ที่นี่ประเทศไทย
หมวดหมู่ของบล็อก:
ได้มีโอกาสไปเที่ยวศรีสะเกษ เลยเก็บข้อมูลมาฝากค่ะ
หลวงพ่อมุม อินทปญโญ วัดปราสาทเยอร์ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
ปราสาทเยอเหนือ อำเภอ
ไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ศรีสะเกษแดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีส่วนสมเด็จ เขตดงลำดวนหลากล้วนวัฒนธรรม"
ท่านเคยได้มาศรีสะเกษไหม เคยลอดสะพานดำรถไฟไหมสะพานนี้มีตำนานเก่าแก่ว่าผู้ใดนั่งรถไฟเข้ามาศรีสะเกษผ่านสะพานดำแล้วจะได้พบเนื้อคู่ที่นี่ ไม่ได้กลับไปตั้งรกรากที่อื่น
บางคนกลัวไม่อยากอยู่ก็ไปแก้เคล็ด ไม่ใช่แก้เคล็ดขัดยอกนะ อันนี้แก้เพื่อไม่ให้อยู่ศรีสะเกษต่างหากละ..... เพื่อนๆเคยได้ยินชนเผ่าเก่าแก่ชนเผ่าหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษไหม ชนเผ่านั้นคือ "คนเผ่าเยอ"
จังหวัดศรีสะเกษเป็นจังหวัดหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากจังหวัดอื่นคือ เป็นดินแดนของหลายเผ่า ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอีสาน มีพื่้นที่ประมาณ 8,800,000 ตารางกิโลเมตร ห่่างจากกรุงเทพ 515 กิโลเมตร
(โดยทางรถไฟ) แบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอ มีประชากรประมาณ 1 ล้่านกว่าคน และจังหวัดศรีสะเกษ เป็นปัจจันตเขต มีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเขมร และอยู่ใกล้กับประเทศลาว
สองประเทศนี้เปรียบเหมือนเมืองพี่เมืองน้อง เพราะมีวัฒนธรรมทางภาษาคล้ายคลึงกันกับคนไทยที่อยู่ทางภาคอีสานเรา และไปมาค้าขายติดต่อกันเป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้จังหวัดศรีสะเกษ มีคนหลายเผ่า..
ได้แก่ ชนเผ่าลาว เผ่าเขมร เผ่าส่วย และสุดท้าย "เผ่าเยอ" (ที่จะพูดถึงในเนื้อหาต่อไป)+++++
ซึ่งแต่ละเผ่ามีลักษณะวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีความสัมพันธ์อย่างกลมกลืน โดยเฉพาะกลุ่มชนคนเผ่าเยอ"บ้านโพนค้อ"
++++ต.โพนค้อ อ.เมือง.ศรีสะเกษ มีทั้งหมด 6 หมู่บ้าน มีประชากรเกือบ 3,000 คน ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 ถนนสายศรีสะเกษ-กันทรลักษ์
ชุมชนคน"เผ่าเยอ" ตั้งมาแต่ใดไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน แต่พอมีเอกสารพอที่จะอ้างอิงได้คือ เอกสารการจัดตั้งวัดของจังหวัดศรีสะเกษตามเอกสารวัดบ้านโพนค้อ ได้รับพระราชทาน"วิสุงคามสีมา"
ลงวันที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2266 แสดงว่า +++หมู่บ้านตั้งมาก่อน พ.ศ.2266 +++
+++กลุ่มคนชนเผ่าเยอ+++ เป็นคนกลุ่มน้อย ถิ่นเดิมของชนเผ่านี้ มีถิ่นฐานเดิมกระจัดกระจายอยู่สองฟากฝั่งของแม่น้ำโขง ทางตอนใต้ของประเทศลาว แถบเมืองอัตปือ แสนปางสาละวัน และจำปาศักดิ์
มี"คนเยอ" อีกส่วนหนึ่งซึ่งอยู่โขงเขตหลวงพระบาง
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ตามหลักฐานกฏมณเฑียรบาล (พศ.1991) กรมพระยาดำรงราขานุภาพ กล่าวถึงกลุ่มชนคน"เผ่าเยอ" เมืองจามปาหรือจำปา ตามข้อมูลหลักฐานว่าเป็นเมืองจำปาศักดิ์หรือ
นครจำปาศักดิ์ ตามข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ดังที่กล่าวมา พอจะประมวลได้ว่า กลุ่มชนคนเผ่าเยอกลุ่มนี้อพยพเข้ามายังประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา
+++สาเหตุอาจสันนิษฐานได้ 2 นัยยะ
นัยยะที่1 ประเทศลาวเกิดสงครามภายในประเทศ อพยพภัยสงคราม
นัยยะที่ 2 เกิดทุพภิกขภัย มีความเป็นอยู่แร้นแค้น และเป็นชนกลุ่มน้อย รัฐเลยไม่เคยช่วยเหลือ หรือเกิดจากการไม่ส่งส่วยทุกปีกลัวจะมีโทษทัณฑ์ จึงชวนกันพร้อมหน้ามาพึ่งไทย อพยพหลบภัย
มาตามลำน้ำโขง เข้ามายังฝั่งไทยโดยมี(ตามรอยคนเผ่า) คนเผ่าเยอได้ล่องเรือ+++ "ท้าวกะตะศิลา"+++ (หมายเหตุอาจจะเป็นญาติกับคุณสุริยใส กะตะศิลา แกนนำพันธมิตร อันนี้เดาเอาครับ)
และพระยาไกร(น้องชาย) เป็นหัวหน้าล่องเรือมาถึงปากแม่น้ำมูล แล้วแยกย้ายกันไป +++พระยาไกร+++ ล่องเรือไปในสายธารแห่งห้วยสำราญ พบที่ฐานที่น่าอยู่รวมหมู่เหล่าเข้าสู่แดนทางตะวันออกแห่งเมือง
ศรีสะเกษ (นครศรีลำดวน = ขุขันธ์) สร้างบ้าน สร้างเมือง รุ่งเรืองราษฎร์ นามว่า++"ปราสาทเยอ"++ ส่วนพระเชษฐา "ท้าวกะตะศิลา" มุ่งหน้าสู่ตามลำน้ำมูล ถึงบึงโค้งโคก(โคก หมายถึง พื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง) จึงตั้งบ้านนี้ว่า " โค้งโคก" หรือ "คงโคก" คือ อำเภอราษีไศลในปัจจุบัน และเยออีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแยกออกจาก"คงโคก" อพยพมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของราษีไศล ผ่านมาทางบ้านเก่า(บ้านเจียงอี,บ้านพันทา
เลยมาถึงที่ดอนหรือที่โนนแห่งหนึ่ง ซึ่งโนนหมายถึง พื้นทที่ที่สูงกว่าระดับพื้นดินธรรมดา และ ณ ที่โนนแห่งหนึ่ง มีต้นไม้ที่หมู่คนได้เรียกชื่อว่า "ต้นค้อ" ขึ้นอยู่มากมายจึงตั้งชื่อบ้านนี้ว่า "บ้านโนนค้อ" หรือ
"โพนค้อ" จวบจนทุกวันนี้
วัฒนธรรมของชนคนเผ่าเยอ ::: "เยอ" มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง เช่น วัฒนธรรมทางภาษา เยอมีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน เคยคิดประดิษฐ์อักษรพร้อมๆกับชนชาติเขมร(ขอม) แต่เพราะกลุ่มชนคนเผ่าเยอ เป็นชนกลุ่มน้อย อาณาจักรของชนเผ่าเยอล่มสลาย ไม่มีประเทศเป็นของตนเอง อักษรตัวหนังสือและการเขียน ขาดระบบการจัดเก็บและถ่ายทอดที่ดี จึงไม่มีตัวหนังสือเขียน ปัจจุบันเหลือแต่ภาษาพูดเช่น "กวยขูนะ
เกิดแซมซายกะเฎือ" แปลว่า คนทุกคนเป็นพี่น้องกัน
วัฒนธรรมการแต่งกาย ::: เยอจะมีการแต่งกายเป็นของตนเอง คือ ผู้ชายจะนุ่งผ้าโสร่งไหม หรือ ผ้าเข็น (เหน็บกะเตียว) เสื้อผ้าไหมเหยียบสีดำย้อมมะเกลือ ผ้าข้าวม้าพาดบ่า ส่วนผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่นคั่นไหมคู่กับเสื้อไหมเหยียบสีดำย้อมมะเกลือ พร้อมด้วยผ้าสไบเบี่ยง ปัจจุบันเยอมีการประยุกต์การแต่งกายให้เกิดความสวยงามตามสมัยนิยม
ความเชื่อและจารีตประเพณี ::: ชาวเยอมีความเชื่อเช่นเดียวกับคนอีสานทั่วไป เช่น เชื่อผีสางนางไม้ ผีฟ้า พญาแถน เชื่อผีปู่ตา ผีนาตาแฮก เชื่อบุญ เชื่อบาป เข้าวัดฟังธรรม ยึดฮีตโบราณ คือ แต่งงานต้องสู่ขอ ถือเป็นจารีตประเพณีอันดีงาม ของสังคม ++++ ปัจจุบันคนเยออยู่กระจัดกระจายทั่วไปตามอำเภอต่างๆของจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อำเภอเมือก็มีบ้านโพนค้อ บ้านโนนแกด บ้านโนนขมิ้น อำเภอราษีไศล ก็เป็นบ้านคงโคก บ้านหลุบโมก บ้านร่องอโศก บ้านใหญ่ อำเภอศิลาลาด บ้านกุง บ้านขาม อำเภอพยุห์ บ้านหนองทุ่ม บ้านสำโรงโคเฒ่า อำเภอไพรบึง บ้านปราสาทเยอ
++++คนกลุ่มนี้มักเรียกตนเองว่า " กวยเยอ " และมีคำต่อท้ายว่า "เยอ" เช่น กวยเยอ ,เจาเยอ, มูไฮเจาเยอ, ขวญเจ้ามาเยอ จึงได้เรียกว่า "เยอ" หรือ " กวยเยอ" แปลว่า "คนเยอ"
" เจาเดอแซมซายจาโดย " แปลว่า " มานะพี่น้องกินข้าว"
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณพี่อนุชิต สาระษี "กวยเยอ" หรือคนเยอ ขนานแท้ดั้งเดิม ได้อนุเคราะห์ประวัติคนเผ่าเยอให้เพื่อนๆได้รู้จัก ความดีทั้งหมดความรู้ที่ได้ขอยกให้กับชาติพันธ์คนเผ่าเยอ กลุ่มคนที่น้อยคนนักจะรู้จัก ...............
(ที่มา จากเวปของคุณอดิศักดิ์ แพงมาลา ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้)
- บล็อกของ สวนฟักแฟงแตงไทย
- อ่าน 5343 ครั้ง
ความเห็น
สวนฟักแฟงแตงไทย
3 สิงหาคม, 2010 - 19:18
Permalink
ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
ปราสาทเยอเหนือ อำเภอ
ไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
หลวงพ่อมุม อินทปญโญ วัดปราสาทเยอร์ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ
พระครูประสาธน์ขันธคุณหรือหลวงพ่อมุม อินทปญโญ*
มานี มานะ วีระ ชูใจ
3 สิงหาคม, 2010 - 21:38
Permalink
ต้องอ่านสองรอบ
แล้วจะมาอ่านอีกรอบครับ...แน่นมาก...
เป็นเพียงแค่มดตะนอย ตัวจ้อยจิด ทีพลัดติดกลางช่อ พอเพียงใหญ่
คือหนึ่งเสียงหนึ่งคิดเห็น ที่เป็นไป อาจถูกใจหรือไม่บ้าง ลองชั่งดู
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
3 สิงหาคม, 2010 - 21:59
Permalink
อ่านมะไหว จร้า
รูปสลับกับข้อความ จะอ่านง่ายค่ะ
สวนฟักแฟงแตงไทย
4 สิงหาคม, 2010 - 16:17
Permalink
โทษที
ที่ทำให้ดูตาลาย
คราวต่อไปจะปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ ขอบคุณนะคะ
pomcob
3 สิงหาคม, 2010 - 22:19
Permalink
เม้นให้แล้วนะคับ อิอิ แต่ข้อมูลต้นฉบับคงผิดคับ
มันผิดอ่ะครับ
พื้นที่ประมาณ
8,839.976 ตารางกิโลเมตรคับ
สวนฟักแฟงแตงไทย
4 สิงหาคม, 2010 - 16:19
Permalink
ขอบคุณค่ะคุณป้อม
ตาดีจัง...แต่คนทำนี่สิตาลายซะเอง
ขอบคุณที่ช่วยแก้ไขข้อมูลค่ะ..
เซพ
3 สิงหาคม, 2010 - 23:10
Permalink
ที่นี่ประเทศไทย
น่าไปเที่ยวจังสาวๆเยอะดี เหอะๆ
ชอบเสื้อตัวสีดำฮ่ะสวยดีฮ่ะชอบๆๆ...
ป้าเล็ก..อุบล
4 สิงหาคม, 2010 - 05:20
Permalink
วัดสวย
อยากไป รู้จักวัดที่ หลวงปู่สรวงอยู่มั้ย ใส่โลงแก้วมั้ง ยังไม่ได้ไป
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
สวนฟักแฟงแตงไทย
4 สิงหาคม, 2010 - 16:25
Permalink
ค่ะป้าเล็ก
หลวงปู่สรวง ท่านละสังขารเมื่อ วันที่ 8 กันยายน 2542 (ขึ้น 10 ค่ำเดือน 10 ปีมะโรง )
สะรีระสังขารของท่านตั้งอยู่ที่ศาลา.ออยเตียนสรูล.วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
หลวงปู่สรวง ออยเตียนสรูล
ออยเตียนสรูล เป็นภาษาเขมรแปลวว่า ให้ทานความสุข ซึ่งความหมายของคำนี้คือหลวงปู่สรวงท่านเป็นผู้ให้ ให้แก่ลูกหลาน ลูกศิษย์ ทุกคนที่ผ่านมาในชีวิตท่าน ท่านให้ได้ทุกอย่าง ทรัพย์สินเงินทองที่มีผู้ถวายท่าน ท่านไม่เคยเก็บเป็นสมบัติส่วนตัว ท่านจะให้แก่คนที่ท่านเห็นว่าเขาควรจะได้ โดยที่ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะเป็นใคร และที่สำคัญท่านให้ความสุขกับ ผู้มีความทุกข ์แล้วมาหาท่าน หรือแม้แต่ผู้ที่แค่นึกถึงชื่อท่านท่านก็เผื่อแผ่พลังเมตตานั้นมาช่วยให้เขาคนนั้นคลายทุกข์ได้ถ้าไม่เนื่องด้วยความทุกข์นั้นเกิดจากกฎแห่งกรรมแล้วท่านก็จะช่วยเสมอ นี่แหละคือที่มาของฉายาท่าน
"ออยเตียนสรูล"
Credit : http://www.sisaket.ru.ac.th/pra-sisa...uang/index.htm
แดง อุบล
4 สิงหาคม, 2010 - 08:57
Permalink
นำเที่ยว
ตามไปเที่ยวด้วยค่ะ
"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"
หน้า