ตามล่าหาคำตอบของ มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ (มีคำตอบแล้วครับ)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สืบเนื่องจากที่ผมได้เคยนำต้นโปร่งฟ้าไปปลูกไว้ที่อาศรมแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ จนเติบโตออกดอกออกผล เพื่อใช้เป็นสมุนไพรเกี่ยวกับโรคปอดและทางเดินหายใจในอนาคต คุณป้าแกปรารภว่าอยากได้ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่มาปลูกไว้ที่อาศรมด้วย บอกว่ามีสรรพคุณแก้ไอเคยทดลองใช้แล้วได้ผล ผมก็รับปากและบอกว่าที่บ้านสวนได้ปลูกเอาไว้สองสามต้น แต่นึกขึ้นมาได้ว่าเคยลองชิมผลที่วัดแห่งหนึ่ง โดยคนที่นำมาให้บอกว่าแก้ไอ ระคายคอ นึกแปลกใจว่าทำไมมีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว พยายามค้นคว้าหาคำตอบเรื่อยมา

จนในที่สุด 

เครดิตภาพจาก : http://statics.atcloud.com/files/comments/126/1269685/images/1_original.jpg

 

จะเห็นลักษณะที่แตกต่างกันของพืชทั้งสองชนิดคือ

มะม่วงไม่รู้หาว และมะนาวไม่รู้โห่ ซึ่งไม่ใช่มะม่วงหาวมะนาวโห่


ป.ล. ลุงโรสและน้องนึกได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชทั้งสองชนิดนี้แล้วนะครับ เพื่อนสมาชิกลองติดตามอ่านได้จากโพสท์ด้านล่าง ขอบคุณทั้งสองท่านอย่างยิ่ง และขออนุโมทนาในความอนุเคราะห์ต้นกล้ามะนาวเทศสำหรับปลูกที่อาศรมจากลุงโรสด้วยนะครับ

ความเห็น

ขอบคุณมากครับลุงโรส สำหรับข้อมูลและความอนุเคราะห์เรื่องต้นกล้า ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

 

(ที่อยู่ผมส่งให้ทางกล่องข้อความนะครับ)

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

ด้วยความเคารพนะครับลุงโรส  ผมฟังมาจากคนขายต้นไม้ และเพื่อนๆ อีกทีนึง  เหตุที่เขาเรียกชื่อตามภาพข้างบนของลุงพีมาจากรสชาติของผล

Carissa carandas L. ที่เราเรียกว่ามะม่วงหาวมะนาวโห่ หรือหนามแดง  เขาบอกว่ารสชาติมันไม่เปรี้ยวเหมือนมะนาวเทศ  แต่ออกจะรสชาติคล้ายๆ มะม่วงเปรี้ยวๆ มากกว่า (ผมลองทานแล้วก็ยังว่าไม่เหมือนมะม่วง แต่ก็ไม่เปรี้ยวจี๊ดเหมือนมะนาว)  ซึ่งทานแล้วทำให้หายง่วงนอน  เขาจึงเรียกกันว่า "มะม่วงไม่รู้หาว"

ส่วน Triphasia trifolia (Burm.f.) P.Wilson มีรสชาติคล้ายมะนาวมากกว่า (ก็เพราะเป็นวงศ์เดียวกับมะนาว  ภาษาอังกฤษยังเรียก lime berry) จึงเรียกว่า "มะนาวไม่รู้โห่"  ส่วนชื่อมะนาวเทศจะไม่ค่อยมีคนตามร้านต้นไม้เรียกกัน  เวลาไปหาซื้อจะต้องบอกว่าจะหาซื้อ "มะนาวไม่รู้โห่" (มีขายที่ตลาดสนามหลวง 2 และจตุจักร)

ผมเข้าใจว่าลักษณะภายนอกใกล้เคียงกันคนจึงเรียกชื่อภาษาไทยสับสนกันไปหมด  ผมขออนุญาตยึดชื่อวิทยาศาสตร์ดีกว่า เพราะไม่สับสนเหมือนชื่อภาษาไทย

ส่วนในนิราศที่มีการเอ่ยถึงมะม่วงหาวมะนาวโห่ก็มีการไปแปลงอีกว่าเป็น "มะงั่วหาว มะนาวโห่"  ซึ่ง "มะงั่ว" จะมีชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus ichangensis Swingle. วงศ์ : RUTACEAE ซึ่งมีผลลักษณะคล้ายมะนาว  ไม่ได้มีสีแดงเหมือน Carissa carandas L. ยิ่งทำให้สับสนมากครับ เอาชื่อวิทยาศาตร์เป็นหลักดีกว่านะครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ลุงพีครับของแยกเป็นข้อๆ ดังนี้นะครับ

  • ในรูปที่เห็นจะมีพืช 2 ชนิดครับ
    • ด้านซ้ายมือที่ลูกใหญ่กว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa carandas Linn. วงศ์ Apocynacea
    • ส่วนทางขวามือมีชื่อวิทยาศาสตร์ Triphasia trifolia (Burm.f.) P.Wils. วงศ์ Rutaceae
  • Carissa carandas มีชื่อเรียกไทย หลายอย่าง เช่น หนามแดง มะม่วงหาวมะนาวโห่ มะม่วงไม่รู้หาว หนามขี้แฮด  บางครั้งสับสนจนเรียกว่า "มะนาวไม่รู้โห่" ก็มีครับ
  • Triphasia trifolia มีชื่อเรื่องไทยว่า มะนาวไม่รู้โห่
  • ส่วนคำว่าหนามแดงเองใช้เรียกพืช 2 ชนิด ได้แก่ (๑) ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Maytenus marcanii Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae  (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae 

สรุปแล้วพืชทั้ง 3 ชนิด คือ Carissa carandas, Triphasia trifolia และ Maytenus marcanii มีลักษณะร่วมคือมีหนาม และมีผลสีแดง  ส่วนที่ยังไม่แน่ใจว่าข้อมูลถูกหรือเปล่าคือ Maytenus marcanii เพราะในเมืองนอกไม่มีรายงานชื่อนี้  ส่วน 2 ชนิดแรกพบได้ทั่วไปในเขตอาเซียน รวมทั้งมาเลเซีย และอินโดนีเซียครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ขอบคุณมากครับนึก

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

ลุงพีครับงั้นขอถามต่อเรื่องต้นโปร่งฟ้าเพราะมี 2 ชนิด คือ

  • Asparagus setaceus (Kunth.) Jessop วงศ์ ASPARAGACEAE เป็นไม้กึ่งเลื้อยเถามีหนามขึ้นเป็นกอเหมือนหน่อไม้ฝรั่ง ใบเป็นเส้นเล็ก ๆ สอดประสานกันดังตาข่ายถ้ามองจากด้านล่างจะสามารถมองทะลุใบขึ้นไปเห็นท้องฟ้าได้ จึงได้ชื่อว่าโปร่งฟ้า เนื่องจากใบสวย จึงนิยมนำมาประดับทำเป็นช่อดอกไม้
  • Murraya siamenis Craib ชื่อวงศ์ : RUTACEAE เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ใบเป็นช่อคล้ายใบแก้วแต่ใหญ่กว่าสีเขียวเข้ม ผิวใบมัน ไม้ชนิดนี้จะมีต่อมน้ำมันหอมระเหยอยู่เกือบทุกส่วนโดยเฉพาะที่ใบ (แบบเดียวกับพวกใบส้ม,ใบมะกรูด) ซึ่งเมื่อนำมาต้มน้ำแล้วดื่ม หรือสูตรกลิ่นเข้าไปจะทำให้รู้สึกสมองโล่งปลอดโปร่งทันที จึงนิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้หลายชนิดและเนื่องจากใบโปร่งฟ้ามีต่อมน้ำมันใส ๆ กระจายอยู่ทั่วทั้งใบเมื่อเรามองจากด้านล่างก็จะสามารถมองทะลุใบขึ้นไปเห็นท้องฟ้าได้เช่นกัน จึงได้ชื่อว่า โปร่งฟ้า เหมือนชนิดแรก

ผมยังไม่มีทั้ง 2 แบบ  แต่ขอเดาว่าที่ลุงพีเอาไปปลูกที่ชัยภูมิน่าจะเป็นต้นที่ 2 ฟังดูน่าสนใจมากครับ :admire: :admire:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ใช่ครับนึก ต้นที่เคยปลูกไว้เป็นแบบที่สองครับ ตอนนี้ก็เริ่มผลิดอกออกผลแล้ว จึงเริ่มทำการขยายพันธุ์แล้วครับ

พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง

:admire: เคยได้ยินแต่ชื่อ แต่ก็ยังไม่เคยมีโอกาสได้เห็นต้นหรือผล ขอบคุณเจ้าของบล็อกที่นำมาลง และทุกคนที่ให้ความรู้ค่ะ  :good-job:

คนไทยไกลบ้านที่อยากดำเนินชีวิตตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อ

คนละต้นกันหรือคะลุงพี เข้าใจผิดมาตั้งนานค่ะ

จากข้อมูลหลายๆท่าน มาดูภาพประกอบกันสักนิดนะครับ

 

๒ภาพด้านบน คือต้นที่๑ ที่น้องโรสว่า..๑ ผลมีเม็ดประมาณ๔-๕ เม็ด 

 

๒ภาพนี้ ก็คือ มะนาวเทศ ที่ผมมีต้นอยู่ที่บ้าน..๑ผล มี๓เม็ด 

    

     Laughingทั้ง๔ภาพผมเพิ่งถ่ายมาเมื่อก่อน๘โมงเช้านี่เอง

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

หน้า