วิธีปลูกฟักม้ง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

มะระหวาน 



ลักษณะทั่วไปของมะระหวาน (ฟักม้ง) เป็นไม้เถาเลื้อย สามารถเจริญเติบโตในสภาพอากาศเย็นและชุ่มชื้นเป็นพืชข้ามปี ลักษณะคล้ายพืชตระกูลแตง ลำต้น ใบ ยอดและมือจับคล้ายแตงกวาผสมกับฟักเขียว ลักษณะดอก เกิดที่ขั้วระหว่างต้นกับก้านใบเป็นชนิดดอกช่อ (Inflorescence) ส่วนดอกเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) กล่าวคือ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย จะอยู่คนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious plant )ผลเป็นผลเดี่ยว (Simple fruit) เนื้อของผลเจริญมาจากฐานรองดอกที่ขยายใหญ่ไปหุ้มเมล็ดไว้ มีเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวในผล เหมือนกับผลมะม่วง มะปราง ซึ่งถือว่าเป็นข้อแตกต่างของพืชตระกูลแตงที่เราพบเห็นโดยทั่วไป


มะระหวาน เป็นพืชที่แมลงรบกวนไม่มาก ยกเว้น ราแป้งและเพลี้ยไฟ จะมีระบาดในบางฤดูกาลเท่านั้น ยอดมีลักษณะเช่นเดียวกับยอดของฟักทองและตำลึง ปัจจุบันเป็นที่นิยมของเกษตรกรและผู้นิยมบริโภคผักปลอดสารพิษทั่วไป ซึ่งยอดมะระหวาน จะมีรสชาติหวานกรอบ มะระหวานเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็นและมีความต้องการน้ำมาก ในการช่วยการเจริญเติบโต


 



การเตรียมดิน


การเตรียมดินปลูก ทำได้ง่ายๆเพียงขุดหลุมขนาด กว้าง X ยาวX ลึก ประมาณ 20 – 50 ซม. แล้วคลุกเคล้าดินในหลุมด้วยเศษพืชและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก


การปลูก
1)ปลูกเพื่อเก็บยอดอย่างเดียว ระยะปลูกระหว่างต้น ระหว่างแถวประมาณ 1 x 1 หรือ1 x 2 เมตร ปลูกเป็นหลุมๆเรียงเป็นแถวติดต่อกันไป ตามสภาพของพื้นที่และไม่ต้องทำค้าง หรือจะทำค้าง ซึ่งส่วนใหญ่จำทำค้างลักษณะทรงสามเหลี่ยม เพื่อให้ยอดเกาะกิ่งไม้ขึ้นไป สะดวกในการเก็บยอด
2) ปลูกเพื่อเก็บยอดและผล ใช้ระยะปลูก 2 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร และจะต้องทำค้างให้เถายึดเกาะ โดยความสูงขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และจะต้องสูงพอที่จะเดินเข้าไปเก็บผลได้


การเตรียมต้นพันธุ์
การปลูกมะระหวาน จำเป็นต้องเตรียมต้นพันธุ์ โดยจะต้องนำผลสดที่แก่เต็มที่ พร้อมที่จะปลูก ลักษณะของผลจะมีรอยแตก นำมาชำในที่ร่มชื้นหรือชำในถุงชำ จนกระทั่งเริ่มแตกยอดอ่อนจึงนำไปปลูก หรือทิ้งผลที่แก่จัดไว้กับต้นปลายผลจะเกิดรอยแตกและงอกต้นอ่อน ก็สามารถนำไปปลูกได้เช่นเดียวกันฟักม้ง สามารถปลูกได้ตลอดปี การปลูกโดยการนำผลแก่จัดและงอกต้นอ่อนแล้ว วางลงกลางหลุมปลูกที่เตรียมไว้กลบดิน 3 ใน 4 ของผล เหมือนการปลูกมะพร้าว เสร็จแล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ฟางข้าวหรือเศษพืชรดน้ำให้ชุ่ม


การดูแลรักษา


เมื่อปลูกลงดินแล้ว รดน้ำวันละ 1 – 2 ครั้ง คอยกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ยคอกบ้างเป็นระยะ จนอายุประมาณ 2 เดือน ก็สามารถเก็บยอดจำหน่ายได้ แต่ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตต่อไปบนค้าง จนอายุประมาณ 4 – 5 เดือน  จะเก็บผลผลิตได้ทั้งยอดและผลเมื่อปลูกและเก็บผลได้ระยะหนึ่ง ต้นและใบจะเริ่มโทรมลง ให้เด็ดใบแก่ที่มีสีเหลือง ใบแห้ง ใบที่เป็นโรคออกให้หมด เติมปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ ยูเรีย รดน้ำและกำจัดวัชพืช ก็จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้อีกประมาณ 3-4 ปี หลังจากเก็บผลผลิตเป็นที่พอใจแล้วหรือเห็นว่าโทรมมากหรือเข้าสู่ฤดูแล้ง ให้ตัดต้นเหนือดินออกให้หมดทิ้งให้พักตัว ถ้าต้องการได้ต้นใหม่ให้ใส่ปุ๋ยคอก พรวนดินรอบๆและรดน้ำ ก็จะเจริญงอกเป็นต้นขึ้นมาได้อีกโดยไม่ต้องปลูกใหม่ ตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต อาจมีศัตรูพืชรบกวนบ้าง แต่ไม่มากนัก ศัตรูพืชที่สำคัญคือ เพลี้ยไฟ แมลงวันผลไม้เจาะผลอ่อนและโรคราแป้ง ซึ่งเกิดที่ใบ ป้องกันได้ด้วยการใช้กับดักกาวเหนียว เพื่อดักตัวแก่และคอยเก็บใบที่เป็นโรคหรือแสดงอาการผิดปกตินำไปเผา ไม่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมี


สีแบบนี้นำไปปลูกไม่ขึ้นนะครับ



ผลผลิตและการตลาด


เมื่อปลูกได้ 2-3 เดือน สามารถเก็บยอดอ่อนนำไปปรุงอาหารหรือจำหน่ายได้ และจะเก็บยอดอ่อนได้ทุก 2-3 วัน/ครั้ง แต่ละครั้งจะเก็บได้ประมาณ 200-300 กก./ไร่


 

ความเห็น

ขอบคุณมากครับพี่ประเทือง สำหรับความรู้ที่มาแบ่งปันครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆ


ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

คุณชัยครับรูปนี้ไม่ใช่ฟักม้งนะครับ ไม่ใช่มะระหวานครับ


   

น่าสนใจมาก


ถ้ามีรอบ  2  ขอจอง ไว้ก่อนเลย


น่าสนใจมาก  

นอกจากจะใจดีแจกต้นพันธุ์แล้ว ยังใจดีหาวิธีปลูกกับการตลาดมาฝากอีกด้วย ขอบคุณมากเลยค่ะSmile

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

ขอบคุณนะคะ  สำหรับข้อมูล  ปลูกทีไรไม่ขึ้นสักที   ต้องลองใหม่แล้ว

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆและต้นพันธุ์ที่นำมาแบ่งปันค่ะ เคยซื้อลูกมาเพาะจากตลาดแต่เน่าทุกทีค่ะ คงจะอ่อนเกินไปหรือไม่ก็เพาะไม่เป็นแน่เลย ได้ข้อมูลนี้มาก็ได้ความรู้เพิ่มอีกอย่างค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ

ใจดีจังเลยค่ะที่ทั้งแจกและบอกวิธีหมดเลย


แต่รูปที่น้องชัยลงมา โหดกมาเลย

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

รูปที่คุณชัยลงมาไม่ใช่ฟักม้งครับ น่าจะเป็น มะระจีนหรือไม่ก็มะระขี้นกพันธุ์เกษตรครับ

หน้า