ขนมเดือนสิบ
วันทำบุญเดือนสิบใกล้เข้ามาแล้ว วันนี้เอาขนมเดือนสิบมาฝาก คนใต้ที่ไกลบ้านอาจจะคิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ
ขนมบ้า
ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า
ขนมเบซำ, ขนมเจาะรู, ขนมเจาะหู, ขนมดีซำ
ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ
ขนมเทียน
ขนมเทียน ใช้แทนหมอนหนุน
ขนมพอง
ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาป
หรือเวรกรรมต่างๆ
ขนมลา
ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ
วันรับตายาย ในวันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกันมาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายแล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลก จะร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า "ส่งตายาย" ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด
http://www.khonthai.com/Vitithai/month%2010.htm ขอบคุณข้อมูลค่ะ
ประเพณีบุญเดือนสิบ เป็นประเพณีที่สำคัญประเพณีหนึ่งที่จะทำให้คนอยู่ไกลบ้านได้กลับมาร่วมทำบุญกัน เพื่อแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
จำได้ว่าเมื่อตอนเด็ก ๆ ก่อนถึงวันรับตายาย ย่าจะสั่งให้หามะพร้าวไว้เยอะ ๆ เพื่อเคี่ยวสำหรับทำน้ำมันมะพร้าว เพื่อเอาน้ำมันไว้สำหรับทอดขนมบ้า ขนมเบซำ
การเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวเดี่ยวนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว เพราะคนไม่นิยมใช้น้ำมันมะพร้าวกันแล้ว แต่นึกถึงบรรยากาศเก่า ๆ ได้กินขี้มัน (กากที่เหลือจากได้น้ำมันมะพร้าว) ขี้มันใหม่ ๆ เอามาซาวข้าวสวยร้อน ๆ อร่อยค่ะ ใครเคยกินยกมือขึ้น......
เตรียมครกทิ่มแป้งไว้ให้สะอาด.... ก่อนวันทำบุญ 1-2 วันก็จะทิ่มแป้งข้าวเหนียว และข้าวจ้าว ไว้ทำขนม ทิ่มแป้งใต้ถุนบ้าน ร่อนแป้ง เอาแป้งไปปิ้งไฟบ้าง....กิจกรรมหลายอย่างเลือนลาง เพราะเกิดขึ้นนานแล้ว (เริ่มแก่เริ่มลืม)
วันทอดขนมบ้า ขนมเบซำก็สนุก ลูกสาว ลูกสะไภ้ ช่วยกันทำรอบกะทะใต้ถุนบ้าน กว่าจะเขี่ยขนมกันเสร็จ เมาค่ะ เมามัน ไม่ใช่สนุกอย่างเมามันนะคะ เวียนหัวกับกลิ่นน้ำมันค่ะ
เมื่อทำขนมเสร็จก็จะแบ่งขมไว้สำหรับไปวัด แล้วจะนำขนมไปให้คนเฒ่าคนแก่ ญาติสนิทมิตรสหายกัน เพื่อจะได้เอาไปทำบุญและแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน
กาลเวลาเหล่านั้น กิจกรรมเหล่านั้นเริ่มหายไป เดี่ยวนี้ไม่มีให้เห็น มีแต่ร้านค้าที่ทำขนมเพื่อขาย แต่ก็สะดวกดีสำหรับผู้ซื้อ เพราะขนมเหล่านี้ไม่ค่อยจะมีคนชอบสักเท่าไหร่ แต่ก็มีการพัฒนารสชาดขนมให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
เล่าเรื่องเก่า ๆ เหมือนกันตัวเองแก่ซัก 50 ปีแน่ะ ยังค่ะ ยังไม่ถึง เอาแค่น้ำจิ้มก่อนค่ะ ไว้ให้คนคอนอย่างยายอี๊ดมาเล่าต่อดีกว่าค่ะ.....
วันนี้ลองชิมขนมก่อนนะคะ แล้วค่อยมาต่อกันเรื่องการจัดหมรับ....(หมับ) เขียนยากมาก .....ในวันทำบุญนะคะ
- บล็อกของ แจ้ว
- อ่าน 40936 ครั้ง
ความเห็น
pomcob
22 กันยายน, 2010 - 17:22
Permalink
ขนมแปลกๆ ดีจังเลยคับพี่แจ้ว
เคยเห็นไม่กี่อันเองคับ
ดงดม
22 กันยายน, 2010 - 17:28
Permalink
ป้อมๆ...
อยากเห็นหรือรู้จักทั้งหมดมั๊ย พี่แนะนำ จีบสาวชาวใต้ซิรู้จักหมดแน่ๆๆ
pomcob
22 กันยายน, 2010 - 17:30
Permalink
ฮา
เหรอพี่ ...
อิอิ
น่าสนใจพี่ดม
ทราย
22 กันยายน, 2010 - 22:45
Permalink
น้องป้อม
น่าสนใจพี่ดม คิดได้ไงเนี่ย อิอิ
ปล.มีคนไม่ยอมแน่ๆ
แจ้ว
22 กันยายน, 2010 - 18:43
Permalink
ใช่แล้วป้อม
พี่เห็นด้วยกับพี่ดมนะ.... ได้รู้จักหมดแหละ ลองแลตะ......
ป้าหน่อย
22 กันยายน, 2010 - 18:09
Permalink
กรวยข้าวสาก
พรุ่งนี้จะไปวัด มีประเพณีทางนี้มาแลกเปลี่ยนค่ะ
ทางหนองคาย จะเตรียมข้าวของ
เครื่องอยู่เครื่องกิน เครื่องใช้
ผลหมากรากไม้ ใส่กระบุง ตะกร้า
ไปถวายพระ เพื่อเป็นสะเบียงส่งให้ตายาย
ในปีหนึ่ง มีหนเดียว ว่ากันว่าถ้าลูกหลานลืมส่ง
ปีนี้ตายายในภพภูมิ ก็ต้องรอไปอีกปีหน้า
ที่เตรียมใส่ตะกร้าทั้งหมดทั้งสิ้น เรียกรวมกันว่า
"กรายข้าวสาก"
ลูกอิสานกันดารแท้ แต่บ่อเหี่ยวทางน้ำใจเด้อ
หากแหม่นใหลหลั่งรินปานฝนแต่เมืองฟ้า
มาเด้อพวกพี่น้อง สานสัมพันธ์ให้มันแก่น
ให้ยืนยาวแนบแน่นพอปานปั้นก้อนข้าวเหนียว เด้อพี่น้อง
แจ้ว
22 กันยายน, 2010 - 18:42
Permalink
ป้าหน่อย
เตรียมของสำหรับไปวัดพรุ่งนี้แล้ว ดีจังค่ะ พรุ่งนี้จะรอข้อมูลของป้าหน่อยนะคะ ยืนยันหน่อยค่ะว่า กรวยข้าวสาก หรือ กรายข้าวสาก
ป้าหน่อย
22 กันยายน, 2010 - 22:47
Permalink
ขออภัยอย่างสูง ค่ะคุณแจ้ว
ต้องขออภัยอย่างแรงค่ะท่านประทานแจ้ว
ป้าหน่อยนี่แย่จริงเชียว
"กรวยข้าวสาก"ค่ะ ว.แหวน พลาดไป
พิมพ์เป็นสระ"-า" เสียได้
เวลาไปถวายพระ เห็นท่านเรียกว่าเครื่อง "สลากภัติ"
ลูกอิสานกันดารแท้ แต่บ่อเหี่ยวทางน้ำใจเด้อ
หากแหม่นใหลหลั่งรินปานฝนแต่เมืองฟ้า
มาเด้อพวกพี่น้อง สานสัมพันธ์ให้มันแก่น
ให้ยืนยาวแนบแน่นพอปานปั้นก้อนข้าวเหนียว เด้อพี่น้อง
แดง โคกโพธิ์
22 กันยายน, 2010 - 18:49
Permalink
ทำไมไม่เรียก
ขนมเจาะหู น่าจะเป็นต้นกำเนิดของ ขนมโดนัท หรือปล่าว แล้วทำไมเรียกว่าเจาะหู ทั้งที่มันเจาะตรงกลาง เห็น ๆ
แจ้ว
22 กันยายน, 2010 - 19:08
Permalink
พัทลุงเรียกเบซำ
ขนมรู เรียกเบซำกันเป็นส่วนมากค่ะพี่ เดี่ยวนี้มีการพัฒนารสชาดขนมให้คุ้นลิ้นและอร่อยมากขึ้นค่ะ
หน้า