงได้ เนื่องจากตอนนี้หอยหลอดลดปริมาณลงเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้สาเหตุมาจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งวิธีการจับหอยที่ไม่ถูกวิธี ขนาดเป็นคนในพื้นที่เอง โอกาสที่จะกินยังน้อยเลยค่ะ เพราะหอยมีราคาแพง

เจ้าของพื้นที่มาเม้นท์ด้วยตัวเองเลยขอบคุณค่ะ

เหอๆๆๆหอยหลอดป้าแมวไม่เคยกินเลย :sweating:

อยากไปเที่ยวดอนหอยหลอดจ้า :uhuhuh:

 

 

สวัสดีค่ะ คุณยุพิน นวตกรรมใหม่สามารถเลี้ยงหอยหลอดในถังได้   :confused:

ชีวิตที่เรียบง่ายกับความพอใจในสิ่งที่มี

ขอบคุณเนื้อหาค่ะ ได้รู้เรื่องหอยหลอดด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่เคยกินเลยค่ะ

นานแล้วครับพี่ที่ไม่ได้กินหอยหลอด ขอบคุณครับ


หน้า