มาทำไวน์แบบพอเพียงกันเถอะ
ผมเคยกล่าวถึงไวน์ดูไอเลิฟยูโซ ซึ่งหมักจากพิลังกาสากับมะเฟืองมาบ้างในบล็อกก่อนๆ ตั้งใจไว้นานแล้วว่าจะนำมาเขียนลงบล็อก แนะนำเพื่อนสมาชิกบ้านสวนได้นำไปทำกันบ้าง เฝ้าแต่รอๆจนลูกพิลังกาสาสุกมากพอที่จะเอามาทำไวน์ ตอนแรกก็กะว่าจะทำไวน์ลูกราม(เรียกตามภาษาใต้)ล้วนๆ เดินมาเจอมะเฟืองหล่นใต้ต้นส่งกลิ่นโชยมา นึกถึงไวน์ดูไอเลิฟยูโซที่เคยทำ เลยอดไม่ได้ที่จะเก็บมาด้วย
ผลมะเฟืองนำมาตัดส่วนที่มดแมลงกินออกทิ้งไป ท่านที่จะทำตามขอแนะนำเก็บมะเฟืองร่วงหล่นใต้ต้นนะครับ เราต้องการกลิ่นหอมของมะเฟืองหล่น (ยืนยันว่าหอมกว่ามะเฟืองบ่ม) ใช้มะเฟืองและพิลังกาสาอย่างละเท่าๆกัน คือหนึ่งหม้อขนาดเจ็ดนิ้ว สำหรับทำไวน์ห้าลิตร
นำมาลวกด้วยน้ำเดือด แบบราดผ่านๆ แล้วบีบคั้นน้ำ
กรองเอากากออก
พิลังกาสาก็ทำเช่นเดียวกัน ลวกน้ำเดือดบีบคั้นน้ำแยกกากแยกเมล็ดออก
ผสมเข้าด้วยกัน สี(พิลังกาสา)และกลิ่น(มะเฟือง)
จะได้หัวเชื้อผลไม้ปริมาตรประมาณหนึ่งลิตร ใส่ในขวดหัวเชื้อน้ำอัดลมแบบที่เค้ากดขายเป็นแก้วๆ ผมไปหาซื้อมาจากร้านแถวๆดอนเมืองในราคาขวดละไม่ถึงสี่สิบบาท
ทีนี้ก็เป็นส่วนผสมที่เหลืออีกสี่ลิตร น้ำตาลครับละลายกับน้ำแร่ต้มพออุ่นๆ (ใช้น้ำแร่นะครับรึน้ำบาดาลก็ได้ ห้ามใช้น้ำประปาหรือว่าน้ำฝนเด็ดขาด)สูตรของผมส่วนมากจะใช้น้ำตาลทรายหนึ่งกิโลต่อไวน์ห้าลิตร
ยีสต์สำหรับทำไวน์
นำมาละลายกับน้ำผลไม้ผสมน้ำเชื่อมในถ้วยก่อนเพื่อให้ยีสต์ปรับตัว ทิ้งไว้สักครู่จนมีฟองปุดขึ้นมาแสดงว่ายีสต์เริ่มมีการแบ่งตัวแล้ว จึงนำไปเทลงในขวดหมักไวน์ (ตอนเทยีสต์ผง ให้ค่อยๆเทและคนอย่างช้าๆ ถ้าเทเร็วไปยีสต์จะเกาะตัวป็นก้อน)
นำสำลีมาอุดที่ปากขวด ตั้งทิ้งไว้สองสามวัน
ใช้ Hydrometer วัดความถ่วงจำเพาะของน้ำผลไม้ตอนเริ่มหมัก(วัดได้ 1.16) ในขั้นตอนสุดท้ายของการหมักเมื่อเราทราบค่าความความแตกต่างของถ่วงจำเพาะ ก็จะสามารถคำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ของไวน์ได้
ทิ้งไว้อีกสองสามวัน ค่อยมาอัพบล็อกต่อนะครับ งานนี้ติดตามดูความคืบหน้ากันไปแบบสดๆพร้อมกันเลยนะครับ สำหรับใครที่จะรอชิมก็ขอบอกไว้ก่อนว่า ถ้าแบบใส่ขวดก็ต้องรออีกสองปี ถ้าแบบไวน์สดก็เดือนกุมภา วาเลนไทน์พอดี
- บล็อกของ ลุงพี
- อ่าน 100775 ครั้ง
ความเห็น
ครูพอเพียง
26 ตุลาคม, 2010 - 13:21
Permalink
น่าสนใจ
หอมกลิ่นไวน์ อยากลองทำและลองชิมค่ะ
แก่
26 ตุลาคม, 2010 - 13:57
Permalink
หมักแล้ว
ลองเอามากลั่นบ้างไหมครับ
ลุงพี
26 ตุลาคม, 2010 - 14:10
Permalink
ได้แค่คิดครับพี่แก่
อย่างที่บอกครับ ผมมักจะชักชวนเพื่อนๆมาแอบข่มขืนลูกสาวทุกคน ไม่มีใครเหลือรอดซักราย อิอิ
พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง
กุ้งบางบัวทอง
26 ตุลาคม, 2010 - 14:04
Permalink
ลุงพี
แค่เห็นรูปและวิธีการทำกุ้งก็เมาแล้วค่ะ อย่างนี้ลุงพีคงมีไวน์กินตอนหน้าหนาวแล้ว
มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ
chai
26 ตุลาคม, 2010 - 15:23
Permalink
ลุงพี
ขั้นตอนไม่ยุงยากเลยนะครับ แต่อุปกรณ์น่าจะต้องเข้าเมืองหน่อยละ
ขอบคุณมากครับลุงพี สำหรับข้อมูล
ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ msn/krawmovie@hotmail.com
รัตนพงษ์
26 ตุลาคม, 2010 - 22:31
Permalink
ต้องสมัครเป็นศิษย์สำนักลุงพีแล้วงานนี้
สนใจมานานแล้ว เมื่อก่อนผมเคยซื้อหนังสือมาอ่านจะหัดทำ ตอนเรียนจบแล้ว แต่ตอนที่เรียนอยู่ก็หมักยีสต์ ปรากฎเมาทั้งห้อง ในชั่วโมงทำแล็ป
ตอนนี้ผมยังอยากลองกับต้นกล้วยลุงเคยทำปล่าวครับ ใช้แป้งข้าวหมากยัดใส่เข้าไปในต้นกล้วยที่แก่จัดใกล้จะสุก (ใช้ไม้เจาะให้ถึงใจกลางกล้วยแล้วยัดแป้งข้าวหมากเข้าไปทิ้งไว้สักสัปดาห์ก็ตัด หรือปล่อยให้สุก) อยากทำต้องรอกล้วยสุกอีกรอบ ซื้อแป้งข้าวหมากมาแล้ว 2 ก้อน อิอิ
มิตรภาพไร้พรมแดน
9wut
26 ตุลาคม, 2010 - 22:45
Permalink
พี่น้อย
แล้วไม่ลองทำไวน์จากฟักข้าวบ้างเหรอครับ หรือว่าทำไปแล้ว
พรุ่งนี้ ขอให้ทุกอย่างราบรื่นน่ะครับ อย่าได้มีปัญหาขาดตกบกพร่อง หรืออุปสรรคใดๆเลยน่ะครับ ^^
วิธีลงรูปประจำตัว |การใช้งานเว็บบ้านสวน |การแทรกรูป |การแทรก VDO
ลุงพี
26 ตุลาคม, 2010 - 22:59
Permalink
โห.....คุณน้อย
แบบนี้ซิ ถึงจะเรียกว่าไวน์พอเพียงของจริง งั้นตกลงพรุ่งนี้ผมขอมอบตัวเป็นศิษย์คุณน้อยก่อนก็แล้วกัน
พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง
ลุงพูน
27 ตุลาคม, 2010 - 17:05
Permalink
ลุงพีครับ
ผมเข้าใจผิดมานานว่า ผลไม้ที่จะเอามาทำไวน์ ต้องเป็นผลไม้ที่สุก ที่ยังสภาพดีอยู่ แต่พออ่านวิธีของลุงพี้แล้ว นึกออกเลยครับว่า ทำไมไวน์ผลไม้ที่เคยซื้อกินนั้น ไม่เป็นสับปะรด (เพราะไม่ใช่ไวน์ที่ทำจากสับปะรด) วันหลังหากได้ลองทำอีกที ผมจะเอาผลไม้ที่เขาจะทิ้งแล้ว หรือมะเฟืองร่วงโคนต้น มาลองทำแบบที่ลุงพีแนะนำ มะเฟืองหวานของผม ตอนที่ผมไม่ได้อยู่สวน จะร่วงเต็มโคนต้น ผมกลับมาสวนก็เอาไปใส่ถังหมัก รู้อย่างนี้ เอาไปหมักทำไวน์จะดีกว่า ขอบคุณลุงพีมากครับ
วันนี้ลุงพีไปเที่ยวบ้านคุณรัตนพงษ์ คงมีโอกาสเอาฟักข้าวมาลองทำไวน์บ้างนะครับ น่าจะได้ไวน์รสชาดใหม่
ลุงพี
28 ตุลาคม, 2010 - 16:11
Permalink
ลุงพูนครับ
เสน่ห์ของไวน์ผลไม้อยู่ที่กลิ่นครับ ของไทยที่ทำกันส่วนใหญ่สนใจแต่แอลกอฮอล์ ของผมถ้าเอาผลไม้สุกที่มีสภาพดีๆมา ก็จะวางทิ้งไว้จนได้กลิ่นละมุด(กลิ่นแอลกอฮอล์อ่อนๆ) ผมเคยทำไวน์กล้วยหอมทอง ก็จะวางทิ้งไว้จนเนื้อเละก่อนถึงจะเอามาทำไวน์ครับ แต่ถ้าจะให้ได้กลิ่นที่สลับซับซ้อนจริงๆ ต้องเป็นผลไม้ที่สุกงอมแล้วร่วงหล่นลงจากต้นครับ
ไวน์ท้อแท้ของผม พี่อู๊ดบอกว่าได้กลิ่นน้ำผึ้งป่า ถือได้ว่าเป็นคำชมที่ให้คนทำไวน์ได้ชื่นใจครับ
พอกิน พอใช้ พอใจ คือความหมายของ พอเพียง
หน้า