รู้นะ...ว่าแม่เหนื่อย ตอนที่1

หมวดหมู่ของบล็อก: 

       คิดไว้นานแล้วว่าจะเอาเรื่องการดูแลมารดาหลังคลอดมาลง แต่ไม่ได้ทำสักที วันนี้แอบอู้งานมาค่ะ ลองไปดูกันว่าการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยเขามีอะไรกันบ้าง


        การดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดโดยทั่วไปจะมีขั้นตอนดังนี้คือ


1.การอยู่ไฟ


2.การนวด


3.การประคบ


4.การอบสมุนไพร


5.การทับหม้อเกลือ


6.การอาบน้ำสมุนไพร


        การอยู่ไฟ คืออะไร การอยู่ไฟเป็นประเพณีไทยโบราณดั้งเดิม ซึ่งคุณแม่หลังคลอดควรได้รับการอยู่ไฟทุกคน การที่หญิงหลังคลอดนอนบนกระดานแผ่นเดียว มีไฟก่อไว้ข้างล่างพอร้อน เป็นระยะเวลา 7-14 วัน บางรายอาจจะอยู่เพียง 3 วัน หรือนานถึง 1 เดือน เพื่อฟื้นฟูสุขภาพร่างกายของคุณแม่หลังคลอดที่เสื่อมหรือสมรรถภาพร่างกายบกพร่องไปในช่วงที่ตั้งครรภ์ให้กลับคืนความแข็งแรงเหมือนเดิม เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนในร่างกายระบบไหลเวียนโลหิตทำงานมากขึ้น ความดันโลหิต ที่เพิ่มขึ้น ร่างกายต้องเผาผลาญอาหารมากขึ้น แต่ภายหลังคลอดบุตร ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ต่อร่างกายคุณแม่ เช่น ขนาดมดลูกที่เริ่มหดตัวจากใหญ่ไปเล็กอย่างรวดเร็ว มีแผลฝีเย็บเกิดขึ้นในกรณีคลอดธรรมชาติ และแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องในกรณีที่คลอดโดยการผ่าตัดการเปลี่ยนแปลงของน้ำ และเกลือแร่ ภายในร่างกาย เนื่องจากในขณะคลอดบุตรจะสูญเสียน้ำและเหงื่อ รวมทั้งมีสิ่งตกค้าง ภายในโพรงมดลูกที่จะต้องขับออกมาเป็น น้ำคาวปลา การสูบฉีดโลหิต เปลี่ยนแปลง การเสียเลือด ความดันโลหิตต่ำ โลหิตไหลเวียนมาสู่เส้นเลือด ที่ผิวหนังน้อยลงทำให้ตัวเย็น พลังงานที่เผาผลาญให้ความอบอุ่นลดลง ทำให้เกิดการหนาวสั่น หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีภายหลังคลอดบุตร อาจจะทำให้เกิด ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและความงามของคุณแม่ได้ เช่น อาการปวดเมื่อย ปวดหลัง มีอาการหนาวสั่นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ผิวพรรณไม่สดใส หน้าท้องหย่อนยาน เลือดลมไม่ดี


        การเตรียมอยู่ไฟ เช่น การนำไม้ไผ่มาล้อมบ้านเพื่อป้องกันผีกระสือ ใช้ใบหนาดหรือไพลเพื่อป้องกันผีร้าย ผีป่า และผีบ้านต่าง ๆ ในช่วงอยู่ไฟหญิงหลังคลอดจะอาบน้ำต้มสมุนไพร เพื่อชำระร่างกายให้สะอาดทาตัวด้วยขมิ้น เพื่อป้องกันผิวหนังอักเสบ เป็นการบำรุงผิวพรรณไปในตัว


        อุปกรณ์ของการอยู่ไฟ ได้แก่


1. แคร่สำหรับการนอน (กระดานไฟ) ซึ่งนิยมกระดานแผ่นเดียว โดยมีเหตุผลให้หญิงหลังคลอดนอนนิ่ง ๆ เพื่อให้แผลมีเย็บที่มีการฉีกขาดขณะคลอดหายสนิทดีเร็วขึ้น


2. ฟืนสำหรับเติมเชื้อเพลิง


3. แคร่สำหรับก่อไฟ


4. อ่างน้ำพร้อมกระบวยสำหรับตักน้ำพรมไม่ให้ไฟร้อนเกินไป


ประโยชน์ของการอยู่ไฟ


1.ให้หญิงหลังคลอดได้พักผ่อน และได้รับความอบอุ่น


2.ทำให้น้ำคาวปลาถูกขับออกมา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น


3.ความร้อนช่วยกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก


4.ช่วยให้มารดามีสุขภาพแข็งแรง


5.ช่วยให้แผลฝีเย็บแห้งและหายเร็วขึ้น


 


ตอนนี้นำเสนอไปแค่นี้ก่อนนะคะแล้วคอยติดตามตอนต่อไปค่ะ


      

ความเห็น

แม่อยู่ไฟเจ็ดวัน นอนบนแคร่ไม้ไผ่ กินแกงพริก หมอแม่ทาน(หมอตำแย)เคร่งมากๆ

ตอนพี่ดมเกิด หรือตอนแม่พี่ดมเกิด หรือพี่ดมทำใครให้เกิด Foot in mouth

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

พี่เกิดๆๆ อิๆๆๆ โบราณมะ รุ่นนี้ยังใช้หมอแม่ทานอยู่นะ เกิดในป่าในดงไฟฟ้าไม่มี นิ

รุ่นหญิงไม่ทันแล้วค่ะ รุ่นนี้เจอมีดหมอแล้ว

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

ตอนเล็กๆ เห็นแม่อยู่ไฟหลังจากคลอดน้อง ร้องเกือบตายนึกว่าเค้าจะเอาแม่ไปย่าง จำได้ร่างๆ ว่ามีหินด้วย

เดี๋ยวนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว แต่ก็กำลังนำกลับมาใช้ใหม่กันอีกครั้งค่ะ

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

สงสัยปัจจุบันการอยู่ไฟคงมีน้อยแล้วมั้งคะ  แต่ต่างจังหวัดอาจจะมีอยู่ เห็นเขาขายตู้อบสมุนไพรกันมากมายมันคงสะดวกกว่า  ... ส่วนผีกระสือยังมีอยู่รึเปล่าน๊า ?...ถ้าเหมือนในหนังผีกระสือจะมากินรกเด็กแน่  น่ากลัวจัง.. 

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

เดี๋ยวนี้มีกานส่งเสริมให้มีการดูแลสุขภาพแบบนี้อีกครั้งค่ะ

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

รุ่นนี้ไม่เห็นแล้ว เรื่องการอยู่ไฟ ได้ยินแต่เป็นเรื่องเล่าสมัยยายคลอดแม่ สมัยตอนที่อาคลอด เห็นว่าเขาไม่อยู่ไฟ แต่กินยาที่เป็นชื่อจีน จำไม่ได้แล้ว ใส่เหล้าลงไปหน่อย เห็นอากินหมดเป็น โหลอยู่

กำลังนำกลับมาใช้อีกครั้งค่ะ

e-mail. puangpech_@hotmail.com

 

หน้า