ดอกไม้รอบบ้าน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เอารูปดอกไม้รอบๆ  บ้านมาให้ดูกัน  พวกผักเดี่ยววันหลังเอามาให้ดูเนื่องจากถ่ายรูปแล้วแต่ไม่ได้เอาสายมา เลยลงรูปไม่ได้  ดอกไม้นี้ถ่ายเมื่อ หลายๆ เดือนสะสมมาเรื่อยๆ 

ดอกแรกนี้เลย ประมาณว่าสวยดีเลยซื้อมา  แต่จำซื้อไม่ได้แล้ว

ดอกสีส้มนี้เป็นกล้วยไม้ ป่า ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเรียก เข็มแสด ไปเที่ยวประจวบแล้วได้มา

ส่วนอันนี้ สะสมมาที่ละนิดที่ละหน่อย ก็เลย ได้ประมาณนี้ 

ชวนชม

นี้ก็อีกสี

 

อันนี้แบบดั้งเดิม

กล้วยไม้ออกดอกนิดหน่อย

เข็มแสดอีกต้นอันนี้ดอกใกล้โรยละ

อันนี้เป็นดอกไม้รอบๆ บ้านเดี่ยววันหลังจะเอารูปต้นไม้ที่เพาะไว้มาให้ดูบ้างว่าเป็นอย่างไร

ความเห็น

ภาพแรก ไฮเดรนเยีย

ภาพถัดจากชวนชม เป็น ลั่นทม ครับ

กล้วยไม้สีขาว คือ ฟาแลนนอบซิส

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


ดอกแรกนี้ปลูกนานมากๆๆ เลยค่ะถึงได้เห็นดอกแบบนี้  นานจนลืมชื่อ

ประมาณว่า ดอกไม้  2 ชนิดเนี้ยค่ะจำ สลับกันอยู่เรื่อยเลย  ห้าตาคล้ายๆ กัน เป็นประเภท ปลูกอย่างเดี่ยวเห็นสวยก็ ซื้อบ้างขอบ้าง เอามาปลูกไว้สะสมไว้ที่ละนิดล่ะหน่อย  แต่ไม่ค่อยจำชื่อ  ตั้งใจจำยังลืมเลย

เมื่อก่อนผมก็ไม่จำชื่อ ชอบก็ซื้อมาปลูก แล้วก็ลืมชื่อทุกที แต่พอนานๆ ไป ก็จำได้เองครับ มาอยู่บ้านนี้รับรองว่าจะรู้จักต้นไม้ขึ้นอีกมากมาย

ที่ระบุชื่อได้ก็เพราะดอกไม้ของคุณรัชนี เคยผ่านมือผมมาแล้วครับ ถูกบังคับให้เป็นคนสวน คอยปลูกคอยดูแล

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


ต้นไม้บางต้นยังไม่เคยเห็นเลย พอมาอยู่บ้านนี้เห็น เยอะรู้เยอะมากๆ

นีนะคะ พี่กระต่ายดำ

สวยมากค่ะ ดอกแรกไม่เคยเห็นค่ะ สวยมากเลย

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

ดอกแรกเนี้ย ใช้เวลาในการออกดอกนานมาก คิดว่า เวลาอยู่กะเราไม่เห็นมีดอกเลย  น่าจะเกิน ปี ถึงออกดอกนะคะ ออกดอกมาแล้วสมกับที่ตั้งใจรอ 

เขาว่าสีที่แตกต่างกันของไฮเดรนเยีย เกิดจากความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ปลูก เท็จจริงอย่างไรคงต้องลองหาความรู้เพิ่มเติมอีกที

ข้อมูลเพิ่มเติม

ไฮเดรนเยีย (Hydrangea)

ความท้าทายของคนปลูกไฮเดรนเยียอย่างหนึ่งก็คือการควบคุมให้ดอกเปลี่ยนสีไปตามที่ต้องการ ระหว่างสีฟ้า ม่วง ชมพู หรือแดง โดยการเปลี่ยนสภาพดินปลูกให้เป็นกรดหรือด่าง คือถ้ามีค่าพีเอช น้อยกว่า 5.5 (เป็นกรด) ไฮเดรนเยียจะให้ดอกสีฟ้าหรือม่วง แต่ถ้ามีค่าพีเอชสูงกว่า 5.8 (เป็นด่าง) ดอกไฮเดรนเยียก็จะกลายเป็นสีชมพู หรือแดง

อ่านตำราภาษาไทยดูแล้วเหมือนง่าย คือถ้าอยากได้ดอกสีฟ้าก็เอาตะปูเป็นสนิมฝังใต้โคน หรือรดน้ำแกว่งสารส้ม ฯลฯ หากอยากได้สีชมพูก็ขุดตะปูออก สีก็จะคืนกลับไปเป็นสีชมพูเหมือนเดิม...

ตำราฝรั่งซับซ้อนกว่านั้น คือบอกว่า อยากได้ไฮเดรนเยียสีชมพู ให้ใส่หินปูนโดโลไมท์ (Dolomite Lime สำหรับปรับพีเอชของดินโดยเฉพาะ) ปีละสองสามครั้ง จะทำให้ค่าพีเอชสูงประมาณ 6.0-6.2 หรือจะให้ปุ๋ยเคมีตัวกลางสูง (ฟอสฟอรัส) อย่าง 25-10-10 ก็ช่วยเหมือนกัน และถ้าจะเปลี่ยนกลับเป็นสีฟ้า ก็ให้รดน้ำผสมอลูมิเนียมซัลเฟท (น้ำแกว่งสารส้ม) หรือจะผสมปุ๋ยคอกสด อย่างกากกาแฟ เปลือกผักผลไม้ หรือหญ้าจากสนามก็ช่วย และหมากสุดท้ายคือใส่ปุ๋ยตัวกลางต่ำ อย่าง 25-5-30

จริงๆ แล้วการเปลี่ยนไฮเดรนเยียให้สีได้อย่างใจนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด ส่วนใหญ่สีจะเปลี่ยนแค่เล็กน้อย หรือไม่ก็ได้สีแบบซีดๆ จืดๆ เพราะค่าพีเอชในดินไม่ลงล็อกที่มันต้องการ... อีกทั้งยังมี “ข้อแม้” เรื่องดินฟ้าอากาศ อุณหภูมิเข้ามาประกอบด้วย

เคล็ดลับคือไฮเดรนเยียในกระถาง จะเปลี่ยนสีได้ง่ายกว่าไฮเดรนเยียที่ปลูกลงดิน หรือถ้าลงดิน ต้นเล็กจะเปลี่ยนสีได้ง่ายกว่าต้นใหญ่...

ส่วนไฮเดรนเยียสีขาวนั้น สีดอกจะไม่เปลี่ยนตามค่าพีเอชของดิน ขาวแล้วขาวเลย...หากอยากเล่นเกมกิ้งก่าเปลี่ยนสีกับไฮเดรนเยีย ต้องซื้อสีอื่นมาเล่นครับ

ข้อมูลจาก http://www.thaitownusa.com/New-0806000126-1.aspx

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


ขอบคุณสำหรับข้อมูลเดี่ยวต้อง ลอง ทำให้มันเปลี่ยนสีแต่ต้องรออีก

โห พี่กระต่ายดำเนี่ยข้อมูลแน่นจริงๆเลยครับ ขอบคุณครับสำหรับความรู้ที่นำมาฝากครับ

หน้า