แซนโฎนตา

หมวดหมู่ของบล็อก: 

       ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีของชาวพื้นเมืองสุรินทร์ที่พูดภาษาเขมร ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรัก ความผูกพัน ความกตัญญูของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และชุมชน โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ของทุกปี




.........เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ลูกหลาน ญาติพี่น้องที่ไปประกอบอาชีพหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล จะเดินทางกลับมารวมญาติ เพื่อทำพิธีแซนโฎนตา



ปัจจุบันประเพณีนี้ถือปฏิบัติสืบต่อ อยู่ 2 แห่งคือ จังหวัดสุรินทร์ และ อ.ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ



(ประเพณีแซนโฎนตา อำเภอขุขันธ์ เดิมเป็นที่ตั้งของบริเวณเมืองขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ)



แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง
โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว


ประเพณีแซนโฎนตา หมายถึง ประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ จัดเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยซึ่งพูดภาษาเขมร มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน



      ความเชื่อของชาวพื้นเมืองสุรินทร์ที่พูดภาษาเขมร เชื่อว่าเมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประตูยมโลกจะเปิด ผีในยมโลกจะเดินทาง
มาเยี่ยมญาติได้ ชาวเขมรจึงมีการจัดทำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ในตอนเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 และพอรุ่งเช้า
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะก็จะนำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เป็นวัน “เบ็นตูจ” โดยเชื่อว่า
้ผีจะออกมาจากยมโลกได้ 15 วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม จากวันเบ็นตูจนับไปอีก 15 วัน
(นับจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ) จะตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี คือวัน “เบ็นทม” ซึ่งเป็นวันที่ประกอบพิธี
แซนโฎนตา


   กันจือแซนโดนตาหรือกันจือเบ็(กระเฌอเซ่นยาย-ตา ...


.........สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 เพราะผีตายาย หรือผีบรรพบุรุษ ถูกปล่อยมาวันนั้นและเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลาน
จะมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้หรือไม่ เมื่อถึงรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติหรือลูกหลานก็จะไปทำบุญที่วัด
ตอนนี้เองถ้าญาติหรือลูกหลานมาก็จะดีใจและได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติ
หรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่เห็นก็จะโกรธ
และสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ




.........จุดประสงค์ของประเพณี แซนโฎนตา นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผีบรรพบุรุษแล้ว
ยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ ตลอดถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน


ขอขอบคุณ จ่าสิบตำรวจสมเกียรติ บูรณ์เจริญ

ที่มา  http://surinrelations.org.www.readyplanet.net/


ภาพจาก http://www.google.co.th/images


รายละเอียดเยอะมากค่ะ เดี๋ยวมีต่อนะคะ

ความเห็น

         การได้มาอยู่บ้านสวนนี่ทำให้ได้รับรู้ข้อมูล วิชาการ แหล่งท่องเที่ยว ขนบธรรมเนียมประเพณี มากมาย ขอบคุณมากครับที่นำเสนอสิ่งดีๆให้ได้รับรู้กัน

อนุรักษ์ไว้ คนละเล็กละน้อย ช่วยๆกัน

คงเป็นประเพณีแบบเดียวกันกับทางใต้ ทำบุญเดือนสิบ


ความหมายก็เหมือนกัน

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

เป้าหมายเดียวกัน


ต่างกันที่อาหารพื้นบ้าน ค่ะ


ที่น่าทานให้ครบทุกภาคเลย...อิอิ

ขอบคุณครับสำหรับเรื่องราวๆดีๆ

ช่วงนี้เป็นช่วงรำลึกถึงบรรพบุรุษกันทั่วทุกภาคเลย

ขอบคุณเช่นกันค่ะ

ได้ยินคำนี้แล้วเศร้าคับ

 

พรุ่งนี้ที่บ้านก็จะทำพิธีแล้วคับ ปกติกลับบ้านทุกปีคับ

ทุกคนพร้อมหน้า .......... ไม่ว่าจะไปทำงานที่ใหนก็จะกลับบ้าน ไปเจอกันคับ

แต่ปีนี้งานยุ่งมากเลยคับ ติดกับ พฤหัสเสียอีก คับ

 

อยากกลับๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คับ

บุญแจกข้าวที่ ศรีสะเกษไม่ได้ไป


ก็เลยต้องแซนโฎนตา ที่สุรินทร์


คืนนี้เตรียมตัวไปตลาด ตี2  ไปซื้อของมาเซ่นแต่เช้าตรู่.....เดี๋ยวซื้อขนมฝากนะพี่ป้อม

ถ้ากลับไปก็เจอญาติ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ 

ที่ไม่ได้เจอกันนาน อาจจะได้เจองานนี้นะคับ

 

 

รอขนมนะคับ อิอิ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆค่ะ...ถ้าไม่รู้จักคนสุรินทร์พี่ก็ไม่รู้ว่าเขาพระวิหารเขาออกเสียงว่า พริวิเฮียร์  ภาษาอังกฤษอ่านทับศัพท์อย่างนี้พี่เลยได้ความรู้ไปสอนต่อ 

หน้า