เรื่องเล่านาข้าวญี่ปุ่น

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เพื่อนนิสัยเป็นญี่ปุ่นแล้ว ต้องอธิบายตามป้าย

สวัสดีเพื่อนสมาชิกบ้านสวนพอเพียงทุกท่าน ผมมีโอกาสไปเดินเล่นที่ญี่ปุ่นและได้เจอเพื่อนเก่าที่เรียนกันมา (ไม่เจอกัน 20 ปีตั้งแต่เรียนจบ ตอนมาเมืองไทยนัดกินเลี้ยงก็คลาดกัน) เพื่อนได้ภรรยาเป็นคนญี่ปุ่นและมาใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นได้ 20 ปีแล้ว (สอบได้ CCNA -ใบรับรองด้านการจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ Cisso/Microsoft แต่กลับได้ทำงาน CNC -เครื่องจักรกัดชิ้นงาน เพื่อนบอกว่าตอนนั้นเข้าใจผิดว่ามันใกล้เคียงกัน เลยบอกบริษัทว่าทำได้ 55) เพื่อนอาศัยอยู่ที่ไซตามะ (ใกล้ ๆ โตเกียว นั่งรถไฟ 30 นาทีก็ถึง) เลยถือโอกาสนั่งรถไฟไปหา เพื่อนก็ดีใจหลังจากนั่งคุยสักพัก ก็ชวนไปปั่นจักรยานดูทุ่งนารอบ ๆ เมืองไซตามะ และนี่คือเรื่องเล่าจากเพื่อนเกี่ยวกับข้าวในญี่ปุ่นของคนไทยที่อาศัยญี่ปุ่นประมาณ 20 ปีครับ ผมก็เลยนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ลุยทุ่งนาญี่ปุ่น

แม่ลูก

ประเทศญี่ปุ่น (แต่ละประเทศย่อมมีบริบทต่างกัน ดังนั้นสิ่งที่ได้รับฟังจากเพื่อนคือวิธีที่ประเทศญี่ปุ่นเลือกใช้มิได้หมายความว่าจะต้องนำมาใช้กับประเทศไทย) มีแนวคิดหรืออุดมการณ์และการปฏิบัติจริงทางด้านข้าวเท่าที่ได้รับฟังมาคือ ข้าวญี่ปุ่นปลูกในประเทศไม่พอเพียงการบริโภค พื้นที่ปลูกข้าวน้อย คนญี่ปุ่นที่ทำนาก็มีจำนวนน้อยลง แต่ประเทศญี่ปุ่นหรือรัฐบาลต้องการให้มีความมั่นคงทางอาหาร ชาวนาต้องอยู่ได้ดังนั้นจึงอุดหนุนให้เงินช่วยเกษตรกร รวมทั้งตั้งกำแพงภาษีข้าวจากต่างประเทศสูงมาก (ค้นดูในอินเตอร์เน็นมีคนเขียนไว้ว่า 777% เปรียบแหมือนบ้านเราตั้งกำแพงภาษีรถสปอร์ตจากต่างประเทศ 300% น่าจะได้ครับ)

แก้มลิงเอกชนเช่าทำสนามกอล์ฟครับ  

ที่เห็นนี้เป็นแก้มลิงข้างแม่น้ำนะครับ รัฐบาลให้เช่า

ทางสาธารณะ ใช้ออกทำลังกายปั่นจักรยาน มีสนามฟุตบอล สนามเด็กเล่น ฯลฯ

นาข้าวญี่ปุ่น ที่เห็นใช้รถปักดำทุกแปลง

เนื่องจากญี่ปุ่นมีพื้นที่ทำนาได้น้อย (ชาวนาที่รวยคือมีพื้นที่ทำนาของตนเอง ส่วนชาวนาที่เช่าที่จากรัฐบาลก็คงพออยู่ได้ครับ) พื้นที่ทำนาจากในรูป จริง ๆ แล้วคือ แก้มลิง ญี่ปุ่นจะกันพื้นที่ด้านข้างของแม่น้ำหลักทั้งสองฝั่ง อาจจะประมาณ 200 - 1 กม. ทำเป็นแก้มลิงเพื่อป้องกันน้ำหลาก น้ำป่า หรือน้ำท่วม (เอ๊ะหรือน้ำรอการระบาย 555 เพื่อนอยู่มา 20 ปี บอกว่าเห็นน้ำล้นมา 2 ครั้ง นี่ขนาดเขาทำขนาดนี้นะครับ) ทำเป็นพื้นที่สาธารณะ ทางรถจักรยาน อาจให้เช่าทำนา ทำสนามให้เด็กเล่น หรือแม้กระทั่งสนามกอล์ฟ (ไม่มีการบุกรุกสร้างตึกสร้างบ้าน ที่เห็นอาจจะเป็นคนไร้บ้านมาสร้างที่อยู่ชั่วคราว เพื่อนบอกคนญี่ปุ่นเรียกว่า พวกแพ้สังคม)  การทำนาคนญี่ปุ่นก็ใช้เครื่องจักรช่วยปักดำ (ถ้าดู Blog พี่อ้อยหวานน่าจะเคยเห็นรถปักดำข้าวครับ) ดูแล้วปลูกเป็นระเบียบดีจัง ระยะปลูกห่างกันประมาณ 2 ซองบุหรี่ คงจะประมาณ 15 ซม. ระยะแถวบางทีก็ 15 ซม.บางทีก็เห็น 30 ซม. ไม่แน่ใจว่าคนละพันธุ์กันหรือเปล่า ผมก็ดูไม่ออกเสียด้วย ระบบชลประทานเข้าถึงแปลงนาได้เลย ที่เห็นคือมีเครื่องสูบน้ำและทางน้ำไหลผ่านแปลงนาทุกแปลง ชาวนาสามารถขายข้าวให้รัฐบาลจะเรียกว่าจำนำข้าวหรือประกันราคาข้าวก็แล้วแต่ สำหรับแหล่งปลูกข้าวที่มีชื่อเสียงก็สามารถผลิตข้าวขายได้ด้วยตนเอง (คงจะเป็นแบบวิสาหกิจชุมชน) คนญี่ปุ่นชอบกินข้าวใหม่ ดังนั้นความชื้นคงไม่ค่อยมีผลกับราคาเท่าไรชาวบ้านสามารถไปซื้อข้าวสารถุงหรือจะซื้อข้าวเปลือกที่ห้างสรรพสินค้าและใช้เครื่องสีข้าวสีออกมาได้เลย (ลืมถ่ายรูปตอนที่ไปที่เมืองนิกโก้ก็เห็นอยู่ เพื่อน ๆ อาจจะเคยเห็นในอินเตอร์เน็ตแล้วเหมือนกันครับ)

รถปักดำทุกแปลง

ทางส่งน้ำเข้านาทุกแปลง

เครื่องสูบน้ำ เหมือนเป็นสาธารณะของหมู่บ้าน

รูปรถดำนาญี่ปุ่นจาก Blog พี่อ้อยหวาน

เครื่องสีข้าวหยอดเหรียญ (รูปจากอินเตอร์เน็ต)

ก่อนกลับก็ได้รับการเลี้ยงจากเจ้าบ้านพาไปกินอาหารแบบคันไซ OKONOMIYAKI (โอะโคะโนะมิยากิ) หรือบ้านเราเรียกพิซซ่าญี่ปุ่น ก็ทำเอง(หรือจะเรียกเขามาทำให้ก็ได้) อร่อยแบบญี่ปุ่นดีครับ

เจ้าบ้านพามากิน OKONOMIYAKI

ครับก็ขอเล่า (เรื่องเกี่ยวกับเกษตร) ในสิ่งที่ได้ไปพบเห็นที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ถ้าชอบอ่านแบบท่องเที่ยวต้อง Blog อ้อยหวานล่ะครับ 555 (ผมแฟน Blog อ้อยหวานนะคร้าบ) สวัสดีครับ

เพื่อนกันตลอดไป

ความเห็น

ได้เที่ยวญี่ปุ๋น ดีใจแทนชาวนาบ้านเขาจัง บ้านเราทำมัยมีแต่คนไม่อยากทำนา ปัจจัยในการทำนาบ้านเราอะรัยก้แพง 

ก็ใช้ชีวิตปรกตินี่แหละครับ หากมีเวลาก็ไปพักผ่อนบ้าง (ทั้งในและต่างประเทศแล้วแต่โอกาสหรือความอยากครับ) ที่ญี่ปุ่นคนทำนาก็น้อยลงครับ แต่รัฐบาลเห็นว่าจะไม่มีความมั่นคงทางอาหาร จึงอุดหนุนหลาย ๆ อย่างครับ ที่ญี่ปุ่นก็จัดว่าแพงครับแต่ราคาที่เขาลงไปแล้วได้คำว่าคุณภาพกลับคืนมาครับ (ไม่ได้หว่านเงินทิ้งไปเปล่า ๆ)

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ชาวนาญี่ปุ่น รัฐบาลเค้าโอบอุ้ม คุ้มครอง รักษา หวงแหน และให้คุณค่ามาก ผิดกับบ้านเรามากขอให้ท่องเที่ยวชื่นชมธรรมชาติอย่างมีความสุขกับวันพักผ่อนนะคะ^^

ความสุข..อยู่ที่ใจ

ผมว่าถ้ามีแนวคิดและอุดมการณ์ที่มั่นคง จากนั้นมุ่งมั่นปฏิบัติจริงก็จะเกิดผลครับ ถ้าเอาระดับปฏิบัติการคือตัวเราเอง สำหรับผมยืนยันจะทำเกษตรอินทรีย์ผมก็พยายามนำมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ส่วนระดับประเทศที่เรียกว่านโยบาย (มีผลต่อประเทศ) ถ้ามันมั่วเปลี่ยนไปตามคน ตามรัฐบาล ก็จะไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ครับ -ความเห็นส่วนตัว 

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ดีใจด้วยค่ะ ได้ชมทุ่งนาเขียวๆ แต่เป็นที่ญี่ปุ่น ได้พบเพื่อนเก่าด้วย .... ปั่นจักรยาน กัน สนุกดี ... ความรักความหวงแหน ในที่ดินนี้ เราต้องปลูกฝัง ทางเมืองไทยกันอีกนาน ค่ะ แต่กลุ่มบ้านสวนพอเพียง ของพวกเรา นี่ เป็นกลุ่มหนึ่งละ ที่เข้าใจแล้ว คงต้องให้รัฐ ให้แนวคิด เยาวชน รุ่น ใหม่ และต้องเป็นการติวเข้ม กันด้วย ละ .... ขอบคุณ ภาพสวยๆ ค่ะ

ครับ ดีใจที่พบเพื่อนเก่า สำหรับบ้านสวนพอเพียงก็เป็นกลุ่มสำหรับผู้สนใจด้านเกษตรกลุ่มหนึ่งที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านเกษตรเป็นอย่างดีครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

นั่งๆ อยู่ก็รู้สึกถึงแรงกระแทก เหมือนมีคนพูดถึง ใช่เลยน้อง อ้อยหวานพาเที่ยวตลอด หาไปหน่อยนึงมีไกด์นำเที่ยวคนใหม่เสียแล้ว ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สวยงาม ทั้งทัศนียภาพ ประเพณีและวัฒนธรรม ผู้คนของเขาก็ดี้ดี โชคดีนะค่ะที่มีเพื่อนอยู่ที่นั่น ได้รู้ได้เห็นในเชิงลึก ไม่ผาดเผิน ชอบค่ะ!!!! ให้เต็มสิบเลย

แหะ ๆ แซวนิดแซวหน่อยนะครับพี่อ้อยหวาน

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

ขอบคุณค่ะ ได้อ่านแล้ว ได้ดูท้องนา ที่ต่างจากบ้านเรา สวย มีระบบ ตามแบบญี่ปุ่น 

ครับ ได้เห็นชัดเจนว่าความเป็นระบบระเบียบแบบแผนญี่ปุ่นนี่เป็นอย่างไร

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข