กุ้งก้ามแดง สัตว์น้ำมาแรง อีกตัว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

กุ้งก้ามแดง

สวัสดีครับพี่น้องสมาชิกบ้านสวนพอเพียง ทุกท่าน 

ผมหายไปนานเพราะไปหาสิ่งใหม่ๆในชีวิต มาเล่าสู่พี่น้องอ่านกันครับ สิ่งใหม่ที่ผมได้พบเจอมาก็คือ กุ้งก้ามแดง หรือเครฟิช ที่คนในวงการสัตว์น้ำหลายคนรู้จักกันครับ 

Image

เกษตรกรจับกุ้งมาคัดขนาดเตรียมจำหน่ายและใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ครับครับ

Image

สัมภาษณ์เกษตรกรคนเก่งเจ้าของฟาร์มกุ้งครับ

Image

บ่อปูนใช้เพาะพันธุ์และอนุบาลลูกกุ้งครับ

Image

น้องคนเก่งที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือเครฟิช คนแรกในอำเภอครับ

Image

บ่อที่ใช้เลี้ยงขุนให้ได้กุ้งขนาดตลาดครับ

Image

ลูกกุ้งขนาด1-2 นิ้ว พร้อมลงบ่อดินเพื่ออนุบาลหรือขุนให้โตครับ เลี้ยง2-3 เดือนก็จับขายได้แล้ว

Image

บ่อปูนขนาด 80 เซนติเมตรใช้ในการจับคู่ผสมพันธุ์ ใช้ตัวผู้ 2 ตัว ตัวเมีย 3 ตัว อายุ 3-4 เดือนขนาด 4-5 นิ้ว 

Image

หน้าตา พ่อแม่พันธุ์กุ้งครับ ขนาดนี้ให้ลูกกุ้งได้ 300-500 ตัว

กุ้งก้ามแดงเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคก็ได้ เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามก็ดี มีราคาสูง สนใจหาข้อมูลได้ครับในกูเกิล หรือ

www.youtube.com/watch?v=GVZc5bCpYRw

 

 

 

ความเห็น

ผมคงแค่ให้ข้อมูลเพิ่มอีกด้านล่ะกันครับ ระวังพืชและสัตว์ต่างถิ่น (alien species) บางอย่างอาจไม่เหมาะกับประเทศไทย (แค่ย้ำว่า อาจจะนะครับ ผมยังคิดว่าหน่วยงานด้านเกษตร-ประมง น่าจะมีคำแนะนำเชิงรุกมากกว่านี้ -แต่ก็อาจจะทัดทานกับผลประโยชน์ลำบาก) ถ้าเป็นพืชที่เคยมีปัญหาก็เช่น ไมยราบยักษ์ ผักตบชวา ธูปฤาษี ฯลฯ ถ้าเป็นสัตว์ก็น่าจะเป็นหอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ ฯลฯ

ความเห็นส่วนตัว ถ้าควบคุมเลี้ยงในแหล่งปิด (เพื่อทดลองหรือการค้า) ก็น่าจะทำได้ครับ ขอให้ทำแบบรับผิดชอบและศึกษาเพิ่มเติมอีกครับ พืชและสัตว์บางชนิดก็เหมาะและเปิดโอกาสให้เราได้พัฒนาเศรษฐกิจเช่นกันครับ เช่น อินทผลัม กวางบางชนิด ฯลฯ 

หมายเหตุ ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นให้ระวัง นาข้าว กุ้งฝอย หรือหอยขมท้องถิ่นที่จะเป็นอาหารของกุ้งชนิดนี้ ฯลฯ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ครับผมนึกถึงข้อนี้เหมือนกันครับ ขอบคุณมากครับสำหรับแง่คิดนี้ 

ลุงนุเคยสนใจอยู่พักใหญ่ ลงทุนเดินทางนั่งเครื่องต่อรถ ไป-กลับ เพื่อไปอบรม แต่ตอนนี้ยังคงเป็น Project ที่พับเก็บไว้ smiley

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

มีข้อมูลจาก สอง ด้าน ทั้งบวก และลบ ที่ต้องใช้วิจารณญาณในการชมครับ ด้านนึง เกษตรกรตาดำๆที่ดิ้นรนหา เลี้ยงครอบครัวด้วยทางเลือกใหม่ๆที่มีคนหยิบยื่นให้ และหลายคนก็ไปได้ดี กับอีกด้านคือนักวิชาการ ที่เป็นห่วงเรื่องความสมดุลของระบบนิเวศดั้งเดิม และพืชผลทางการเกษตรที่อาจจะถูกทำลายจากกุ้งตัวนี้  ไม่แปลกเลยที่ งานวิจัย ตั้งแต่ ปี 2548 ถูกตั้งไว้บนหิ้ง และขาดการต่อยอด แต่จะมีอะไรมากกว่านั้นรึไม่ผมก็ไม่อาจทราบได้ ต้องติดตามตอนต่อไป

แต่ผมเองในฐานะนักส่งเสริมการเกษตรคนนึง ด้วยส่วนตัวและด้วยหน้าที่ มองทุกอย่างล้วนดีครับผม

แปะไว้ก่อง น่าสนใจดีครับ

"what a wonderful world"

อยากลองดูเหมือนกันครับรสชาดจะดีแค่ไหน

เคยเห็นแต่เลี้ยงเพื่อความสวยงาม ถ้ากินรสชาดเป็นยังไงคะ...

หน้า