การใส่บาตรที่ถูกต้อง...

หมวดหมู่ของบล็อก: 

การใส่บาตรที่ถูกต้อง...

วันก่อนมีเสียงตามสาย..(บอกต่อ ๆ กันมา ว่ามีพระมาอยู่ประจำที่ศาลาตีนเป็ดแล้ว.... (ศาลาปฎิบัติธรรมประจำหมู่บ้าน)  แรก ๆ ชาวบ้านจัดปิ่นโตไป ไม่นานก็แจ้งว่า พระจะยืนบาตร ซึ่งจัดสลับกัน สามสายถนน) สายเขาวัด เขาซอ (บน) เขาซอ (ล่าง ) ...วันนี้ พระยืนบาตร วันแรก...สายเขาซอล่าง..

..แม่ ตื่นแต่เช้ามืด หุ้งข้าว ทำกับข้าว แกงถุง ผัดถุง ดอกไม้ เตรียมไว้ให้พร้อม ก่อนไปทำงานที่สวน  ทำให้แอนตื้นเต้น ลุกขึ้นมานั่งรอใส่บาตรแต่เช้า..... ...ยังเก้ ๆ กัง.ๆ..Laughing

เลยหาข้อมูลการใส่บาตรที่ถูกต้องมาฝากค่ะ...(หรือมีอะไรเพิ่มเติมแนะนำด้วยนะคะ..Smile

วิธีปฏิบัติตัวในการใส่บาตร

๑.ขณะ รอใส่บาตรให้ ทำจิตตั้งมั่นไว้ว่าจะใส่บาตรโดยไม่เจาะจงเมื่อพระเณรรูปใดเดินผ่านมาก็ใส่ บาตรไปตามลำดับจนหมดอาหารที่เตรียมมาไม่เลือกใส่องค์นี้ไม่ใส่องค์นั้นการ ใส่บาตรโดยไม่เจาะจงนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีผลานิสงค์มากกว่าการใส่ บาตรโดยเจาะจง

๒.เมื่อ พระ ภิกษุเดินมาใกล้จะถึงที่ที่เราอยู่พึงอธิษฐานจิตเสียก่อนโดยถือขันข้าวด้วย มือทั้งสองนั่งกระหย่งยกขันข้าวขึ้นเสมอหน้าผากกล่าวคำอธิษฐานว่า
“สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นกิเลสเถิด”

๓.จาก นั้นลุกขึ้น ยืนและถอดรองเท้าเพราะการสวมรองเท้าถือว่ายืนสูงกว่าพระถือเป็นการไม่สมควร เหมือนเป็นการขาดความเคารพแต่ก็ไม่กรณียกเว้นเช่นเท้าเจ็บหรือเป็นที่น้ำขัง เฉอะแฉะเป็นต้นแต่ที่ไม่ควรก็คือบางคนถอดจริงแต่กลับไปยืนอยู่บนรองเท้าเสีย อีกยิ่งสูงไปกันใหญ่ดังนั้นถ้าตั้งใจจะไม่ใส่รองเท้าก็จัดที่ให้พระสงฆ์ยืน สูงกว่า

๔.เมื่อ ใส่ บาตรเสร็จแล้วถ้ามีโต๊ะรองอาหารหรือรถยนต์จอดอยู่ด้วยให้วางขันข้าวบนนั้น ยืนตรงน้อมตัวลงไว้พระสงฆ์แต่ถ้าตักบาตรรอยู่ริมทางควรนั่งแล้ววางขันข้าว ไว้ข้างตัวยกมือไว้พระสงฆ์พร้อมกับอธิษฐานว่า
“นัต ถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในพระศาสนาของศาสดา”

 ๕.หลังจากนั้นควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วด้วยการกรวดน้ำและกล่าวว่า
“อิ ทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญทั้งหลังจงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า ขอให้ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลายจงเป็นสุข เป็นสุขเถิด”

อย่า ได้มีคำถามว่า การทำบุญนี้จะมีผลถึงผู้ตายหรือไม่ผู้ตายจะได้รับประทานข้าวปลาอาหารนี้หรือ ไม่เพราะเมื่อเราทำความดีมีความกตัญญูรู้คุณรำลึกถึงผู้ล่วงลับหรือใครก็ ช่างผู้รับจะได้รับหรือไม่ไม่สำคัญเพราะหลักสำคัญอยู่ที่ว่าการทำทานช่วยให้ เราเกิดปีติและสิ้นความตระหนี่เกิดความอิ่มใจว่าเราได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ ที่ดีครบถ้วนแล้วไม่มีสิ่งบกพร่องก็น่าจะเป็นการเพียงพอแล้วค่ะ

ขอบคุณที่มาข้อมูลwww.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=215

...........อีกนิด

ใส่บาตรกันเถอะ

ขำดี
Laughing

 อ่านแล้วเข้าใจว่าผู้เขียนคงจะเป็นพระที่อารมณ์ดีมาก เขียนได้ดีเลยส่งมาให้อ่านด้วยกัน

ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร

1. นิมนต์พระ
หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา
การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่
ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี
รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน
การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว
ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ
นิมนต์เจ้าค่ะ" (ใช้คำไฮโซมาก)
มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์" (เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว)
การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณ
โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ ทำไมต้องตะคอกด้วย - -")
การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย
ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษา
มากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ
อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง" ทำเอาเสีย
self จนอยากสึกออกไปทำ baby face
โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่า
กวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์
หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ

2. จบ
อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะ
การจบ หมายถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐาน
การจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไป
เคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกก
นานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า "โยมขออะไรเราน้า?"

3. ถอดรองเท้า ยืนด้วยเท้าเปล่า
จริงๆแล้ว จุดประสงค์ของการถอดรองเท้าคือเป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์โดยการไม่ยืนสูงกว่าท่าน
เพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ่ง
มีหลายประเภทเหมือนกัน เช่น
บางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า - -" (สูงกว่าเดิมอีก)
บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น (หนักกว่าเก่า)
เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า
พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควรถอดรองเท้าใส่บาตรนะ"
โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า
โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ
พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยม
โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า
โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ
อิบ้า!! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร
อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่างฉันเพล (เรื่องขำขันขณะฉันเพล)
พอถอดรองเท้าเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สี่

4. ใส่บาตร
อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร
สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือควรดูว่าของที่นำมาใส่บาตรนั้น เสียรึเปล่า
บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตร
พระฉันไป เข้าห้องน้ำไป
พวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระ
ก็ฝากด้วยนะครับ เด๋วทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ
นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่า
เคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี
ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป
เคยมีโยมใส่บาตรด้วย "กล้วย ๓ หวี"
กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่า
แต่นี่ใส่ "กล้วยหอม" (อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ)
คิดดู "กล้วยหอม ๓ หวี" อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า "โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง"
การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม
โยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับ
ชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก (วางดีๆก็ได้ 55)
ขั้นตอนต่อไปคือ

5. รับพร
หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร
เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม
เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว
(ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม (ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก))
ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม
ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป

การใส่บาตรที่อยากแนะนำก็มีประมาณเท่านี้
 
 ขั้นตอนการทำบุญง่ายๆ ตื่นเช้ามาใส่บาตรกันเถอะค่ะ
SmileSmile

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bmm15.com/blogmonks/view.php?id_view=97

ความเห็น

อยากบอกว่าตื่นไปทันพระเลยพระเมืองนนท์ตื่นเช้ามากๆ หกโมงพระจะกลับวัดแล้ว

พี่ไม่ได้ใส่บาตรมาหลายเดือนแล้ว  กะว่ากลับไทยรอบนี้ต้องไปใส่บาตรซะหน่อยแล้ว  อืม อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มดีจัง 

สาธุอนโมทามิ ในการเผยแผ่งานธรรมนี้ด้วย...


สัพพีติโยวิวัชชันตุ  ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป

สัพพโรโควินาสสตุ   โรคทั้งปวงของท่านจงหาย

มาเต ภาวัต วันตะราโย   อันตรายอย่างมีแด่ท่าน

สุขี ฑีฆายุโก ภะวะ   ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน ฯลฯ

ต้องรับว่าอย่างไร ไม่รู้  

สาูธุ หรือเปล่า .....Smile

.....................................

ขอบคุณค่ะ..

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

 

นับว่าเป็นเช้าวันใหม่ของผมที่เป็นมงคลเลยทีเดียวครับคุณแอน

 ขอบคุณมากๆ ครับที่หาสาระดีๆ มาบอกกัน บังเอิญเมื่อคืนหลับเร็ว

 

สาธุ

(ตอน) มา...(ตอน) อยู่...และก

รู้วิธีที่ถูกต้องแล้วไปเตรียมสิ่งของที่จะใสบาตรดีกว่า

ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

น่าจะต่อให้จบนะครับ

ผมอยากทราบความหมายของประโยคที่เหลือนะครับ

เคยแต่ได้ยิน เพิ่งจะรู้ความหมายจากคุณนี่เองครับ

ช่วยต่อให้หน่อยนะครับ

 

ขอบคุณครับ

(ตอน) มา...(ตอน) อยู่...และก

ตอนแรกอ่านก็ดูว่า  บทสวด คล้ายการทำวัตรเย็น   ยาว   แต่มาเจอ  ใส่กล้วย  3  หวี  ไม่นึกถึงพระแล้ว  นึกถึงคนใส่  กล้วยหอม 3หวี โอ้..เจอกล้วยบ้านป้าเล็ก3หวี ไม่ใช่พระปิดบาตรเดินหนีไปก่อนมั้ง  กล้วย  เขาใส่  1 ลูกค่ะ

บาปแน่นอนเลย เดินไม่ไหว....

555  หัวเช้าเลย

หน้า