เกาะพยาม มนต์เสน่ห์แห่งความสงบที่น่าหลงไหล ตอนที่ 1
วันแรกเมื่อไปถึงก็สำผัสได้ถึงความเงียบสงบ แวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สมบูรณ์ ยังไม่มีแสงสีปรุงแต่งอีกทั้งยังเต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชาวบ้าน จึงทำให้ "เกาะพยาม"เกาะใหญ่ที่ซ่อนตัวอยู่ในมุมเล็ก ๆ ของจังหวัดระนอง น่าหลงใหลจนใคร ๆ ก็อยากลองไปสัมผัสสักครั้ง
พึ่งเคยเห็นกระดองปลาหมึกเป็นครั้งแรกในชีวิตที่เกาะพยาม ตื่นเต้นมากแต่ต้องเก็บความรู้สึกไว้ไม่น้อยเลยทีเดียว
กระดองปลาหมึก Cuttlebone หรือ Cuttlefish bone คือโครง(skeleton)หรือเปลือก(shell) ที่อยู่ในลำตัวของปลาหมึกชนิดที่เรียกว่า cuttlefish ซึ่งเป็นปลาหมึกที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ squid กระดองปลาหมึกนี้จะมีน้ำหนักเบา จึงช่วยให้ปลาหมึกสามารถลอยตัวอยู่ได้ในน้ำ
กระดองปลาหมึกเป็นแหล่งแคลเซียมและแร่ธาตุ และเนื่องจากนกต้องการบริโภคแคลเซียมตลอดทั้งปี กระดองปลาหมึกจึงเหมาะที่จะเป็นอาหารเสริมสำหรับนก โดยเฉพาะนกในช่วงวางไข่ที่จะมีความต้องการแคลเซียมมากเป็นพิเศษ เพื่อการสร้างเปลือกไข่ นอกจากนี้นกยังได้รับประโยชน์จากการได้ใช้จะงอยปากขูดลงที่กระดองปลาหมึก เพื่อลับฝนให้จะงอยปากนกอยู่ในสภาพดีเสมออีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณแก้วตา http://www.cookietalkie.com/
แมงกะพรุน เป็นวุ้นใส ๆ เหมือนเจลลี่ อันนี้ก็พึ่งเห็นตัวเป็นๆเป็นครั้งแรกเหมือนกัน ค่ะ ตื่นเต้น ๆๆ จากหน้าหาดเกาะพยาม ค่ะ
แมงกะพรุน หรือ กะพรุน(อังกฤษ: Jellyfish, Medusa) จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โดยทั่วไปแล้ว แมงกะพรุนมีหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออกทำการตากแห้งและหมักกับเกลือ, สารส้ม และโซเดียม ก่อนจะนำออกขาย โดยประกอบอาหารได้หลายประเภท อาทิ ยำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเย็นตาโฟ ซึ่งแมงกะพรุนชนิดที่รับประทานได้ คือ แมงกะพรุนหนัง(Rhopilema spp.) และ แมงกะพรุนจาน (Aurelia spp.) ซึ่งชาวจีนมีการรับประทานแมงกะพรุนมาไม่ต่ำกว่า 1,000 ปีแล้ว คุณค่าทางอาหารของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรีต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูตัวนี้หนูไม่ทราบว่ามันคือปูอะไร หนูขอตั้งชื่อว่าปู พยายาม ก็แล้วกัน เพราะไม่ว่าคลื่นทะเลจะซัดโถมเข้ามาแรงแค่ไหน มันก็ไม่หวั่น ยังสามารถเกาะโขดหินอยู่ได้ ดั่ง สุภาษิตไทยที่ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้นค่ะ
ปูเสฉวน สีแดงสดงดงาม แอบ ซ่อน โฉม ไว้ในเปลือกหอย จากใต้สพาน ท่าเทียบเรือ เกาะพยาม
ปูเสฉวน (อังกฤษ: Hermit crab) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
โดยรวมแล้ว ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ประมาณ 1-6 เซนติเมตร มีขาทั้งหมด 10 ขา ไม่มีเปลือกแข็งแบบปูหรือกุ้ง จึงต้องอาศัยในเปลือกหอยเปล่า โผล่เฉพาะหัวและขา 2 คู่ออกจากเปลือก ส่วนขาอีก 2 คู่ใช้ยึดกับเปลือกหอย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร มักอาศัยอยู่ตามหาดทรายชายทะเล บางชนิดอาจอาศัยอยู่ในน้ำลึก มีประมาณ 1,100 ชนิด บางสกุลอาศัยอยู่แต่เฉพาะบนบก ได้แก่ Coenobita
ปูเสฉวนมีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ ด้วยการที่ตัวผู้จะต่อสู้กันด้วยก้ามเพื่อแย่งชิงตัวเมีย เหมือนกุ้ง หรือปูทั่วไป เมื่อตัวผู้ที่ชนะแล้วจะจับตัวเมียไว้ เมื่อตัวเมียลอกคราบ ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมบริเวณขาว่ายส่วนท้อง เกิดเมื่อการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียจะปล่อยไข่ไปในทะเลเพื่อปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปในทะเล ซึ่งลูกขนาดเล็กจะยังมีลักษณะไม่เหมือนตัวเต็มวัย จะต้องลอกคราบและมีพัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ ในปูเสฉวนบกก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกัน แต่กระทำกันบกบก และตัวเมียจะลงไปปล่อยในทะเล ก่อนที่ลูกเมื่อแรกเกิดจะกลับมาเติบโตและใช้ชีวิตอยู่บนบก
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชายหาดหน้าโรงแรมบลูสกาย เกาะพยาม เช้า ๆ อากาศสดใสเงียบสงบมีเสียงคื่น ซา ๆที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ได้คอยเติมเต็มให้กับชีวิต
ขอขอบคุณ ผู้ร่วมทางแสนพิเศษ
ขอขอบคุณ บ้านสวนพอเพียง ค่ะ รอชม เกาะพยาม มนต์เสน่ห์แห่งความสงบที่น่าหลงไหล ตอนที่ 2 เร็ว ๆ นี้ ค่ะ
- บล็อกของ นังนู๋แตงกวา
- อ่าน 6675 ครั้ง
ความเห็น
nipa
10 มกราคม, 2014 - 20:14
Permalink
Re: เกาะพยาม มนต์เสน่ห์แห่งความสงบที่น่าหลงไหล ตอนที่ 1
เกาะพยามเพิ่งเคยได้ยิน เข้าไปดูเวบpantipสวยมากๆค่ะ
หน้า