วัดโรงหีบ
พื้นที่ที่ผมอยู่อาศัยในปัจจุบันคือ ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร หลายคนคงคิดว่า หลักหกคงคล้ายๆกับดอนเมือง แต่เปล่าเลยพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่การเกษตร ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ตึกรามบ้านช่อง หมู่บ้าน รวมทั้งหมู่บ้านที่ผมอยู่ เริ่มคืบคลานเข้ามารุกล้ำพื้นที่เหล่านี้อย่างช้าๆตามกระแสความต้องการที่อยู่อาศัยของคนเมือง
หลักหก มีอายุอันยาวนาน มีประวัติที่น่าสนใจ มีวัดอยู่ 2-3 วัด หนึ่งในนั้นคือ "วัดนาวง" ที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านผมนัก วัดแห่งนี้มีอายุกว่า 110 ปี เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2443 โดยการร่วมแรง ร่วมใจ และทุนทรัพย์ของลูกหลาน พระยาพิสณห์สมบัติบริบูรณ์(โต) เมื่อสร้างเสร็จก็ตั้งชื่อว่า "วัดราษฎร์นาวง" แต่ก่อนที่จะใช้ชื่อนี้ประชาชนทั่วไปเรียกวัดแห่งนี้ว่า "วัดโรงหีบ" เหตุที่ได้ชื่อนี้เนื่องมาจากพื้นที่ที่ใช้สร้างวัดเดิมเป็นโรงหีบอ้อยและบริเวณโดยรอบวัดเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมด ต่อมาการปลูกอ้อยลดลง มีการปลูกข้าวแทน จากสวนอ้อยกลายมาเป็นนาข้าว ประชาชนจึงเรียกวัดราษฎร์นาวง หรือวัดโรงหีบเดิมเป็น"วัดนาวง" ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และใช้มาจนถึงทุกวันนี้
สำหรับประวัติการปลูกอ้อยในพื้นที่หลักหกนี้ ผู้ที่เริ่มปลูกคือ "พระยาพิสณห์สมบัติบริบูรณ์(โต)" ต้นตระกูล "โปษยะจินดา"
ข้าราชการกรมท้าซ้าย ในสมัยร.๔ ซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีน สาเหตุที่ท่านต้องการปลูกอ้อยเพราะต้องการสร้างบ้านด้วยอิฐ การก่ออิฐในสมัยนั้นยังไม่มีปูนซีเมนต์สำหรับก่ออิฐ ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยนั้นคือ ทราย ปูนขาว และน้ำอ้อยเป็นตัวประสาน การสร้างบ้านคหบดีคงต้องใช้วัสดุก่อสร้างเป็นจำนวนมากและต้องใช้น้ำอ้อย ในปริมาณมากด้วยเช่นกัน สวนอ้อยจึงกำเนิดขึ้น ณ ทุ่งหลักหกแห่งนี้นับแต่นั้นมา ในปัจจุบันยังคงมีเกษตกรปลูกอ้อยอยู่จำนวนหนึ่ง เป็นอ้อยคั้นน้ำและอ้อยกินสด(อ้อยควั่น) ในละแวกพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และใกล้เคียงยังใช้น้ำอ้อยเข้มข้นที่ผ่านการเคี่ยวมาแล้วระดับหนึ่งในการทำกระยาสารท ซึ้งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของกระยาสารทประทุม(แท้ๆ)ทุกวันนี้ผมขับรถผ่านพื้นที่เกษตรเหล่านี้บางวันก็จอดแวะอุดหนุนน้ำอ้อยคั้นสดที่เกษตกรปลูกเองคั้นเองขายอยู่ริมถนน นอกจากนี้ยังมีผลิตผลทางการเกษตรที่ปลูกบริเวณนั้นวางขายอยู่ด้วยไม่ว่าจะเป็น กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า รากผักชนิดต่างๆ มะละกอ มะม่วง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว มัน เผือก ฯลฯ ราคาที่ขายเป็นราคาเกษตกรจริงๆ ช่วงทำกับข้าวเองอุดหนุนบ่อย แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาทำก็เลยไม่ได้อุดหนุน ลองชมสภาพพื้นที่การเกษตรหลักหกกันครับ
วัดนาวง วัดใกล้บ้าน
สวนอ้อยที่ยังคงอยู่เหมือนเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว
สวนนี้ไม่รู้อ้อยแซมกล้วย หรือกล้วยแซมอ้อย
สวนกล้วย
สวนเผือก
ผักบุ้งจีน(ซ้าย) ถั่วฝักยาว(ขวา)
สวนชะอม
สวนฝรั่ง
- บล็อกของ rose1000
- อ่าน 12032 ครั้ง
ความเห็น
rose1000
6 พฤษภาคม, 2010 - 07:55
Permalink
ใกล้กันมากเลยครับ
ใกล้กันมากเลยครับ วัดนาวง ตรัง กับวัดนาวง ปทุมฯ ไม่ไกลหรอกเพราะยังอยู่ในประเทศไทย
ถ้าพูดถึงชื่อซ้ำกัน บางกุ้งนี่ก็มีหลายที่นะครับ บางกุ้งแม่กลอง บาวกุ้งสุราษฎร์ฯ มีที่อื่นอีกหรือเปล่าไม่รู้
ป้าเล็ก..อุบล
9 พฤษภาคม, 2010 - 12:59
Permalink
ชอบสวนกล้วย
กล้วยสวนนี้ ตัดใบเหลือง แต่งหน่อ สวนที่ผ่านตา 10กว่าจุด ชี้ให้ลุงดูว่าทำไมมีแต่ใบสีน้ำตาล เต็มไปหมด ลุงว่า ก็มันแล้ง แต่สวนนี้สวยๆ คงตกแต่งตลอดเลยนะ
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
หน้า