แขกรับเชิญพิเศษ....

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ได้รับเชิญเป็นแขกพิเศษในวันฉลองปีใหม่ของชาวเขาเผ่าลีซอ เพียงแค่การแบ่งปันเมล็ดพันธุ์ เพียงเมล็ดเล็กๆๆไม่กี่อย่าง

จะเป็นการสร้างมิตรภาพ และ ทำให้มีความรู้สึกเป็นเกียรติที่ยิ่งใหญ่สุดจะบรรยาย

 ลีซอเรียกตนเองว่า “ลีซู”  เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีภูลำเนาเดิมอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน  และแม่น้ำโขง

ทางตอนเหนือของประเทศธิเบต  และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานในประเทศจีน ได้อพยพลงมาทางใต้

เนื่องจากเกิดการสู้รบกันกับชนเผ่าอื่นนับเวลาหลายศตวรรษ ลีซอได้ร่นถอยเรื่อยลงมาจนในที่สุดก็แตกกระจายกันอยู่ในเมียนมาร์ 

จีน  อินเดีย และประเทศไทย 

สำหรับการอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรก จากการสอบถามลีซอคนเฒ่าคนแก่  

ธรรมชาติรอบๆๆหมู่บ้านร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย โอบกอดห้อมล้อมด้วยภูเขาซึ่งมีดอกนางพญาเสือโคร่งหรือดอกซากุระเมืองไทย

กำลังผลิดอกสีชมพูบานแซมสีเขียวของต้นไม้สวยงาม

ลีซอยังคงนับถือผีอยู่เป็นส่วนใหญ่  มีอยู่บ้างที่หันมานับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ 

การนับถือผียังคงพบเห็นในหมู่บ้านโดยทั่วไป  มีผีประจำหมู่บ้าน ผีบ้าน  ผีเรือน  ผีหลวง  ผีป่า  ผีน้ำหรือผีลำห้วย

ผีต่าง ๆ อาจแบ่งออกเป็นผีดีและผีร้าย  ผีดีเป็นผีที่ให้คุณแก่พวกเขา  เช่น ผีประจำหมู่บ้าน ผีบรรพบุรุษ  ผีบ้านผีเรือน 

ส่วนผีร้ายได้แก่ผีป่า  ผีคนตายไม่ดี  เช่น ผีถูกยิงตาย หรือถูกฟ้าผ่า

ในหมู่บ้านจะมีหมอเมือง  เปรียบเสมือนผู้นำทางศาสนาเป็นผู้ทำพิธีบูชาผีประจำหมู่บ้าน  

จะมีวันศีลทุก ๆ  15 วันต่อครั้ง  ซึ่งเขาจะหยุดทำงานกันทั้งหมู่บ้านห้ามใช้มีดหรือของมีคมทุกชนิด  แต่การล่าสัตว์ในป่าบางหมู่บ้านไม่มีข้อห้าม

 เครื่องดนตรี ของลีซอที่นิยมกันมากคือ  พิณ  3  สาย เรียกว่า(ซือ  บือ)  กับแคน(ฝู่หลู่)

ตัวพิณมีคันยาว  ทำด้วยไม้และหนังตะกวด  (คนเมืองเรียกว่า  “แลน”)  การดีดมีจังหวะสนุกสนาน  เร้าใจ

การเดินทางไปเที่ยวต่างหมู่บ้านหนุ่มจะพกเครื่องดนตรีติดตัวไปด้วย

ส่วนแคน (ฝู่หลู่)  นั้น  มี  ๓  ชนิด  คือ  แคนชนิดสั้น  ชนิดธรรมดา  และชนิดยาว  ทำด้วยน้ำเต้าและปล้องไผ่เล็ก ๆ 

ที่คัดเป็นพิเศษ  ปัจจุบันช่างทำฝู่หลู่ได้หายากเข้าทุกที

ผู้ชายลีซอ นุ่งกางเกงขากว้างยาวคลุมเข่าเล็กน้อย  นิยมใช้สีเขียว  ฟ้า  และน้ำเงิน  ใส่เสื้อแขนยาว  คอป้าย  สีดำ

สวมผ้าพันแข้งสีดำเชิงฟ้าหรือเขียว ประดับด้วย กระดุมเงินรอบคอจนถึงไหล่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้วย

ซึ่งเสื้อเต็มยศชนิดนี้มักจะใส่เฉพาะวันปีใหม่  หรือวันที่มีประเพณีสำคัญเท่านั้น 

ปกติชายลีซอจะนุ่งกางเกงขากว้างกับเสื้อยืดหรือเสื้อเชิตที่ซื้อจากในเมืองมากกว่า  เพราะราคาถูก  หาซื้อง่าย

ผู้หญิงชาวลีซอทั้งเด็กและผู้ใหญ่  นุ่งกางเกงยาวคลุมเข่าสีดำ  สวมเสื้อคลุมทับสีฟ้า  เขียว  ม่วง  เป็นเสื้อแขนยาว  คอป้าย 

รอบคอเป็นผ้าสีดำต่อด้วยแถบผ้าริ้วสีต่าง ๆ ทั้งด้านหลังและด้านหน้า  มีทั้งสีแดง  เหลือง  เขียว  ส้ม  ขาว  ฟ้า  ดำ 

แถบริ้วสวยงามเหมือนรุ้งกินน้ำนี้ติดที่รอบต้นแขนทั้งสองข้างด้วย  ตัวแขนเสื้อเป็นผ้าสีสดสีเดียวกับผ้าพันแข้ง 

ซึ่งปลายด้านล่างของผ้าพันแข้งมีแถบผ้าสีฟ้า   หรือเขียว  ปักลายสวยงาม  ประดับด้วย กระดุมเงินรอบคอจนถึงไหล่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง 

เสื้อเต็มยศชนิดนี้มักจะใส่เฉพาะวันปีใหม่  หรือวันที่มีประเพณีสำคัญเท่านั้น 

 ชาวลีซอเป็นคนมีอัธยาศัยดี  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ต่อเพื่อนบ้านและแขกผู้ไปหา เวลามีแขกมายังบ้านเรือนมักต้อนรับด้วยน้ำชา สนทนาปราศรัยด้วยความสุภาพเรียบร้อย

ฉันได้พบกับความสวยงามระหว่างทาง....ได้เห็นวิถีชีวิตผู้คน..ที่อิงแอบกับธรรมชาติ

ได้อย่างกลมกลืน และ มีรอยยิ้มให้กับผู้คนที่มาเยือนเสมอ

ฉันรู้สึกว่าทุกวัน...ผ่านไปอย่างเชื่องช้า...แต่ก็เต็มอิ่ม

รอยยิ้ม...เป็นภาษาของความรัก

รอยยิ้ม...เป็นอารมณ์บ่งบอกถึงความน่ารัก

รอยยิ้ม...แววตาใสซือของเด็กน้อย

รอยยิ้ม....และเสียงหัวเราะ....

ลมหายใจที่อ่อนโยน....และความสดใสในแววตา....

จะเก็บรอยยิ้ม...เก็บใส่กุญแจไว้

ใส่กล่องไว้ข้างในใจเก็บไว้ให้นานเท่านาน

ถึงแม้ว่าวันหนึ่งเราต้องห่างจากกันไป

ก็รู้ว่าใจของเรายังอยู่ใกล้กัน...

ลีซอ ชอบรสจืดๆ ชอบเนื้อหมูมากกว่าเนื้อสัตว์อื่นและ มักใช้สัตว์ที่ดักจับมาได้แกงกับผัก 

เอาอาหารใส่ถาดไม้มีขา  นั่งบนตั่งหวาย  หยิบตะเกียบพุ้ยข้าว  ดื่มน้ำชาร้อน ๆ ไม่ดื่มน้ำดิบ

สุราข้าวโพดดื่มบ้างเวลามีงานพิธีชาวลีซอ ถือว่าการต้อนรับผู้มาเยือนที่บ้านด้วยเหล้าเป็นการให้เกียรติ แสดงความนับถือต่อกัน

การเต้นรำ ในวันปีใหม่ ชาวลีซอทั้งชายหญิงเฒ่าแก่ พากันมา เต้นรำรอบ ๆ ต้นไม้  ซึ่งคล้ายกับต้นคริสต์มาสของชาวผิวขาว 

การเต้นรำนั้นใช้พิณหรือที่เรียก ซือบือ ดีดให้จังหวะ เพราะซือบือเป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของลีซอ  โดยเต้นตามเสียงเพลงจากฝู่หลู่หรือซือบือ 

ในงานพิธีที่แสดงถึงความรื่นเริงยินดี  ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะมาเต้นรำด้วยกัน 

เต้นรำเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกลีซูทุกคน  เพราะเวลามีงานรื่นเริงประจำปีทุกคนต้องเต้นรำ  

การเต้นรำของเขาหนักไปในทางโยกตัว  ส่ายศีรษะ เอาเท้าตบพื้นดินแรงให้ได้ยินสนั่นคล้าย กับกระโดดไปมา   เอนตัวไปตามจังหวะดนตรี

 ทุกคนจะก้าวไปพร้อมกันดูสวยงามและมีศิลป  เพลงที่ใช้เต้นรำมีกว่า  ๑๐ เพลง

 

พนิดาต้องแต่งตัวให้เหมือนกันเพราะเป็นแขกรับเชิญพิเศษ 

การฉลองปีใหม่ของลีซอ จะเต้นรำไปทุกบ้านจนครบทุกหลังทั้งหมู่บ้านทั้งวันทั้งคืน ใช้เวลา2-3 วันและพร้อมทั้งจุดพลุทุกบ้านด้วยค่ะ

ช่วงเวลากลางวันจะเป็นผู้ใหญ่ร้องเล่นเต้นรำตกเย็นจะเป็นเด็กและหนุ่มสาวออกมาเต้นรำไปทุกบ้านจนครบทั้งหมู่บ้านในเวลาเช้าของอีกวัน

ขอบคุณ...พี่ติ๊กเจ้าของไร่สตอเบอรี่ ที่มอบมิตรภาพและให้โอกาสร่วมแบ่งปัน ประสบการณ์และช่วยเติมความฝันการเดินทางของพนิดา

ขอบคุณ...สมาชิกบ้านสวนพอเพียงทุกท่านที่ติดตามอ่านบล๊อกของ พนิดา

ขอบคุณ...ผู้ใหญ่โสทร ประธานแจ้ว ที่สร้างบ้านหลังนี้ บ้านแห่งการแบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

ความเห็น

ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น สวยงาม น่าหลงใหล เรียนรู้ ขอบคุณพี่พนิดาที่พาชมค่ะ เห็นแล้วพาให้นึกถึงเมื่อครั้งที่ไปเยือนด้วยกัน เสียดาย ข้อจำกัดหลายอย่างทำให้ไปไม่ได้ในครั้งนี้ แต่ก็ยับงระลึกถึงเสมอ  คิดถึงน้องซี ไม่ทราบว่าภาพที่ถ่ายยืนข้างพี่พนิดาใช่เธอรึเปล่าคะ


ปล. จบได้สวยมาก

ตามมาแลแขกพิเศษ

sudjai_waitong@hotmail.com
     0805401058

รูปภาพและวิธีการบรรยายเจ๋ง เหมือนการทำสารคดีเลย ชอบ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

มาชมมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่สวยงามค่ะ...Smile

ขอบคุณมากค่ะ เหมือนได้ไปเที่ยวเอง บรรยากาศดีมากค่ะ

สวัสดีจ้า ช่างเป็นคนที่โชคดีจัง ที่ได้มีโอกาสไปเที่ยวในที่ๆน่าท่องเที่ยวมากๆ ขอบคุณที่นำภาพสวยๆมาแบ่งปันกันค่ะ Laughing

ชีวิตที่เรียบง่ายกับความพอใจในสิ่งที่มี

ตามมาดูแขกพิเศษด้วยคนค่ะ เหมือนได้อยู่ในกลุ่มด้วยจริง ๆ
ภาพสวย คมชัด  สื่อความหมายได้ดี ประกอบกับคำบรรยายซึ้ง ๆ
ดูอบอุ่นใจและชวนให้อยากไปสัมผัสบ้าง 

โห... เป็นกิจกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจมากๆ

อยากมีโอกาสไปดูและใช้ชีวิตแบบนี้ดูบ้างจังค่ะพี่ น่าสนุกมากๆ

***Sweet pea***

ขอบคุณมากค่ะที่พาเที่ยว  เอ๊อ เออ คุณพนิดาคะ  ทำไมถึงได้ไปเที่ยวบ่อยจัง รู้ไหมแอบอิจฉาจ้าSmile

หน้า