หนำเลี๊ยบเทียม(อยากนำเสนอมาก)
เนื่องจากมีผู้เข้าใจผิดกันมากเกี่ยวกับต้นไม้ต้นนี้ คิดว่าเป็นต้นหนำเลี๊ยบ ความเข้าใจผิดนี้ไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเอง แต่ผู้ที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่ใช่คือคนขายต้นไม้ที่บอก(หลอก)ลูกค้าว่านี่คือต้นหนำเลี๊ยบเพราะมีลูกสีดำๆคล้ายลูกหนำเลี๊ยบมากให้ดูด้วย คน(ส่วนใหญ่)ไม่รู้ก็ตื่นเต้นคิดว่าใช่จริงๆแล้วก็ซื้อไปปลูก ออกลูกแล้วไม่รู้ว่าลองเก็บเอาไปทานหรือเปล่าเพราะตามข้อมูลแล้วทานไม่ได้ ถ้าคนที่เป็นพ่อครัว แม่ครัวหรือตนที่เคยนำลูกหนำเลี๊ยบดอง(เกลือ)มาทำอาหารจะทราบว่าหนำเลี๊ยบจริงๆเมล็ดข้างในจะเป็นเมล็ดแข็งๆรีๆตามรูปร่างของผล เนื้อหนำเลี๊ยบแยกออกจาเมล็ดได้ง่ายมากและไม่มีเส้นใยใดๆเลย ต่างจากลูกหนำเลี๊ยบเทียมที่เนื้อไม่สามารถแยกจากเมล็ดได้โดยง่ายและเนื้อมีเส้นใยมาก ผลสดถ้าเด็ดออกจากต้นใหม่จะมียางสีขาวไหลออกมา
ผลของต้นหนำเลี๊ยบเทียม ต้นนี้ปลูกที่บ้านปากช่อง
ต้นหนำเลี๊ยบเทียม อยู่ในวงศ์ Apocynaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Kopsia arborea Blume ชื่อท้องถิ่น เข็มป่า พุดดง มะดีควาย บางแห่งก็เรียก ปิ่นมาลา ใบเรียวแหลม ดอกสีขาวเป็นกระจุก ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอม
นี่คือลูกหนำเลี๊ยบตัวจริง coppy มาจาก web ของจีน
หนำเลี๊ยบของแท้ เป็นพืชตระกูลมะกอก (Olive) อยู่ในวงศ์ Burseraceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium pimela ชื่อสามัญ Chinese Black Olive ชื่อจีน Wu Lan (Wu ภาษาจีนแปลว่าดำ Lan น่าจะแปลว่ามะกอก) ญาติที่ใกล้ชิดกับหนำเลี๊ยบมากที่สุดเห็นจะเป็น สมอจีน ลูกสมอจีนดองแบบที่เรากินนั่นแหละครับ ชื่อวิทยาศาสตร์ของสมอจีนคือ Canarium album ชื่อสามัญ Chinese White Olive ชื่อจีน Gan Lan ในประเทศไทยเท่าที่รู้มีการปลูกสมอจีนอยู่บ้างเหมือนกันทั้งทางภาคเหนือและภาคตะวันออก ผมเองยังไม่เคยเห็นต้นเลย ใครมีปลูกไว้ขอเมล็ดมาแบ่งกันปลูกบ้างก็ดี(ขออีกแล้ว) แต่สำหรับต้นหนำเลี๊ยบผมยังไม่เคยมีข้อมูลว่ามีปลูกในเมืองไทยหรือเปล่า สำหรับหนำเลี๊ยบเทียมใครอยากได้ไปลูกก็แจ้งมาได้ จะส่งลูกไปให้ ปลูกง่ายมากครับ
- บล็อกของ rose1000
- อ่าน 127213 ครั้ง
ความเห็น
sothorn
2 ธันวาคม, 2009 - 14:39
Permalink
หนำเลี๊ยบ
หนำเลี๊ยบ ผมเคยได้ยินครั้งแรกตอนที่ไปกินข้าวต้มที่ตาก พี่เขาสั่งผัดหนำเลี๊ยบ อะไรหว่าหนำเลี๊ยบไม่เคยได้ยิน
พี่เขาอธิบายให้ฟัง แต่ก็ยังไม่รู้ว่าหน้าตาเป็นยังไง ถึงบางอ้อวันนี้เอง
ขอบคุณคุณสุรพลมากครับ
vision
28 พฤษภาคม, 2010 - 20:34
Permalink
มันกินได้มายครับพี่กุลาบพันปี
ไม่ทราบมันกินได้มั่ยครับเพราะผมก็มีอยู่สองต้นเพราะง่ายมากเลยครับเก็บเม็ดมาลงดินก็งอกแล้วช่วยบอกนิดหนึ่งครับเพราะที่เอามาปลูกก็ชอบตรงที่ดอกมันสวยดีครับ
เงินทองเป็นมายาข้าวปลาเป็นของจริง
toy_za2519@hotmail.com
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
28 พฤษภาคม, 2010 - 22:36
Permalink
หนำเลียบผัดเผ็ด
ปกติชอบ ข้าวผัดหนำเลียบ อร่อยดี อยู่มาวันนึง ทีบ้านอยากลองทำเอง เลยไปที่ร้านเจ้เล้ง ซื้อหนำเลียบมา 1กระปอง
เสร็จแล้วเหลือเยอะแยะเลย ทำอะไรดีละ เพราะมันเค็ม
ลองเอาไปผัดริกขี้หนูในสวน ใส่ใบยี่หร่า(ที่ปลูกไว้)ซอยละเอียด งานนี้หนักพริกค่ะ
ออกมาอร่อยมาก คลุกข้าว ทานไป 2 ชาม
ลองดูนะคะ
rose1000
28 พฤษภาคม, 2010 - 22:43
Permalink
ได้เมนูใหม่อีกแล้ว
ในรูปไม่ใช่หนำเลี๊ยบนะครับ เป็นหนำเลี๊ยบเทียมกินไม่ได้ ในเมืองไทยยังไม่ปรากฎข้อมูลว่ามีที่ไหนปลูกหนำเลี๊ยบ
สำหรับเมนูหนำเลี๊ยบผัดพริกน่าสนใจครับ จะลองไปทำดู
วิมลลักษณ์
12 มิถุนายน, 2010 - 19:09
Permalink
ต้นหนำเลี๊ยบ ที่ อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
คุณ Paul Liou อดีตที่ปรึกษาอาวุโสของสหประชาชาติ กำลังชี้ให้คุณ Vincent Chai ดูต้นหนำเลี๊ยบที่ทางเข้าฟาร์ม Solaria Valley อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
rose1000
12 มิถุนายน, 2010 - 20:34
Permalink
แสดงว่ามีต้นหนำเลี๊ยบในเมืองไทย
ผมรู้มาว่ามีการปลูกต้นสมอจีน(White Chinese Olive) ในบ้านเรา แต่ก็ไม่รู้ว่าเขาปลูกกันที่ไหน สำหรับต้นหนำเลี๊ยบ(Black Chinese Olive) คิดว่าไม่มีปลูกในไทย แต่จากข้อมูลที่คุณวิมลลักษณ์บอกมาว่ามีปลูกที่ อ.สะเมิง แสดงว่า คุณวิมลลักษณ์เคยไปชมมาแล้วใช่มั๊ยครับ แล้วเขาปลูกเยอะไหม ปลูกเพื่อเก็บลูกมาดองขายหรือเปล่า หรือปลูกเพื่อวัตถุประสงค์อื่นครับ ผมสนใจพืชตัวนี้
กฤษณ์
17 มิถุนายน, 2011 - 17:48
Permalink
มีหน่ำเลี้ยบเทียม 1 ต้น
pimknw
19 กันยายน, 2011 - 14:15
Permalink
Re: หนำเลี๊ยบเทียม(อยากนำเสนอมาก)
:shy: อยากทราบเรื่องลูกหนำเลี๊ยบที่กินกับข้าวต้ม
อ แอ๋ว
22 มีนาคม, 2012 - 15:52
Permalink
Re: หนำเลี๊ยบเทียม(อยากนำเสนอมาก)
ข้าวผัดหนำเลี๊ยบตอนกินเจอของโปรด
ความพอเพียงจะทำให้ชีวิตมีความสุขแบบยั่งยืน
ญา พืชศาสตร์
24 กันยายน, 2013 - 09:16
Permalink
Re: หนำเลี๊ยบเทียม(อยากนำเสนอมาก)
พอดีได้เมล็ดหนำเลี๊ยบ(เทียม)มาจากบ้านญาติ เห็นเขาแทงรากงอกออกมาจากเมล็ดทั้งที่อยู่บนต้น สนใจว่าน่าจะปลูกง่ายเลยเก็บมา และได้มาหาข้อมูล ขอบคุณที่ได้ความรู้จากที่นี่ เกือบลองชิมซะแล้ว
"สุขให้เป็น...จะเป็นสุข"