ตัวผู้ตัวเมียตำลึงถึงฟักข้าว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันนี้ชวนมาช่วยกันดูใบ

ตำลึงตัวผู้

อันนี้คิดว่าหลายคนรู้นะ  ดอกตัวผู้ชัดๆ  ป้าเล็กก็สังเกต   ในบ้านไม่มีลูกตำลึงสุกเลย   พอจะเอาต้องไปหาที่อื่น   ก็เลยกะว่าหามาปลูกคู่เลย

ใบตำลึงตัวผู้จะมีรอยหยักลึก

ใบตำลึงตัวเมีย

ฟักข้าวตัวผู้

เป้าหมายคืออยากให้ช่วยดูใบฟักข้าวค่ะ  เพราะเราปลูกนาน  กว่าจะได้เห็นนลูก  สังเกต  ใบตัวผู้จะมีรอยหยักลึก  ใบแหลม

ลักษณะที่สังเกตจากต้นที่บ้าน  อันนี้ตัวผู้  จะเล็กๆ  ผอมๆ ใบบางๆ  หยักลึก  ปลายใบแหลมๆ  บ้านใครมีเยอะ  ช่วยกันสังเกตนะคะ

ใบฟักข้าวตัวเมีย

มีความสมบูรณ์  หนา เป็นคลื่นๆบนตัวใบ  หยักตื้น  ปลายใบไม่แหลมมาก   แต่กลัวว่า  ถ้าคนละสายพันธุ์  ใบก็จะต่างกันอีก

ใบตัวเมีย(ชี้)   ใบตัวผู้  ที่บ้านป้าเล็ก

ฟักข้าวต้นนี้  อยู่ที่แปลงใหม่ค่ะ  อายุยังน้อย  ป้าเล็กทายว่าตัวเมีย  

เอาค้างไปใส่ให้เรียบร้อยค่ะ

ผสมติดลูกล่าสุด  เป็นลูกที่5

3ลูกนี้ รอให้สุก  เริ่มผสม24มีนา55  ตอนนี้  2ลูกหน้ามีอายุ40วัน   ก็จะนับให้ถึงวันสุกตัด  ว่าต้องใช้เวลากี่วัน   จะได้กะระยะเวลาได้ถูก  ต่อไป  อาจจะเปิดให้จองมาตัดไปดองน้ำผึ้ง  คนในอุบลก็สนใจหลายคนค่ะ  สาวน้อย กินแล้วฟักข้าวดองน้ำผึ้ง  ไม่ยอมมาบอกผลกันบ้าง  3ลูกนี้  วันนี้จะห่อแล้วนะ วรพจน์ห่อหรือยัง  จารึกบอกว่า  พอใกล้สุก  แมลงวันทองจะมาเจาะ   ตอนนี้  ยังเจาะไม่เข้าค่ะ  แข็งเป๊ก   แต่พอจะสุก  ความแข็งมันจะกลายเป็นนิ่ม  ต้องป้องกันไว้  เพราะไม่อยากกินหนอนแมลงวันทอง  ในฟักข้าวดองน้ำผึ้ง  ตอนตัดไปดอง  ควรให้  มีความสด   ของฟักข้าวสุก  เพราะถ้าไม่สด  เอาไปดอง  อาจจะกลายเป็นยาถ่าย  อันตรายอีก

ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง

ความเห็น

ขอบคุณข้อมูล ป้าเล็ก..อุบล

 

หาข้อมูลเพิ่มไปเรื่อยๆค่ะ   ขอบคุณที่แวะมาอ่าน

 ลักษณะใบอาจใช้บอกเพศฟักข้าวไม่ได้ เพราะฟักข้าวพันธุ์พัทลุงของคุณแจ้ว ใบเว้าลึกมาก ผมว่าการออกดอก ติดผล น่าจะมาจากปัจจัยเรื่อง ฤดู(ภูมิอากาศ) ความชุ่มชื้น (การให้น้ำ) และความอุดมสมบูรณ์ของดิน(แร่ธาตุ และสารอาหารในดิน) ตลอดจนสภาพของดิน(ดินร่วน ดินทราย ดินเหนียว) การบำรุงต้นให้สมบูรณ์จะช่วยให้มีดอกตัวเมียมากขึ้น  


ที่บ้านปากช่อง ปลูกแล้วไม่ดูแลอะไรเลย ติดลูกเพียบ แต่น่าเสียดาย เก็บกินไม่ได้เลย หนอนทั้งนั้น เพราะแมลงวันทองมากเหลือหลาย จะห่อก็ทำไม่ได้ เพราะบรรดาฟักข้าวทั้งหลายปีนขึ้นไปอยู่บนต้นไม้สูงๆ ทั้งหมด

น่าจะขึ้นกับสายพันธุ์ด้วยส่วนหนึ่งเหมือนลุงโรสว่า.ค่ะ

สายพันธุ์เป็นเรื่องที่หลากหลายจริงๆ  มาต่างที่  ใบจะต่างกันทันที  บวบ  น้ำเต้าก้เป็นเหมือนกัน  เอามาเทีบยจริงๆ  ต่างกันหมดเลย   แค่น้ำเต้า 12 ชนิด  ปวดหัวเลย  ใบใหญ่  ใบเล็ก  ใบกว้าง  ใบแคบ  หยักลึก  หยักตื้น

ดอกตัวเมีย  ต้นที่บ้าน  ถ้าอากาศดี  ไม่ร้อนมาก  ออกมาติดๆๆๆกันแทบทุกซอกใบ   หาตัวผู้ไม่ทัน  พอร้อนมากๆ  เงียบเลย  ตัวผู้บาน  ไม่มีตัวเมียจะผสม  รุ่นล่าสุด  ผสม7ดอก  ติด1

ฟักข้าวที่สังเกต  ส่วนมาก  แยกเพศเลย   ตัวเมีย   ตัวผู้   ยังไม่เจอต้นกะเทยสักต้น  ใครมีถือว่าโชคดีสุดๆ  แค่ได้ตัวเมียเยอะ  ถือว่าโชคดีแล้ว   เรื่องอัดปุ๋ย-น้ำ  ก็สูตรใครสูตรมันล่ะ  แต่ถ้า  มาสายพันธุ์เดียวกัน   สักวัน  ต้องสังเกตได้แน่นอน(คิดว่า) 

ขอบคุณครับ  :embarrassed:

ป้าเล็กนักวิจัยจริงๆ นะครับ ช่างสังเกตุทุกอย่าง

:admire2:ขอบคุณค่ะ สำหรับ ข้อมูล:love: วันนี้จะจัดส่งเมล็ดพันธ์ไปให้นะค่ะ

หน้า