พรรณไม้ทนน้ำท่วม

หมวดหมู่ของบล็อก: 

การปรับตัวของพืชในที่น้ำท่วมขังประจำ

โดยปกติแล้วบริเวณป่าชายเลนจะมีน้ำจะท่วมขังอยู่เสมอเนื่องจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง ดังนั้นดินในป่าชายเลนจึงมีน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ ทำให้ออกซิเจนในอากาศไม่สามารถแพร่กระจายลงสู่ดินได้ อย่างไรก็ตามรากของต้นไม้ป่าชายเลนต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต ดังนั้น ต้นไม้จึงต้องพัฒนาวิธีการเพื่อที่รากของมันจะได้รับออกซิเจนต้นไม้ป่าชายเลนส่วนมากจึงมีรากอากาศ (pneumatophores) โผล่พ้นเหนือดิน ออกซิเจนจึงสามารถผ่านลงทางรากอากาศสู่รากที่อยู่ใต้ดินได้ รูปทรงของรากอากาศมีตั้งแต่

  • รากพูพอน รากจะเติบโดคล้ายกับเป็นส่วนหนึ่งของลำต้นแผ่ขยายออกไปช่วยให้ลำต้นทรงตัว ได้ดี และช่วยในการหายใจ เช่น ต้นตะบูนขาว หงอนไก่ทะเล
  • รากแท่งดินสอ เป็นรากผอบบางคล้ายแท่งดินสอแทงขึ้นมาจากพื้นให้พ้นระดับน้ำเพื่อช่วยในการหายใจ ทำให้รากสามารถขยายออกไปได้ไกลและช่วยค้ำจุนลำต้น ได้แก่ วงศ์ไม้แสม(Verbenaceae) เช่น แสมทะเล แสมขาว แสมดำ สำมะง่า, วงศ์ลำพู (Sonneratiacea) เช่น ลำพูทะเล ลำแพน ลำแพนหินหรือลำแพนทะเล


    บางครั้งรากแบบพูพอนดูลักษณะจากด้านเหนือดินทั่วๆ ไปคล้ายๆ แท่งดินสอขนาดขนาดใหญ่ ทำให้ดูเหมือนรากแท่งดินสอ  แต่อาจจะมีลักษณะรากส่วนที่อยู่ใต้ดิน และลักษณะทางชีวภาพอื่นไม่เหมือน  เช่น
    ต้นตะบูนดำ

  • รากค้ำจุน โดยงอกออกมาจากลำต้นส่วนที่พ้นน้ำเพื่อช่วยในการหายใจ และค้ำจุนลำต้นไม่ให้ล้มในดินเลนที่อ่อนตัวมาก  ได้แก่ วงศ์โกงกาง (Rhizophoraceae) บางชนิด เช่น โกงกางหัวสุม โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่
     
  • รากหัวเข่า เป็นรากหายใจโผล่พ้นดินโค้งงอมองดูเหมือนกับหัวเข่าของมนุษย์ วงศ์โกงกาง (Rhizophoraceae) บางชนิด เช่น พังกาหัวสุม(ประสัก) โปรงขาว โปรงแดง ถั่วขาว(รุ่ย)

การที่ต้นไม้ป่าชายเลนจะเติบโตในบริเวณที่ดินมีน้ำท่วมขังได้ไม่ดีเนื่องจากดิน น้ำท่วมขังมีอากาศอยู่น้อย จึงเป็นเหตุให้ป่าชายเลนมีระบบรากพิเศษและเซลล์ที่อากาศสามารถเข้าไปในต้น พืชได้ในขณะน้ำลด พืชที่อยู่ในดินน้ำท่วมขังจะไม่งอกเหมือนกับพืชที่ปลูกในดินปกติ เนื่องจากก๊าซออกซิเจนที่จะเข้าสู่รากนั้นมีน้อยเกินไป ส่วนพืชที่ปลูกอยู่ในดินธรรมดานี้จะโตเร็วกว่าและจะมีความแข็งแรงมากกว่าพืช ที่ขึ้นในดินน้ำท่วมขัง

พืชที่ทนน้ำท่วมชั่วคราวได้

ในพืชชนิดอื่นอาจจะไม่ได้มีพัฒนาการในการอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมตลอดเวลาได้เหมือนต้นไม้ในป่าชายเลน  แต่ก็มีได้หลายชนิดที่สามารถขึ้นได้ดีบริเวณริมตลิ่ง และสามารถทนน้ำท่วมเป็นระยะเวลาไม่นานได้  ระยะเวลาที่ต้นไม้สามารถทนน้ำท่วมได้ยังขึ้นกับลักษณะน้ำที่ท่วมขังด้วยด้งนี้

  • ปริมาณตะกอนที่น้ำพัดพามา หากมีตะกอนมาก (น้ำขุ่นมาก) ตะกอนดินจะเข้าไปอุดตามช่องต่างๆ ในโพรงอากาศในดินเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของพืช
  • การไหลของน้ำ ถ้าเป็นน้ำท่วมขังแบบนิ่งจะมีออกซิเจนในน้ำน้อย และเกิดโอกาสเน่าเสีย เข้าทำลายรากได้มากกว่าน้ำที่ไหล
  • ปริมาณสารอินทรีย์ ถ้ามีสารอินทรีย์ในน้ำมากก็จะทำให้เกิดการย่อยสลาย และทำให้รากเน่าได้ง่ายขึ้น
  • ปริมาณสารเคมีอันตราย  สารเคมีหลายชนิดจะคงค้างและเป็นอันตรายกับพืช
  • ระยะเวลาที่ท่วม  ยิ่งท่วมนานก็จะสามารถทำความเสียหายได้มาก
  • ระดับความสูงของน้ำ ถ้าระดับน้ำสูงจนท่วมยอดมักจะทำความเสียหายก้บต้นไม้รุนแรงกว่า

ต้นไม้ที่สามารถทนน้ำท่วมชั่วคราวได้มีหลากหลายชนิด  ตัวอย่างเช่น

  • วงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เช่น ยางนา ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย สยาขาว กระบาก จันทน์กะพ้อ พะยอม
  • วงศ์มะเกลือ (Ebenaceae) เช่น มะเกลือ มะพลับ ไม้ดำ ดำดง สั่งทำ ตะโกพนม ตะโกนา ตะโกสวน จันดำ จันอิน พญารากดำ
  • วงศ์ ถั่ว (Leguminosae) ขนาดใหญ่บางชนิด เช่น อโศก จามจุรี ทองกราว ขี้เหล็ก นนทรี ประดู่บ้าน ประดู่ป่า อินทนิล มะขาม มะขามเทศ ราชพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ พฤกษ์ กระพี้จั่น
  • วงศ์ปาล์ม (Palm) หลายชนิด เช่น ปาล์มแวกซ์ จาก ตาล มะพร้าว กะพ้อ หมาก
  • วงศ์เตย-ลำเจียก (Pandanaceae) เช่น เตยเหาะ เตยหอม เตยด่าง ลักกะจันทน์ เตยแก้ว เตยทะเล  เกี๋ยงป่า เกี๋ยงหลวง เตยแดง เตยหอมใหญ่ ลำเจียก เตยญี่ปุ่น ลำดวน การะเกดด่าง
  • วงศ์ลั่นทม(Apocynaceae) หลายชนิด เช่น โมกเครือ ตีนเป็ดเล็ก พญาสัตบรรณ ชะลูด ตีนเป็ดน้ำ  ตีนเป็ดแดง พุดจีบ พุดฝรั่ง พุดสวน โมกใหญ่ ลั่นทม(ลีลาวดี) ระย่อม รำเพย
  • วงศ์สารภี (Guttiferae) หลายชนิด เช่น กระทิง ชะมวง มะพูด มะดัน สารภี
  • วงศ์จิก (Lecythidaceae) เช่น จิกนา จิกสวน กระโดน
  • วงศ์ตะขบ(Flacourtiaceae) เช่น ตะขบป่า ตะขบควาย ตะขบไทย ชุมแสง กระเบาใหญ่ กระเบา กระเบากลัก
  • วงศ์ไม้ฝาด เช่น ฝาดแดง และฝาดขาว
  • วงศ์เหงือกปลาหมอ เช่น เหงือกปลาหมอดอกสีฟ้าหรือนางเกรง และเหงือกปลาหมอดอกสีขาว 
  • พวกมีชื่อน้ำๆ เช่น มะกอกน้ำ ชมพู่น้ำ นาวน้ำ กุ่มน้ำ ขะเจาะน้ำ การเวกน้ำ
  • นอกเหนือจากนั้นก็ลองฟังๆ จากผู้รู้ เช่น ไทร โพธิ์ มะตูม ตานหก


สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน http://my-experimental-farm.blogspot.com/p/plants.html

ความเห็น

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ ครั้งหน้าขอพรรณไม้ทนแล้งด้วยนะคะ ปีนี้ไม่ไหว :sweating:

""

 

อีฟ...น้ำคือชีวิต  ไม่มีน้ำ ไม่มีชีวิต  พืชทนแล้งต้องนี่เลย "ตะบองเพชร" :cheer3: :cheer3:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

แหมๆๆ มามุขนี้หงายเงิบบเลย งั้นจะชวนเอื้อยแดงปลุกดอก คะซั้น :sweating:

""

 

เหมือนอีฟเลย คราวหน้าขอพืชทนแล้งนะเพื่อน เพราะสวนเราหน้าแล้งเล่นเกือบไม่รอดทุกปี :bye:

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

ที่สวนก็เหมือนกันครับ  กำลังทดลองวิธีการใหม่อยู่  แต่...ฝนตกน้อยมากๆ งามแต่หญ้าเพราะน้ำฝนตกน้อย  ได้น้ำแค่ผิวๆ ไม่ค่อยซึมลงดิน  น้ำในอ่างเก็บน้ำสูงไม่ถึงเข่าเลย  สูบไม่ขึ้นเลย  รอ..เทวดาอย่างเดียว ไม่รู้ว่าปีนี้จะรอดหรือไม่ :crying2:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

:cheer3:ข้อมูลเยี่ยมค่ะ เหมาะกับหน้าน้ำบ้านพี่เหมียวเป็นที่สุด...

ขอบคุณค่ะ ข้อมูลดีๆ ขอsaveเก็บไว้เลยนะคะ