กากกาแฟ ของฟรี มีประโยชน์
สืบเนื่องจากการที่คุณตุ้ย แนะนำเรื่องการกำจัดหอยทากด้วยการโรยกากกาแฟ ก็เลยไปขอซื้อผงกากกาแฟจากร้านกาแฟสด (เจ้าประจำ)
เจ้าของร้านบอกว่า ปกติเททิ้งทุกวัน ให้มารับได้ฟรีเลย จะเก็บแยกไว้ให้ :)....ใจดีจัง... ขอบคุณมากค่ะ
ไปรับมาแล้วก็เริ่มคิด..^__^ คิดส์ว่า...ผงกากกาแฟใช้ทำอะไรได้บ้าง
แต่ว่ามีให้รับได้ทุกวัน..ดิ...ทำไรได้อีก...ไปลองค้นข้อมูลมาดู
กากกาแฟ จะมีค่า OM (Organic material 70% และ Total Nitrogen 1.96)
__ ไนโตเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญของดีเอ็นเอ, อาร์เอ็นเอ และโปรตีน ซึ่งพืชจะต้องใช้ในการเจริญเติบโต กากกาแฟยังมีโพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส และสารอย่างอื่นอีกเล็กน้อยที่ช่วยเพิ่มพัฒนาการของพืช มีรายงานจากชาวสวนจำนวนมากว่าดอกกุหลาบเจริญเติบโตได้ดี มีดอกใหญ่ และให้สีสันสวยงาม เมื่อใช้กากกาแฟเป็นปุ๋ย
การทำจุลินทรีย์แห้งด้วยกากกาแฟ
สูตรที่ 1 ให้ผสม รำ 1 ส่วน มูลสัตว์ 1 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน กากกาแฟหรือเปลือกกาแฟจะดีกว่า 4 ส่วน
ผสมด้วยจุลินทรีย์น้ำพอชื้น ๆ หมักไว้ 6-7 วัน ให้แห้ง นำไปใช้ได้
การหมักกากกาแฟ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งที่จะเพิ่มประโยชน์ และปริมาณ N ให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้
สูตรที่ 2 หมักกับฟางข้าว 1:2 ส่วนโดยปริมาตร กลับกองบ่อยๆน่ะค่ะ
วิธีใช้แบบไม่หมัก
_๑_ใช้โรยรอบๆต้น แล้วรดน้ำตาม กากกาแฟจะค่อยๆ ปลดปล่อยปุ๋ยไนโตรเจนให้กับต้นไม้
_๒_อาจใช้ผสมในกองปุ๋ยหมักจะเป็นการเพิ่มธาตุ ไนโตรเจนแก่กองปุ๋ยนั้น
_๓_อาจใช้ผสมน้ำทำปุ๋ยน้ำเจือจางไว้รดต้นไม้ โดยใช้ กากกาแฟที่เปียกประมาณ ๑ กระป๋องนม ผสมน้ำ ๕ ลิตร รดตามต้นไม้ที่ชอบความเป็นกรด อย่างกุหลาบหรือไฮเดรนเยียนี้จะชอบมากๆ เลยค่ะ
_๔_กากกาแฟที่ได้มาเราจะนำมาวางตากแดดบนหนังสือพิมพ์ให้น้ำระเหยแห้งไปหมด จากนั้นก็นำมาใช้ผสมดินปลูกในกระถาง หรือผสมดินในแปลงปลูกผักโดยตรง ในอัตราส่วน กากกาแฟ 1 : ดินในสวน 3 ส่วน จะช่วยให้เนื้อดินร่วนซุยเก็บความชื้นไว้ได้ดี ระบายน้ำดี ที่สำคัญไส้เดือนชอบมากๆ
_๕_ ใช้กากกาแฟกับเปลือกไข่โรยเป็นแนวรอบต้นไม้ไล่แมลงศัตรูพืช" จำพวกหอยทาก ได้ดี
ควรเก็บกากกาแฟที่ตากแห้งแล้ว อย่าเก็บไว้แบบเปียกๆ เพราะขึ้นราง่ายมาก
ประโยชน์อื่นๆ
1. ใช้กับสัตว์เลี้ยง : นำกากกาแฟผสมกับน้ำแล้วนำไปขัดที่ผิวของสัตว์เลี้ยง จะทำให้ผิวและขนของสัตว์มีสุขภาพที่ดีและเงางามขึ้น บางคนที่เคยใช้วิธีนี้พบว่าสามารถช่วยไล่หมัดและ พยาธิต่างๆ ที่อยู่บนขนของสัตว์ได้ด้วย แต่ว่าวิธีนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองเท่านั้น
2. ใช้กำจัดกลิ่นในตู้เย็น : ถ้าเราเก็บของกินหลายอย่างไว้ในตู้เย็น จะทำให้ในตู้เย็นมีกลิ่นไม่พึงประสงค์มากมาย เราสามรถกำจัดกลิ่นเหล่านี้ได้ โดยนำกากกาแฟใส่ถ้วยแล้วนำไปวางในตู้เย็น จากนั้นกาแฟจะทำหน้าที่ในการดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆจากอาหาร ถ้าต้องการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงเติมวานิลาลงไปในกากกาแฟเล็กน้อย
3. ป้องกันการขับถ่ายไม่เป็นที่ของสัตว์เลี้ยง : ถ้าเรามีบริเวณหรือสวนที่ไม่อยากให้สัตว์เลี้ยงเข้าไป ขับถ่ายให้สกปรก เราสามารถนำกากกาแฟและผิวส้ม ไปโรยรอบๆบริเวณนั้นเพราะกลิ่นของทั้งสองอย่างนี้เมื่อผสมกัน จะเป็นกลิ่นที่ทำให้สัตว์ไม่ขับถ่ายหรือไม่อยากขับถ่าย
4. ใช้สำหรับขัดผิว : กากกาแฟสามารถนำไปขัดผิวได้ เพราะช่วยในการขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วได้เป็นอย่างดี แล้วทำให้ผิวดูเปล่งปลั่งขึ้น
5. กำจัดกลิ่นในรองเท้า : โดยนำกากกาแฟไปวางในรองเท้า เพื่อให้กากกาแฟดูดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออกจากรองเท้า หรือถ้าต้องการกำจัดกลิ่นที่เท้า ก็สามารถทำได้โดยใช้น้ำผสมกากกาแฟล้างเท้า
6. ช่วยให้ผมเงางาม : แน่นอนว่าการมีผมสวยและเงางามเป็นที่ต้องการสำหรับทุกคน วิธีง่ายๆที่ทำได้อีกอย่างคือ ล้างหรือสระผมด้วยกากกาแฟ หรืออาจใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากกาแฟก็ได้
7. ไล่มด : ถ้าพูดถึงมดที่เดินไปมาในบ้านของคุณไม่ว่าจะเป็นในตู้กับข้าว หรือว่าตู้เสื้อผ้า มดพวกนี้คงสร้างความรำคาญให้กับได้เรามากทีเดียว แต่ว่าเราสามารถไล่มดพวกนี้ได้ โดยนำกากกาแฟไปถูที่ตู้กับข้าวหรือตู้เสื้อผ้า แล้วมดจะไม่เข้าใกล้ตู้เหล่านี้ เพราะในกากกาแฟมีกลิ่นบางอย่างที่มดไม่ชอบ
ในเมื่อมีของฟรี ที่ดีมีประโยชน์แบบนี้ ก็อยากมาบอกให้แก่พี่น้องได้เก็บกากกาแฟมาใช้ประโยชน์กันค่ะ
**************
- บล็อกของ แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
- อ่าน 130724 ครั้ง
ความเห็น
ปุ๊ก
29 สิงหาคม, 2010 - 14:08
Permalink
ประโยชน์เยอะ
ที่บ้านก็เอามาใส่ต้นไม้ประจำค่ะ
เพราะหน้าบ้านเค้าขายกาแฟ แล้ว
เห็นเค้าเอากากกาแฟมาใส่ต้นไม้
ต้นไม้เค้าง๊ามงาม ตอนนี้ เค้าก็เลยเอามาให้ทุกวัน
ถึงว่า กุหลาบเค้าออกดอกสวยจัง..
ขอบคุณ..เจ๊แก้ว ที่เอาสิ่งดีๆมาแบ่งปัน
ทำแค่...พอดี
ใช้อย่าง...พอเพียง
เก็บออม...พอสมควร
3 พอ...เพื่อความสุขในชีวิต
msn kra_pook@hotmail.com
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
29 สิงหาคม, 2010 - 21:37
Permalink
ปุ๊กจ๋า
ถ้าพี่ไปหา เลี้ยงกาแฟด้วยน่ะ..
ขอคาปูร้อนๆ หนึ่งถ้วยจ้าาา
Tui
29 สิงหาคม, 2010 - 14:47
Permalink
ขอบคุณสำหรับข้อมูล ครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูล ครับ คุณแก้ว ของดี ได้ฟรี ยิ่งดีใหญ่ อะครับ คนรู้กันเพิ่มขึ้น อีกหน่อยคงไม่มีใครหัวใสเอามาขายแพงๆ นะครับ ^_^
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
29 สิงหาคม, 2010 - 21:40
Permalink
ขอบคุณ คุณตุ้ยนะคะ
ทั้งเรื่อง-กาแฟ และทุกๆอย่าง ที่มีน้ำใจกับแก้วมากๆๆ
ครองขวัญ
29 สิงหาคม, 2010 - 15:12
Permalink
ได้ประโยชน์อื้อเลยค่ะ
ได้ประโยชน์อื้อเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะคุณแก้ว ปกติไม่ค่อยได้กินกาแฟสดเพราะไม่ทันใจ เห็นประโยชน์ของกากกาแฟมากมายขนาดนี้ ต้องไปรื้อเครื่องชงกาแฟสดออกมาจากตู้แล้วละคะ
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
29 สิงหาคม, 2010 - 22:38
Permalink
คุณขวัญ ชงเผื่อ
แก้วไม่ชงค่ะ..รอมาทานด้วย..อิอิ
นงคราญ วชิรา
29 สิงหาคม, 2010 - 15:58
Permalink
ข้อมูลดีๆ
ได้ข้อมูลดีๆอีกแล้วขอบคุณแก้วมากค่ะ
2s
29 สิงหาคม, 2010 - 16:26
Permalink
เพิ่มเติมข้อมูลความรู้กากกาแฟให้ แต่เสียดายที่เป็นภาษาอังกฤษ
คำแนะนำ ต้องกองหมัก เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจน เป็นสำคัญ กองหมักกับฟางข้าวซึ่ง C/N เรโชสูงจะได้ประโยชน์ และรีด อินทรีย์ไนโตรเจนในกากกาแฟมาใช้ประโยชน์สูงสุด ส่วนเปลือกกาแฟ เวลาทำที่แม่สรวย เชียงราย หมักกับหญ้าแห้ง และซังข้าวโพดมีมากมหาศาล ไม่ว่าวิธีไหน กลับกองทุกๆ สี่วันจะมีประโยชน์มากๆ
ปัญหาอยู่ตรงข้อมูลข้างบนนี้ แต่ถ้าเราสามารถให้ จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักใช้ประโยชน์ อินทรีย์ไนโตรเจน ให้มากที่สุดที่จะมากได้ ส่วนที่เหลือจะค่อยๆ สลายตัวก็ไม่เป็นไรครับ
The Starbucks coffee compost test
Lab report: Those free grounds really are good for your soil
Used coffee grounds make good soil amendments. That's the buzz among gardeners lately. But what do your coffeepot's leftovers really add to the soil?
To find out, Sunset sent a batch of Starbucks' used coffee grounds ― the company gives them away for free ― to a soil lab for analysis. Turns out the grounds provide generous amounts of phosphorus, potassium, magnesium, and copper.
They also release nitrogen into the soil as they degrade. And they're slightly acidic ― a boon in the Western climate.
Dig or till them into the soil to a depth of 6 to 8 inches.
FULL REPORT
The following information was developed for Sunset by Soil and Plant Laboratory Inc., Bellevue, WA.
Summary: Use of Starbucks coffee grounds in amending mineral soils up to 35 percent by volume coffee grounds will improve soil structure over the short-term and over the long-term. Use of the coffee grounds at the specified incorporation rates (rototilled into a 6- to 8-inch depth) will substantially improve availabilities of phosphorus, potassium, magnesium and copper and will probably negate the need for chemical sources of these plant essential elements.
The nitrogen, phosphorus, potassium "guaranteed analyses" would be as follows for the coffee grounds:
Nitrogen: 2.28 percent
Phosphorus: 0.06 percent
Potassium: 0.6 percent
Available nutrient levels: The pH or reaction of the coffee grounds is considered slightly acidic and in a favorable range at 6.2 on the pH scale.
Salinity (ECe) is a measurement of total soluble salts and is considered slightly elevated at 3.7 dS/m. The primary water-soluble salts in this product are potassium, magnesium, sodium and chloride. The potentially problematic ions in sodium and chloride are each sufficiently low as to be inconsequential in terms of creating problems for plants.
The availabilities of nitrogen, calcium, zinc, manganese and iron are quite low and in some cases deficient. Thus, the coffee grounds will not supply appreciable amounts of these essential plant elements when used as a mineral soil amendment.
However, the availabilities of phosphorus, potassium, magnesium and copper are each sufficiently high that there will be a very positive impact on improving availabilities of these elements where the coffee grounds are used as a mineral soil amendment. The coffee grounds will negate the need for additional sources of phosphorus, potassium, magnesium and copper when blended with mineral soils.
In summary, the available plant essential elements which will be substantially improved where the coffee grounds are used as a soil amendment, include phosphorus, potassium, magnesium and copper.
Total nutrient levels: Each cubic yard of these coffee grounds contains a total of 10.31 lbs. nitrogen, of which 0.01 lb. (0.09%) are available. Thus, even though available nitrogen is considered deficient in this product, there still remains over 10 lbs. of total nitrogen per cubic yard of coffee grounds. Thus, nitrogen is primarily bound in the organic fraction and is unavailable to plants until soil microorganisms degrade the organic fraction. Through this process, the nitrogen is converted to plant available forms. Over the long term the coffee grounds will act like a slow release fertilizer providing long-term nitrogen input which can then be utilized by plants.
Nearly all potassium and all magnesium are in the available forms. This means that immediate availability improvements for these two elements will take place when the coffee grounds are blended with mineral soils. About half of the copper and calcium are in their immediately available forms.
All other plant essential elements are primarily bound in the organic fraction and will thus be subject to slow release over time as soil microbes continue to degrade the organic fraction.
Physical properties: Virtually all particles passed the 1 millimeter (mm) screen resulting in a product which is very fine textured. Each cubic yard of the coffee grounds will supply an excellent amount of organic matter, measured at 442 lbs. organic matter per cubic yard. At the use rates indicated in this report, the input of organic matter will be substantial and will result in considerable short-term and long-term improvement of mineral soil structure.
Carbon/nitrogen ratio: On the basis of dry matter bulk density (452 lbs. per cubic yard), organic matter content (97.7%) and total nitrogen (2.28%), the estimated carbon/nitrogen ratio is about 24:1. This means that there is more than sufficient nitrogen present in the coffee grounds to provide for the nitrogen demand of the soil microorganisms as they degrade the organic fraction.
Use rate: Based on the overall chemistry and physical properties of the coffee grounds, they can be utilized at rates similar to other organic amendments when used in amending mineral soils. These data indicate that 25-35 percent by volume coffee grounds can be blended with mineral soils of any type to improve structure of those soils.
กากกาแฟที่บ้านไผ่ จากร้านยุทธการกาแฟ ซึ่งขายกาแฟจนร่ำรวยมาก จนสร้างตึกอาคารพาณิชย์ใหญ่โต กากกาแฟถูกรวบรวมทุกๆวัน หรือวันเว้นวัน เป็นปีที่๔ สวนผักปลอดภัยมีทุกวันนี้ ส่วนหนึ่ง คือ ปุ๋ยหมักตื่นตัวโดยมีกากกาแฟเป็นตัวเร่งให้ ไนโตรเจนในกองปุ๋ยหมัก
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
นงคราญ วชิรา
29 สิงหาคม, 2010 - 17:23
Permalink
แปลให้
ลองแปลโดยไม่ละเอียดมาให้ดูค่ะลึกๆๆไม่ต้องไปรู้มันหรอกเอาว่าใช้ยังไงพอ
Each cubic yard of these coffee grounds contains a total of 10.31 lbs. nitrogen, of which 0.01 lb. (0.09%) are available.
แปลรวมๆว่าในกากกาแฟเหล่านี้ประกอบด้วยไนโตรเจนต่อหน่วยถึง0.09 %
The Starbucks coffee compost test
Lab report: Those free grounds really are good for your soil
Used coffee grounds make good soil amendments. That's the buzz among gardeners lately. But what do your coffeepot's leftovers really add to the soil?
To find out, Sunset sent a batch of Starbucks' used coffee grounds ― the company gives them away for free ― to a soil lab for analysis. Turns out the grounds provide generous amounts of phosphorus, potassium, magnesium, and copper.
They also release nitrogen into the soil as they degrade. And they're slightly acidic ― a boon in the Western climate.
Dig or till them into the soil to a depth of 6 to 8 inches.
การทดสอบปุ๋ยหมักกาแฟสตาร์บัค
รายงาน Lab : ผงกาแฟที่ได้มาฟรีๆดีจริงสำหรับดินของคุณ
เร็ว ๆชาวสวนต่างโจษขานเรื่องนี้มากมายว่ากากกาแฟใช้แก้ไขดินให้ดีขึ้นได้ แต่อะไรล่ะที่ของเหลือทิ้งจากจากหม้อกาแฟคุณเติมลงไปในดิน?
เพื่อค้นหา, Sunsetเลยใช้กากกาแฟที่บริษัทสตาร์บัค ให้พวกเขาไปฟรี เอาไปทดลองในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน จากการวิเคราะห์ปรากฎว่าผงกากกาแฟมีธาตุต่างๆมากมายเช่นธาตุฟอสฟอรัสธาตุโพแทสเซียมธาตุแมกนีเซียมและธาตุทองแดง
ในขณะที่มันย่อยสลายตัวเองผงกากกาแฟยังปลดปล่อยไนโตรเจนลงไปในดินอย่างช้าๆ(ไนโตรเจนเป็นปุ๋ยบำรุงใบ-นงคราญ) ทำให้มีฤทธิ์เปรี้ยวเล็กน้อยแต่เป็นประโยชน์ในสภาพภูมิอากาศของประเทศตะวันตก
การใช้โดยการขุดฝังกากกาแฟผงลงไปในดินความลึก 6-8 นิ้ว
2s
29 สิงหาคม, 2010 - 18:47
Permalink
ดูคำอธิบายเพิ่มเติม เรื่อง อินทรีย์ไนโตรเจนในกากกาแฟ
ต้องระมัดระวังในการแปล ขอให้ข้ามทุกๆตอน มุ่งไปที่ เพียง สองตอน คือ
ซึ่งถือว่า กากกาแฟมีไนโตรเจนสูงมากๆๆๆ ประกอบกับ ตอนแรก เขาพูดถึงนำไปใส่ในดิน ทำให้ เกือบทุกคนนำไปใช้ผิด และไม่ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด
ที่สำคัญที่สุดคือข้อความตอนต่อไปนี้ ซึ่งจะขอแปลคำต่อคำ
(ขออนุญาตแปล ผิดถูกต้องขอโทษ เรียนมาน้อยครับ )
ระดับธาตุอาหารทั้งหมด: แต่ละ คิว(ตารางหลา) ของกากกาแฟ จะมีไนโตรเจน 10.31ปอนด์ แต่มีเพียง 0.01ปอนด์(0.09%) ใช้ประโยชน์ได้ทันที ดังนั้น ถึงแม้ว่า ไนโตรเจนที่มีประโยชน์จะไม่เพียงพอ แต่ยังเหลือกว่า 10ปอนด์ไนโตรเจน ในหนึ่งคิว(หลา)ของกากกาแฟ ดังนั้น ไนโตรเจนจะอยู่ในรูปองค์ประกอบอินทรีย์ และไม่สามารถเป็นประโยชน์ต่อพืชจนกระทั่ง จุลินทรีย์ในดินจะย่อยสลายองค์ประกอบอินทรีย์ ผ่านขบวนการนี้ ไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนเป็นรูปที่มีประโยชน์ต่อพืช ในระยะยาว กากกาแฟจะทำหน้าที่คล้ายปุ๋ยละลายช้า ให้ไนโตรเจนในระยะยาว ชึ่งพึชสามารถนำไปใช้ได้
จริงๆสำหรับท่านอื่นอ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะไม่มีอะไร แต่สำหรับคนที่มุ่งมั่นทำปุ๋ยหมักตื่นตัว เหมือน สวรรค์ประทานของวิเศษมาให้ เราไม่สามารถเลี่ยงทับศัพท์ได้ C/N ratio คนที่เรียน คนที่ทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ต้องทราบดี ประกอบกับขณะนั้น กำลังหาสิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรมาย่อยสลาย ฟางข้าว แกลบสด กากมะพร้าวเป็นต้น ซึ่งมี C/N เรโช สูงมาก(คงไม่ต้องบอกตัวเลข สามารถหาได้จากทั่วไป) แน่นอน จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก ย่อมมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์จำนวนมาก พร้อมจะเข้าใช้ ย่อยสลายกากกาแฟ และวัตถุดิบอื่นที่มี C/N เรโช สูง เพราะจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และควบคุมได้ แล้วลองทายดูว่า ใครจะเป็นผู้รับผล จากขบวนการนี้ ใครจะเป็นผู้รับ ไนโตรเจนมากมายในรูปที่มีประโยชน์ที่พืชนำไปใช้ได้ทันที ถ้าไม่ใช่ ปุ๋ยหมักตื่นตัว และยิ่งถูกกระตุ้นโดยการกลับกอง ให้จุลินทรีย์ได้ทำงานเต็มที่ เหมือนสวรรค์ประทานจริงๆ โดยเฉพาะสำหรับโครงการผักกินใบ ผักกินผลก็ดี ยิ่งได้เห็นผลวิเคราะห์ปุ๋ยหมัก ที่ต้องส่งไปวิเคราะห์ทุกๆ หกเดือน ยิ่งไม่อยากเชื่อสายตาว่า ธาตุอาหารโดยรวมจะน่าพอใจขนาดไหน
ผลของความรู้ครั้งนี้ ทำให้นำมาศึกษา วิเคราะห์ กับมูลสัตว์อื่นๆในบ้านเรา ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีอินทรีย์ไนโตรเจนยังไม่ใช้ประโยชน์เท่าไร(บอกอย่างไม่อายว่า ยอมลงทุนส่งไปวิเคราะห์ที่ แล็บมาตรฐานในต่างประเทศ) ถ้าไม่มีกากกาแฟ โครงการปุ๋ยหมักตื่นตัวก็ไม่ไปถึงไหน ปัจจุบันนี้ ได้นำกากกาแฟมาผสมใช้ในการทำวัสดุเพาะเมล็ดแทน เพราะ ว่า ต้องเพาะเมล็ดพันธุ์มากมาย ทุกๆวัน ตลอดทั้งปี
สำหรับเปลือกกาแฟที่ เชียงรายมีมากมหาศาล ไม่ว่าจะ ดอยตุง ดอยวาวี หรือดอยช้าง (สวนที่เหนือ ก็โชคดีอยู่ที่ แม่สรวย เชียงราย) ก็มีความดีเด่นอีกแบบหนึ่ง เสียดายแต่ คนที่รู้จริง และทำจริงในด้านนี้มีน้อยมาก ถึงมีก็มุ่งไปทางธุรกิจ จึงไม่มีการมาบอกเล่าข้อมูล หรือเทคนิคต่างๆครับ
รักษาสุขภาพนะครับ
ป.ล.
คงจะฟรีทั่วโลก ทุกๆร้านครับ
เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย
หน้า