อยากได้

หมวดหมู่ของบล็อก: 

กระต๊อบ, ไร่นา, หลังคาเพิง, กัดก้อนเกลือกิน ฯลฯ คือภาพที่ปรากฏขึ้นในห้วงความคิดอันคุ้นเคยเมื่อเอ่ยถึงคำว่า “เกษตรกรไทย” แต่เมื่อเดินทางข้ามฟ้ามายังดินแดนแห่งเครื่องจักร กระดูกสันหลังแห่งแดนอาทิตย์อุทัยกลับมีคุณภาพชีวิตที่ต่างออกไปราวฟ้ากับเหว... 
        บ้านหลังใหญ่, รถคันโต, โรงงานส่วนตัว, ครอบครัวสุขสบาย ฯลฯ คือภาพที่ฉายอยู่ตรงหน้าเมื่อเดินเท้ามาถึงที่พักของ “เกษตรกรญี่ปุ่น” แม้จะดูน่าเศร้า แต่คงถึงเวลาแล้วที่เมืองเกษตรกรรมอย่างเรา จำต้องเรียนรู้วิถีชาวไร่จากเมืองอุตสาหกรรมว่าเขาทำอย่างไร ให้ไม่ต้องมีชีวิตแบบ “หลังชนฝา หน้าสู้หนี้” อย่างที่ชาวนาชาวไร่ชาวไทยเผชิญอยู่ทุกวันนี้
       
       



       
       กู้ก้อนใหญ่ = ตายเฉียบพลัน
       


       

(บ้านสุดรโหฐานของ “ทะเคะฮิสะ” สุดยอดเกษตรกรจังหวัดจิบะ)


       "นี่หรือคือเกษตรกร นี่หรือคือเจ้าของบ้านหลังโต นี่หรือคือผู้บริหารไร่อันกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตาที่มองเห็นอยู่ตอนนี้?" ความคิดนี้ผุดขึ้นมาในหัวทันที หลังจากได้พบตัวเป็นๆ ของ“ทะเคะฮิสะ อิจิมะ (Takehisa Iijima)” เกษตรกรวัย 35 ผู้ถูกขนานนามว่าเป็นเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งประจำจังหวัดจิบะ 
       

        ผมสีส้มทองที่เกิดจากการย้อม เสื้อยืดพอตัว เสียงหัวเราะที่แสนเปิดเผย รอยยิ้มขี้เล่น บวกกับท่าทีสบายๆ ทุกอย่างที่ประกอบเป็นบุคลิกภาพภายนอกของเขาช่างดูขัดแย้งกับตำแหน่งผู้บริหาร กระทั่งเมื่อได้นั่งพูดคุยกัน จึงได้คำตอบว่าอะไรทำให้หยาดเหงื่อในวันวานของเขากลับมาทอประกายมีมูลค่าอยู่ขณะนี้ เป็นเพราะสิ่งที่อยู่ในหัวคิด กลยุทธ์ “วิธีบริหารหนี้” ของเขานี่เอง
       

       
        “วิธีขยายกิจการของผม ผมจะใช้วิธีกู้เงินจากธนาคารเอาครับ แต่ต้องค่อยๆ กู้นะ คือจะไม่กู้เป็นก้อนใหญ่ทีเดียวเพื่อมาลงทุนขนาดใหญ่ แต่จะคิดว่าในปีนี้เราต้องการจะขยายตรงไหน ถ้าปีนี้อยากได้เครื่องจักรเพิ่ม อยากได้เครื่องบรรจุถุงกับรถแทร็กเตอร์ขนาด 75 แรงม้า เราก็จะกู้แค่เอามาใช้ตรงนั้น จะไม่กู้เกินความจำเป็น พอหลังจากเอาเครื่องจักรมาใช้ช่วยงาน จนทำให้ทำงานได้ไวขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น เราก็เอากำไรจากตรงนี้แหละครับไปจ่ายหนี้ก้อนเดิมที่ติดธนาคารไว้ แล้วหลังจากนั้นค่อยไปกู้ก้อนใหม่
       

        เงินส่วนใหญ่ที่กู้มา ผมชอบเอาไปลงทุนกับเครื่องไม้เครื่องมือและเครื่องจักร เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคืนทุน พอมีของตัวเอง เราก็ไม่ต้องเสียเงินไปเช่ายืมเครื่องจักรของคนอื่นเขามาใช้อีกแล้ว ยังไงก็คุ้มครับ ยกตัวอย่างเช่นจากเดิม ผมมี “เครื่องล้างหัวไชเท้า” วันหนึ่งล้างได้แค่ 500 กล่อง แต่พอซื้อเครื่องใหม่ มันเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นถึง 3 เท่าคือ ล้างได้วันละ 1,000-1,500 กล่อง แต่ก็ไม่ใช่ความดีความชอบของเครื่องจักรอย่างเดียวนะครับ เพราะยังไงกำลังคนก็ยังสำคัญ เพราะถึงแม้เครื่องจักรประสิทธิภาพดีแค่ไหน แต่ไม่มีคนคุมมันก็จบ ที่เราสามารถทำงานได้เยอะขึ้น ก็เป็นเพราะลูกจ้างเขายอมทำงานตามชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้น เราก็ต้องตอบแทนเขาด้วย
       

       
       


       

(ที่สุขสบายได้ทุกวันนี้เพราะ วิธีคิด)


        จริงๆ แล้ว ในญี่ปุ่นเรามีระบบเงินช่วยเหลือเกษตรกรเยอะมากๆ นะครับ มีทั้งมาจากรัฐบาลส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น แค่ภาครัฐเขารู้ว่าใครอยากจะสร้างอะไรเกี่ยวกับแปรรูปการเกษตร เขาจะเสนอตัวออกเงินให้เลยครึ่งหนึ่ง แต่สำหรับผม ผมไม่เคยใช้วิธีกู้เงินจากรัฐเลย จะขอคำปรึกษาด้านข้อมูลอย่างเดียว ผมเลือกที่จะกู้กับธนาคารมากกว่า ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น มันเป็นความคิดที่ปลูกฝังมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อแล้วครับ เขาบอกเราเสมอว่า “ไม่จำเป็นต้องขยายกิจการให้โตแบบเฉียบพลัน” ไม่จำเป็นต้องกู้เงินก้อนโตจากรัฐบาลเพื่อมาลงทุนใหญ่โตแล้วก็เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น แต่พ่อจะสอนให้พึ่งตัวเองเป็นหลัก ค่อยๆ โตไปทีละปี ไม่ต้องพยายามฝืนทำอะไรในขณะที่ตัวเองยังไม่พร้อม ผมเลยเลือกกู้จากธนาคารดีกว่า
       

        การกู้เงินจากแบงก์ เราจะมีภาระ ต้องคืนเงินกู้ให้ได้ตามเวลาที่กำหนด ถึงจะหนักหน่อย แต่มันก็จะเป็นแรงผลักให้เราอยากรีบปลดหนี้ และถ้าเราทำได้ มันก็จะเป็นการสร้างเครดิตให้ตัวเราเองด้วย พอจะกู้ครั้งต่อไป แบงก์ก็จะมองเราเป็นลูกค้าเกรดเอ ถึงผมจะเรียนจบเศรษฐศาสตร์มา ไม่ถนัดเรื่องเกษตรแบบนี้เท่าไหร่ แต่เมื่อต้องมาสานต่อจากคุณพ่อ ผมก็อยากจะรักษาทุกอย่างในไร่เอาไว้ด้วยตัวเอง ก็เลยเลือกที่จะปลูกพืชง่ายๆ ก่อน ในปีแรกๆ ที่ทำ ตั้งแต่เมื่อ 13 ปีที่แล้ว เราปลูกแค่ไม่กี่อย่างเองครับ มีหัวไชเท้ากับผักป๋วยเล้ง ใช้พื้นที่แค่ 3 เฮกเตอร์ ปลูกหมุนเวียนไปแบบนี้ จนตอนนี้เราขยายออกไปได้ ทั้งหมดประมาณ 40 เฮกเตอร์แล้ว และตอนนี้ก็สามารถปลดหนี้ทุกอย่างได้หมดแล้วด้วย” เขาปิดท้ายประโยคด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจ
       

        ทุกวันนี้ เกษตรกรญี่ปุ่นในละแวกนั้นทุกคนมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 15 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยคือประมาณ 4.8 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกปี เพราะคุณทะเคะฮิสะ เจ้าของฟาร์มอิจิมะแห่งนี้ ตั้งเป้าเอาไว้แล้วว่าในอนาคตต้องทำให้เกษตรกรทุกคนมีรายได้อยู่ที่ 9.6 ล้านบาทต่อปีให้ได้ “ผมอยากเห็นเกษตรกรในเมืองเราทุกคนเป็นสุดยอดโมเดลด้านการเกษตรครับ” เขาประกาศกร้าวเอาไว้ในฐานะประธานสมาคมเกษตรกรจังหวัดจิบะ 

ความเห็น

สุดยอดๆๆๆ การกู้ครั้งแรกยากมากไม่รู้จะเอาอะไรไปค้ำธนาคาร  และความกลัวที่เกิดขึ้นคือกู้แล้วจะมีความสามารถส่งได้แค่ไหน ที่ว่าสุดยอดคือวิธิการบริหารของเขา  เรากลัวทำไม่ได้อย่างเขานี้ซิ

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

คับ ต้องลองเองพร้อมกับความตั้งใจที่เต็มๆ

แนวคิดดีครับ ต้องนำมาปรับใช้ครับ

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

ใช่คับ ต้องดูสภาพความพร้อมของตัวเองก่อน

แนวคิดดีครับ และเป็นไปได้ถ้าตั้งใจทำจริง

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

คับ ขอบคุณในคำแนะนำ

พี่ก็อยากได้ค่ะ แต่เราต้องพัฒนาของเมืองไทยหลายอย่างมาก นะ พูดถึงชาวนา-ชาวสวน-ชาวไร่ไทยใจเต็มร้อยอยู่แล้ว--ระบบธนาคารให้เอื้อต่อเกษตรกร(เป็นไปได้มากน้อยเท่าไหร่ ยังไม่รู้เลย)--แนวความคิดในการดำรงชีวิตของเยาวชนรุ่นใหม่ ก็ต้องปรับปรุงกันค่ะ ขอบคุณจ้า