นวัตกรรมสารเร่งพด.7 ลดปัญหาแมลงในไร่นา

หมวดหมู่ของบล็อก: 

นวัตกรรมสารเร่งพด.7 ลดปัญหาแมลงในไร่นา (รายงานพิเศษ)

..........................ในช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรไทยต้องประสบปัญหานานา ประการ ทั้งปัญหาขาดแคลนน้ำ และแมลงศัตรูพืชระบาด โดยในส่วนของปัญหาศัตรูพืชนั้นดูเหมือนว่านับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น สังเกตได้จากการแพร่ระบาดที่ขยายวงกว้างและรวดเร็ว สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรในปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นเพลี้ยแป้งทำลายไร่มันสำปะหลังหรือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายนา ข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องระดมกำลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการ แก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวอย่างเต็มกำลัง เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ หนึ่งในแนวทางที่กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมพัฒนาที่ดิน ได้ดำเนินการคือการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ในการป้องกันแมลงศัตรูพืช เพื่อหวังผลในระยะยาว

                         นาย ธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่แมลงศัตรูพืชระบาดทำลายผลผลิตทางการเกษตรเช่นนี้ ประกอบกับราคาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีราคาสูง กรมฯ จึงมีความเห็นว่าการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสารอินทรีย์ไว้ป้องกันแมลงศัตรู พืชเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรได้ด้วย

                         โดยกรม พัฒนาที่ดิน ได้คิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านนี้ไว้เรียบ ร้อยแล้ว คือ สารเร่ง พด.7 เพื่อใช้ผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืช โดยนำมาใช้ร่วมกับพืชสมุนไพร สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของพืชสมุนไพรป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ดี ยิ่งขึ้น โดยสารเร่ง พด.7 ประกอบด้วยจุลินทรีย์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อนำมาผสมกับพืชสมุนไพรจะสามารถออกฤทธิ์ในการ ป้องกันแมลงศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี เช่น เพลี้ย หนอนเจาะผลและลำต้น หนอนกระทู้ เป็นต้น

                         สำหรับ พืชสมุนไพรที่สามารถใช้ป้องกันโรคแมลงได้นั้นมีหลายชนิด เช่น ตะไคร้หอม หางไหล สาบเสือ หนอนตายหยาก บอระเพ็ด ข่า ฟ้าทะลายโจร สะเดา เมล็ดน้อยหน่า ยาสูบ พริกไทย มะกรูด เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นพืชสมุนไพรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เกษตรกรสามารถปลูกไว้ใช้ได้เอง ไม่ต้องไปซื้อหา และวิธีการผลิตก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่นำพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ มาสับใส่ถังหมัก และใส่กากน้ำตาลผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 และละลายสารเร่ง พด.7 จำนวน 1 ซอง ในน้ำ 50 ลิตร เทลงในถังหมักคลุกเคล้าให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน ปิดฝาไม่ต้องสนิท ใช้ระยะเวลาในการหมักประมาณ 20 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

                         อธิบดี กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้สารอินทรีย์ในการป้องกันแมลงศัตรูพืชมา ได้ระยะหนึ่ง พบว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ของพด.ในระดับหนึ่ง เพราะสามารถขับไล่แมลงศัตรูพืชไม่ให้มาทำลายผลผลิตได้ แต่ก็ไม่สามารถช่วยได้ 100% ยังคงต้องใช้สารเคมีร่วมด้วย

                         ใน เรื่องนี้กรมฯ ก็ยอมรับว่าสารอินทรีย์ชีวภาพเป็นตัวช่วยในการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรใน ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ในระยะยาวเชื่อมั่นว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตที่พึ่งพาสารเคมีทางการ เกษตรเต็มร้อยอย่างที่ผ่านมานั้น จะค่อยๆ ลดลงมาใช้สารอินทรีย์ทดแทนหรือไปสู่เกษตรอินทรีย์ได้ในที่สุด เนื่องจากทุกวันนี้เกษตรกรเริ่มตระหนักว่าการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องส่งผล ต่อสุขภาพของเกษตรกรเอง และยังส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในดินในพืชผลและจุลินทรีย์หรือแมลงที่เป็น ประโยชน์ต่อพืชก็ตายหมด ทำให้ดินเสื่อมโทรมเพาะปลูกได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร เกษตรกรจะหวนกลับมาคืนสู่วิถีธรรมชาติอีกครั้ง แล้ววันนั้นระบบนิเวศน์ก็จะฟื้นตัว คุณภาพชีวิตเกษตรกรจะดีขึ้น ผู้บริโภคก็ปลอดภัย ที่สำคัญทรัพยากรดินจะกลับมาอุดมสมบูรณ์สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน

                         ด้าน นายหาร ผิวแก้วดี เกษตรกรผู้ปลูกผักกินใบ ในจังหวัดนครปฐม ผู้ที่หวนคืนสู่วิถีการผลิตสินค้าเกษตรที่หันมาพึ่งพาสารอินทรีย์ทดแทนสาร เคมี ได้เล่าถึงความเปลี่ยนไปในชีวิตว่า แต่ก่อนก็ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชมาตลอด แต่เมื่อได้รับการถ่ายทอดความรู้จากการเป็นหมอดินอาสาประจำตำบลห้วยพระ ของสถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม ก็ได้ทราบถึงข้อดีของการใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยต่อตัวเองและผู้บริโภค และที่สำคัญยังช่วยฟื้นฟูทรัพยากรดินที่ผ่านการใช้สารเคมีมาอย่างยาวนานได้ เป็นอย่างดี

                         ตน ปลูกพืชกินใบ ได้แก่ ผักกวางตุ้ง กุยช่าย คะน้า จะต้องคอยฉีดยากำจัดแมลงศัตรูพืชตลอด ซึ่งนับวันราคาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะแพงขึ้นทุกที จึงหันมาทำสารอินทรีย์ไว้ใช้เอง ซึ่งวิธีก็ง่ายมากเพียงหาพืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการขับไล่แมลง มาสับและหมักตามสูตรของกรมพัฒนาที่ดิน โดยกรมฯ จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.7 ให้ฟรี เมื่อหมักเสร็จก็สามารถนำไปใช้ได้โดยการนำน้ำหมักที่ได้ไปผสมกับน้ำในอัตรา สารป้องกันแมลงศัตรูพืช 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น และรดลงดินทุก 20 วัน หรือในช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชระบาดให้ฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง ซึ่งไม่ได้ใช้แรงงานอะไรเลยเพราะผสมกับน้ำและฉีดพ่นไปตามสปริงเกอร์ได้เลย

                        "อยาก ฝากถึงเกษตรกรที่ยังใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ให้ลองหันมาผลิตและใช้สารอินทรีย์ร่วมด้วย เพราะจะช่วยลดต้นทุนได้มากทีเดียว อีกอย่างจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเกษตรกรเองในระยะยาวที่ไม่ต้องสัมผัสกับสาร เคมีแบบเต็มๆ เหมือนที่ผ่านมา ที่สำคัญสารอินทรีย์จะช่วยฟื้นฟูปรับสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นด้วย ผลผลิตจะได้ดีขึ้น" หมอดินหาร ฝากแง่คิดมายังเพื่อนเกษตรกร

                         หาก ท่านใดสนใจวิธีการผลิตสารป้องกันแมลงศัตรูพืชสูตรกรมพัฒนาที่ดิน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ และที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หรือหมอดินอาสาใกล้บ้าน

ที่มา  http://www.naewna.com/news.asp?ID=220191

ความเห็น

ขอบคุณค่ะ

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

ที่บ้านมีบอระเพ็ด เยอะแยะเลย

จะได้ทำน้ำหมัก ไล่แมลงดู

มีสูตรแนะนำด้วยไหมค่ะ