เล่าสู่กันฟัง เรื่องของมะเดื่อ ตอน ฉิ่ง,ลูกฉิ่ง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

      Laughing สวัสดีครับทุกท่าน มาพบกับเรื่องของมะเดื่อกันต่อนะครับ จากสองบล็อกที่เล่าผ่านมาแล้ว ก็มี ลูกกรวด กะโผ๊ะ มะเดื่อปล้อง แล้วก็มะเดื่ออุทุมพร วันนี้มาพบกับไม้ตระกูลมะเดื่ออีกหนึ่งต้น คือ ลูกฉิ่ง ซึ่ง ฉิ่ง หรือลูกฉิ่งนี้ พี่น้องบ้านสวนพอเพียงเรารู้จักกันดีเพราะหลายท่านมีต้นและนำมาให้ชมกันบ่อย ส่วนใหญ่รู้จักว่างั้นเถอะ แต่เมื่อเล่าเรื่องของมะเดื่อแล้ว จะไม่เล่าเรื่องลูกฉิ่งด้วยก็เหมือนขาดอะไรบางอย่างไป จึงขอนำมาเล่าเพิ่มเติมก็แล้วกัน ไปชมภาพและดูรายละเอียดกันครับ

 

ฉิ่ง ลูกฉิ่ง

ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ๑ ชุดมี ๒ ฝา “ ฉ ฉิ่ง ตีดัง ช ช้างวิ่งหนี “ ฉ เป็น๑ ใน๔๔ตัวของอักษรไทย ผมว่าหลายท่านรู้จักกันดี และหลายท่านคงเคยตีฉิ่ง

 แต่ ฉิ่ง หรือลูกฉิ่ง ในเรื่องนี้เป็นต้นไม้ครับ เป็นไม้ในตระกูลมะเดื่อ เป็นไม้อีกต้นที่ผลอ่อนนำมาเป็นอาหารหลายคนทานแล้วชอบ

ทางใต้เรียก ลูกฉิ่ง ฉิ้ง ชิ้ง หรืออีกหลายๆชื่อ ตามสำเนียงท้องถิ่น เดื่อฉิ้ง ฉิ่ง และภาคอื่นๆ ชิ้งขาว จิ้งขาว ก็ตามแต่ละภาคแต่ละถิ่นจะเรียกกัน แต่ความหมายก็คือไม้ต้นนี้

สำหรับที่มาของชื่อ ฉิ่ง หรือลูกฉิ่ง ผมว่าน่าจะมาจากรูปทรงของผลที่ไปคล้ายกับฉิ่งที่เป็นเครื่องดนตรีชิ้นดังกล่าวนะครับ

 

มะเดื่อฉิ่ง หรือ FICUSFISTULOSA REINW อยู่ในวงศ์ MORACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus botryocarpa Miq.

ชื่อสามัญ Duea ching

ลูกฉิ่ง ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ คือ ผลอ่อนครับ รสชาติฝาดมัน สามารถปรุงอาหารได้ เช่น แกงกะทิ แกงพุงปลา(ไตปลา) รับประทานเป็นผักสด ทางภาคใต้เรียกผักเหนาะ ใช้จิ้มน้ำพริก กินกับแกงเผ็ด แกงส้ม แกงไตปลา กินกับขนมจีน ช่วยลดความจัดจ้านของอาหารบางเมนูได้ดี เป็นผักที่มีเส้นใยอาหารช่วยให้ระบบขับถ่ายของร่างกายดีขึ้น ให้คุณค่าเป็นแร่ธาตุ และเป็นผักที่ไม่มีสารพิษ

ส่วนในรายละเอียดอื่นๆ ท่านใดอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมค้นในกูเกิ้ลเอานะครับ

ประสบการณ์ปลูกลูกฉิ่ง ผมปลูกไว้ ๒ ต้น แต่ตอนนี้เหลือต้นเดียว ตามภาพด้านบน

 

ส่วนต้นนี้โค่นทิ้งไปแล้ว เพราะ๒สาเหตุคือ รสชาติไม่อร่อย กับต้องการใช้พื้นที่ปลูกไม้ต้นอื่นทดแทน

 

จะว่าไป ลูกฉิ่งถ้าต้นโตๆจะมีลูกเยอะ ออกมาแต่ละรุ่นภายในครอบครัวกินไม่หมดแน่ จึงมีบ่อยที่จะนำไปฝากคนโน้นคนนี้ให้ช่วยกิน

 

ฉิ่ง บางต้นกินไม่อร่อยครับ ไม่ชวนกิน ทำไมผมกล่าวอย่างนี้... จากฉิ่ง๒ต้นที่ผมปลูกปรากฏว่าต้นที่ตัดทิ้งไป ผลเนื้อแข็ง รสชาติไม่มัน ออกฝาดๆโทนสีเขียวเข้ม เหมือนกับว่าขาดน้ำอย่างนั้นแหละ ส่วนต้นที่ยังอยู่ ความฝาดไม่มี โทนสีเขียวอ่อน ผลนิ่มมาก น่ากินที่สุด

 

การขยายพันธุ์ ฉิ่งสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งการเพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง และเสียบยอด การตอนกิ่งเป็นวิธีที่นิยมที่สุด เพราะทำง่ายและฉิ่งก็ออกรากง่ายด้วย

ฉิ่ง นอกเหนือจากสีเขียวอ่อน สีเขียวเข้มแล้วนะครับ ยังมีอีกสีที่ผมเคยเห็นและรู้จัก คือ ” ฉิ่งแดง

 

ซึ่ง “ ฉิ่งแดง “ ในกระถางต้นนี้ มีน้องคนหนึ่งเอามาให้ แต่มันเป็นอดีตไปแล้วครับ เป็นไฟล์ภาพเมื่อปี๕๓... ตอนนั้นผมตั้งใจว่าให้ผ่านช่วงแล้งไปก่อนแล้วจะลงดิน แต่..ฉิ่งแดง ก็มาด่วนจากไปเสียก่อน น่าเสียดายจริงๆ

เล่าเรื่อง ฉิ่ง หรือลูกฉิ่งมาพอสมควร ท่านใดมีคำถาม หรือมีข้อมูล นำมาเพิ่มเติมได้นะครับ...อ้อ ก่อนจบ มีลูกฉิ่งมาฝากให้ชิมด้วยนะครับ เชิญหยิบได้คนละถุง แบ่งกันกิน พบกันใหม่บล็อกต่อไป สวัสดี.

ความเห็น

มาก่อนได้ก่อนครับเอาถุงแรกก็แล้วกันครับพี่เสิน

ถูกต้องเลยน้องปัน ใหม่ๆยังสด เพิ่งวางยังไม่เหี่ยว เชิญครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ลูกฉิ่งหรือแถวบ้านเรียกลูกมะเดี่อค่ะTongue Outจิ้มนำ้พริกอาร่อยม้ากSmile

อ้อ..ครับ หยิบไปถุงนึง น้ำพริกไปทำเองนะครับ

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ลูกดกมาก ๆเลยค่ะ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

น้องแดงมีต้นแล้วยัง

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ฉิ่งแดงสวยมากมายเลยค่ะ หามาใหม่ให้ได้นะพี่เสิน...

ครับ จะหาให้ได้

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

กินกะได้ ทำเป็นไม้ประดับกะสวย  มีมะเดือบ้านแล้วมะเดื่อฝรั่งละอยู่ไหนพี่เสิน

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

มะเดื่อฝรั่งอยู่ในท่อ...ใจเย็นๆ เดี๋ยวก็มาเองแหละครับ อิอิ... 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

หน้า